ผู้จัดการรายวัน360- พระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ เปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญถกแก้ปัญหาสถานการณ์ชุมนุม "ชวน" กำชับ ส.ส.อย่าด่ากัน ควรช่วยกันหาทางออก "วิปรัฐบาล" ยืนยัน ส.ส.รัฐบาล ไม่หยิบประเด็นปฏิรูปสถาบันฯ มาพูดในที่ประชุมขอทุกฝ่ายเข้าใจ ไม่มีใครได้100% อยากให้ถอยคนละก้าว หาจุดยืนร่วมกัน "ม็อบคณะราษฎร" นัดชุมนุมใหญ่อนุสาวรีย์ชัยฯ ก่อนเคลื่อนขบวนฝ่าด่านจนท. บุกประชิดทำเนียบฯ เรียกร้องให้ "บิ๊กตู่" ลาออกภายใน 3 วัน ด้าน'อาชีวะ-นศ.รามฯ' ปักหลักลานพ่อขุน พร้อมกับคนไทยทั่วประเทศที่ใส่เสื้อเหลืองรวมพลังปกป้องสถาบันฯ 'พรเพชร' นัดวุฒิสภารวมตัวแถลงจุดยืนพิทักษ์สถาบันวันนี้ 'บิ๊กตู่' ออกแถลงการณ์ จ่อยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ขอให้ใช้เวทีสภาแก้ปัญหา ถอยคนละก้าวใช้สติปัญญาแก้ปัญหาร่วมกัน
วานนี้ (21 ต.ค.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศพระราชกฤษฎีกา เรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2563
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นปีที่ 5 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ สมควรที่จะเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุม สมัยวิสามัญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 122 และมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง การประชุมร่วมรัฐสภาสมัยวิสามัญที่จะมีขึ้นในวันที่ 26-27 ต.ค.ว่า ขั้นตอนการบรรจุระเบียบวาระการประชุม โดยเป็นการอภิปรายทั่วไปเพื่อหาทางออกปัญหาการชุมนุมการเมือง รัฐบาลจะต้องเป็นผู้กำหนดประเด็นในการอภิปรายตามมาตรา 165 เพราะเป็นผู้เสนอขอเปิดสมัยวิสามัญ ซึ่งตอนนี้ยังไม่สามารถบรรจุระเบียบวาระได้ เนื่องจากต้องรอให้มีพ.ร.ฎ.เปิดสมัยประชุมก่อน โดยในวันที่ 22 ต.ค.นี้ จะมีการหารือร่วมกัน 4 ฝ่าย เพื่อกำหนดเวลา ให้แต่ละฝ่าย ได้อภิปรายอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ไม่ได้กำชับอะไรเป็นพิเศษ แต่จะต้องอยู่ในประเด็นที่รัฐบาลกำหนดไว้
"ในการประชุมนอกรอบที่ผ่านมา มีสมาชิกบางคนที่ไม่เห็นด้วยในการเปิดประชุมสมัยวิสามัญ โดยบอกว่าเปิดแล้วไม่มีประโยชน์ อย่างดีก็แค่ด่ากัน ประชาชนก็เบื่อหน่าย ผมจึงบอกสมาชิกว่า อย่างนั้นจะต้องไม่ทำให้เกิดความรู้สึกแบบนั้น ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือ และความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่เปิดสภาเพื่อไม่ไว้วางใจ หรือด่ากัน" นายชวน กล่าว
ส่วนมาตรการรักษาความปลอดภัย ก็ไม่จำเป็นต้องขอกำลังตำรวจหรือทหารเพิ่มเติม เชื่อว่าสถานการณ์จะไม่รุนแรง เพราะสภาฯ เปิดกว้างให้กลุ่มผู้ชุมนุมเข้ามาทำกิจกรรมได้ แต่ต้องไม่ใช้ความรุนแรง และปราศจากอาวุธ
เมื่อถามว่า จะนำร่างแก้ไขรธน.ทั้ง 6 ฉบับ ที่อยู่ระหว่างการศึกษาของ กมธ.พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมก่อนรับหลักการ เข้ามาพิจารณาด้วยหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า กมธ. ยังไม่ส่งมา
ยันไม่ถก "ปฏิรูปสถาบัน" ในสภาวิสามัญ
น.ส.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะตัวแทนวิปรัฐบาล แถลงหลังการประชุมวิปรัฐบาล หารือการใช้กลไกรัฐสภา เพื่อหาทางออกสถานการณ์การเมืองและการชุมนุม ที่กำลังจะมีการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญวันที่ 26 ถึง 27 ต.ค.นี้ ว่า วางกรอบการอภิปรายโดยใช้เหตุผลคุยกัน ใช้ ข้อเท็จจริงมาพูดคุยกัน ซึ่งจะเป็นเวทีให้ฝ่ายส.ส.รัฐบาล ฝ่ายค้าน ส.ว. และคณะรัฐมนตรีได้ชี้แจงข้อเท็จจริงในมุมมองต่างๆ ส่วนกรอบเวลาการอภิปรายจะมีการหารือกันอีกครั้งหนึ่งในวันนี้ (22ต.ค.)
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ผู้ช่วยเลขานุการวิปรัฐบาล กล่าวถึงประเด็นล่อแหลมในการอภิปรายว่าไม่ได้มีการเตรียมรับมือในเรื่องนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคืออย่างน้อยพรรคร่วมรัฐบาล มีจุดยืนคือรักและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และทำทุกวิถีทางเพื่อปกป้องสถาบัน ซึ่งฝ่ายรัฐบาลจะไม่มีการพูดเกี่ยวกับการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และไม่ได้วางแนวทางประชุมลับไว้ แต่คงมีสมาชิกบางคน หยิบยกขึ้นมาอภิปราย
อย่างไรก็ตาม การเปิดประชุมสมัยวิสามัญครั้งนี้ คงไม่มีใครได้ 100 เปอร์เซ็นต์ทุกฝ่าย แต่รัฐสภาจะเป็นเวทีหาทางออกร่วมกัน ขอให้ทุกฝ่ายถอยคนละก้าว และมีจุดยืนร่วมกัน ซึ่งเป็นหนทางที่น่าจะดีที่สุดสำหรับประเทศ ส่วนจะมีการข้อสรุปร่วมกันหรือไม่ คงจะมีการพูดคุยกันในการประชุม 4 ฝ่าย วันนี้ แต่เบื้องต้นยังไม่มีการบรรจุระเบียบวาระลงมติรับหลักการ ร่างแก้ไขรธน. ทั้ง 6 ญัตติในการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญครั้งนี้
ปชป.จี้โหวตแก้รธน.ช่วงเปิดวิสามัญ
นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงการแก้ไขรธน. ที่กมธ.บางส่วนเห็นว่าต้องมีการทำประชามติ ก่อนรับหลักการ และเมื่อพิจารณาเสร็จแล้ว 3 วาระ ก็ให้ทำประชามติอีกครั้ง สรุปคือให้มีการทำประชามติ 2 ครั้งนั้น ต้องบอกว่าไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว เพราะรธน.ฉบับปัจจุบันได้ระบุไว้ชัดว่า ให้มีการทำประชามติครั้งเดียว คือหลังจากพิจารณาครบสามวาระแล้ว ให้ไปทำประชามติก่อน
"ถ้าให้มีการทำประชามติก่อนรับหลักการ แน่นอนว่าจะถูกตั้งคำถามว่า เป็นการยื้อระยะเวลาในการแก้ไขรธน.หรือไม่ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อประเทศกับในสถานการณ์ปัจจุบัน และกรอบระยะเวลาการพิจารณาของ กมธ. ก่อนรับหลักการ ที่กำหนดดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน เห็นว่ากำหนดกรอบระยะเวลาได้มีความเหมาะสม และได้มีการพิจารณาอย่างรอบด้านพอสมควรแล้ว จึงไม่ควรขอขยายระยะเวลาพิจารณาของคณะกรรมาธิการชุดนี้ออกไปอีก ให้การแก้ไขเพิ่มเติม รธน.ได้เข้าสู่วาระรับหลักการ และดำเนินการตามขั้นตอนที่รธน.และข้อบังคับการประชุมรัฐสภากำหนดไว้โดยเร็วที่สุดต่อไป ซึ่งดูจากข้อเท็จจริงแล้ว สามารถนำเข้าตอนประชุมสภาสมัยวิสามัญได้เลย"นายราเมศ กล่าว
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในการเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญในครั้งนี้ ตนขอเสนอให้มีการพิจารณาปัญหาสำคัญ ใน 2 เรื่องคือ 1.ให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อรับฟังความเห็นของทุกฝ่ายในแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศ 2. ให้มีการนำญัตติร่างการแก้ไขรธน. ขึ้นมาพิจารณาลงมติรับหลักการ วาระ 1 ในสมัยประชุมวิสามัญนี้ เพื่อสนองต่อข้อเรียกร้องของการชุมนุมในเบื้องต้น
ทั้งนี้ นายกฯ ควรยกเลิกประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ก่อนเปิดสภาสมัยวิสามัญ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่ว่าเป็นการชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนขึ้นไป
อนุทินยันไม่ทิ้งรัฐบาล"มาด้วยกัน ไปด้วยกัน"
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวถึงกรณี กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีหนังสือเวียนไปยังโรงพยาบาลให้เตรียมความพร้อมในการให้บริการประชาชน ที่อาจได้รับผลกระทบจากการชุมนุมว่า แน่นอนว่าเราต้องมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมือง สธ.ตื่นตัวในทุกโรงพยาบาล ทั้งเรื่องของแพทย์ฉุกเฉิน เวชภัณฑ์ ยา ที่สำคัญคือการเตรียมเลือดเอาไว้ เผื่อมีความจำเป็นต้องใช้ แต่เราขอให้เป็นการเตรียมเก้อ อย่าได้ใช้อะไรเลย เพียงแต่เราต้องเตรียมความพร้อมอยู่ตลอด
สำหรับการชุมนุมนั้น ทุกคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น แต่ขอให้ร่วมกันชุมนุมด้วยความสงบ ภายใต้กรอบของกฎหมาย เชื่อได้เลยว่ารัฐบาลฟังทุกกลุ่ม ทุกคน ทุกเสียง ส่วนที่อาจเกิดการชุมนุมของทั้งสองกลุ่มในหลายจังหวัด เราจะเตรียมพร้อมอย่างไรนั้น พวกเขาไม่ใช่คนที่เราจะต้องไปป้องกัน ทุกคนมีสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ เรารับฟังทุกเสียง ไม่เช่นนั้นจะยื่นขอเปิดประชุมสมัยวิสามัญรัฐสภา ได้อย่างไร
ทั้งนี้ ยืนยันว่าท่าทีของพรรคภูมิใจไทย เราเสนอให้มีการแก้ไขรธน. มาตรา 256 เพื่อให้มีส.ส.ร. เราพร้อมสนับสนุนให้แก้ไขมาตราที่ประชาชนต้องการให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน ตนเชื่อว่าทุกคนรักชาติ รักบ้านเมือง การแสดงออกอาจจะมีรูปแบบที่ต่างกัน แต่มั่นใจว่าไม่มีใครหวังร้ายต่อบ้านเมือง ในส่วนที่ตนรับผิดชอบ เราก็เตรียมพร้อม ขอวิงวอนใส่หน้ากากอนามัยเวลาชุมนุม หากมีการกำหนดสถานที่ชุมนุมชัดเจนเราจะมีหน่วยบริการทางการแพทย์ไปให้บริการ
เมื่อถามว่า ณ เวลานี้ยืนยันได้หรือไม่ พรรคภูมิใจไทย จะไม่ทอดทิ้งรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ นายอนุทิน กล่าวว่า"ยืนยันครับ มาด้วยกัน ไปก็ไปด้วยกัน"
ม็อบเคลื่อนพลบุกทำเนียบไล่บิ๊กตู่
วานนี้ (21ต.ค.) เพจเฟซบุ๊ก “เยาวชนปลดแอก-Free YOUTH’โพสต์ข้อความว่า “การนัดหมายครั้งสำคัญ!! 14:00 นี้ พร้อมกันที่สถานีรถไฟฟ้าทุกสถานี แล้ว 15:00 โปรดรอฟังประกาศพร้อมกันจากเราอีกครั้ง !”
"ม็อบราษฎร" ประกาศนัดชุมนุมวันนี้ 4 โมงเย็น ที่อนุสาวรีย์ชัยฯ ลั่นมีเซอร์ไพรส์
ต่อมาเพจเฟซบุ๊ก แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม - United Front of Thammasat and Demonstration ได้เผยแพร่ข้อความโดยระบุว่า "วันนี้เรามีเซอร์ไพรส์รอท่านอยู่ เจอกันที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เวลา 16.00 น."
ขณะที่เพจเฟซบุ๊ก เยาวชนปลดแอก - Free YOUTH ได้เผยแพร่ข้อความโดยระบุว่า ยิ่งใหญ่เกรียงไกร 16.00 น. นี้ไปอนุสาวรีย์ชัยฯ พร้อมกันไม่มีแกง และโปรดติดตามการอัพเดทจากเรารวมทั้งวันนี้ยังมีอีกหลายจุดทั่วประเทศที่หลายกลุ่มหลายองค์กรและประชาชนได้จัดขึ้น จุดหลักอนุสาวรีย์ชัยฯ กทม.17.00 น. หน้าเดอะมอลล์บางกะปิ 17.30 น. ลานพ่อขุน ม.รามคำแหง หัวหมาก ต่างจังหวัด15.00 น. หน้ากระทรวงพาณิชย์ นนทบุรี16.30 น. สวนเพชรบุระ เพชรบูรณ์17.00 น. ตลาดโต้รุ่ง ฝั่งธ.กรุงไทย สกลนคร 17.00 น. ลานจอดรถสำงานสาธารณสุขใหม่ มาบตะพุด ระยอง17.00 น. ศาลาร้อยปี (ศาลากลาง) ตราด
เวลา 18.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมมวลชนปลดแอก เคลื่อนขบวนออกจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และเดินเท้าไปตามถนนพญาไท เพื่อมุ่งหน้าสู่ทำเนียบรัฐบาล แต่ขณะเดินมาถึงบริเวณแยกพญาไท แต่เกิดเหตุนายนิติธร ล้ำเหลือ เข้าขวาง แสดงจุดยืนปกป้องสถาบัน ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมพยายามผลักดันออก จนเกิดเหตุการณ์ชุลมุนขึ้น
เวลา 19.20 น. ตำรวจควบคุมฝูงชน นำแบริเออร์ และ รั้วลวดหนามมากั้นที่บริเวณสี่แยกอุรุพงษ์ ยืนยันว่าจะไม่มีการเปิดทางม็อบ ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมพยายามพังแนวกั้นของทางเจ้าหน้าที่ เพื่อกดดันให้เปิดทาง ขณะที่การเจรจรานั้นไม่สำเร็จแต่อย่างใด
เวลา 19.45 น. ม็อบทำลายรั่วลวดหนาม และแบริเออร์ บริเวณแยกอุรุพงษ์ ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องถอยกำลังออกไป จากนั้นกลุ่มม็อบเยาวชนปลดแอก ทยอยเดินทางมุ่งหน้าไปที่ทำเนียบรัฐบาล
เวลา 20.00 น. มวลชนเดินมาถึงรถบัสกองบังคับหารอารักขาและควบคุมฝูงชน รถกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ที่จอดขวาง 3 คัน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจยืนเรียงแถว ตั้งฉากกับรถบัส หันหน้าไปทางด่วนยมราช
เวลา 20.30 น. เคลื่อนประชิดทำเนียบ เชิงสะพานชมัยมรุเชษฐ แต่ยังไม่สามารถฝ่าแนวกีดขวางของเจ้าหน้าที่ ที่ได้ขึงรั้วลวดหนาม มีรถตู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จอดเป็นแนวขวาง พร้อมมีรถประจำทางจอดขวางพื้นที่เช่นกัน
หลังจากนั้นแกนนำผู้ชุมนุมกลุ่มราษฎร อ่านแถลงการณ์ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ยืนยันข้อเรียกร้องสำคัญให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมมอบหนังสือลาออกให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ ผ่านตัวแทนที่มารับมอบคือ นายประทีป กีรติเรขา รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ที่มาพบกับผู้ชุมนุมพร้อมด้วย พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล โดยจะรอคำตอบภายใน 3 วัน หากยังไม่ชัดเจนจะยกระดับข้อเรียกร้องขึ้นไปให้มากกว่าระดับรัฐบาล ก่อนจะยุติการชุมนม
'อาชีวะ-นศ.รามฯ'ปักหลักลานพ่อขุนปกป้องสถาบัน
ที่ ลานพ่อขุน ม.รามคำแหง กลุ่มภาคีเครือข่ายปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย กลุ่มลูกพ่อขุนเทิดทูนสถาบันฯ กลุ่มอาชีวะช่วยชาติ และกลุ่มศิษย์เก่าสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ ร่วมแถลงการณ์ประกาศจุดยืนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ มีใจความตอนหนึ่งว่า สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันที่เกิดขึ้น มีความพยายามเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเพื่อยุยงปลุกปั่นก้าวล่วงสถาบันพระมหากษัตริย์ ขอแสดงพลังของคนรุ่นใหม่ แสดงจุดยืน ประณามเหตุการณ์ วันที่ 14 ต.ค. ที่มีการล้อมรถพระที่นั่ง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจาบจ้วง อาฆาตมาดร้ายต่อสมเด็จพระราชินีฯ เรียกร้องให้ผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการความวุ่นวายในครั้งนี้ ออกมาแสดงความรับผิดชอบ โดยกลุ่มจะไม่ขัดขวางการชุมนุมตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ แต่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมที่ไม่เคารพกฎหมาย และสิทธิของบุคคลอื่น ขอเชิญชวนคนรุ่นใหม่ ออกมาแสดงพลังในวันที่ 31 ต.ค. พันธสัญญาอาชีวะนิสิตนักศึกษาที่รักสถาบัน มาร่วมกล่าวปฏิญญาแห่งความจงรักภัคดี ณ ลานพ่อขุน เวลา 16.00 น.
นายทศพล มนูญญรัตน์ ตัวแทนกลุ่มอาชีวะช่วยชาติ กล่าวว่า จุดยืนของพวก เราจะไม่ใช้ความรุนแรง และจะไม่เผชิญหน้า เพราะประเทศไทยขณะนี้บอบช้ำมากแล้ว แต่เราจะปักหลักอยู่ที่ลานพ่อขุน เพื่อเฝ้าจับตาการชุมนุมของกลุ่มการเมืองในช่วงเย็นวันนี้ ที่ ม.รามคำแหง จนกว่าจะมีการชุมนุมเสร็จ ว่าจะมีการจาบจ้วง หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพรักของพวกเราหรือไม่ หากมีการจาบจ้วงกิดขึ้น พวกเราจะไม่ยอมทน
ขณะเดียวกัน เฟชบุ๊กกลุ่มอาชีวะช่วยชาติ โพสต์ข้อความว่า มารอกันครับ ประกาศแล้วว่า รามคำแหง ไม่ต้อนรับ ผู้จาบจ้วงสถาบันฯวันนี้ คณะราษฎรประกาศนัดชุมนุมที่ลานพ่อขุน ม.รามคำแหง เวลา 17.30 น. กลุ่มรามคำแหงปกป้องสถาบันฯ และอาชีวะช่วยชาติ จะรอต้อนรับอย่างเต็มที่ ขอเชิญชวนคนไทยผู้จงรักภักดี มาร่วมกันต้อนรับพวกคนล้มสถาบันฯ
อย่างไรก็ตาม เวลาประมาณ 17.10 น. กลุ่มภาคีเครือข่ายปกป้องสถาบันฯ กับฝ่ายม็อบราษฏร ที่รวมตัวเข้ามาจัดชุมนุมที่ ม.รามคำแหง เกิดการเผชิญหน้ากัน และมีการขว้างปาสิ่งของเข้าใส่กัน จนม็อบราษฏรแตกไปคนละทิศละทางขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ชุมนุมพยายามเข้าห้ามปราม
คนไทยใส่เสื้อเหลืองรวมพลังปกป้องสถาบัน
ขณะเดียวกัน มวลชนทั่วประเทศพร้อมใจกันใส่เสื้อเหลืองเดินรณรงค์สำนึกรักประเทศไทย และร่วมแสดงพลังปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ อาทิ นายสกุลศักดิ์ มะดาโอ๊ะ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลปาเสมัส อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ชาวอำเภอสุไหงโกลก และอำเภอสุไหงปาดี พร้อมประชาชนจังหวัด นราธิวาสประมาณ 9,000 คน พร้อมใจใส่เสื้อเหลือง เดินรณรงค์ สำนึกรักประเทศไทย และร่วมแสดงพลังปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมอ่านแถลงการณ์ ปกป้องสถาบันกษัตริย์ จะไม่ยินยอมให้ใครละเมิด ดูหมิ่น และกระทำมิบังควรต่อสถาบันที่พวกเรารักยิ่งชีพมิได้
นอกจากนี้ยังมีคนไทยในอีกหลายพื้นที่ทั่วประเทศที่ผู้นำท้องถิ่นนำมวลชนออกมาแสดงพลังเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ชาวอำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ จ.สงขลา, ชาวจังหวัดลำปาง, จังหวัดอุทัยธานี, จังหวัดชลบุรี รวมถึง จ.สมุทรปราการ เป็นต้น
'พรเพชร' นัดวุฒิสภารวมตัวแถลงจุดยืนพิทักษ์สถาบันวันนี้
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา นำสมาชิกวุฒิสภา และข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา แถลงจุดยืนในการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ในวันที่ 22 ต.ค. 63 เวลา 09.30 น. ณ บริเวณด้านหน้าอาคารสุขประพฤติ ถนนประชาชื่น กรุงเทพฯ
บิ๊กตู่ แถลงการณ์ถอยคนละก้าว แก้ปัญหาร่วมกัน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ออกแถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย(ทรท.) โดยระบุว่า “ถอยคนละก้าว เข้าสภา ใช้สติและปัญญา แก้ปัญหาร่วมกัน” เราไม่สามารถบริหารประเทศตามเสียงประท้วงหรือความต้องการของผู้ประท้วงกลุ่มต่างๆ ทุกกลุ่มประท้วงได้ แม้ผมจะพูดได้อย่างเต็มปากว่า ผมได้ยินเสียงความต้องการของผู้ประท้วงก็ตาม ในเวลานี้ เราต้องถอยกันคนละก้าว เพื่อออกห่างจากทางที่จะนำไปสู่ปากเหว เส้นทางที่จะพาประเทศไทยของเราค่อยๆ ตกลงไปสู่หายนะ และสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุมจะเริ่มเกิดขึ้นมากขึ้นๆ การใช้อารมณ์ความรู้สึกนำก็จะยิ่งสร้างอารมณ์ความรู้สึกที่ร้อนมากยิ่งขึ้น และการใช้ความรุนแรง จะยิ่งนำมาซึ่งความรุนแรงที่มากกว่าเดิม สิ่งเหล่านี้ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ได้สอนเรามาแล้วหลายครั้ง ซึ่งตอนจบของทุกครั้งก็คือความเสียหายที่ทิ้งไว้กับประเทศ
วิธีเดียวที่เราจะได้ทางออกของปัญหา ที่จะยุติธรรมสำหรับทุกฝ่าย ทั้งสำหรับประชาชนที่ออกมาอยู่บนท้องถนน และสำหรับประชาชนอีกหลายสิบล้านคนที่ไม่ได้ออกมา คือการพูดคุยกัน ทำงานด้วยกัน ผ่านระบบ และกระบวนการของรัฐสภา หากผู้ประท้วงคิดว่าจะทำให้สิ่งที่ต้องการเกิดขึ้นได้ โดยการออกมาบนท้องถนน พวกเค้าอาจจะชนะ และสามารถก้าวข้ามหัวรัฐสภาได้สำเร็จ หรือพวกเค้าอาจจะไม่ประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ ก็เป็นไปได้ ตัวอย่างมีให้เราเห็นมาแล้วว่าเกิดขึ้นได้ทั้งสองทาง จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา โดยคณะรัฐมนตรี เห็นชอบการเปิดประชุมวิสามัญ และได้ทูลเกล้าพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมสภาแล้ว คาดว่าจะเปิดประชุมสภาได้ประมาณวันจันทร์ที่ 26-27 ต.ค.ที่จะถึงนี้
พร้อมกันนี้ ผมกำลังเตรียมที่จะยกเลิก พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพฯ เร็วๆ นี้ ยกเว้นหากมีสถานการณ์รุนแรงใดๆ เกิดขึ้น
วานนี้ (21 ต.ค.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศพระราชกฤษฎีกา เรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2563
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นปีที่ 5 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ สมควรที่จะเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุม สมัยวิสามัญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 122 และมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง การประชุมร่วมรัฐสภาสมัยวิสามัญที่จะมีขึ้นในวันที่ 26-27 ต.ค.ว่า ขั้นตอนการบรรจุระเบียบวาระการประชุม โดยเป็นการอภิปรายทั่วไปเพื่อหาทางออกปัญหาการชุมนุมการเมือง รัฐบาลจะต้องเป็นผู้กำหนดประเด็นในการอภิปรายตามมาตรา 165 เพราะเป็นผู้เสนอขอเปิดสมัยวิสามัญ ซึ่งตอนนี้ยังไม่สามารถบรรจุระเบียบวาระได้ เนื่องจากต้องรอให้มีพ.ร.ฎ.เปิดสมัยประชุมก่อน โดยในวันที่ 22 ต.ค.นี้ จะมีการหารือร่วมกัน 4 ฝ่าย เพื่อกำหนดเวลา ให้แต่ละฝ่าย ได้อภิปรายอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ไม่ได้กำชับอะไรเป็นพิเศษ แต่จะต้องอยู่ในประเด็นที่รัฐบาลกำหนดไว้
"ในการประชุมนอกรอบที่ผ่านมา มีสมาชิกบางคนที่ไม่เห็นด้วยในการเปิดประชุมสมัยวิสามัญ โดยบอกว่าเปิดแล้วไม่มีประโยชน์ อย่างดีก็แค่ด่ากัน ประชาชนก็เบื่อหน่าย ผมจึงบอกสมาชิกว่า อย่างนั้นจะต้องไม่ทำให้เกิดความรู้สึกแบบนั้น ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือ และความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่เปิดสภาเพื่อไม่ไว้วางใจ หรือด่ากัน" นายชวน กล่าว
ส่วนมาตรการรักษาความปลอดภัย ก็ไม่จำเป็นต้องขอกำลังตำรวจหรือทหารเพิ่มเติม เชื่อว่าสถานการณ์จะไม่รุนแรง เพราะสภาฯ เปิดกว้างให้กลุ่มผู้ชุมนุมเข้ามาทำกิจกรรมได้ แต่ต้องไม่ใช้ความรุนแรง และปราศจากอาวุธ
เมื่อถามว่า จะนำร่างแก้ไขรธน.ทั้ง 6 ฉบับ ที่อยู่ระหว่างการศึกษาของ กมธ.พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมก่อนรับหลักการ เข้ามาพิจารณาด้วยหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า กมธ. ยังไม่ส่งมา
ยันไม่ถก "ปฏิรูปสถาบัน" ในสภาวิสามัญ
น.ส.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะตัวแทนวิปรัฐบาล แถลงหลังการประชุมวิปรัฐบาล หารือการใช้กลไกรัฐสภา เพื่อหาทางออกสถานการณ์การเมืองและการชุมนุม ที่กำลังจะมีการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญวันที่ 26 ถึง 27 ต.ค.นี้ ว่า วางกรอบการอภิปรายโดยใช้เหตุผลคุยกัน ใช้ ข้อเท็จจริงมาพูดคุยกัน ซึ่งจะเป็นเวทีให้ฝ่ายส.ส.รัฐบาล ฝ่ายค้าน ส.ว. และคณะรัฐมนตรีได้ชี้แจงข้อเท็จจริงในมุมมองต่างๆ ส่วนกรอบเวลาการอภิปรายจะมีการหารือกันอีกครั้งหนึ่งในวันนี้ (22ต.ค.)
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ผู้ช่วยเลขานุการวิปรัฐบาล กล่าวถึงประเด็นล่อแหลมในการอภิปรายว่าไม่ได้มีการเตรียมรับมือในเรื่องนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคืออย่างน้อยพรรคร่วมรัฐบาล มีจุดยืนคือรักและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และทำทุกวิถีทางเพื่อปกป้องสถาบัน ซึ่งฝ่ายรัฐบาลจะไม่มีการพูดเกี่ยวกับการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และไม่ได้วางแนวทางประชุมลับไว้ แต่คงมีสมาชิกบางคน หยิบยกขึ้นมาอภิปราย
อย่างไรก็ตาม การเปิดประชุมสมัยวิสามัญครั้งนี้ คงไม่มีใครได้ 100 เปอร์เซ็นต์ทุกฝ่าย แต่รัฐสภาจะเป็นเวทีหาทางออกร่วมกัน ขอให้ทุกฝ่ายถอยคนละก้าว และมีจุดยืนร่วมกัน ซึ่งเป็นหนทางที่น่าจะดีที่สุดสำหรับประเทศ ส่วนจะมีการข้อสรุปร่วมกันหรือไม่ คงจะมีการพูดคุยกันในการประชุม 4 ฝ่าย วันนี้ แต่เบื้องต้นยังไม่มีการบรรจุระเบียบวาระลงมติรับหลักการ ร่างแก้ไขรธน. ทั้ง 6 ญัตติในการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญครั้งนี้
ปชป.จี้โหวตแก้รธน.ช่วงเปิดวิสามัญ
นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงการแก้ไขรธน. ที่กมธ.บางส่วนเห็นว่าต้องมีการทำประชามติ ก่อนรับหลักการ และเมื่อพิจารณาเสร็จแล้ว 3 วาระ ก็ให้ทำประชามติอีกครั้ง สรุปคือให้มีการทำประชามติ 2 ครั้งนั้น ต้องบอกว่าไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว เพราะรธน.ฉบับปัจจุบันได้ระบุไว้ชัดว่า ให้มีการทำประชามติครั้งเดียว คือหลังจากพิจารณาครบสามวาระแล้ว ให้ไปทำประชามติก่อน
"ถ้าให้มีการทำประชามติก่อนรับหลักการ แน่นอนว่าจะถูกตั้งคำถามว่า เป็นการยื้อระยะเวลาในการแก้ไขรธน.หรือไม่ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อประเทศกับในสถานการณ์ปัจจุบัน และกรอบระยะเวลาการพิจารณาของ กมธ. ก่อนรับหลักการ ที่กำหนดดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน เห็นว่ากำหนดกรอบระยะเวลาได้มีความเหมาะสม และได้มีการพิจารณาอย่างรอบด้านพอสมควรแล้ว จึงไม่ควรขอขยายระยะเวลาพิจารณาของคณะกรรมาธิการชุดนี้ออกไปอีก ให้การแก้ไขเพิ่มเติม รธน.ได้เข้าสู่วาระรับหลักการ และดำเนินการตามขั้นตอนที่รธน.และข้อบังคับการประชุมรัฐสภากำหนดไว้โดยเร็วที่สุดต่อไป ซึ่งดูจากข้อเท็จจริงแล้ว สามารถนำเข้าตอนประชุมสภาสมัยวิสามัญได้เลย"นายราเมศ กล่าว
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในการเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญในครั้งนี้ ตนขอเสนอให้มีการพิจารณาปัญหาสำคัญ ใน 2 เรื่องคือ 1.ให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อรับฟังความเห็นของทุกฝ่ายในแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศ 2. ให้มีการนำญัตติร่างการแก้ไขรธน. ขึ้นมาพิจารณาลงมติรับหลักการ วาระ 1 ในสมัยประชุมวิสามัญนี้ เพื่อสนองต่อข้อเรียกร้องของการชุมนุมในเบื้องต้น
ทั้งนี้ นายกฯ ควรยกเลิกประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ก่อนเปิดสภาสมัยวิสามัญ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่ว่าเป็นการชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนขึ้นไป
อนุทินยันไม่ทิ้งรัฐบาล"มาด้วยกัน ไปด้วยกัน"
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวถึงกรณี กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีหนังสือเวียนไปยังโรงพยาบาลให้เตรียมความพร้อมในการให้บริการประชาชน ที่อาจได้รับผลกระทบจากการชุมนุมว่า แน่นอนว่าเราต้องมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมือง สธ.ตื่นตัวในทุกโรงพยาบาล ทั้งเรื่องของแพทย์ฉุกเฉิน เวชภัณฑ์ ยา ที่สำคัญคือการเตรียมเลือดเอาไว้ เผื่อมีความจำเป็นต้องใช้ แต่เราขอให้เป็นการเตรียมเก้อ อย่าได้ใช้อะไรเลย เพียงแต่เราต้องเตรียมความพร้อมอยู่ตลอด
สำหรับการชุมนุมนั้น ทุกคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น แต่ขอให้ร่วมกันชุมนุมด้วยความสงบ ภายใต้กรอบของกฎหมาย เชื่อได้เลยว่ารัฐบาลฟังทุกกลุ่ม ทุกคน ทุกเสียง ส่วนที่อาจเกิดการชุมนุมของทั้งสองกลุ่มในหลายจังหวัด เราจะเตรียมพร้อมอย่างไรนั้น พวกเขาไม่ใช่คนที่เราจะต้องไปป้องกัน ทุกคนมีสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ เรารับฟังทุกเสียง ไม่เช่นนั้นจะยื่นขอเปิดประชุมสมัยวิสามัญรัฐสภา ได้อย่างไร
ทั้งนี้ ยืนยันว่าท่าทีของพรรคภูมิใจไทย เราเสนอให้มีการแก้ไขรธน. มาตรา 256 เพื่อให้มีส.ส.ร. เราพร้อมสนับสนุนให้แก้ไขมาตราที่ประชาชนต้องการให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน ตนเชื่อว่าทุกคนรักชาติ รักบ้านเมือง การแสดงออกอาจจะมีรูปแบบที่ต่างกัน แต่มั่นใจว่าไม่มีใครหวังร้ายต่อบ้านเมือง ในส่วนที่ตนรับผิดชอบ เราก็เตรียมพร้อม ขอวิงวอนใส่หน้ากากอนามัยเวลาชุมนุม หากมีการกำหนดสถานที่ชุมนุมชัดเจนเราจะมีหน่วยบริการทางการแพทย์ไปให้บริการ
เมื่อถามว่า ณ เวลานี้ยืนยันได้หรือไม่ พรรคภูมิใจไทย จะไม่ทอดทิ้งรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ นายอนุทิน กล่าวว่า"ยืนยันครับ มาด้วยกัน ไปก็ไปด้วยกัน"
ม็อบเคลื่อนพลบุกทำเนียบไล่บิ๊กตู่
วานนี้ (21ต.ค.) เพจเฟซบุ๊ก “เยาวชนปลดแอก-Free YOUTH’โพสต์ข้อความว่า “การนัดหมายครั้งสำคัญ!! 14:00 นี้ พร้อมกันที่สถานีรถไฟฟ้าทุกสถานี แล้ว 15:00 โปรดรอฟังประกาศพร้อมกันจากเราอีกครั้ง !”
"ม็อบราษฎร" ประกาศนัดชุมนุมวันนี้ 4 โมงเย็น ที่อนุสาวรีย์ชัยฯ ลั่นมีเซอร์ไพรส์
ต่อมาเพจเฟซบุ๊ก แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม - United Front of Thammasat and Demonstration ได้เผยแพร่ข้อความโดยระบุว่า "วันนี้เรามีเซอร์ไพรส์รอท่านอยู่ เจอกันที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เวลา 16.00 น."
ขณะที่เพจเฟซบุ๊ก เยาวชนปลดแอก - Free YOUTH ได้เผยแพร่ข้อความโดยระบุว่า ยิ่งใหญ่เกรียงไกร 16.00 น. นี้ไปอนุสาวรีย์ชัยฯ พร้อมกันไม่มีแกง และโปรดติดตามการอัพเดทจากเรารวมทั้งวันนี้ยังมีอีกหลายจุดทั่วประเทศที่หลายกลุ่มหลายองค์กรและประชาชนได้จัดขึ้น จุดหลักอนุสาวรีย์ชัยฯ กทม.17.00 น. หน้าเดอะมอลล์บางกะปิ 17.30 น. ลานพ่อขุน ม.รามคำแหง หัวหมาก ต่างจังหวัด15.00 น. หน้ากระทรวงพาณิชย์ นนทบุรี16.30 น. สวนเพชรบุระ เพชรบูรณ์17.00 น. ตลาดโต้รุ่ง ฝั่งธ.กรุงไทย สกลนคร 17.00 น. ลานจอดรถสำงานสาธารณสุขใหม่ มาบตะพุด ระยอง17.00 น. ศาลาร้อยปี (ศาลากลาง) ตราด
เวลา 18.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมมวลชนปลดแอก เคลื่อนขบวนออกจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และเดินเท้าไปตามถนนพญาไท เพื่อมุ่งหน้าสู่ทำเนียบรัฐบาล แต่ขณะเดินมาถึงบริเวณแยกพญาไท แต่เกิดเหตุนายนิติธร ล้ำเหลือ เข้าขวาง แสดงจุดยืนปกป้องสถาบัน ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมพยายามผลักดันออก จนเกิดเหตุการณ์ชุลมุนขึ้น
เวลา 19.20 น. ตำรวจควบคุมฝูงชน นำแบริเออร์ และ รั้วลวดหนามมากั้นที่บริเวณสี่แยกอุรุพงษ์ ยืนยันว่าจะไม่มีการเปิดทางม็อบ ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมพยายามพังแนวกั้นของทางเจ้าหน้าที่ เพื่อกดดันให้เปิดทาง ขณะที่การเจรจรานั้นไม่สำเร็จแต่อย่างใด
เวลา 19.45 น. ม็อบทำลายรั่วลวดหนาม และแบริเออร์ บริเวณแยกอุรุพงษ์ ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องถอยกำลังออกไป จากนั้นกลุ่มม็อบเยาวชนปลดแอก ทยอยเดินทางมุ่งหน้าไปที่ทำเนียบรัฐบาล
เวลา 20.00 น. มวลชนเดินมาถึงรถบัสกองบังคับหารอารักขาและควบคุมฝูงชน รถกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ที่จอดขวาง 3 คัน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจยืนเรียงแถว ตั้งฉากกับรถบัส หันหน้าไปทางด่วนยมราช
เวลา 20.30 น. เคลื่อนประชิดทำเนียบ เชิงสะพานชมัยมรุเชษฐ แต่ยังไม่สามารถฝ่าแนวกีดขวางของเจ้าหน้าที่ ที่ได้ขึงรั้วลวดหนาม มีรถตู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จอดเป็นแนวขวาง พร้อมมีรถประจำทางจอดขวางพื้นที่เช่นกัน
หลังจากนั้นแกนนำผู้ชุมนุมกลุ่มราษฎร อ่านแถลงการณ์ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ยืนยันข้อเรียกร้องสำคัญให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมมอบหนังสือลาออกให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ ผ่านตัวแทนที่มารับมอบคือ นายประทีป กีรติเรขา รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ที่มาพบกับผู้ชุมนุมพร้อมด้วย พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล โดยจะรอคำตอบภายใน 3 วัน หากยังไม่ชัดเจนจะยกระดับข้อเรียกร้องขึ้นไปให้มากกว่าระดับรัฐบาล ก่อนจะยุติการชุมนม
'อาชีวะ-นศ.รามฯ'ปักหลักลานพ่อขุนปกป้องสถาบัน
ที่ ลานพ่อขุน ม.รามคำแหง กลุ่มภาคีเครือข่ายปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย กลุ่มลูกพ่อขุนเทิดทูนสถาบันฯ กลุ่มอาชีวะช่วยชาติ และกลุ่มศิษย์เก่าสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ ร่วมแถลงการณ์ประกาศจุดยืนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ มีใจความตอนหนึ่งว่า สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันที่เกิดขึ้น มีความพยายามเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเพื่อยุยงปลุกปั่นก้าวล่วงสถาบันพระมหากษัตริย์ ขอแสดงพลังของคนรุ่นใหม่ แสดงจุดยืน ประณามเหตุการณ์ วันที่ 14 ต.ค. ที่มีการล้อมรถพระที่นั่ง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจาบจ้วง อาฆาตมาดร้ายต่อสมเด็จพระราชินีฯ เรียกร้องให้ผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการความวุ่นวายในครั้งนี้ ออกมาแสดงความรับผิดชอบ โดยกลุ่มจะไม่ขัดขวางการชุมนุมตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ แต่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมที่ไม่เคารพกฎหมาย และสิทธิของบุคคลอื่น ขอเชิญชวนคนรุ่นใหม่ ออกมาแสดงพลังในวันที่ 31 ต.ค. พันธสัญญาอาชีวะนิสิตนักศึกษาที่รักสถาบัน มาร่วมกล่าวปฏิญญาแห่งความจงรักภัคดี ณ ลานพ่อขุน เวลา 16.00 น.
นายทศพล มนูญญรัตน์ ตัวแทนกลุ่มอาชีวะช่วยชาติ กล่าวว่า จุดยืนของพวก เราจะไม่ใช้ความรุนแรง และจะไม่เผชิญหน้า เพราะประเทศไทยขณะนี้บอบช้ำมากแล้ว แต่เราจะปักหลักอยู่ที่ลานพ่อขุน เพื่อเฝ้าจับตาการชุมนุมของกลุ่มการเมืองในช่วงเย็นวันนี้ ที่ ม.รามคำแหง จนกว่าจะมีการชุมนุมเสร็จ ว่าจะมีการจาบจ้วง หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพรักของพวกเราหรือไม่ หากมีการจาบจ้วงกิดขึ้น พวกเราจะไม่ยอมทน
ขณะเดียวกัน เฟชบุ๊กกลุ่มอาชีวะช่วยชาติ โพสต์ข้อความว่า มารอกันครับ ประกาศแล้วว่า รามคำแหง ไม่ต้อนรับ ผู้จาบจ้วงสถาบันฯวันนี้ คณะราษฎรประกาศนัดชุมนุมที่ลานพ่อขุน ม.รามคำแหง เวลา 17.30 น. กลุ่มรามคำแหงปกป้องสถาบันฯ และอาชีวะช่วยชาติ จะรอต้อนรับอย่างเต็มที่ ขอเชิญชวนคนไทยผู้จงรักภักดี มาร่วมกันต้อนรับพวกคนล้มสถาบันฯ
อย่างไรก็ตาม เวลาประมาณ 17.10 น. กลุ่มภาคีเครือข่ายปกป้องสถาบันฯ กับฝ่ายม็อบราษฏร ที่รวมตัวเข้ามาจัดชุมนุมที่ ม.รามคำแหง เกิดการเผชิญหน้ากัน และมีการขว้างปาสิ่งของเข้าใส่กัน จนม็อบราษฏรแตกไปคนละทิศละทางขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ชุมนุมพยายามเข้าห้ามปราม
คนไทยใส่เสื้อเหลืองรวมพลังปกป้องสถาบัน
ขณะเดียวกัน มวลชนทั่วประเทศพร้อมใจกันใส่เสื้อเหลืองเดินรณรงค์สำนึกรักประเทศไทย และร่วมแสดงพลังปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ อาทิ นายสกุลศักดิ์ มะดาโอ๊ะ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลปาเสมัส อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ชาวอำเภอสุไหงโกลก และอำเภอสุไหงปาดี พร้อมประชาชนจังหวัด นราธิวาสประมาณ 9,000 คน พร้อมใจใส่เสื้อเหลือง เดินรณรงค์ สำนึกรักประเทศไทย และร่วมแสดงพลังปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมอ่านแถลงการณ์ ปกป้องสถาบันกษัตริย์ จะไม่ยินยอมให้ใครละเมิด ดูหมิ่น และกระทำมิบังควรต่อสถาบันที่พวกเรารักยิ่งชีพมิได้
นอกจากนี้ยังมีคนไทยในอีกหลายพื้นที่ทั่วประเทศที่ผู้นำท้องถิ่นนำมวลชนออกมาแสดงพลังเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ชาวอำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ จ.สงขลา, ชาวจังหวัดลำปาง, จังหวัดอุทัยธานี, จังหวัดชลบุรี รวมถึง จ.สมุทรปราการ เป็นต้น
'พรเพชร' นัดวุฒิสภารวมตัวแถลงจุดยืนพิทักษ์สถาบันวันนี้
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา นำสมาชิกวุฒิสภา และข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา แถลงจุดยืนในการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ในวันที่ 22 ต.ค. 63 เวลา 09.30 น. ณ บริเวณด้านหน้าอาคารสุขประพฤติ ถนนประชาชื่น กรุงเทพฯ
บิ๊กตู่ แถลงการณ์ถอยคนละก้าว แก้ปัญหาร่วมกัน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ออกแถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย(ทรท.) โดยระบุว่า “ถอยคนละก้าว เข้าสภา ใช้สติและปัญญา แก้ปัญหาร่วมกัน” เราไม่สามารถบริหารประเทศตามเสียงประท้วงหรือความต้องการของผู้ประท้วงกลุ่มต่างๆ ทุกกลุ่มประท้วงได้ แม้ผมจะพูดได้อย่างเต็มปากว่า ผมได้ยินเสียงความต้องการของผู้ประท้วงก็ตาม ในเวลานี้ เราต้องถอยกันคนละก้าว เพื่อออกห่างจากทางที่จะนำไปสู่ปากเหว เส้นทางที่จะพาประเทศไทยของเราค่อยๆ ตกลงไปสู่หายนะ และสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุมจะเริ่มเกิดขึ้นมากขึ้นๆ การใช้อารมณ์ความรู้สึกนำก็จะยิ่งสร้างอารมณ์ความรู้สึกที่ร้อนมากยิ่งขึ้น และการใช้ความรุนแรง จะยิ่งนำมาซึ่งความรุนแรงที่มากกว่าเดิม สิ่งเหล่านี้ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ได้สอนเรามาแล้วหลายครั้ง ซึ่งตอนจบของทุกครั้งก็คือความเสียหายที่ทิ้งไว้กับประเทศ
วิธีเดียวที่เราจะได้ทางออกของปัญหา ที่จะยุติธรรมสำหรับทุกฝ่าย ทั้งสำหรับประชาชนที่ออกมาอยู่บนท้องถนน และสำหรับประชาชนอีกหลายสิบล้านคนที่ไม่ได้ออกมา คือการพูดคุยกัน ทำงานด้วยกัน ผ่านระบบ และกระบวนการของรัฐสภา หากผู้ประท้วงคิดว่าจะทำให้สิ่งที่ต้องการเกิดขึ้นได้ โดยการออกมาบนท้องถนน พวกเค้าอาจจะชนะ และสามารถก้าวข้ามหัวรัฐสภาได้สำเร็จ หรือพวกเค้าอาจจะไม่ประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ ก็เป็นไปได้ ตัวอย่างมีให้เราเห็นมาแล้วว่าเกิดขึ้นได้ทั้งสองทาง จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา โดยคณะรัฐมนตรี เห็นชอบการเปิดประชุมวิสามัญ และได้ทูลเกล้าพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมสภาแล้ว คาดว่าจะเปิดประชุมสภาได้ประมาณวันจันทร์ที่ 26-27 ต.ค.ที่จะถึงนี้
พร้อมกันนี้ ผมกำลังเตรียมที่จะยกเลิก พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพฯ เร็วๆ นี้ ยกเว้นหากมีสถานการณ์รุนแรงใดๆ เกิดขึ้น