ผู้จัดการรายวัน360- ศาลปกครองสูงสุดสั่งเพิกถอนคำสั่งปลด"ศิโรตม์" อดีตอธิบดีสรรพากร ปมวินิจฉัยโอนหุ้นชินคอร์ป ชี้ไม่พบได้รับประโยชน์ที่มิควรได้จากการปฏิบัติหน้าที่ คำอุทธรณ์ป.ป.ช. ฟังไม่ขึ้น สั่งปลัดคลังฯ เร่งคืนสิทธิประโยชน์ ภายใน 30 วัน
วานนี้ (14ต.ค.) ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้น เพิกถอนคำสั่งกระทรวงการคลังที่ลงโทษปลด นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อดีต อธิบดีกรมสรรพากรออกจากราชการ โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 29 ธ.ค.49 ซึ่งเป็นวันที่คำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับ และมีข้อสังเกตให้ปลัดกระทรวงการคลังดำเนินการคืนสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่นายศิโรตม์ควรได้รับ หากไม่ได้ถูกลงโทษทางวินัยตามคำสั่งดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดด้วย ทั้งนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
ทั้งนี้คดีดังกล่าว กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติชี้มูลว่า นายศิโรตม์ กระทำผิดผิดวินัยร้ายแรง จากการร่วมกันพิจารณาว่า การรับโอนหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ จาก น.ส.ดวงตา วงศ์ภักดี ผู้ถือหุ้นแทน คุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นการได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา และจากการให้โดยเสน่ห์เนื่องในพิธี หรือโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ซึ่งกระทรวงคลังได้มีคำสั่ง ไล่ออกจากราชการ และต่อมาก็มีคำสั่งลดโทษ เป็นปลดออกจากราชการ ทำให้นายศิโรตม์ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ซึ่งศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาสั่งเพิกถอน ทำให้ป.ป.ช. ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด
สำหรับเหตุผลที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืน ระบุว่า การใช้อำนาจในการชี้มูลความผิดวินัยดังกล่าว เป็นการใช้อำนาจตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.ป.ว่าด้วยป.ป.ช. 2542 ซึ่งต้องมีการพิจารณาสั่งลงโทษทางวินัยต่อไปโดยผู้บังคับบัญชา ไม่ใข่การใช้อำนาจตรงตามรธน.ที่จะได้รับข้อยกเว้น ตามมาตรา 223 วรรคสองของรธน.ปี 50 เมื่อคดีนี้นายศิโรตม์ ฟ้องโต้แย้งความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งลงโทษปลดตนเองออกจากราชการ ที่ออกตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ. ซึ่งมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของนายศิโรตม์ จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง ดังนั้นที่ ป.ป.ช.โต้แย้งว่าศาลปกครองไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ จึงฟังไม่ขึ้น
ส่วนคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ 658/2551 ลงวันที่ 12 พ.ค.51 เรื่องลดโทษข้าราชการเฉพาะส่วนที่ลดโทษนายศิโรตม์ จากไล่ออกเป็นปลดออกจากราชการ เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่าไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการให้ความเห็นในกรณีนี้ นายศิโรตม์มีเจตนาเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ และต่อมา น.ส.จำรัส แหยมสร้อยทอง ผอ.สำนักกฎหมายคนต่อมา ได้มีหนังสือลับที่ กค. 0811(สก.06)/2063 ลงวันที่ 2 ต.ค. 44 แจ้งความเห็นดังกล่าวให้ นางเบญจา หลุยเจริญ ผอ.สำนักตรวจสอบภาษี คนต่อมาพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยุติการตรวจสอบข้อมูลรายนายบรรณพจน์ และมีหนังสือลับที่ กค. 0804/0155 ลงวันที่ 9 พ.ย. 44 เสนออธิบดีกรมสรรพากรทราบ โดยที่อธิบดีกรมสรรพากรไม่ได้มีคำสั่งให้ส่งเรื่องดังกล่าว ให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรพิจารณาตาม มาตรา 13 สัตต (3) แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
สำหรับการที่นายบรรณพจน์ ได้ดำเนินการรับโอนหุ้นจาก คุณหญิงพจมาน หรือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผ่านระบบซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ อันเป็นการโอนหลักทรัพย์โดยอำพรางเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีเงินได้ ซึ่งบุคคลดังกล่าวจะต้องรับผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นเรื่องที่ต้องแยกพิจารณาภาระภาษี ที่ผู้มีเงินได้พึงประเมินจะต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
เมื่อไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดในสำนวนคดีนี้ที่พิสูจน์ได้ว่า นายศิโรตม์ได้รับประโยชน์ที่มิควรได้จากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว หรือปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการอันเป็นเหตุให้กรมสรรพากรได้รับความเสียหาย จึงไม่อาจฟังได้ว่าพฤติการณ์ของนายศิโรตม์ เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง และฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 82 วรรคสาม มาตรา 85 วรรคสอง มาตรา 98 วรรคสอง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2535 ตามที่ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
ดังนั้น การที่ปลัดกระทรวงการคลัง มีคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ 1214/2549 ลงวันที่ 29 ธ.ค. ฃ49 ลงโทษไล่นายศิโรตม์ออกจากราชการและต่อมาได้มีคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 658/2551 ลงวันที่ 12 พ.ค. 51ลดโทษนายศิโรตม์จากไล่ออกจากราชการเป็นปลดออกจากการราชการตามมติคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
วานนี้ (14ต.ค.) ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้น เพิกถอนคำสั่งกระทรวงการคลังที่ลงโทษปลด นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อดีต อธิบดีกรมสรรพากรออกจากราชการ โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 29 ธ.ค.49 ซึ่งเป็นวันที่คำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับ และมีข้อสังเกตให้ปลัดกระทรวงการคลังดำเนินการคืนสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่นายศิโรตม์ควรได้รับ หากไม่ได้ถูกลงโทษทางวินัยตามคำสั่งดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดด้วย ทั้งนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
ทั้งนี้คดีดังกล่าว กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติชี้มูลว่า นายศิโรตม์ กระทำผิดผิดวินัยร้ายแรง จากการร่วมกันพิจารณาว่า การรับโอนหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ จาก น.ส.ดวงตา วงศ์ภักดี ผู้ถือหุ้นแทน คุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นการได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา และจากการให้โดยเสน่ห์เนื่องในพิธี หรือโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ซึ่งกระทรวงคลังได้มีคำสั่ง ไล่ออกจากราชการ และต่อมาก็มีคำสั่งลดโทษ เป็นปลดออกจากราชการ ทำให้นายศิโรตม์ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ซึ่งศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาสั่งเพิกถอน ทำให้ป.ป.ช. ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด
สำหรับเหตุผลที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืน ระบุว่า การใช้อำนาจในการชี้มูลความผิดวินัยดังกล่าว เป็นการใช้อำนาจตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.ป.ว่าด้วยป.ป.ช. 2542 ซึ่งต้องมีการพิจารณาสั่งลงโทษทางวินัยต่อไปโดยผู้บังคับบัญชา ไม่ใข่การใช้อำนาจตรงตามรธน.ที่จะได้รับข้อยกเว้น ตามมาตรา 223 วรรคสองของรธน.ปี 50 เมื่อคดีนี้นายศิโรตม์ ฟ้องโต้แย้งความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งลงโทษปลดตนเองออกจากราชการ ที่ออกตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ. ซึ่งมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของนายศิโรตม์ จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง ดังนั้นที่ ป.ป.ช.โต้แย้งว่าศาลปกครองไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ จึงฟังไม่ขึ้น
ส่วนคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ 658/2551 ลงวันที่ 12 พ.ค.51 เรื่องลดโทษข้าราชการเฉพาะส่วนที่ลดโทษนายศิโรตม์ จากไล่ออกเป็นปลดออกจากราชการ เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่าไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการให้ความเห็นในกรณีนี้ นายศิโรตม์มีเจตนาเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ และต่อมา น.ส.จำรัส แหยมสร้อยทอง ผอ.สำนักกฎหมายคนต่อมา ได้มีหนังสือลับที่ กค. 0811(สก.06)/2063 ลงวันที่ 2 ต.ค. 44 แจ้งความเห็นดังกล่าวให้ นางเบญจา หลุยเจริญ ผอ.สำนักตรวจสอบภาษี คนต่อมาพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยุติการตรวจสอบข้อมูลรายนายบรรณพจน์ และมีหนังสือลับที่ กค. 0804/0155 ลงวันที่ 9 พ.ย. 44 เสนออธิบดีกรมสรรพากรทราบ โดยที่อธิบดีกรมสรรพากรไม่ได้มีคำสั่งให้ส่งเรื่องดังกล่าว ให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรพิจารณาตาม มาตรา 13 สัตต (3) แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
สำหรับการที่นายบรรณพจน์ ได้ดำเนินการรับโอนหุ้นจาก คุณหญิงพจมาน หรือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผ่านระบบซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ อันเป็นการโอนหลักทรัพย์โดยอำพรางเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีเงินได้ ซึ่งบุคคลดังกล่าวจะต้องรับผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นเรื่องที่ต้องแยกพิจารณาภาระภาษี ที่ผู้มีเงินได้พึงประเมินจะต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
เมื่อไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดในสำนวนคดีนี้ที่พิสูจน์ได้ว่า นายศิโรตม์ได้รับประโยชน์ที่มิควรได้จากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว หรือปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการอันเป็นเหตุให้กรมสรรพากรได้รับความเสียหาย จึงไม่อาจฟังได้ว่าพฤติการณ์ของนายศิโรตม์ เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง และฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 82 วรรคสาม มาตรา 85 วรรคสอง มาตรา 98 วรรคสอง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2535 ตามที่ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
ดังนั้น การที่ปลัดกระทรวงการคลัง มีคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ 1214/2549 ลงวันที่ 29 ธ.ค. ฃ49 ลงโทษไล่นายศิโรตม์ออกจากราชการและต่อมาได้มีคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 658/2551 ลงวันที่ 12 พ.ค. 51ลดโทษนายศิโรตม์จากไล่ออกจากราชการเป็นปลดออกจากการราชการตามมติคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย