"แฟลชม็อบ" ไล่รัฐบาลยึดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อโศก ย่านธุรกิจปริมณฑล ต่างจังหวัดขานรับพรึบ ก่อนสลายการชุมนุม เวลา 20.00 น. "ชวน" นัดตัวแทนรัฐบาล-ฝ่ายค้านหารือวันนี้ "จุรินทร์" จี้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพเปิดสภาวิสามัญ ตามมาตรา 165
วานนี้ (18 ต.ค.) เพจ "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม" ได้ออกประกาศผ่านโซเชียลฯ นัดมวลชนรวมตัวจัดชุมนุมเวลาประมาณ 15.00 น. ที่สถานีรถไฟฟ้าทุกสถานี โดยมีชาวเน็ตจำนวนมากเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นหลากหลาย บ้างก็บอกว่าควรพักการชุมนุมบริเวณรถไฟฟ้า หากมีการสั่งปิด อาจจะทำให้คนอื่นเดือดร้อน หรือมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตามได้มีชาวเน็ตมาตอบแบบง่ายๆว่า รัฐบาลเป็นผู้สั่งปิด ไม่เกี่ยวกับม็อบ หรือจะตีเหล็กก็ต้องตีตอนร้อนๆ
ต่อมาเวลา ประมาณ 15.30 น. เพจเยาวชนปลดแอก - Free YOUTH โพสต์ข้อความนัดชุมนุมระบุข้อความว่า เราคือราษฎร #18 ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัยฯ รวมทั้งยังมีจุดอื่นๆ อีกทั่วประเทศ ! จุดหลักอนุสาวรีย์ชัยฯ จุดย่อย อโศก เวลา16.00 น. ส่วนที่ต่างจังหวัดมีการระบุว่า
ภาคกลาง จ.ปทุมธานี ที่ท่ารถตู้ ตจว.ตรงข้ามฟิวเจอร์พาร์ครังสิต, จ. สมุทรสาคร แยกพุทธมณฑลสาย 4, จ.สมุทรปราการ หน้าอิมพีเรียลสำโรง .จ.นนทบุรี รถไฟฟ้าสามแยกบางใหญ่ , จ.สระบุรี สวนสาธารณะ จุดพักรถบายพาส ,จ.สิงห์บุรี ศาลหลักเมือง ,จ.สุพรรณบุรี กำแพงเมืองสุพรรณ ,จ.ปราจีนบุรี ศาลากลางหลังเก่า
อีสาน จ.ขอนแก่น บึงสีฐาน , จ.นครราชสีมา เทคโนโคราช คุรุสัมมนาคาร , จ.ยโสธร หน้าศาลากลาง, จ.อุดรธานี ลานศิษย์เก่า มรภ.อุดรธานี .จ.ศรีสะเกษ ศาลหลักเมือง จ.กาฬสินธุ์ ศาลากลางหลังเก่า
ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา ศาลากลาง ,จ.จันทบุรี ลานจันท์ , จ.ชลบุรี สี่แยกปากร่วม บ่อวิน , จ.ระยอง สวนสุขภาพบ้านฉาง
ภาคใต้ จ.ภูเก็ต ลานมังกร
"บีทีเอส"แจ้งปิดชั่วคราว 15 สถานี
เพจเฟซบุ๊ก รถไฟฟ้าบีทีเอส แจ้งว่ารัฐบาลได้มีคำสั่งตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ให้รถไฟฟ้าบีทีเอส ปิดบริการชั่วคราว 10 สถานี ตั้งแต่ เวลา 14.30 น. เป็นต้นไป และต่อมา เพจเฟซบุ๊ก รถไฟฟ้าบีทีเอส แจ้งซ้ำว่าได้สั่งปิดบริการชั่วคราวเพิ่มอีก 5 สถานี ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้น ไปรวมเป็น 15 สถานี ดังนี้
สายสุขุมวิท ได้แก่ สถานีหมอชิต, สถานีห้าแยกลาดพร้าว, สถานีพหลโยธิน 24, สถานีอโศก, สถานีอุดมสุข, สถานีบางนา, สถานีอารีย์, สถานีสนามเป้า, สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, สถานีพญาไท, และสถานีราชเทวี
สายสีลม ได้แก่ สถานีช่องนนทรี, สถานีสุรศักดิ์, สถานีกรุงธนบุรี, และสถานีวงเวียนใหญ่ ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ จนกว่าจะมีประกาศการเปลี่ยนแปลง
ม็อบรวมตัวอนุสาวรีย์ชัยฯไล่'ประยุทธ์'
เวลา 16.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มทะยอยเข้ามาที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิโดยมีประชาชนบางส่วน เดินลงมายังพื้นผิวจราจร พร้อมตะโกนไล่ "ประยุทธ์ ออกไป"
ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้เข้ามาเร่งระบายรถ ที่กำลังสัญจรอยู่ ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมขอให้เจ้าหน้าตำรวจที่ปิดถนน ถ้าหากมีรถพยาบาลมา ก็จะหลีกทางให้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ใช้เครื่องขยายเสียงขอความร่วมมือ ให้กลุ่มผู้ชุมนุมออกจากเส้นทางจราจรก่อน เพื่อที่จะเคลียร์รถในวงเวียนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อเคลียร์พื้นที่เสร็จเจ้าหน้าที่ตำรวจจะให้กลุ่มผู้ชุมนุมใช้พื้นที่ในการชุมนุม ซึ่งต่อมา ผู้ชุมนุมได้มีการนำแผงเหล็กมากั้นบริเวณอนุสาวรีย์ชัยฯ ฝั่งราชวิถี
ทั้งนี้ ในการชุมนุมครั้งนี้ไม่มีแกนนำ และไม่มีเวทีปราศรัย เนื่องจากแกนนำถูกจับกุมตัวไปก่อนหน้านี้ และยังไม่ได้รับการประกันตัว โดยผู้ชุมนุมบอกว่า ทุกคนคือแกนนำ และได้มีการปิดกั้นถนนด้าน รพ.พระมงกุฎเกล้า เพื่อป้องกันรถฉีดน้ำที่จะเข้ามาสลายการชุมนุม
ต่อมาเวลาประมาณ 19.00 น. น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว หรือ ลูกเกด แกนนำกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย กล่าวกับผู้ชุมนุมว่า จะแยกย้ายยุติการชุมนุมในเวลา 20.00 น. และถ้าจะมีชุมนุมอีก ขะติดต่อสื่อสารทางเพจ ครั้งหน้าใครมีของอะไรเด็ด เอามาปล่อย มีไมค์ มีลำโพง อยากปราศรัยเรียกร้องอะไร เอาไมค์ ลำโพงมาเอง จากนั้น ผู้ชุมนุมร่วมกันเปิดแฟลชโทรศัพท์มือถือ ก่อนจะทะยอยแยกย้ายกันไป
ส่วนบรรยากาศการชุมนุมที่ บริเวณแยกอโศก ก็มีการร้องเพลง ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้นำรัฐบาล และการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดนี้ โดยหลังร้องเพลงจบ ผู้ปราศรัยได้ย้ำจุดยืนว่า จะยุติการชุมนุมภายในเวลา 20.00 น.
ส่วนการชุมนุมที่ท่ารถไปต่างจังหวัด รังสิต ตรงข้ามห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์ รังสิต ผู้ชุมนุมได้ทยอยเดินทางมาร่วมชุมนุมอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันแกนนำได้มีการสับเปลี่ยนกันขึ้นปราศรัยบนเวที กระทั่งเวลา 19.00 น. ผู้ชุมนุมได้ลงมายึดพื้นที่บนผิวจราจร ถึงแม้ผู้ชุมนุมอีกกลุ่มพยายามบอกว่า ห้ามลงถนนก็ตาม แต่ทั้งนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมบางกลุ่มได้ขับรถมอเตอร์ไซต์ เบิ้ลเสียงดังในบริเวณดังกล่าว ก่อนประกาศยุติการชุมนุม
นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมในจุดที่สำคัญๆ อาทิ บริเวณหน้า หน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวสต์เกท จ.นนทบุรี บริเวณหน้าห้างอิมพีเรียลเวิลด์ สำโรง จ.สมุทรปราการ บริเวณแยกบางนา โดยส่วนใหญ่ได้ยุติการชุมนุมในเวลา 20.00 น. แต่หลังจากประกาศยุติการชุมนุม ได้เกิดมีไฟดับ และทำให้ผู้ชุมนุมบางส่วนไม่พอใจ จึงเกิดเหตุการณ์ชุลมุน และพากันขว้างปาสิ่งของใส่ป้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ บริเวณแยกบางนา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอาชีวะ จากหลายสถาบันเบิ้ลรถจักรยานยนต์พร้อมโหร้องใส่เจ้าหน้าที่ จากเหตุการณ์ดังกล่าว
ต่างจังหวัดนัดชุมนุมพรึบ
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการชุมนุมที่ต่างจังหวัด อาทิ จ.กำแพงเพชร กลุ่มนักเรียนนักศึกษา ในนาม “กำแพงเพชรปลดแอก”ได้รวมตัวกันที่ลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิริจิตอุทยาน ริมปิง อ.เมืองกำแพงเพชร เกือบ 1,000 คน ประกาศจุดยืน ไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงสลายม็อบ เรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนนำที่โดนจับ และเรียกร้องให้ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินพื้นที่กรุงเทพฯ ผู้ชุมนุมพร้อมใจผูกริบบิ้นสีขาว พร้อมกับแสดงสัญลักษณ์ชู 3 นิ้ว ตะโกนไล่ "ประยุทธ์ ออกไป" -
ที่ จ.ตาก เครือข่ายมวลชนในนาม "ราษฎร จ.ตาก" ฝ่าสายฝนรวมตัวกันกว่า 400 คน ที่ศาลาตากสิน หน้าศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต.หนองหลวง อ.เมืองตาก เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องของนิสิตนักศึกษา-มวลชนเครือข่ายคณะราษฎร์ 63 ที่ชุมนุมกันในกรุงเทพฯ
ที่ จ.ระยอง มวลชน ประมาณ 500 คน รวมตัวกันที่ บริเวณลานจอดรถข้างหอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติฯ สวนสุขภาพเทศบาลเมืองบ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง โดยผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ได้สวมใส่เสื้อสีดำ และนำริบบิ้นสีขาวไปผูกตามต้นไม้ ภายในสวนสุขภาพ ฯ เพื่อแสดงจุดยืนทางการเมือง ท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง
ที่ จ.นครราชสีมา ได้มีการนัดรวมตัวกันบริเวณหน้าอาคารคุรุสัมมนาคาร ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดยมีแกนนำนักศึกษาผลัดเปลี่ยนกันขึ้นกล่าวปราศรัยโจมตีรัฐบาล พร้อมเรียกร้องให้นายกฯ ลาออก และทำการยุบสภา รวมถึงหยุดคุกคามประชาชน ก่อนที่จะทำการเคารพธงชาติ และชู 3 นิ้วพร้อมยุติการชุมนุม ขณะที่ จ.อุดรธานี กลุ่มเยาวชนปลดแอกอุดรธานี รวมตัวกันที่ ม.ราชภัฏอุดรธานี ก่อนเคลื่อนตัวไปหน้าอนุสาวรีย์ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ ศิลปาคม พร้อมทำการนั่งปิดช่องทางการจราจร
ส่วนที่ จ.ภูเก็ต มีการชุมนุมกันบริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ต.ตลาดเหนือ อ.เมืองฯ จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจากสถานที่นัดเบื้องต้นหลายครั้ง เพื่อหลอกเจ้าหน้าที่ โดยภายหลังมวลชนรวมตัวกันได้ มีการจัดกิจกันปราศรัยขับไล่นายกฯ พร้อมชู 3 นิ้ว ร่วมร้องเพลงชาติ ในเวลา 18.00 น. ซึ่งระหว่างนั้น มีกลุ่มคนตะโกนโวยวาย รบกวนตลอดเวลาเนื่องจากไม่พอใจการนัดชุมนุมดังกล่าว แต่ไม่มีเหตุการณ์กระทบกระทั่งกันรุนแรง
นายกฯวอนผู้ชุมนุมอยู่ในกรอบกม.
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกฯ เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงการชุมนุมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดว่า การเรียกร้องเป็นสิทธิ เสรีภาพที่พึงกระทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกม. พร้อมเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่รัฐ คอยเฝ้าระวังกลุ่มบุคคลผู้ไม่หวังดี ที่อาจอาศัยการชุมนุมสร้างสถานการณ์รุนแรงเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง
"รัฐบาลพร้อมรับฟังปัญหาของประชาชนทุกฝ่าย และยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าแก้ไขปัญหาต่างๆที่ยังคงมีอยู่ ให้พี่น้องประชาชนแต่ละกลุ่มในทุกพื้นที่"
ทั้งนี้ การเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบสองแล้ว ปัญหาเศรษฐกิจ ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลพยายามแก้ไข และเร่งออกมาตรการทางนโยบายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจให้พี่น้องประชาชนทุกกลุ่ม จึงขอให้ประชาชนอยู่ในความสงบ และติดตามข่าวสารจากรัฐบาลอย่างใกล้ชิดในทุกช่องทาง
"พปชร."ย้ำเทิดทูนชาติ ศาสน์ กษัตริย์
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ระบุถึงสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ว่า ได้ติดตามสถานการณ์ทางการเมืองอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด ซึ่งพรรคพปชร. มีความเป็นห่วงต่อสถานการณ์บ้านเมืองเช่นเดียวกับประชาชนคนไทยทุกๆ คน โดยเฉพาะกรณีที่มีผลกระทบต่อสถาบันฯ จึงขอแถลงจุดยืนของพรรคพปชร. ดังนี้
1. พรรคพปชร. ยึดมั่นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเทิดทูนสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2. พรรคพปชร. มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้พี่น้องประชาชนอยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 3. พรรคพปชร. สนับสนุนการแก้รธน. โดยกระบวนการทางรัฐสภา และเห็นว่าการแก้ไขรธน. ต้องไม่กระทบ หมวด 1 และ หมวด 2 อันเป็นลักษณะสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย ซึ่งทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่าจะธำรงรักษาการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
"ชวน"สั่งเตรียมพร้อมเปิดสภาฯวิสามัญ
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงข้อเสนอให้เปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ เพื่อหาทางออกให้กับประเทศว่า สามารถทำได้ ด้วยการที่รัฐบาลหรือสมาชิกรัฐสภาเข้าชื่อดำเนินการยื่นเรื่องขอเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ ซึ่งขณะนี้หลายฝ่ายกำลังมีความพยายามดำเนินการอยู่ แต่ยังไม่มีการเสนอรายชื่อมายังประธานสภาฯ แต่ที่ผ่านมาตนได้เสนอความคิดไปยังรัฐบาลว่า หากรัฐบาลจะขอเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ ก็สามารถทำได้ หรือจะให้ ส.ส.รัฐบาลเข้าชื่อร่วมกับฝ่ายค้านก็ได้
นายชวนกล่าวว่า วันนี้ (19 ต.ค.) ได้นัดหารือกันระหว่างตัวแทนรัฐบาลและฝ่ายค้าน เป็นการภายในอีกครั้ง เพื่อพิจารณาว่าจะเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญหรือไม่ ก่อนที่จะเปิดประชุมสภาฯสมัยสามัญ ในวันที่ 1 พ.ย.นี้ แต่เบื้องต้นเมื่อสัปดาห์ก่อน ตนได้สั่งให้มีการเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญไว้แล้ว
"ในฐานะประธานสภา ไม่มีสิทธิ์เรียกประชุมสภาสมัยวิสามัญเองได้ เพราะหากทำได้ผมคงทำไปแล้ว แต่เป็นเรื่องที่รัฐบาลหรือสมาชิกรัฐสภา จะต้องเข้าชื่อกันตามกฎหมายกำหนด ซึ่งที่ผ่านมาเราได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อพิจารณาว่าสภาฯ สามารถเข้าไปดูแลปัญหาส่วนใดได้บ้าง โดยมีการประสานกันภายในระหว่าง ส.ส.ฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาลอย่างเงียบๆ เพื่อไม่ให้เกิดแรงกดดัน หรือเป็นการโยนภาระการตัดสินใจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งวันนี้ (19 ต.ค.) เราได้นัดหารือกันภายในอีกครั้ง เพื่อให้สภาฯพิจารณาว่าควรเปืดประชุมสมัยวิสามัญหรือไม่" นายชวนกล่าว
ปชป.ขอครม.เป็นเจ้าภาพเปิดวิสามัญ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯรมว.พาณิชย์ และ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุมพรรคว่า ควรจะมีการใช้รัฐสภาเป็นเวทีหาทางออกให้กับประเทศ ภายใต้การรับฟังและการแสวงหาความร่วมมือร่วมใจ และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จึงเห็นว่ารัฐบาล ควรเป็นเจ้าภาพในการเปิดสภาสมัยวิสามัญ เพื่อให้รัฐสภาเป็นเวทีหาทางออกให้กับประเทศ และควรเร่งรัดให้มีการแก้ไขรธน. โดยควรเร่งดำเนินการเข้าสู่การพิจารณา ในวาระที่1 ขั้นรับหลักการทันที ที่สามารถทำได้ ไม่ควรมีเงื่อนไขใดๆที่จะนำไปสู่การทำให้สังคมเกิดความเข้าใจว่า มีการยื้อเวลา
ทั้งนี้ พรรคเห็นว่า ควรใช้ มาตรา165 ของรธน. เพื่อแสวงหาทางออกให้กับสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน โดยมาตรา 165 ระบุว่า ให้คณะรัฐมนตรี สามารถเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อรับฟังความเห็นจากสมาชิกรัฐสภาโดยไม่ลงมติ เพื่อหาทางออกให้กับประเทศ และพรรคเห็นว่าเมื่อได้รับฟังความเห็นแล้ว ควรจะมีการตั้งคณะทำงาน หรือคณะกรรมาธิการขึ้นมารับฟังความเห็น และแสวงหาทางออกร่วมกันกับภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ส.ส. ฝ่าย ค้าน ฝ่ายรัฐบาล ส.ว. รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ดังนั้น เพื่อให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ พรรคจะนำเรื่องนี้ไปหารือใน ครม. ส่วนสภาได้มอบหมายให้วิปของพรรคไปหารือกับวิปพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อให้มีความเห็นร่วมกันในการที่จะดำเนินการตามแนวความคิดนี้ต่อไป
เมื่อถามว่า กลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ ถอนตัวออกจากพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อบีบให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลาออก นายจุรินทร์ กล่าวว่าในที่ประชุมได้มีการพูดคุยถึงเรื่องนี้เช่นกัน จึงขอเรียนว่า พรรคไม่ได้ยึดติดกับการเป็นรัฐบาล เพราะเคยเป็นทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลมาแล้วหลายสมัย และต่อสถานการณ์ปัจจุบัน พรรคคิดว่ายังมีภาระกิจที่จะต้องร่วมกันกับทุกภาคส่วนในการแสวงหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับประเทศต่อไป
"เรื่องการถอนตัว พรรคก็ต้องไตร่ตรองด้วยความรอบคอบ รวมทั้งการวิเคราะห์สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปด้วย ว่าถ้ามีการถอนตัวอาจจะนำไปสู่การยุบสภาได้ ซึ่งไม่ได้แปลว่า พรรคจะกลัวการยุบสภา เพียงแต่ถ้ามีการยุบสภาขึ้นมาในเวลานี้ก็จะต้องมีการเลือกตั้ง ซึ่งยังอยู่ภายใต้กติกาเดิม ถ้าเป็นเช่นนั้น สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็จะเวียนกลับมาอีกครั้ง หลังเลือกตั้ง ตรงนี้จึงเป็นที่มาที่พรรคประชาธิปัตย์ เร่งรัดให้มีการแก้ไขรธน. และกติกาต่างๆ ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว" นายจุรินทร์ กล่าว
รัฐบาลตัดสินใจช้าแค่1-2วันอาจเลวร้าย
นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน เปิดเผยว่า เวลา 09.00 น. วันนี้ (19ต.ค.) นายชวน หลีกภัย ประธานสภา ได้เรียกหารือหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรค ตัวแทนวิปรัฐบาล วิปฝ่ายค้านที่รัฐสภา เพื่อหารือแนวทางที่สภาจะช่วยหาให้สถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้คลี่คลายลงได้ หัวข้อที่หารือ คงไม่ใช่เพียงแค่การเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ แต่จะหารือถึงแนวทางอื่นๆด้วย เช่น การแก้รธน.
ทั้งนี้ แนวทางที่พรรคเพื่อไทย จะนำเสนอ มีทั้งการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ การแก้รธน. การเปิดโต๊ะเจรจา หาทางออกระหว่างรัฐบาลกับผู้ชุมนุม ความเหมาะสมในการประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ ในเรื่องการเปิดประชุมสมัยวิสามัญนั้น ส่วนตัวมองว่ามีความจำเป็น แม้ขณะนี้จะเหลือเวลาอีก 11- 12 วัน จะเปิดประชุมสภาตามปกติในวันที่ 1 พ.ย.นี้ แล้วก็ตาม แต่ระยะเวลาที่เหลือหลังจากนี้ จนถึงการเปิดประชุมสภาตามปกติ สถานการณ์จะพัฒนาไปเร็วมาก มีความสำคัญทุกวัน ไม่รู้ว่าเหตุการณ์จะเปลี่ยนไปในทิศทางใด
“สถานการณ์ขณะนี้ทุกวันมีค่ามาก ตัดสินใจช้าแค่ 1 - 2 วัน อาจทำให้สถานการณ์มีผลไปในทางเลวร้ายได้" นายสุทิน กล่าว
วานนี้ (18 ต.ค.) เพจ "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม" ได้ออกประกาศผ่านโซเชียลฯ นัดมวลชนรวมตัวจัดชุมนุมเวลาประมาณ 15.00 น. ที่สถานีรถไฟฟ้าทุกสถานี โดยมีชาวเน็ตจำนวนมากเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นหลากหลาย บ้างก็บอกว่าควรพักการชุมนุมบริเวณรถไฟฟ้า หากมีการสั่งปิด อาจจะทำให้คนอื่นเดือดร้อน หรือมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตามได้มีชาวเน็ตมาตอบแบบง่ายๆว่า รัฐบาลเป็นผู้สั่งปิด ไม่เกี่ยวกับม็อบ หรือจะตีเหล็กก็ต้องตีตอนร้อนๆ
ต่อมาเวลา ประมาณ 15.30 น. เพจเยาวชนปลดแอก - Free YOUTH โพสต์ข้อความนัดชุมนุมระบุข้อความว่า เราคือราษฎร #18 ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัยฯ รวมทั้งยังมีจุดอื่นๆ อีกทั่วประเทศ ! จุดหลักอนุสาวรีย์ชัยฯ จุดย่อย อโศก เวลา16.00 น. ส่วนที่ต่างจังหวัดมีการระบุว่า
ภาคกลาง จ.ปทุมธานี ที่ท่ารถตู้ ตจว.ตรงข้ามฟิวเจอร์พาร์ครังสิต, จ. สมุทรสาคร แยกพุทธมณฑลสาย 4, จ.สมุทรปราการ หน้าอิมพีเรียลสำโรง .จ.นนทบุรี รถไฟฟ้าสามแยกบางใหญ่ , จ.สระบุรี สวนสาธารณะ จุดพักรถบายพาส ,จ.สิงห์บุรี ศาลหลักเมือง ,จ.สุพรรณบุรี กำแพงเมืองสุพรรณ ,จ.ปราจีนบุรี ศาลากลางหลังเก่า
อีสาน จ.ขอนแก่น บึงสีฐาน , จ.นครราชสีมา เทคโนโคราช คุรุสัมมนาคาร , จ.ยโสธร หน้าศาลากลาง, จ.อุดรธานี ลานศิษย์เก่า มรภ.อุดรธานี .จ.ศรีสะเกษ ศาลหลักเมือง จ.กาฬสินธุ์ ศาลากลางหลังเก่า
ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา ศาลากลาง ,จ.จันทบุรี ลานจันท์ , จ.ชลบุรี สี่แยกปากร่วม บ่อวิน , จ.ระยอง สวนสุขภาพบ้านฉาง
ภาคใต้ จ.ภูเก็ต ลานมังกร
"บีทีเอส"แจ้งปิดชั่วคราว 15 สถานี
เพจเฟซบุ๊ก รถไฟฟ้าบีทีเอส แจ้งว่ารัฐบาลได้มีคำสั่งตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ให้รถไฟฟ้าบีทีเอส ปิดบริการชั่วคราว 10 สถานี ตั้งแต่ เวลา 14.30 น. เป็นต้นไป และต่อมา เพจเฟซบุ๊ก รถไฟฟ้าบีทีเอส แจ้งซ้ำว่าได้สั่งปิดบริการชั่วคราวเพิ่มอีก 5 สถานี ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้น ไปรวมเป็น 15 สถานี ดังนี้
สายสุขุมวิท ได้แก่ สถานีหมอชิต, สถานีห้าแยกลาดพร้าว, สถานีพหลโยธิน 24, สถานีอโศก, สถานีอุดมสุข, สถานีบางนา, สถานีอารีย์, สถานีสนามเป้า, สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, สถานีพญาไท, และสถานีราชเทวี
สายสีลม ได้แก่ สถานีช่องนนทรี, สถานีสุรศักดิ์, สถานีกรุงธนบุรี, และสถานีวงเวียนใหญ่ ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ จนกว่าจะมีประกาศการเปลี่ยนแปลง
ม็อบรวมตัวอนุสาวรีย์ชัยฯไล่'ประยุทธ์'
เวลา 16.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มทะยอยเข้ามาที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิโดยมีประชาชนบางส่วน เดินลงมายังพื้นผิวจราจร พร้อมตะโกนไล่ "ประยุทธ์ ออกไป"
ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้เข้ามาเร่งระบายรถ ที่กำลังสัญจรอยู่ ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมขอให้เจ้าหน้าตำรวจที่ปิดถนน ถ้าหากมีรถพยาบาลมา ก็จะหลีกทางให้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ใช้เครื่องขยายเสียงขอความร่วมมือ ให้กลุ่มผู้ชุมนุมออกจากเส้นทางจราจรก่อน เพื่อที่จะเคลียร์รถในวงเวียนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อเคลียร์พื้นที่เสร็จเจ้าหน้าที่ตำรวจจะให้กลุ่มผู้ชุมนุมใช้พื้นที่ในการชุมนุม ซึ่งต่อมา ผู้ชุมนุมได้มีการนำแผงเหล็กมากั้นบริเวณอนุสาวรีย์ชัยฯ ฝั่งราชวิถี
ทั้งนี้ ในการชุมนุมครั้งนี้ไม่มีแกนนำ และไม่มีเวทีปราศรัย เนื่องจากแกนนำถูกจับกุมตัวไปก่อนหน้านี้ และยังไม่ได้รับการประกันตัว โดยผู้ชุมนุมบอกว่า ทุกคนคือแกนนำ และได้มีการปิดกั้นถนนด้าน รพ.พระมงกุฎเกล้า เพื่อป้องกันรถฉีดน้ำที่จะเข้ามาสลายการชุมนุม
ต่อมาเวลาประมาณ 19.00 น. น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว หรือ ลูกเกด แกนนำกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย กล่าวกับผู้ชุมนุมว่า จะแยกย้ายยุติการชุมนุมในเวลา 20.00 น. และถ้าจะมีชุมนุมอีก ขะติดต่อสื่อสารทางเพจ ครั้งหน้าใครมีของอะไรเด็ด เอามาปล่อย มีไมค์ มีลำโพง อยากปราศรัยเรียกร้องอะไร เอาไมค์ ลำโพงมาเอง จากนั้น ผู้ชุมนุมร่วมกันเปิดแฟลชโทรศัพท์มือถือ ก่อนจะทะยอยแยกย้ายกันไป
ส่วนบรรยากาศการชุมนุมที่ บริเวณแยกอโศก ก็มีการร้องเพลง ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้นำรัฐบาล และการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดนี้ โดยหลังร้องเพลงจบ ผู้ปราศรัยได้ย้ำจุดยืนว่า จะยุติการชุมนุมภายในเวลา 20.00 น.
ส่วนการชุมนุมที่ท่ารถไปต่างจังหวัด รังสิต ตรงข้ามห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์ รังสิต ผู้ชุมนุมได้ทยอยเดินทางมาร่วมชุมนุมอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันแกนนำได้มีการสับเปลี่ยนกันขึ้นปราศรัยบนเวที กระทั่งเวลา 19.00 น. ผู้ชุมนุมได้ลงมายึดพื้นที่บนผิวจราจร ถึงแม้ผู้ชุมนุมอีกกลุ่มพยายามบอกว่า ห้ามลงถนนก็ตาม แต่ทั้งนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมบางกลุ่มได้ขับรถมอเตอร์ไซต์ เบิ้ลเสียงดังในบริเวณดังกล่าว ก่อนประกาศยุติการชุมนุม
นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมในจุดที่สำคัญๆ อาทิ บริเวณหน้า หน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวสต์เกท จ.นนทบุรี บริเวณหน้าห้างอิมพีเรียลเวิลด์ สำโรง จ.สมุทรปราการ บริเวณแยกบางนา โดยส่วนใหญ่ได้ยุติการชุมนุมในเวลา 20.00 น. แต่หลังจากประกาศยุติการชุมนุม ได้เกิดมีไฟดับ และทำให้ผู้ชุมนุมบางส่วนไม่พอใจ จึงเกิดเหตุการณ์ชุลมุน และพากันขว้างปาสิ่งของใส่ป้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ บริเวณแยกบางนา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอาชีวะ จากหลายสถาบันเบิ้ลรถจักรยานยนต์พร้อมโหร้องใส่เจ้าหน้าที่ จากเหตุการณ์ดังกล่าว
ต่างจังหวัดนัดชุมนุมพรึบ
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการชุมนุมที่ต่างจังหวัด อาทิ จ.กำแพงเพชร กลุ่มนักเรียนนักศึกษา ในนาม “กำแพงเพชรปลดแอก”ได้รวมตัวกันที่ลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิริจิตอุทยาน ริมปิง อ.เมืองกำแพงเพชร เกือบ 1,000 คน ประกาศจุดยืน ไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงสลายม็อบ เรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนนำที่โดนจับ และเรียกร้องให้ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินพื้นที่กรุงเทพฯ ผู้ชุมนุมพร้อมใจผูกริบบิ้นสีขาว พร้อมกับแสดงสัญลักษณ์ชู 3 นิ้ว ตะโกนไล่ "ประยุทธ์ ออกไป" -
ที่ จ.ตาก เครือข่ายมวลชนในนาม "ราษฎร จ.ตาก" ฝ่าสายฝนรวมตัวกันกว่า 400 คน ที่ศาลาตากสิน หน้าศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต.หนองหลวง อ.เมืองตาก เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องของนิสิตนักศึกษา-มวลชนเครือข่ายคณะราษฎร์ 63 ที่ชุมนุมกันในกรุงเทพฯ
ที่ จ.ระยอง มวลชน ประมาณ 500 คน รวมตัวกันที่ บริเวณลานจอดรถข้างหอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติฯ สวนสุขภาพเทศบาลเมืองบ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง โดยผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ได้สวมใส่เสื้อสีดำ และนำริบบิ้นสีขาวไปผูกตามต้นไม้ ภายในสวนสุขภาพ ฯ เพื่อแสดงจุดยืนทางการเมือง ท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง
ที่ จ.นครราชสีมา ได้มีการนัดรวมตัวกันบริเวณหน้าอาคารคุรุสัมมนาคาร ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดยมีแกนนำนักศึกษาผลัดเปลี่ยนกันขึ้นกล่าวปราศรัยโจมตีรัฐบาล พร้อมเรียกร้องให้นายกฯ ลาออก และทำการยุบสภา รวมถึงหยุดคุกคามประชาชน ก่อนที่จะทำการเคารพธงชาติ และชู 3 นิ้วพร้อมยุติการชุมนุม ขณะที่ จ.อุดรธานี กลุ่มเยาวชนปลดแอกอุดรธานี รวมตัวกันที่ ม.ราชภัฏอุดรธานี ก่อนเคลื่อนตัวไปหน้าอนุสาวรีย์ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ ศิลปาคม พร้อมทำการนั่งปิดช่องทางการจราจร
ส่วนที่ จ.ภูเก็ต มีการชุมนุมกันบริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ต.ตลาดเหนือ อ.เมืองฯ จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจากสถานที่นัดเบื้องต้นหลายครั้ง เพื่อหลอกเจ้าหน้าที่ โดยภายหลังมวลชนรวมตัวกันได้ มีการจัดกิจกันปราศรัยขับไล่นายกฯ พร้อมชู 3 นิ้ว ร่วมร้องเพลงชาติ ในเวลา 18.00 น. ซึ่งระหว่างนั้น มีกลุ่มคนตะโกนโวยวาย รบกวนตลอดเวลาเนื่องจากไม่พอใจการนัดชุมนุมดังกล่าว แต่ไม่มีเหตุการณ์กระทบกระทั่งกันรุนแรง
นายกฯวอนผู้ชุมนุมอยู่ในกรอบกม.
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกฯ เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงการชุมนุมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดว่า การเรียกร้องเป็นสิทธิ เสรีภาพที่พึงกระทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกม. พร้อมเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่รัฐ คอยเฝ้าระวังกลุ่มบุคคลผู้ไม่หวังดี ที่อาจอาศัยการชุมนุมสร้างสถานการณ์รุนแรงเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง
"รัฐบาลพร้อมรับฟังปัญหาของประชาชนทุกฝ่าย และยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าแก้ไขปัญหาต่างๆที่ยังคงมีอยู่ ให้พี่น้องประชาชนแต่ละกลุ่มในทุกพื้นที่"
ทั้งนี้ การเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบสองแล้ว ปัญหาเศรษฐกิจ ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลพยายามแก้ไข และเร่งออกมาตรการทางนโยบายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจให้พี่น้องประชาชนทุกกลุ่ม จึงขอให้ประชาชนอยู่ในความสงบ และติดตามข่าวสารจากรัฐบาลอย่างใกล้ชิดในทุกช่องทาง
"พปชร."ย้ำเทิดทูนชาติ ศาสน์ กษัตริย์
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ระบุถึงสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ว่า ได้ติดตามสถานการณ์ทางการเมืองอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด ซึ่งพรรคพปชร. มีความเป็นห่วงต่อสถานการณ์บ้านเมืองเช่นเดียวกับประชาชนคนไทยทุกๆ คน โดยเฉพาะกรณีที่มีผลกระทบต่อสถาบันฯ จึงขอแถลงจุดยืนของพรรคพปชร. ดังนี้
1. พรรคพปชร. ยึดมั่นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเทิดทูนสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2. พรรคพปชร. มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้พี่น้องประชาชนอยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 3. พรรคพปชร. สนับสนุนการแก้รธน. โดยกระบวนการทางรัฐสภา และเห็นว่าการแก้ไขรธน. ต้องไม่กระทบ หมวด 1 และ หมวด 2 อันเป็นลักษณะสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย ซึ่งทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่าจะธำรงรักษาการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
"ชวน"สั่งเตรียมพร้อมเปิดสภาฯวิสามัญ
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงข้อเสนอให้เปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ เพื่อหาทางออกให้กับประเทศว่า สามารถทำได้ ด้วยการที่รัฐบาลหรือสมาชิกรัฐสภาเข้าชื่อดำเนินการยื่นเรื่องขอเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ ซึ่งขณะนี้หลายฝ่ายกำลังมีความพยายามดำเนินการอยู่ แต่ยังไม่มีการเสนอรายชื่อมายังประธานสภาฯ แต่ที่ผ่านมาตนได้เสนอความคิดไปยังรัฐบาลว่า หากรัฐบาลจะขอเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ ก็สามารถทำได้ หรือจะให้ ส.ส.รัฐบาลเข้าชื่อร่วมกับฝ่ายค้านก็ได้
นายชวนกล่าวว่า วันนี้ (19 ต.ค.) ได้นัดหารือกันระหว่างตัวแทนรัฐบาลและฝ่ายค้าน เป็นการภายในอีกครั้ง เพื่อพิจารณาว่าจะเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญหรือไม่ ก่อนที่จะเปิดประชุมสภาฯสมัยสามัญ ในวันที่ 1 พ.ย.นี้ แต่เบื้องต้นเมื่อสัปดาห์ก่อน ตนได้สั่งให้มีการเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญไว้แล้ว
"ในฐานะประธานสภา ไม่มีสิทธิ์เรียกประชุมสภาสมัยวิสามัญเองได้ เพราะหากทำได้ผมคงทำไปแล้ว แต่เป็นเรื่องที่รัฐบาลหรือสมาชิกรัฐสภา จะต้องเข้าชื่อกันตามกฎหมายกำหนด ซึ่งที่ผ่านมาเราได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อพิจารณาว่าสภาฯ สามารถเข้าไปดูแลปัญหาส่วนใดได้บ้าง โดยมีการประสานกันภายในระหว่าง ส.ส.ฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาลอย่างเงียบๆ เพื่อไม่ให้เกิดแรงกดดัน หรือเป็นการโยนภาระการตัดสินใจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งวันนี้ (19 ต.ค.) เราได้นัดหารือกันภายในอีกครั้ง เพื่อให้สภาฯพิจารณาว่าควรเปืดประชุมสมัยวิสามัญหรือไม่" นายชวนกล่าว
ปชป.ขอครม.เป็นเจ้าภาพเปิดวิสามัญ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯรมว.พาณิชย์ และ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุมพรรคว่า ควรจะมีการใช้รัฐสภาเป็นเวทีหาทางออกให้กับประเทศ ภายใต้การรับฟังและการแสวงหาความร่วมมือร่วมใจ และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ จึงเห็นว่ารัฐบาล ควรเป็นเจ้าภาพในการเปิดสภาสมัยวิสามัญ เพื่อให้รัฐสภาเป็นเวทีหาทางออกให้กับประเทศ และควรเร่งรัดให้มีการแก้ไขรธน. โดยควรเร่งดำเนินการเข้าสู่การพิจารณา ในวาระที่1 ขั้นรับหลักการทันที ที่สามารถทำได้ ไม่ควรมีเงื่อนไขใดๆที่จะนำไปสู่การทำให้สังคมเกิดความเข้าใจว่า มีการยื้อเวลา
ทั้งนี้ พรรคเห็นว่า ควรใช้ มาตรา165 ของรธน. เพื่อแสวงหาทางออกให้กับสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน โดยมาตรา 165 ระบุว่า ให้คณะรัฐมนตรี สามารถเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อรับฟังความเห็นจากสมาชิกรัฐสภาโดยไม่ลงมติ เพื่อหาทางออกให้กับประเทศ และพรรคเห็นว่าเมื่อได้รับฟังความเห็นแล้ว ควรจะมีการตั้งคณะทำงาน หรือคณะกรรมาธิการขึ้นมารับฟังความเห็น และแสวงหาทางออกร่วมกันกับภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ส.ส. ฝ่าย ค้าน ฝ่ายรัฐบาล ส.ว. รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ดังนั้น เพื่อให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ พรรคจะนำเรื่องนี้ไปหารือใน ครม. ส่วนสภาได้มอบหมายให้วิปของพรรคไปหารือกับวิปพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อให้มีความเห็นร่วมกันในการที่จะดำเนินการตามแนวความคิดนี้ต่อไป
เมื่อถามว่า กลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ ถอนตัวออกจากพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อบีบให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลาออก นายจุรินทร์ กล่าวว่าในที่ประชุมได้มีการพูดคุยถึงเรื่องนี้เช่นกัน จึงขอเรียนว่า พรรคไม่ได้ยึดติดกับการเป็นรัฐบาล เพราะเคยเป็นทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลมาแล้วหลายสมัย และต่อสถานการณ์ปัจจุบัน พรรคคิดว่ายังมีภาระกิจที่จะต้องร่วมกันกับทุกภาคส่วนในการแสวงหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับประเทศต่อไป
"เรื่องการถอนตัว พรรคก็ต้องไตร่ตรองด้วยความรอบคอบ รวมทั้งการวิเคราะห์สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปด้วย ว่าถ้ามีการถอนตัวอาจจะนำไปสู่การยุบสภาได้ ซึ่งไม่ได้แปลว่า พรรคจะกลัวการยุบสภา เพียงแต่ถ้ามีการยุบสภาขึ้นมาในเวลานี้ก็จะต้องมีการเลือกตั้ง ซึ่งยังอยู่ภายใต้กติกาเดิม ถ้าเป็นเช่นนั้น สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็จะเวียนกลับมาอีกครั้ง หลังเลือกตั้ง ตรงนี้จึงเป็นที่มาที่พรรคประชาธิปัตย์ เร่งรัดให้มีการแก้ไขรธน. และกติกาต่างๆ ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว" นายจุรินทร์ กล่าว
รัฐบาลตัดสินใจช้าแค่1-2วันอาจเลวร้าย
นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน เปิดเผยว่า เวลา 09.00 น. วันนี้ (19ต.ค.) นายชวน หลีกภัย ประธานสภา ได้เรียกหารือหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรค ตัวแทนวิปรัฐบาล วิปฝ่ายค้านที่รัฐสภา เพื่อหารือแนวทางที่สภาจะช่วยหาให้สถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้คลี่คลายลงได้ หัวข้อที่หารือ คงไม่ใช่เพียงแค่การเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ แต่จะหารือถึงแนวทางอื่นๆด้วย เช่น การแก้รธน.
ทั้งนี้ แนวทางที่พรรคเพื่อไทย จะนำเสนอ มีทั้งการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ การแก้รธน. การเปิดโต๊ะเจรจา หาทางออกระหว่างรัฐบาลกับผู้ชุมนุม ความเหมาะสมในการประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ ในเรื่องการเปิดประชุมสมัยวิสามัญนั้น ส่วนตัวมองว่ามีความจำเป็น แม้ขณะนี้จะเหลือเวลาอีก 11- 12 วัน จะเปิดประชุมสภาตามปกติในวันที่ 1 พ.ย.นี้ แล้วก็ตาม แต่ระยะเวลาที่เหลือหลังจากนี้ จนถึงการเปิดประชุมสภาตามปกติ สถานการณ์จะพัฒนาไปเร็วมาก มีความสำคัญทุกวัน ไม่รู้ว่าเหตุการณ์จะเปลี่ยนไปในทิศทางใด
“สถานการณ์ขณะนี้ทุกวันมีค่ามาก ตัดสินใจช้าแค่ 1 - 2 วัน อาจทำให้สถานการณ์มีผลไปในทางเลวร้ายได้" นายสุทิน กล่าว