“ขุนคลัง” สั่ง 7 แบงก์รัฐช่วยเหลือลูกหนี้ 6.6 ล้านราย มูลหนี้ 2.89 ล้านล้านบาท ขยายเวลาการพักชำระหนี้ต่อถึงกลางปี 64 เล็งเพิ่มเงิน บสย.ค้ำประกันในระบบเพิ่มอีก 3 เท่าตัว ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ “ก.คลัง” รายงานฐานะการเงินไทย
วานนี้ (22 ต.ค.) ที่กระทรวงการคลัง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง พร้อมด้วย นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง, นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง และผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ แถลงความคืบหน้าในการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โควิด-19 และแนวทางการช่วยเหลือในระยะต่อไปของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง หลังสิ้นสุดการพักชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค.63
โดย นายอาคม กล่าวตอนหนึ่งว่า แนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหลังสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดยลูกหนี้ที่อยู่ในมาตรการการพักชำระหนี้ มีจำนวน 12.1 ล้านราย คิดเป็นวงเงิน 6.9 ล้านล้านบาท สัดส่วน 30% ที่อยู่ในความดูแลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ หรือประมาณ 6.57 ล้านราย คิดเป็นวงเงิน 2.89 ล้านล้านบาท สำหรับแนวทางดูแลมี 2 ส่วน คือ ตามแนวทาง พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 พ.ศ.2563 (พ.ร.ก.ซอฟต์โลน) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และแนวทางการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับการพักชำระหนี้ตามมาตรการอื่นๆของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบาล
วางบันได 4 ขั้นพยุง SMEs
นายอาคม กล่าวต่อว่า ธปท.ได้จัดกลุ่มตามสถานการณ์ทางการเงินของกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ดังนี้ 1.กลุ่มที่ยังได้รับผลกระทบจากโควิดและยังไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ เบื้องต้นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ให้ชะลอการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยออกไปอีก 6 เดือนนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.63, 2.กลุ่มที่ดำเนินธุรกิจได้แต่ยังไม่ฟื้นตัวจากโควิด-19 สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จะเร่งปรับโครงสร้างหนี้ภายในเดือน ธ.ค.63 และ 3.กลุ่มที่มีความพร้อมและสามารถดำเนินธุรกิจได้ ทางสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐจะรับชำระหนี้ตามปกติ เพื่อลดภาระดอกเบี้ยของลูกหนี้ในช่วงการพักชำระหนี้
“สำหรับลูกหนี้ที่อยู่ในความดูแลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ กระทรวงการคลังให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐติดตามดูแลลุกหนี้ที่อยู่ภายใต้มาตรการการชำระหนี้ เพื่อช่วยเหลือตามสถานการณ์ลูกหนี้แต่ละราย ในเรื่องการฟื้นตัวของธุรกิจ และสถานะการเงินขององค์กร โดยมี 4 ขั้นตอน 1.การพักหรือชะลอการชำระหนี้, 2.ปรับโครงสร้างหนี้การให้ตรงจุด, 3.ฟื้นฟูธุรกิจให้เข้มแข็ง และ 4.สร้างภูมิคุ้มกันในธุรกิจเอสเอ็มอี” นายอาคม ระบุ
สั่ง 7 แบงก์รัฐขยายพักหนี้
รมว.คลัง กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 7 แห่ง เบื้องต้น ได้แก่ 1.ธนาคารออมสิน จะขยายระยะเวลาการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจากเดิม เม.ย.-ก.ย.63 เป็น ธ.ค.63 กรณีสินเชื่อบุคคลทั่วไป และสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี วงเงินกู้ไม่เกิน 100 ล้านบาท โดยมีลูกค้า 3 ล้านราย, 2.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ขยายเวลาพักการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็น พ.ย.63 – ม.ค.64, 3.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ขยายเวลาการพักชำระหนี้ 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ติดต่อกับธนาคารเพื่อขอขยายเวลาการพักชำระหนี้ เนื่องจากกลุ่มเกษตรกรไม่ได้มีรายได้แบบรายเดือน
4.ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ขยายเวลาการพักพักชำระหนี้อีก 6 เดือน หรือถึง มี.ค.64, 5.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) ขยายเวลาการพักชำระหนี้และดอกเบี้ย ออกไปไม่เกิน 2 ปี ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงธุรกิจและประเภทผลิตภัณฑ์, 6.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ผ่อนปรนการชำระหนี้เป็นกรณีแต่ละราย สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีและลูกหนี้การค้า ตั้งแต่ ต.ค.63 – มิ.ย.64 และ 7.บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสากรรมขนาดย่อม (บสย.) พักชำระค่างวดเป็นระยะเวลา 6 เดือน นับตั้งวันที่อนุมัติสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ยื่นคำขอกับทางธนาคารได้ถึง ธ.ค.63
“มาตรการเหล่านี้เป็นไปตามการมาตรการของธนาคารโลกที่เข้ามาช่วยเหลือกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาหรือ ประเทศที่ด้อยพัฒนา ที่จะพิจารณาสถานการณ์เศรษฐกิจและการขยายมาตรการอีกครั้งทุกๆ 6 เดือน และขณะนี้จากที่มาตรการการช่วยเหลือที่จะสิ้นสุดลงเมื่อถึง ธ.ค.63 ทางกลุ่มประเทศ จี20 ได้เห็นชอบแล้วที่จะขยายไปเป็นสิ้นสุดเดือน มิ.ย.64” นายอาคม ระบุ.
ไฟเขียว บสย.เพิ่มวงเงินค้ำฯ
นายอาคม กล่าวว่า นอกจากมาตรการการพักชำระหนี้แล้ว การที่จะรักษาธุรกิจให้อยู่รอดได้ ก็ต้องมีมาตรการเสริมสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ ทั้งรายรับรายจ่ายในแต่ละวัน การจ้างงาน โดยเอสเอ็มอีจำนวนมาก พยายามรักษาการจ้างงานไว้ ซึ่งขณะนี้มีการคลายล็อกดาวน์แล้ว และเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติแล้ว แต่จำนวนการใช้จ่ายโดยเฉพาะในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวกับยังน้อยรวมทั้งอัตราการการเข้าพักยังต่ำ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และผู้ประกอบการรายย่อยในภาคธุรกิจท่องเที่ยว ยังต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่หนัก รัฐบาลจึงต้องเข้าไปช่วยเหลือเสริมสภาพคล่องทางการเงิน และการปรับโครงสร้างธุรกิจในเข้ากับสถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนี้ ทาง บสย.จะเข้ามาเสริมสภาพคล่องทางการเงินโดย การให้หลักประกันหรือการค้ำประกันสินเชื่อให้กับเอสเอ็มอี ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาวงเงินเพิ่มเพื่อให้ทาง บสย.ไปค้ำประกันสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้เกิดความมั่นใจกันการอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องของการเงินเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าด้วย
ขาดทุนสะสม 1 ล้านล้านบ.
วันเดียวกัน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ กระทรวงการคลัง เรื่องรายงานฐานะการเงินประจำสัปดาห์ ของ ธปท. ทุนสำรองเงินตรา และกิจการธนบัตร ระบุว่า รมว.คลัง ได้ประกาศรายงานฐานะการเงินงวดประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 23 ก.ค.63 และงวดประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 30 ก.ค.63 แนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 28 ส.ค.63 ผลการขาดทุนสะสม ขาดทุนสะสม 1,069,366,246,596 ล้านบาท
หนี้ครัวเรือน Q2 พุ่ง 83.8%
อีกด้าน นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยตอนหนึ่งในงานมหกรรมทางการเงิน ครั้งที่ 20 ว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในช่วงต้นปีนี้ ได้ซ้ำเติมความเปราะบางทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และมีผลกระทบโดยเฉพาะต่อรายย่อย ทำให้ครัวเรือนประสบปัญหาการขาดรายได้ ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากประมาณ 80% ต่อมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) เมื่อสิ้นปี 2562 มาอยู่ที่ 83.8 % ต่อจีดีพีในไตรมาส 2 ของปีนี้ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ธปท.จึงร่วมกับสถาบันการเงิน ในการออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ไม่ใช่การปูพรมและช่วยเหลือเป็นการทั่วไป เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่ดีสำหรับลูกหนี้ และไม่ได้เป็นทางออกในการแก้ไขปัญหา เพราะการพักหนี้นั้นเป็นการพักเงินต้น แต่ในด้านอัตราดอกเบี้ยยังคงเดินอยู่ ดังนั้นมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จะเน้นเป็นกลุ่มตามความจำเป็น
“ทุกฝ่ายมีบทบาทที่จะต้องช่วยกัน ร่วมมือกัน ทุกวันนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นกระทบต่อเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวติดลบสูง ภาคบริการ จึงน่าห่วงต่อหนี้ครัวเรือนมากที่สุด ดังนั้นการจะทำให้อุปสงค์กลับมานั้น ภาครัฐจะเป็นบทบาทสำคัญ ขณะที่ ธปท.จะมีบทบาทในการสนับสนุนดูแลในเรื่องการเงิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดอกเบี้ย สภาพคล่องโดยรวม สภาวะในตลาดการเงินโดยรวม เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ” นายเศรษฐพุฒิ กล่าว
วานนี้ (22 ต.ค.) ที่กระทรวงการคลัง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง พร้อมด้วย นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง, นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง และผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ แถลงความคืบหน้าในการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โควิด-19 และแนวทางการช่วยเหลือในระยะต่อไปของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง หลังสิ้นสุดการพักชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค.63
โดย นายอาคม กล่าวตอนหนึ่งว่า แนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหลังสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดยลูกหนี้ที่อยู่ในมาตรการการพักชำระหนี้ มีจำนวน 12.1 ล้านราย คิดเป็นวงเงิน 6.9 ล้านล้านบาท สัดส่วน 30% ที่อยู่ในความดูแลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ หรือประมาณ 6.57 ล้านราย คิดเป็นวงเงิน 2.89 ล้านล้านบาท สำหรับแนวทางดูแลมี 2 ส่วน คือ ตามแนวทาง พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 พ.ศ.2563 (พ.ร.ก.ซอฟต์โลน) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และแนวทางการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับการพักชำระหนี้ตามมาตรการอื่นๆของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบาล
วางบันได 4 ขั้นพยุง SMEs
นายอาคม กล่าวต่อว่า ธปท.ได้จัดกลุ่มตามสถานการณ์ทางการเงินของกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ดังนี้ 1.กลุ่มที่ยังได้รับผลกระทบจากโควิดและยังไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ เบื้องต้นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ให้ชะลอการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยออกไปอีก 6 เดือนนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.63, 2.กลุ่มที่ดำเนินธุรกิจได้แต่ยังไม่ฟื้นตัวจากโควิด-19 สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จะเร่งปรับโครงสร้างหนี้ภายในเดือน ธ.ค.63 และ 3.กลุ่มที่มีความพร้อมและสามารถดำเนินธุรกิจได้ ทางสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐจะรับชำระหนี้ตามปกติ เพื่อลดภาระดอกเบี้ยของลูกหนี้ในช่วงการพักชำระหนี้
“สำหรับลูกหนี้ที่อยู่ในความดูแลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ กระทรวงการคลังให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐติดตามดูแลลุกหนี้ที่อยู่ภายใต้มาตรการการชำระหนี้ เพื่อช่วยเหลือตามสถานการณ์ลูกหนี้แต่ละราย ในเรื่องการฟื้นตัวของธุรกิจ และสถานะการเงินขององค์กร โดยมี 4 ขั้นตอน 1.การพักหรือชะลอการชำระหนี้, 2.ปรับโครงสร้างหนี้การให้ตรงจุด, 3.ฟื้นฟูธุรกิจให้เข้มแข็ง และ 4.สร้างภูมิคุ้มกันในธุรกิจเอสเอ็มอี” นายอาคม ระบุ
สั่ง 7 แบงก์รัฐขยายพักหนี้
รมว.คลัง กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 7 แห่ง เบื้องต้น ได้แก่ 1.ธนาคารออมสิน จะขยายระยะเวลาการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจากเดิม เม.ย.-ก.ย.63 เป็น ธ.ค.63 กรณีสินเชื่อบุคคลทั่วไป และสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี วงเงินกู้ไม่เกิน 100 ล้านบาท โดยมีลูกค้า 3 ล้านราย, 2.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ขยายเวลาพักการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็น พ.ย.63 – ม.ค.64, 3.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ขยายเวลาการพักชำระหนี้ 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ติดต่อกับธนาคารเพื่อขอขยายเวลาการพักชำระหนี้ เนื่องจากกลุ่มเกษตรกรไม่ได้มีรายได้แบบรายเดือน
4.ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ขยายเวลาการพักพักชำระหนี้อีก 6 เดือน หรือถึง มี.ค.64, 5.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) ขยายเวลาการพักชำระหนี้และดอกเบี้ย ออกไปไม่เกิน 2 ปี ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงธุรกิจและประเภทผลิตภัณฑ์, 6.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ผ่อนปรนการชำระหนี้เป็นกรณีแต่ละราย สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีและลูกหนี้การค้า ตั้งแต่ ต.ค.63 – มิ.ย.64 และ 7.บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสากรรมขนาดย่อม (บสย.) พักชำระค่างวดเป็นระยะเวลา 6 เดือน นับตั้งวันที่อนุมัติสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ยื่นคำขอกับทางธนาคารได้ถึง ธ.ค.63
“มาตรการเหล่านี้เป็นไปตามการมาตรการของธนาคารโลกที่เข้ามาช่วยเหลือกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาหรือ ประเทศที่ด้อยพัฒนา ที่จะพิจารณาสถานการณ์เศรษฐกิจและการขยายมาตรการอีกครั้งทุกๆ 6 เดือน และขณะนี้จากที่มาตรการการช่วยเหลือที่จะสิ้นสุดลงเมื่อถึง ธ.ค.63 ทางกลุ่มประเทศ จี20 ได้เห็นชอบแล้วที่จะขยายไปเป็นสิ้นสุดเดือน มิ.ย.64” นายอาคม ระบุ.
ไฟเขียว บสย.เพิ่มวงเงินค้ำฯ
นายอาคม กล่าวว่า นอกจากมาตรการการพักชำระหนี้แล้ว การที่จะรักษาธุรกิจให้อยู่รอดได้ ก็ต้องมีมาตรการเสริมสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ ทั้งรายรับรายจ่ายในแต่ละวัน การจ้างงาน โดยเอสเอ็มอีจำนวนมาก พยายามรักษาการจ้างงานไว้ ซึ่งขณะนี้มีการคลายล็อกดาวน์แล้ว และเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติแล้ว แต่จำนวนการใช้จ่ายโดยเฉพาะในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวกับยังน้อยรวมทั้งอัตราการการเข้าพักยังต่ำ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และผู้ประกอบการรายย่อยในภาคธุรกิจท่องเที่ยว ยังต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่หนัก รัฐบาลจึงต้องเข้าไปช่วยเหลือเสริมสภาพคล่องทางการเงิน และการปรับโครงสร้างธุรกิจในเข้ากับสถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนี้ ทาง บสย.จะเข้ามาเสริมสภาพคล่องทางการเงินโดย การให้หลักประกันหรือการค้ำประกันสินเชื่อให้กับเอสเอ็มอี ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาวงเงินเพิ่มเพื่อให้ทาง บสย.ไปค้ำประกันสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้เกิดความมั่นใจกันการอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องของการเงินเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าด้วย
ขาดทุนสะสม 1 ล้านล้านบ.
วันเดียวกัน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ กระทรวงการคลัง เรื่องรายงานฐานะการเงินประจำสัปดาห์ ของ ธปท. ทุนสำรองเงินตรา และกิจการธนบัตร ระบุว่า รมว.คลัง ได้ประกาศรายงานฐานะการเงินงวดประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 23 ก.ค.63 และงวดประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 30 ก.ค.63 แนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 28 ส.ค.63 ผลการขาดทุนสะสม ขาดทุนสะสม 1,069,366,246,596 ล้านบาท
หนี้ครัวเรือน Q2 พุ่ง 83.8%
อีกด้าน นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยตอนหนึ่งในงานมหกรรมทางการเงิน ครั้งที่ 20 ว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในช่วงต้นปีนี้ ได้ซ้ำเติมความเปราะบางทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และมีผลกระทบโดยเฉพาะต่อรายย่อย ทำให้ครัวเรือนประสบปัญหาการขาดรายได้ ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากประมาณ 80% ต่อมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) เมื่อสิ้นปี 2562 มาอยู่ที่ 83.8 % ต่อจีดีพีในไตรมาส 2 ของปีนี้ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ธปท.จึงร่วมกับสถาบันการเงิน ในการออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ไม่ใช่การปูพรมและช่วยเหลือเป็นการทั่วไป เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่ดีสำหรับลูกหนี้ และไม่ได้เป็นทางออกในการแก้ไขปัญหา เพราะการพักหนี้นั้นเป็นการพักเงินต้น แต่ในด้านอัตราดอกเบี้ยยังคงเดินอยู่ ดังนั้นมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จะเน้นเป็นกลุ่มตามความจำเป็น
“ทุกฝ่ายมีบทบาทที่จะต้องช่วยกัน ร่วมมือกัน ทุกวันนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นกระทบต่อเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวติดลบสูง ภาคบริการ จึงน่าห่วงต่อหนี้ครัวเรือนมากที่สุด ดังนั้นการจะทำให้อุปสงค์กลับมานั้น ภาครัฐจะเป็นบทบาทสำคัญ ขณะที่ ธปท.จะมีบทบาทในการสนับสนุนดูแลในเรื่องการเงิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดอกเบี้ย สภาพคล่องโดยรวม สภาวะในตลาดการเงินโดยรวม เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ” นายเศรษฐพุฒิ กล่าว