ผู้จัดการรายวัน360-“พุทธิพงษ์”เตรียมฟ้องดำเนินคดีผู้ใช้โซเชียลมีเดียกว่า 3 แสน URL หลังพบมีการเผยแพร่และนำเสนอข่าวฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เผยเป้าแรกเน้นเอาผิดผู้โพสต์คนแรก “ปวิน-สมศักดิ์เจียม-ไมค์” ไม่รอด รวมถึงสื่อ-เพจ “วอยซ์ทีวี-เยาวชนปลดแอก” ยันไม่ได้สั่งปิดแอปฯ เทเลแกรม แค่ขอผู้ให้บริการ ค่ายมือถือเฝ้าระวัง ตรวจสอบ หากพบผิดให้ระงับเผยแพร่หรือลบข้อมูล ด้านกอร.ฉ.ยันไม่ได้ปิด 5 สื่อ แต่ดูเป็นกรณี เยาวชนปลดแอกประณามสั่งปิดสื่อ เปิดเพจสำรองไว้แจ้งข่าวสารแล้ว
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงดีอีเอส แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียทุกแพลตฟอร์มที่ผิดกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 14-18 ต.ค.2563 โดยเบื้องต้นพบผู้กระทำผิดกว่า 300,000 URL โดยอยู่ระหว่างการตรวจสอบเพื่อระบุตัวบุคคลให้ชัดเจน เพื่อดำเนินคดีต่อไป จึงอยากเตือนประชาชนให้ใช้สื่ออย่างระมัดระวัง เพราะในสถานการณ์ฉุกเฉินจะมีข้อจำกัดมากขึ้น โดยเฉพาะห้ามยุยง ปลุกปั่นและสร้างความแตกแยก ดังนั้น หากมีการกระทำที่เข่าข่ายก็จำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
“ท่านนายกฯ ไม่ได้กำชับอะไรมาก ให้ปฏิบัติตามกฏระเบียบ กระทรวงดิจิทัลฯ พยายามดูให้รอบคอบ ไม่รังแกใคร ที่ผ่านมา ทำหลายเรื่อง ทั้งเตือนการนำเข้าข้อมูลที่เป็นเท็จต่างๆ ที่แชร์ข้อมูลไปจำนวนมากที่ดูแล้วก็เข้าข่ายทำความผิด แต่เราก็คัดกรองอย่างรอบคอบ เอาผิดจริงๆ จะเน้นในกลุ่มที่เป็นต้นตอมากกว่าก่อน โดยจะเก็บรวบรวมหลักฐานผู้กระทำความผิด ส่วนจะใช้กฎหมายฉบับใด จะพิจารณาต่อไป หากเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ก็จะรายงานให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ส่วนที่เข้าข่าย พ.ร.บ.คอมฯ ก็จะดำเนินการทันที ทั้งนี้ ยืนยันว่าจะดำเนินการด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ ไม่มีการเลือกปฏิบัติ”
นายพุทธิพงษ์กล่าวว่า กรณีที่สื่อโซเชียลมีเดีย ระบุว่าตนจะปิดเฟซบุ๊กต่างๆ นั้น ต้องดูว่าทำได้หรือไม่ ขอดูคำสั่งอีกที และการไลฟ์ก็ทำได้ แต่ถ้าไปไลฟ์ผู้ที่พูดบนเวทีแล้วมีเนื้อหาที่หมิ่นหรือผิดกฎหมายที่กล่าวร้ายพาดพิงผู้อื่น ก็จะเข้าข่ายมีความผิด แต่หากเป็นการรายงานทั่วไป ก็ไม่ได้ผิดกฎหมายอะไร
ส่วนการตรวจสอบและให้ระงับการออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาสาระที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐของสื่อ 4 แห่ง และ 1 เพจ ตามที่เป็นข่าวนั้น ยอมรับว่าเอกสารคำสั่งของผบ.ตร.ที่ให้ตรวจสอบสื่อเป็นของจริง แต่ไม่ใช่การปิดสื่อ เพราะจอไม่ได้ดำ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะเชิญช่องต่างๆ มาชี้แจงถึงการนำเสนอข่าว และให้ระมัดระวังสื่อที่ออกมา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดูว่าอันไหนยุยง ชี้นำเนื้อหาผิดกฎหมายก็ดำเนินการตามขั้นตอน เพราะมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้วย จึงจำเป็นต้องเข้มงวด
นายพุทธิพงษ์ กล่าวถึงกรณีการระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะฝ่าฝืนข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมถึง IP Address แอปพลิเคชันเทเลแกรม (Telegram) ว่า กระทรวงดิจิทัล และ กสทช. ได้ขอความร่วมมือให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือทุกราย ระงับการใช้แอปฯ เทเลแกรม ที่มีลักษณะผิดกฎหมาย หากพบว่ามีความผิด เพื่อให้ระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ทันที
นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดีอีเอส กล่าวว่า ผลจากการตั้งศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การชุมนุม ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และแก้ไขเพิ่มเติม และพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ระหว่างวันที่ 13–18 ต.ค. 2563 มีประชาชนแจ้งเข้ามา และทางเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่าเข้าข่ายสุ่มเสี่ยงกระทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั้งหมด 324,990 เรื่อง แบ่งเป็น Twitter 75,076 เรื่อง Facebook 245,678 เรื่อง และ Web board 4,236 เรื่อง ซึ่งรวมทั้งผู้โพสต์คนแรก และแชร์ รีทวิตข้อความที่ผิดกฎหมาย
ทั้งนี้ ลำดับแรกเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอาผิดเฉพาะผู้โพสต์คนแรกๆ ที่นำเข้าซึ่งข้อความสู่ระบบคอมพิวเตอร์ก่อนจำนวนหนึ่ง โดยพบว่ามีทั้งเป็นแกนนำกลุ่มมวลชน นักการเมืองและผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวในโซเชียลมีเดียคนหลักๆ เช่น ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “Pavin chachavalpongpun” และทวิตเตอร์ที่พบว่าเป็นของนายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ , เพจเฟซบุ๊กของนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล , นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ ระยอง แกนนำมวลชน รวมถึงสื่อและการรายงานสถานการณ์ทางออนไลน์ ได้แก่ เว็บไซต์ Voice TV และเพจเยาวชนปลดแอก Free Youth ที่เข้าข่ายผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ส่วนก่อนหน้านี้ศาลได้มีคำสั่งให้ปิดกั้น เพจ Royalist Market Place (ตลาดหลวง) ไปแล้ว 2 ครั้ง หากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือแพลตฟอร์มไม่ทำการปิดกั้นภายใน 15 วัน กระทรวงดีอีเอส จะดำเนินการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้เอาผิดตามมาตรา 27 แห่งพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ต่อไป
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (กอร.ฉ.) นำโดย พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้ช่วย ผบ.ตร. , พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รอง ผบช.น. , พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. และนายตำรวจที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันแถลงข่าวเกี่ยวกับคำสั่งให้ กสทช. และกระทรวงดีอีเอส ดำเนินการตรวจสอบและให้ระงับการออกอากาศหรือระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลทิ้งในสื่อ ได้แก่ วอยซ์ ทีวี , ประชาไท , The reporter , The Standard และเยาวชนปลดแอก Free YOUTH ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค.2563 เป็นต้นไป
พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าวว่า เรื่องคำสั่ง ยังไม่ได้มีการบังคับใช้แต่อย่างใด และไม่มีนโยบายในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของสื่อ จึงยังไม่มีการสั่งปิดสื่อ เป็นเพียงการจัดการข้อมูลข่าวสารที่มีปัญหาเป็นชิ้นๆ เพราะจะทำให้เกิดความสับสนและมีความรุนแรง เช่น ไปไลฟ์สดระบุทำนองว่า หลังจากมีการสลายการชุมนุมแล้ว ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่ไปไล่จับกลุ่มผู้ชุมนุมอีก ซึ่งส่วนหนึ่งของการไลฟ์สดนี้ ถือเป็นเรื่องที่ไม่เป็นความจริง ทั้งนี้ ยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสื่อ ซึ่งมีหน้าที่ในการบริหารข่าวสารจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม หากพบมีการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมและกระทบต่อความมั่นคง ก็จะแจ้งเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ด้านเพจ เยาวชนปลดแอก- Free YOUTH แจ้งว่า ด่วน เราและสื่อหลายสำนักอาจถูกปิดโดยรัฐ! การปิดกั้นสื่อเป็นการกระทำของเผด็จการ มิใช่ประชาธิปไตยอย่างที่เขาหลอกลวง เราจึงทำการเปิดเพจสำรองเพื่อป้องกันการถูกปิด ขอฝากให้ทุกท่านช่วยเข้าไปกดไลค์กดแชร์เพื่อให้ยังสามารถรับข่าวสารจากเราได้ต่อไป! ที่นี่เยาวชนปลดแอก - Free YOUTH V.2.
ขณะที่องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย ร่วมกันออกแถลงการณ์ เรื่องการตรวจสอบ-ระงับสื่อมวลชนในการสถานการณ์การชุมนุมที่มีความละเอียดอ่อน โดยขอยืนยันจุดยืนคัดค้านการปิดกั้น หรือคุกคามสื่อทุกรูปแบบ
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงดีอีเอส แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียทุกแพลตฟอร์มที่ผิดกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 14-18 ต.ค.2563 โดยเบื้องต้นพบผู้กระทำผิดกว่า 300,000 URL โดยอยู่ระหว่างการตรวจสอบเพื่อระบุตัวบุคคลให้ชัดเจน เพื่อดำเนินคดีต่อไป จึงอยากเตือนประชาชนให้ใช้สื่ออย่างระมัดระวัง เพราะในสถานการณ์ฉุกเฉินจะมีข้อจำกัดมากขึ้น โดยเฉพาะห้ามยุยง ปลุกปั่นและสร้างความแตกแยก ดังนั้น หากมีการกระทำที่เข่าข่ายก็จำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
“ท่านนายกฯ ไม่ได้กำชับอะไรมาก ให้ปฏิบัติตามกฏระเบียบ กระทรวงดิจิทัลฯ พยายามดูให้รอบคอบ ไม่รังแกใคร ที่ผ่านมา ทำหลายเรื่อง ทั้งเตือนการนำเข้าข้อมูลที่เป็นเท็จต่างๆ ที่แชร์ข้อมูลไปจำนวนมากที่ดูแล้วก็เข้าข่ายทำความผิด แต่เราก็คัดกรองอย่างรอบคอบ เอาผิดจริงๆ จะเน้นในกลุ่มที่เป็นต้นตอมากกว่าก่อน โดยจะเก็บรวบรวมหลักฐานผู้กระทำความผิด ส่วนจะใช้กฎหมายฉบับใด จะพิจารณาต่อไป หากเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ก็จะรายงานให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ส่วนที่เข้าข่าย พ.ร.บ.คอมฯ ก็จะดำเนินการทันที ทั้งนี้ ยืนยันว่าจะดำเนินการด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ ไม่มีการเลือกปฏิบัติ”
นายพุทธิพงษ์กล่าวว่า กรณีที่สื่อโซเชียลมีเดีย ระบุว่าตนจะปิดเฟซบุ๊กต่างๆ นั้น ต้องดูว่าทำได้หรือไม่ ขอดูคำสั่งอีกที และการไลฟ์ก็ทำได้ แต่ถ้าไปไลฟ์ผู้ที่พูดบนเวทีแล้วมีเนื้อหาที่หมิ่นหรือผิดกฎหมายที่กล่าวร้ายพาดพิงผู้อื่น ก็จะเข้าข่ายมีความผิด แต่หากเป็นการรายงานทั่วไป ก็ไม่ได้ผิดกฎหมายอะไร
ส่วนการตรวจสอบและให้ระงับการออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาสาระที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐของสื่อ 4 แห่ง และ 1 เพจ ตามที่เป็นข่าวนั้น ยอมรับว่าเอกสารคำสั่งของผบ.ตร.ที่ให้ตรวจสอบสื่อเป็นของจริง แต่ไม่ใช่การปิดสื่อ เพราะจอไม่ได้ดำ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะเชิญช่องต่างๆ มาชี้แจงถึงการนำเสนอข่าว และให้ระมัดระวังสื่อที่ออกมา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดูว่าอันไหนยุยง ชี้นำเนื้อหาผิดกฎหมายก็ดำเนินการตามขั้นตอน เพราะมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้วย จึงจำเป็นต้องเข้มงวด
นายพุทธิพงษ์ กล่าวถึงกรณีการระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะฝ่าฝืนข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมถึง IP Address แอปพลิเคชันเทเลแกรม (Telegram) ว่า กระทรวงดิจิทัล และ กสทช. ได้ขอความร่วมมือให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือทุกราย ระงับการใช้แอปฯ เทเลแกรม ที่มีลักษณะผิดกฎหมาย หากพบว่ามีความผิด เพื่อให้ระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ทันที
นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดีอีเอส กล่าวว่า ผลจากการตั้งศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การชุมนุม ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และแก้ไขเพิ่มเติม และพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ระหว่างวันที่ 13–18 ต.ค. 2563 มีประชาชนแจ้งเข้ามา และทางเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่าเข้าข่ายสุ่มเสี่ยงกระทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั้งหมด 324,990 เรื่อง แบ่งเป็น Twitter 75,076 เรื่อง Facebook 245,678 เรื่อง และ Web board 4,236 เรื่อง ซึ่งรวมทั้งผู้โพสต์คนแรก และแชร์ รีทวิตข้อความที่ผิดกฎหมาย
ทั้งนี้ ลำดับแรกเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอาผิดเฉพาะผู้โพสต์คนแรกๆ ที่นำเข้าซึ่งข้อความสู่ระบบคอมพิวเตอร์ก่อนจำนวนหนึ่ง โดยพบว่ามีทั้งเป็นแกนนำกลุ่มมวลชน นักการเมืองและผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวในโซเชียลมีเดียคนหลักๆ เช่น ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “Pavin chachavalpongpun” และทวิตเตอร์ที่พบว่าเป็นของนายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ , เพจเฟซบุ๊กของนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล , นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ ระยอง แกนนำมวลชน รวมถึงสื่อและการรายงานสถานการณ์ทางออนไลน์ ได้แก่ เว็บไซต์ Voice TV และเพจเยาวชนปลดแอก Free Youth ที่เข้าข่ายผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ส่วนก่อนหน้านี้ศาลได้มีคำสั่งให้ปิดกั้น เพจ Royalist Market Place (ตลาดหลวง) ไปแล้ว 2 ครั้ง หากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือแพลตฟอร์มไม่ทำการปิดกั้นภายใน 15 วัน กระทรวงดีอีเอส จะดำเนินการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้เอาผิดตามมาตรา 27 แห่งพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ต่อไป
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (กอร.ฉ.) นำโดย พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้ช่วย ผบ.ตร. , พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รอง ผบช.น. , พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. และนายตำรวจที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันแถลงข่าวเกี่ยวกับคำสั่งให้ กสทช. และกระทรวงดีอีเอส ดำเนินการตรวจสอบและให้ระงับการออกอากาศหรือระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลทิ้งในสื่อ ได้แก่ วอยซ์ ทีวี , ประชาไท , The reporter , The Standard และเยาวชนปลดแอก Free YOUTH ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค.2563 เป็นต้นไป
พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าวว่า เรื่องคำสั่ง ยังไม่ได้มีการบังคับใช้แต่อย่างใด และไม่มีนโยบายในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของสื่อ จึงยังไม่มีการสั่งปิดสื่อ เป็นเพียงการจัดการข้อมูลข่าวสารที่มีปัญหาเป็นชิ้นๆ เพราะจะทำให้เกิดความสับสนและมีความรุนแรง เช่น ไปไลฟ์สดระบุทำนองว่า หลังจากมีการสลายการชุมนุมแล้ว ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่ไปไล่จับกลุ่มผู้ชุมนุมอีก ซึ่งส่วนหนึ่งของการไลฟ์สดนี้ ถือเป็นเรื่องที่ไม่เป็นความจริง ทั้งนี้ ยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสื่อ ซึ่งมีหน้าที่ในการบริหารข่าวสารจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม หากพบมีการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมและกระทบต่อความมั่นคง ก็จะแจ้งเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ด้านเพจ เยาวชนปลดแอก- Free YOUTH แจ้งว่า ด่วน เราและสื่อหลายสำนักอาจถูกปิดโดยรัฐ! การปิดกั้นสื่อเป็นการกระทำของเผด็จการ มิใช่ประชาธิปไตยอย่างที่เขาหลอกลวง เราจึงทำการเปิดเพจสำรองเพื่อป้องกันการถูกปิด ขอฝากให้ทุกท่านช่วยเข้าไปกดไลค์กดแชร์เพื่อให้ยังสามารถรับข่าวสารจากเราได้ต่อไป! ที่นี่เยาวชนปลดแอก - Free YOUTH V.2.
ขณะที่องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย ร่วมกันออกแถลงการณ์ เรื่องการตรวจสอบ-ระงับสื่อมวลชนในการสถานการณ์การชุมนุมที่มีความละเอียดอ่อน โดยขอยืนยันจุดยืนคัดค้านการปิดกั้น หรือคุกคามสื่อทุกรูปแบบ