ผู้จัดการรายวัน360-“อนุทิน”เผยความคืบหน้าจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้คนไทย ล่าสุดมี 3 แนวทาง จองผ่านองค์การอนามัยโลก ร่วมมือกับผู้ผลิตที่กำลังทำสำเร็จ และหนุนวัคซีนที่ผลิตในประเทศ ตั้งเป้าคนไทย 50% เข้าถึงในปี 64 มท.สั่งผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด เร่งคัดกรองแรงงานเมียนมาในสถานประกอบการทุกแห่ง สกัดการแพร่ระบาดในไทย ศบค.รายงานพบผู้ป่วยใหม่ 5 ราย มาจากต่างประเทศ “หมอธีระ”คาดติดเชื้อทะลุ 50 ล้านคนภายในเดือนพ.ย.นี้ เตือนรัฐเลิกรับนักท่องเที่ยวต่างชาติถึงมี.ค.64 ก่อนหายนะมาเยือน
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดหาวัคซีนโควิด-19 สำหรับคนไทย ว่า กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ได้ร่วมกันเร่งรัดการจัดหาวัคซีนโควิด-19 โดยตั้งเป้าให้คนไทย 50% ของจำนวนประชากรได้เข้าถึงวัคซีน ใน 3 แนวทาง คือ การจัดหาวัคซีนโควิด-19 โดยการจองล่วงหน้าผ่าน COVAX Facility , การเจรจาความร่วมมือแบบทวิภาคีกับผู้ผลิตวัคซีนที่กำลังทดสอบวัคซีนในคนระยะที่ 3 ทั้งในเอเชียและยุโรป และการพัฒนาวัคซีนเองในประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อมีการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 สำเร็จแล้ว ไทยจะมีวัคซีนใช้ในเวลาใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
ทั้งนี้ การจัดหาวัคซีนผ่านโครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลก (WHO) กระทรวงฯ ได้แสดงเจตนารมย์เข้าร่วมโครงการไปแล้วตั้งแต่เดือนก.ค.2563 ที่ผ่านมา มีสถาบันวัคซีน กรมควบคุมโรค สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลประสานงาน โดยโครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ หากมีประเทศไหนประสบความสำเร็จในการผลิตวัคซีน ประเทศอื่นๆ ก็จะได้ประโยชน์ตามไปด้วย
ส่วนการร่วมมือกับผู้ผลิตวัคซีน ขณะนี้กำลังทดสอบวัคซีนโควิด-19 ในมนุษย์ หรืออยู่ในระยะที่ 3 มีของเอเชีย และยุโรป โดยกำลังดำเนินไปพร้อมกับการเจรจาแบบกลุ่ม เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงวัคซีนให้มากยิ่งขึ้น ที่เห็นเป็นรูปธรรม คือ ความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข , บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ เอสซีจี จำกัด และแอสตราเซนเนกา ที่ได้ลงนามในหนังสือร่วมผลิตและจัดสรรวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาโดย ม.อ็อกฟอร์ด และการเจรจายังครอบคลุมถึงการขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนด้วย
ขณะที่วัคซีนที่ผลิตในประเทศ กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญและสนับสนุน เพื่อให้ทีมผู้ผลิตดำเนินการคล่องตัว รวดเร็ว โดยทีมที่มีความคืบหน้ามากที่สุด แบ่งเป็นทีมของคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวัคซีนชนิด mRNA และยังมีวัคซีนแบบ DNA ของบริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด รวมถึงทีมผู้ผลิตจาก บริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด ที่ได้ร่วมมือกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ผลิตวัคซีนจากการสกัดโปรตีนในพืช โดยทีมต่างๆ ได้หารือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยที่สุด โดยวัคซีนต้นแบบสำหรับทดลองในมนุษย์กำหนดไว้ไตรมาสแรกปี 2564
นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า วัคซีนในโครงการ COVEX facility หากบริษัทใดในจำนวน 20 กว่าประเทศทำสำเร็จ ไทยจะได้ใช้ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ไม่น่าจะเกินกลางปี 2564 ส่วนการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากม.อ็อกซ์ปอร์ด และแอสทราเซเนกา ในการผลิตวัคซีน จะต้องขึ้นทะเบียน อย.ที่ประเทศต้นทาง คือ อังกฤษ และขึ้นทะเบียน อย.ในไทย หากผ่านแล้ว ไทยจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและพร้อมผลิตได้ประมาณมิ.ย.2564
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ได้สั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มอบหมายหน่วยงานในพื้นที่ตรวจสอบสถานประกอบการทุกแห่งที่มีการจ้างแรงงานเมียนมา เนื่องจากมีการระบาดในเมียนมาอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง จึงต้องป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในไทย โดยให้ตรวจคัดกรอง แรงงานทุกคน และตรวจหาเชื้อโรคโดยการสุ่มตรวจ รวมทั้งกำชับให้มีการดำเนินมาตรการทางด้านสาธารณสุข กรณีพบผู้ติดเชื้อให้ดำเนินการตามมาตรการที่ทางราชการกำหนด และหากพบมีการจ้างแรงงานที่ไม่ถูกต้องให้ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
วันเดียวกันนี้ ศบค. ได้รายงานการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่ 5 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าพักใน State Quarantine ทั้งหมด โดยมาจากคูเวต 1 ตุรกี 1 รายญี่ปุ่น 1 ราย เคนยา 1 ราย และบาห์เรน 1 ราย มีผู้ป่วยรักษาหายเพิ่ม 7 ราย รวมผู้ป่วยยืนยันสะสมล่าสุด 3,691 ราย เป็นผู้ป่วยในประเทศ 2,445 ราย และตรวจพบในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ 744 ราย จำนวนผู้ป่วยรักษาหายแล้วรวม 3,488 ราย กำลังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 144 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม โดยยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 59 ราย
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวสรุปว่า การติดเชื้อทั่วโลกทะลุ 40 ล้านคนไปแล้ว ยอดตายรวมกว่า 1.1 ล้านคน คาดว่าจะเกิน 50 ล้านคนภายในเดือนพ.ย.นี้ โดยสถิติจาก 10 ล้านไป 20 ล้าน ใช้เวลา 43.5 วัน จาก 20 ล้านไป 30 ล้าน ใช้เวลา 37.5 วัน และล่าสุด จาก 30 ล้านไป 40 ล้าน ใช้เวลาเพียง 33.5 วัน จะสังเกตว่าเร็วขึ้นเรื่อยๆ หากจะป้องกันไม่ให้มีการระบาดซ้ำในไทย ต้องเลื่อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ หากรับจะเกิดผลกระทบวงกว้าง การฟื้นฟูเศรษฐกิจจะยากลำบาก
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดหาวัคซีนโควิด-19 สำหรับคนไทย ว่า กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ได้ร่วมกันเร่งรัดการจัดหาวัคซีนโควิด-19 โดยตั้งเป้าให้คนไทย 50% ของจำนวนประชากรได้เข้าถึงวัคซีน ใน 3 แนวทาง คือ การจัดหาวัคซีนโควิด-19 โดยการจองล่วงหน้าผ่าน COVAX Facility , การเจรจาความร่วมมือแบบทวิภาคีกับผู้ผลิตวัคซีนที่กำลังทดสอบวัคซีนในคนระยะที่ 3 ทั้งในเอเชียและยุโรป และการพัฒนาวัคซีนเองในประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อมีการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 สำเร็จแล้ว ไทยจะมีวัคซีนใช้ในเวลาใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
ทั้งนี้ การจัดหาวัคซีนผ่านโครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลก (WHO) กระทรวงฯ ได้แสดงเจตนารมย์เข้าร่วมโครงการไปแล้วตั้งแต่เดือนก.ค.2563 ที่ผ่านมา มีสถาบันวัคซีน กรมควบคุมโรค สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลประสานงาน โดยโครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ หากมีประเทศไหนประสบความสำเร็จในการผลิตวัคซีน ประเทศอื่นๆ ก็จะได้ประโยชน์ตามไปด้วย
ส่วนการร่วมมือกับผู้ผลิตวัคซีน ขณะนี้กำลังทดสอบวัคซีนโควิด-19 ในมนุษย์ หรืออยู่ในระยะที่ 3 มีของเอเชีย และยุโรป โดยกำลังดำเนินไปพร้อมกับการเจรจาแบบกลุ่ม เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงวัคซีนให้มากยิ่งขึ้น ที่เห็นเป็นรูปธรรม คือ ความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข , บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ เอสซีจี จำกัด และแอสตราเซนเนกา ที่ได้ลงนามในหนังสือร่วมผลิตและจัดสรรวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาโดย ม.อ็อกฟอร์ด และการเจรจายังครอบคลุมถึงการขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนด้วย
ขณะที่วัคซีนที่ผลิตในประเทศ กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญและสนับสนุน เพื่อให้ทีมผู้ผลิตดำเนินการคล่องตัว รวดเร็ว โดยทีมที่มีความคืบหน้ามากที่สุด แบ่งเป็นทีมของคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวัคซีนชนิด mRNA และยังมีวัคซีนแบบ DNA ของบริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด รวมถึงทีมผู้ผลิตจาก บริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด ที่ได้ร่วมมือกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ผลิตวัคซีนจากการสกัดโปรตีนในพืช โดยทีมต่างๆ ได้หารือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยที่สุด โดยวัคซีนต้นแบบสำหรับทดลองในมนุษย์กำหนดไว้ไตรมาสแรกปี 2564
นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า วัคซีนในโครงการ COVEX facility หากบริษัทใดในจำนวน 20 กว่าประเทศทำสำเร็จ ไทยจะได้ใช้ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ไม่น่าจะเกินกลางปี 2564 ส่วนการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากม.อ็อกซ์ปอร์ด และแอสทราเซเนกา ในการผลิตวัคซีน จะต้องขึ้นทะเบียน อย.ที่ประเทศต้นทาง คือ อังกฤษ และขึ้นทะเบียน อย.ในไทย หากผ่านแล้ว ไทยจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและพร้อมผลิตได้ประมาณมิ.ย.2564
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ได้สั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มอบหมายหน่วยงานในพื้นที่ตรวจสอบสถานประกอบการทุกแห่งที่มีการจ้างแรงงานเมียนมา เนื่องจากมีการระบาดในเมียนมาอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง จึงต้องป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในไทย โดยให้ตรวจคัดกรอง แรงงานทุกคน และตรวจหาเชื้อโรคโดยการสุ่มตรวจ รวมทั้งกำชับให้มีการดำเนินมาตรการทางด้านสาธารณสุข กรณีพบผู้ติดเชื้อให้ดำเนินการตามมาตรการที่ทางราชการกำหนด และหากพบมีการจ้างแรงงานที่ไม่ถูกต้องให้ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
วันเดียวกันนี้ ศบค. ได้รายงานการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่ 5 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าพักใน State Quarantine ทั้งหมด โดยมาจากคูเวต 1 ตุรกี 1 รายญี่ปุ่น 1 ราย เคนยา 1 ราย และบาห์เรน 1 ราย มีผู้ป่วยรักษาหายเพิ่ม 7 ราย รวมผู้ป่วยยืนยันสะสมล่าสุด 3,691 ราย เป็นผู้ป่วยในประเทศ 2,445 ราย และตรวจพบในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ 744 ราย จำนวนผู้ป่วยรักษาหายแล้วรวม 3,488 ราย กำลังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 144 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม โดยยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 59 ราย
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวสรุปว่า การติดเชื้อทั่วโลกทะลุ 40 ล้านคนไปแล้ว ยอดตายรวมกว่า 1.1 ล้านคน คาดว่าจะเกิน 50 ล้านคนภายในเดือนพ.ย.นี้ โดยสถิติจาก 10 ล้านไป 20 ล้าน ใช้เวลา 43.5 วัน จาก 20 ล้านไป 30 ล้าน ใช้เวลา 37.5 วัน และล่าสุด จาก 30 ล้านไป 40 ล้าน ใช้เวลาเพียง 33.5 วัน จะสังเกตว่าเร็วขึ้นเรื่อยๆ หากจะป้องกันไม่ให้มีการระบาดซ้ำในไทย ต้องเลื่อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ หากรับจะเกิดผลกระทบวงกว้าง การฟื้นฟูเศรษฐกิจจะยากลำบาก