"วิษณุ"โยน กกต.ตัดสิน เลือกตั้งท้องถิ่นควบประชามติแก้รธน.ได้หรือไม่ เพื่อประหยัดงบฯ เตือนไม่ไปเลือกตั้งท้องถิ่น ระวังถูกตัดสิทธิ์การเมือง
วานนี้ (8 ต.ค.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการ รัฐสภา ระบุว่า หากมีการแก้รัฐธรรมนูญ และต้องทำประชามติ ซึ่งมีความสำคัญกว่าอาจทำให้การเลือกตั้งท้องถิ่นเลื่อนออกไปว่า อย่างแรกต้องตัดสินใจก่อนว่าหากแก้รัฐธรรมนูญจะต้องทำประชามติกี่ครั้ง หากจะทำประชามติ เพื่อถามกรอบของการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน ที่จะลงมือแก้ไข ส่วนนี้อาจจะไม่ยุ่งยากเท่าไร แต่ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ตามมาตรา 256 ระบุว่า เมื่อรัฐสภาได้แก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ก่อนจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต้องนำไปให้ประชาชนลงประชามติ ส่วนนี้เป็นภาคบังคับ ซึ่งคงจะไปทำซ้ำซ้อนกับอย่างอื่นไม่ได้
“ทั้งนี้ จะต้องไปดูกันเองว่าจะทำให้เกิดความสับสน หรือไม่ โดยการทำประชามติ จะต้องออกเสียงเป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยประชามติ ซึ่งขณะนี้ยังไม่เข้าสู่สภาฯ” นายวิษณุ ระบุ
ผู้สื่อข่าวถามว่า สามารถทำประชามติ พร้อมกับเลือกตั้งท้องถิ่นเพื่อให้ประหยัดงบประมาณได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ แต่ต้องถาม กกต. ตนมองเห็นปัญหาเหมือนกัน แต่ก็ต้องให้ กกต.เป็นคนยกขึ้นมา
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า เมื่อวันที่ 6 ต.ค.ที่ผ่านมา เลขาธิการกกต.ได้เข้าชี้แจงต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งนายกฯก็ไม่มีข้อสั่งการอะไรพิเศษ โดยองค์ประกอบของการเลือกตั้งท้องถิ่น มี 5 อย่าง คือ 1. บุคลากรในการเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งกกต.ยืนยันว่ามีความพร้อม, 2.งบประมาณ ซึ่งทางสำนักงบประมาณต่างๆ ก็ยืนยันว่ามีความพร้อม, 3.ระเบียบความพร้อม กกต. แจ้งว่าพร้อมแล้ว อยู่ระหว่างการทยอยประกาศใช้, 4.การแบ่งเขต ขณะนี้พร้อมเป็นส่วนใหญ่เหลือเพียงเทศบาลอีกไม่กี่แห่ง และ 5. ผู้สมัครลงเลือกตั้งท้องถิ่น ในส่วนนี้อยากเรียนว่าเมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะมีการเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และผู้บริหาร อบจ. ซึ่งก็ยังไม่ระบุว่าเป็นวันไหน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการรักษาการ ที่มี นายก อบจ.รักษาการอยู่ 76 แห่ง เมื่อกกต.จะประกาศมีการเลือกตั้งเมื่อใด ในวันที่ กกต.ประกาศให้ทราบนั้น นายกอบจ. ที่ทำหน้าที่รักษาการแทนอยู่ ก็จะพ้นจากตำแหน่งทันที จากนั้นจะมี ปลัดอบจ. ทำหน้าที่แทน ส่วนเมื่อพ้นจากตำแหน่งแล้ว จะลงสมัครเลือกตั้งอีกหรือไม่ ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล นอกจากนี้ ในการเลือกตั้ง อบจ.ที่จะถึงนี้ การที่ประชาชนไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง จะมี
ผลเป็นการเสียสิทธิบางอย่าง เราอาจจะเคยทราบเมื่อการเลือกตั้ง แต่ต้องเข้าใจว่าการเลือกตั้งในระดับอบจ. ก็มีการเสียสิทธิ์ด้วย เช่นจะลงสมัครรับเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
"ดังนั้นเมื่อมีการเรียกร้องให้จัดเลือกตั้ง ก็ต้องออกไปใช้สิทธิ์ ทั้งนี้ขอย้ำ การเลือกตั้งท้องถิ่น กกต.จะออกเป็นประกาศ ไม่ใช่ การออกพระราชกฤษฎีกา" รองนายกฯ ระบุ
วานนี้ (8 ต.ค.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการ รัฐสภา ระบุว่า หากมีการแก้รัฐธรรมนูญ และต้องทำประชามติ ซึ่งมีความสำคัญกว่าอาจทำให้การเลือกตั้งท้องถิ่นเลื่อนออกไปว่า อย่างแรกต้องตัดสินใจก่อนว่าหากแก้รัฐธรรมนูญจะต้องทำประชามติกี่ครั้ง หากจะทำประชามติ เพื่อถามกรอบของการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน ที่จะลงมือแก้ไข ส่วนนี้อาจจะไม่ยุ่งยากเท่าไร แต่ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ตามมาตรา 256 ระบุว่า เมื่อรัฐสภาได้แก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ก่อนจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต้องนำไปให้ประชาชนลงประชามติ ส่วนนี้เป็นภาคบังคับ ซึ่งคงจะไปทำซ้ำซ้อนกับอย่างอื่นไม่ได้
“ทั้งนี้ จะต้องไปดูกันเองว่าจะทำให้เกิดความสับสน หรือไม่ โดยการทำประชามติ จะต้องออกเสียงเป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยประชามติ ซึ่งขณะนี้ยังไม่เข้าสู่สภาฯ” นายวิษณุ ระบุ
ผู้สื่อข่าวถามว่า สามารถทำประชามติ พร้อมกับเลือกตั้งท้องถิ่นเพื่อให้ประหยัดงบประมาณได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ แต่ต้องถาม กกต. ตนมองเห็นปัญหาเหมือนกัน แต่ก็ต้องให้ กกต.เป็นคนยกขึ้นมา
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า เมื่อวันที่ 6 ต.ค.ที่ผ่านมา เลขาธิการกกต.ได้เข้าชี้แจงต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งนายกฯก็ไม่มีข้อสั่งการอะไรพิเศษ โดยองค์ประกอบของการเลือกตั้งท้องถิ่น มี 5 อย่าง คือ 1. บุคลากรในการเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งกกต.ยืนยันว่ามีความพร้อม, 2.งบประมาณ ซึ่งทางสำนักงบประมาณต่างๆ ก็ยืนยันว่ามีความพร้อม, 3.ระเบียบความพร้อม กกต. แจ้งว่าพร้อมแล้ว อยู่ระหว่างการทยอยประกาศใช้, 4.การแบ่งเขต ขณะนี้พร้อมเป็นส่วนใหญ่เหลือเพียงเทศบาลอีกไม่กี่แห่ง และ 5. ผู้สมัครลงเลือกตั้งท้องถิ่น ในส่วนนี้อยากเรียนว่าเมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะมีการเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และผู้บริหาร อบจ. ซึ่งก็ยังไม่ระบุว่าเป็นวันไหน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการรักษาการ ที่มี นายก อบจ.รักษาการอยู่ 76 แห่ง เมื่อกกต.จะประกาศมีการเลือกตั้งเมื่อใด ในวันที่ กกต.ประกาศให้ทราบนั้น นายกอบจ. ที่ทำหน้าที่รักษาการแทนอยู่ ก็จะพ้นจากตำแหน่งทันที จากนั้นจะมี ปลัดอบจ. ทำหน้าที่แทน ส่วนเมื่อพ้นจากตำแหน่งแล้ว จะลงสมัครเลือกตั้งอีกหรือไม่ ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล นอกจากนี้ ในการเลือกตั้ง อบจ.ที่จะถึงนี้ การที่ประชาชนไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง จะมี
ผลเป็นการเสียสิทธิบางอย่าง เราอาจจะเคยทราบเมื่อการเลือกตั้ง แต่ต้องเข้าใจว่าการเลือกตั้งในระดับอบจ. ก็มีการเสียสิทธิ์ด้วย เช่นจะลงสมัครรับเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
"ดังนั้นเมื่อมีการเรียกร้องให้จัดเลือกตั้ง ก็ต้องออกไปใช้สิทธิ์ ทั้งนี้ขอย้ำ การเลือกตั้งท้องถิ่น กกต.จะออกเป็นประกาศ ไม่ใช่ การออกพระราชกฤษฎีกา" รองนายกฯ ระบุ