ผู้จัดการรายวัน360-“อนุทิน”ถกคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ เคาะจัดหางบประมาณ 2,930 ล้านบาท จองวัคซีนโควิด-19 ฉีดคนไทยระยะแรก 33 ล้านคน ส่วนวัคซีนไทยทำ คาดได้ตัวต้นแบบม.ค.64 ก่อนทดลองในคน รัฐบาลเตรียมชง 6 มาตรการ เปิดประเทศรับนักธุรกิจเดินทางมาไทยระยะสั้น หลังเปิดให้ต่างชาติที่มีใบอนุญาตทำงาน และนักท่องเที่ยวระยะยาวเข้ามาก่อนหน้านี้แล้ว ศบค.รายงานสถานการณ์โควิด-19 พบติดเชื้อใหม่ 5 ราย มาจากต่างประเทศ
พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข เป็นประธาน วานนี้ (5 ต.ค.) ว่า ที่ประชุมได้มีการหารือถึงการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 สำหรับประชาชน โดยจะมีการออกประกาศสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ตามมาตรา 18 ของพ.ร.บ.ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ.2561 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การจัดหาวัคซีนสำหรับใช้ในประเทศไทยล่วงหน้า ภายใต้กรอบวงเงิน 2,930 ล้านบาท ครอบคลุมประชากรของไทย 50% แบ่งเป็นการจัดหาจากบริษัทผู้ผลิตที่มีความก้าวหน้าการทดลองในมนุษย์ระยะที่ 3 ครอบคลุมประชากร 30% และจองผ่านโครงการโคแว็กซ์ ขององค์การอนามัยโลก ครอบคลุมประชากร 20%
นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การจัดหาวัคซีน 50% ของจำนวนประชากร หรือคิดเป็นประชากร 33 ล้านคน โดย 1 คน ต้องได้รับวัคซีน 2 โดส เท่ากับว่าต้องใช้วัคซีนประมาณ 66 ล้านโดส ส่วนราคาวัคซีน ยังไม่มีความชัดเจน ถ้าราคาอยู่ที่โดสละ 350 บาท ก็ต้องใช้งบประมาณ 20,000 ล้านบาท แต่งบ 2,930 ล้านบาท เป็นการจองล่วงหน้า โดยจะใช้เงินจากพ.ร.ก.เงินกู้ หรืองบกลาง เพราะการเข้าไปจองวัคซีนล่วงหน้า เป็นช่องทางที่จะทำให้ไทยได้รับวัคซีนเร็ว ใกล้เคียงกับประเทศผู้ผลิต โดยขณะนี้ทั่วโลกมีประมาณ 10 บริษัทที่มีความก้าวหน้าในการทดลองวัคซีนในคนระยะที่ 3 คาดว่าการเจรจาจะแล้วเสร็จในเดือนต.ค.2563
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ภายใต้คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะจัดสรรให้กับกลุ่มใดก่อน ซึ่งตามหลักทั่วโลก กลุ่มที่ต้องได้รับวัคซีนก่อน คือ บุคลากรการแพทย์ เพราะต้องทำงานหน้าด่าน เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากคนกลุ่มนี้ติดเชื้อ จะทำระบบสาธารณสุขมีปัญหา ส่วนแผนต้องการวัคซีนสำหรับคนในประเทศ ต้องอยู่ที่ประมาณ 60-70% ของประชากร ซึ่งเป็นแผนระยะถัดไป
สำหรับความคืบหน้าการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของไทยชนิด mRna โดยคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะนี้ได้รับรายงานว่าโรงงานผลิตวัคซีนต้นแบบจะสามารถผลิตวัคซีนต้นแบบและส่งให้กับไทยประมาณเดือนม.ค.2564 เพื่อเดินหน้าทดลองในมนุษย์เฟส 1 และเฟส 2 ขณะที่วัคซีนชนิด DNA ของบริษัทไบโอเนท–เอเชีย จำกัด อยู่ระหว่างการยื่นขออนุญาตวิจัยในคนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะมีการเสนอมาตรการพิเศษในการกำกับดูแลกลุ่มนักธุรกิจที่จะเข้ามาเจรจาธุรกิจในไทยระยะสั้น ให้คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดโควิด-19 พิจารณาภายในสัปดาห์นี้ โดยมาตรการที่จะนำมาใช้ ได้แก่ 1.มีผลตรวจโควิด-19 (RT-PCR) ไม่เกิน 72 ชม.ก่อนเดินทางเข้าไทย 2.มีกรมธรรม์ประกันภัยที่ครอบคลุมการรักษาโรคโควิด-19 ในวงเงินไม่น้อยกว่า 1 แสนเหรียญสหรัฐ 3.ตรวจหาเชื้อ RT-PCR เมื่อเดินทางมาถึง และเมื่อเดินทางออกจากประเทศไทย ที่ช่องทางเข้า-ออกประเทศไทย 4.ให้มีผู้ติดตามด้านการแพทย์และสาธารณสุขตลอดระยะเวลาที่พำนักในประเทศไทย หรือเงื่อนไขอื่นๆ ที่เหมาะสม 5.ให้เดินทางโดยยานพาหนะที่เตรียมไว้ ตามแผนการเดินทางที่กำหนดเท่านั้น และ 6.ให้มีการติดตั้ง Application ติดตามตัว เพื่อสามารถตรวจสอบได้ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในประเทศไทย
ก่อนหน้านี้ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ศบค.) ได้อนุมัติให้นักธุรกิจ และผู้มีใบอนุญาตทำงานเดินทางเข้าประเทศมาแล้วประมาณ 11,000 คน และต้องเข้ารับการเข้ากักตัวในสถานกักกัน 14 วัน และยังได้อนุมัติให้มีนักท่องเที่ยวแบบ Long Stay โดยใช้ Special Tourist Visa (STV) ซึ่งได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2563 ซึ่งนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าว จะต้องเข้ารับการกักตัว 14 วันด้วย
วันเดียวกันนี้ ศบค. ได้รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศว่า พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่ 5 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าพักใน State Quarantine ทั้งหมด โดยมาจากอินเดีย 2 ราย มาเลเซีย 1 ราย บาห์เรน 1 ราย และญี่ปุ่น 1 ราย มีผู้ป่วยสะสม 3,590 ราย เป็นผู้ป่วยในประเทศ 2,445 ราย และตรวจพบในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ จำนวน 652 ราย มีผู้ป่วยรักษาหายเพิ่ม 2 ราย จำนวนผู้ป่วยรักษาหายแล้วรวม 3,390 ราย ส่วนผู้ป่วยที่กำลังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 141 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม โดยยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 59 ราย
พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข เป็นประธาน วานนี้ (5 ต.ค.) ว่า ที่ประชุมได้มีการหารือถึงการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 สำหรับประชาชน โดยจะมีการออกประกาศสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ตามมาตรา 18 ของพ.ร.บ.ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ.2561 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การจัดหาวัคซีนสำหรับใช้ในประเทศไทยล่วงหน้า ภายใต้กรอบวงเงิน 2,930 ล้านบาท ครอบคลุมประชากรของไทย 50% แบ่งเป็นการจัดหาจากบริษัทผู้ผลิตที่มีความก้าวหน้าการทดลองในมนุษย์ระยะที่ 3 ครอบคลุมประชากร 30% และจองผ่านโครงการโคแว็กซ์ ขององค์การอนามัยโลก ครอบคลุมประชากร 20%
นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การจัดหาวัคซีน 50% ของจำนวนประชากร หรือคิดเป็นประชากร 33 ล้านคน โดย 1 คน ต้องได้รับวัคซีน 2 โดส เท่ากับว่าต้องใช้วัคซีนประมาณ 66 ล้านโดส ส่วนราคาวัคซีน ยังไม่มีความชัดเจน ถ้าราคาอยู่ที่โดสละ 350 บาท ก็ต้องใช้งบประมาณ 20,000 ล้านบาท แต่งบ 2,930 ล้านบาท เป็นการจองล่วงหน้า โดยจะใช้เงินจากพ.ร.ก.เงินกู้ หรืองบกลาง เพราะการเข้าไปจองวัคซีนล่วงหน้า เป็นช่องทางที่จะทำให้ไทยได้รับวัคซีนเร็ว ใกล้เคียงกับประเทศผู้ผลิต โดยขณะนี้ทั่วโลกมีประมาณ 10 บริษัทที่มีความก้าวหน้าในการทดลองวัคซีนในคนระยะที่ 3 คาดว่าการเจรจาจะแล้วเสร็จในเดือนต.ค.2563
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ภายใต้คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะจัดสรรให้กับกลุ่มใดก่อน ซึ่งตามหลักทั่วโลก กลุ่มที่ต้องได้รับวัคซีนก่อน คือ บุคลากรการแพทย์ เพราะต้องทำงานหน้าด่าน เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากคนกลุ่มนี้ติดเชื้อ จะทำระบบสาธารณสุขมีปัญหา ส่วนแผนต้องการวัคซีนสำหรับคนในประเทศ ต้องอยู่ที่ประมาณ 60-70% ของประชากร ซึ่งเป็นแผนระยะถัดไป
สำหรับความคืบหน้าการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของไทยชนิด mRna โดยคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะนี้ได้รับรายงานว่าโรงงานผลิตวัคซีนต้นแบบจะสามารถผลิตวัคซีนต้นแบบและส่งให้กับไทยประมาณเดือนม.ค.2564 เพื่อเดินหน้าทดลองในมนุษย์เฟส 1 และเฟส 2 ขณะที่วัคซีนชนิด DNA ของบริษัทไบโอเนท–เอเชีย จำกัด อยู่ระหว่างการยื่นขออนุญาตวิจัยในคนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะมีการเสนอมาตรการพิเศษในการกำกับดูแลกลุ่มนักธุรกิจที่จะเข้ามาเจรจาธุรกิจในไทยระยะสั้น ให้คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดโควิด-19 พิจารณาภายในสัปดาห์นี้ โดยมาตรการที่จะนำมาใช้ ได้แก่ 1.มีผลตรวจโควิด-19 (RT-PCR) ไม่เกิน 72 ชม.ก่อนเดินทางเข้าไทย 2.มีกรมธรรม์ประกันภัยที่ครอบคลุมการรักษาโรคโควิด-19 ในวงเงินไม่น้อยกว่า 1 แสนเหรียญสหรัฐ 3.ตรวจหาเชื้อ RT-PCR เมื่อเดินทางมาถึง และเมื่อเดินทางออกจากประเทศไทย ที่ช่องทางเข้า-ออกประเทศไทย 4.ให้มีผู้ติดตามด้านการแพทย์และสาธารณสุขตลอดระยะเวลาที่พำนักในประเทศไทย หรือเงื่อนไขอื่นๆ ที่เหมาะสม 5.ให้เดินทางโดยยานพาหนะที่เตรียมไว้ ตามแผนการเดินทางที่กำหนดเท่านั้น และ 6.ให้มีการติดตั้ง Application ติดตามตัว เพื่อสามารถตรวจสอบได้ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในประเทศไทย
ก่อนหน้านี้ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ศบค.) ได้อนุมัติให้นักธุรกิจ และผู้มีใบอนุญาตทำงานเดินทางเข้าประเทศมาแล้วประมาณ 11,000 คน และต้องเข้ารับการเข้ากักตัวในสถานกักกัน 14 วัน และยังได้อนุมัติให้มีนักท่องเที่ยวแบบ Long Stay โดยใช้ Special Tourist Visa (STV) ซึ่งได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2563 ซึ่งนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าว จะต้องเข้ารับการกักตัว 14 วันด้วย
วันเดียวกันนี้ ศบค. ได้รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศว่า พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่ 5 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าพักใน State Quarantine ทั้งหมด โดยมาจากอินเดีย 2 ราย มาเลเซีย 1 ราย บาห์เรน 1 ราย และญี่ปุ่น 1 ราย มีผู้ป่วยสะสม 3,590 ราย เป็นผู้ป่วยในประเทศ 2,445 ราย และตรวจพบในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ จำนวน 652 ราย มีผู้ป่วยรักษาหายเพิ่ม 2 ราย จำนวนผู้ป่วยรักษาหายแล้วรวม 3,390 ราย ส่วนผู้ป่วยที่กำลังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 141 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม โดยยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 59 ราย