ผู้จัดการรายวัน360- “นายกฯ”นั่งหัวโต๊ะถก ศบศ. วอนเอกชน-ภาคธนาคาร เสียสละช่วยเหลือภาระหนี้สินประชาชน ขณะที่บอดร์ด ศบศ. อนุมัติโครงการใหม่ “ช้อปดีมีคืน”ใช้จ่าย 30,000 บาท สามารถลดหย่อนภาษีได้ พร้อมปลดล็อก “เราเที่ยวด้วยกัน” ให้เที่ยวในจังหวัดได้ และขยายเวลาถึง 31 ม.ค.ปีหน้า คาดเงินหมุนเวียนในระบบกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 200,000 ล้านบาท ส่วนการเปิดรับต้องท่องเที่ยวต่างชาติยังอยู่ระหว่างการหารือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ย้ำแค่เฉพาะกลุ่ม เฉพาะพื้นที่ ทดลองก่อนบนมาตรการรัดกุม ถูกควบคุมตั้งแต่ต้นทาง คาดเริ่มหลัง 25 ต.ค. "อนุทิน" ระบุทัวร์จีนล็อตแรก 8 ต.ค. กักตัว 14 วัน เล็งหาชุดตรวจเพื่อร่นเวลากักตัว
วานนี้ (7ต.ค.) ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบศ. โดยกล่าวเปิดประชุมตอนหนึ่ง ว่า วันนี้เป็นการประชุมครั้งสำคัญของ ศบศ. ในเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นรอยต่อของสถานการณ์ที่มีความรุนแรงมาอย่างต่อเนื่องในเรื่องสถานการณ์ด้านสุขภาพ ขณะเดียวกันต่างประเทศก็ยังมีสถานการณ์ที่ไม่ดีนัก มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกของเรา
ดังนั้นในเรื่องของเศรษฐกิจ วันนี้จำเป็นต้องเดินหน้าควบคู่กันไป ทั้งในส่วนการใช้งบฟื้นฟู การใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ เพราะถือเป็นเครื่องจักรสำคัญ ในขณะนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่อยากแจ้งให้ที่ประชุมทราบคือ รัฐบาลมีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาสุดท้ายปลายเหตุ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของธนาคาร ส่วนที่เกี่ยวข้องต่างๆ
"ปัญหาของทุกวันนี้ ไม่ได้มีแค่เพียงแค่การดำรงชีวิต ซึ่งเคยแนะนำไปแล้วว่าให้ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีเท่าไหร่ ใช้เท่านั้น แต่วันนี้ปัญหาของประชาชนที่มีมากที่สุด คือปัญหาหนี้สินของพวกเขา ทั้งหนี้ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ซึ่งเกี่ยวข้องกับธนาคารทั้งสิ้น จำเป็นต้องขอความร่วมมือจากพวกท่าน เพราะไปก้าวล่วงกับทางธนาคารไม่ได้ แต่หากเราไม่ช่วยกันวันนี้ ประเทศชาติก็คงต้องไปกันทั้งหมดจึงขอฝากไว้ด้วยเพราะทุกคนต่างคาดหวังความช่วยเหลือจากรัฐบาล จึงขอให้ท่านเริ่มจากการช่วยตัวเองเสียสละกันบ้าง และรัฐบาล ก็จะเข้ามาดูแลพวกท่านอีกครั้งหนึ่ง และถ้าเกิดปัญหาอะไรขึ้นอยากจะให้เข้าใจวิธีการหลักคิดของรัฐบาลด้วย" นายกรัฐมนตรีกล่าว
ด้านนายสุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายดนุชาพิชยนันท์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงภายหลังประชุม ศบศ. ว่า ที่ประชุมอนุมัติโครงการ "ช้อปดีมีคืน" เพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศ สนับสนุนผู้ประกอบการในระบบภาษี ให้ประชาชนที่ซื้อสินค้ารวมกันไม่เกิน 30,000 ลดหย่อนภาษีได้ มีระยะเวลาใช้จ่ายช่วงปลาย ต.ค. - 31 ธ.ค. 2563 โดยสามารถนำไปยื่นภาษีได้ในช่วง มี.ค. 2564 มีตัวเลขกลมๆ ราว 4 ล้านคน วงเงิน 120,000 ล้านบาท โดยจะต้องเข้า ครม. อีกครั้งวันที่ 12 ต.ค.นี้
ส่วนโครงการที่ได้อนุมัติไปก่อนหน้า 2 โครงการคือ การเพิ่มเงินให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) 14 ล้านคน ระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ ต.ค. - ธ.ค. 2563 วงเงิน 21,000 ล้านบาท และโครงการ "คนละครึ่ง" ให้สิทธิ์จำนวน 10 ล้านคน ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเข้าร่วมแล้ว 200,000 ราย เป็นการใช้จ่ายจากเงินประชาชน 30,000 ล้านบาท และรัฐออกให้ 30,000 ล้านบาท จะมีเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจ 60,000 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน ศบศ. ได้อนุมัติขยายโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ออกไปจนถึงวันที่ 31 ม.ค. 2564 โดยมีการตัดเงื่อนไขบางประการ เพื่อกระตุ้นการเดินทางและใช้สิทธิ์มากขึ้น โดยปลดล็อกสามารถเที่ยวภายในจังหวัดได้แล้ว
ทั้งนี้ จากมาตรการดังกล่าวจะมีเงินเข้าสู่ระบบกระตุ้นเศรษฐกิจราว 200,000 ล้านบาท ในช่วง ต.ค. - ธ.ค. 2563 เป็นงบประมาณรัฐ 60,000 กว่าล้าน ซึ่งรัฐบาลพยายามให้คนไทยช่วยกันกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงช่วยอุตสาหกรรมที่อ่อนแอให้เข้มแข็งขึ้น ทั้งนี้ในส่วนของโครงการคนละครึ่ง และช้อปดีมีคืน ประชาชนต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนรายละเอียดและเงื่อนไขต่างๆ จะรายงานให้ทราบต่อไป
ด้านนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า มาตรการช้อปดีมีคืนจะช่วยรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศ สนับสนุน ผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษี ส่งเสริมการผลิตสินค้าท้องถิ่น และส่งเสริมการอ่าน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กลุ่มผู้ประกอบการประเภทผู้ประกอบการค้าสินค้าและบริการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและผู้ประกอบการขายหนังสือและสินค้าโอทอป โดยไม่รวมสินค้าเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ยาสูบ สลากกินแบ่งรัฐบาล น้ำมัน ค่าที่พัก และค่าตั๋วเครื่องบิน มาตรการจะมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 2563 เพื่อใช้ ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2563 ณ มีนาคม 2564
ขณะเดียวกัน ศบศ.เห็นชอบการปรับปรุงมาตรการเราเที่ยวด้วยกันและมาตรการกำลังใจ เสนอโดยการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย (ททท.) โดยขยายเวลาโครงการจากสิ้นสุด 31 ตุลาคม 2563 เป็นสิ้นสุด 31 มกราคม 2564 โดย ททท.เสนอมาให้สิ้นสุดในสิ้นปี 2563 แต่นายกรัฐมนตรี เห็นว่าให้ข้ามไปยังปี 2564 เพื่อสนับสนุนให้คนเดินทางท่องเที่ยวผ่านโครงการนี้ในช่วงเทศกาลปีใหม่ด้วย
ส่วนมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศไทย นั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังประชุมอยู่ โดยต้องหามาตรการรองรับตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพราะวันนี้สิ่งสำคัญคือความเดือดร้อนในภาคธุรกิจ ด้านการท่องเที่ยว การโรงแรม ซึ่งต้องปรึกษากันดูว่าจะรับได้หรือไม่ แต่ถ้าจะเปิดรับนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวแบบเปิดเที่ยวทั้งเกาะ คงรับไม่ได้ แต่ถ้าเป็นเฉพาะพื้นที่ หรือเฉพาะหาด ได้หรือไม่ เป้าหมายของเราจะรับตามแนวทางที่จำกัดพื้นที่เฉพาะจะได้หรือไม่ ต้องคิดแบบนี้ไม่อย่างนั้นจะไปไม่ได้ อย่างที่ จ.ภูเก็ต กำลังจะมีเทศกาลกินเจ โดยขอให้เปิดหลังเทศกาลกินเจ คือหลังวันที่ 25 ต.ค.ไปแล้ว โดยขอให้หารือเรื่องนี้โดยขณะนี้ก็ได้เตรียมมาตรการกันอยู่ว่า จะเข้ามาที่ไหน มาอย่างไรแล้วจะอยู่กี่วัน จะติดตามได้หรือไม่ โดยเลือกเฉพาะที่ปลอดภัย
ทั้งนี้ เราไม่ได้เปิดให้เข้ามาทั้งหมด แต่เข้ามาเป็นทริป ไม่ได้ปล่อยให้เข้ามาทางชายแดน ไม่ได้ให้คนทั่วไปเข้ามาเที่ยวคนต่างชาติที่จะมาจะต้องถูกควบคุมตั้งแต่ต้นทาง จะต้องมีการตรวจสอบรับรองการกักตัวของเขามาก่อน และเมื่อมาอยู่ในประเทศไทยต้องอยู่ในพื้นที่จำกัด หรือเข้ามาในสถานที่กักตัว ค้างโรงแรมไหนก็ต้องอยู่โรงแรมนั้น พื้นที่หาดไหนก็หาดนั้น แค่นั้นก่อน ถ้าไม่ทำอย่างนี้มันจะไปอย่างอื่นได้หรือไม่ ถ้าไม่เริ่มก็ไม่ได้อะไรเลย แล้วก็ร้องเรียนว่ามีปัญหา ฉะนั้นประชาชนต้องช่วยกันทั้งหมด มันเป็นห่วงโซ่ ถ้าไม่มีนักท่องเที่ยวโรงแรมก็ปิด ก็ไม่มีการซื้ออาหารการกิน น้ำ เครื่องดื่ม แล้วจะทำอย่างไร ก็ยากจนกันไปหมด
เมื่อถามว่า เบื้องต้นกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้มีการรายงานตัวเลขนักท่องเที่ยวที่แสดงเจตนารมณ์อยากเข้ามาเที่ยวประเทศไทยมากน้อยแค่ไหน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็มีแต่ยังไม่เยอะ เราจึงจะเอามาทดลองก่อน เมื่อถึงเวลาที่เขาพร้อมก็จะมาเยอะขึ้น วันนี้เราเอาคนที่มีความพร้อมที่มีน้อยๆ แต่เป็นคนที่มีคุณภาพ มีการตรวจสอบที่ดีเป็นทริปเข้ามา มาลงที่ไหนก็ต้องลงที่นั่น ไม่ใช่มาลงกรุงเทพฯแล้วไปต่อภูเก็ต
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวถึง การเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทย โดยเป็นนักท่องเที่ยวจากเมืองกวางโจว ประเทศจีน ในล็อตแรก 150 คน โดยเป็นการเช่าเหมาลำลงที่สนามบินภูเก็ต ในวันที่ 8 ต.ค.นี้ ว่า ยืนยันว่ามาตรการของกระทรวงสาธารณสุขให้มีการกักตัว 14 วัน ซึ่งไม่มีอะไรน่ากังวล พร้อมทั้งยอมรับว่า มีการพยายามหาวิธีใช้ชุดตรวจที่สามารถร่นระยะเวลาได้ก็จะดี เพื่อร่นระยะเวลากักตัว
วานนี้ (7ต.ค.) ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบศ. โดยกล่าวเปิดประชุมตอนหนึ่ง ว่า วันนี้เป็นการประชุมครั้งสำคัญของ ศบศ. ในเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นรอยต่อของสถานการณ์ที่มีความรุนแรงมาอย่างต่อเนื่องในเรื่องสถานการณ์ด้านสุขภาพ ขณะเดียวกันต่างประเทศก็ยังมีสถานการณ์ที่ไม่ดีนัก มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกของเรา
ดังนั้นในเรื่องของเศรษฐกิจ วันนี้จำเป็นต้องเดินหน้าควบคู่กันไป ทั้งในส่วนการใช้งบฟื้นฟู การใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ เพราะถือเป็นเครื่องจักรสำคัญ ในขณะนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่อยากแจ้งให้ที่ประชุมทราบคือ รัฐบาลมีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาสุดท้ายปลายเหตุ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของธนาคาร ส่วนที่เกี่ยวข้องต่างๆ
"ปัญหาของทุกวันนี้ ไม่ได้มีแค่เพียงแค่การดำรงชีวิต ซึ่งเคยแนะนำไปแล้วว่าให้ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีเท่าไหร่ ใช้เท่านั้น แต่วันนี้ปัญหาของประชาชนที่มีมากที่สุด คือปัญหาหนี้สินของพวกเขา ทั้งหนี้ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ซึ่งเกี่ยวข้องกับธนาคารทั้งสิ้น จำเป็นต้องขอความร่วมมือจากพวกท่าน เพราะไปก้าวล่วงกับทางธนาคารไม่ได้ แต่หากเราไม่ช่วยกันวันนี้ ประเทศชาติก็คงต้องไปกันทั้งหมดจึงขอฝากไว้ด้วยเพราะทุกคนต่างคาดหวังความช่วยเหลือจากรัฐบาล จึงขอให้ท่านเริ่มจากการช่วยตัวเองเสียสละกันบ้าง และรัฐบาล ก็จะเข้ามาดูแลพวกท่านอีกครั้งหนึ่ง และถ้าเกิดปัญหาอะไรขึ้นอยากจะให้เข้าใจวิธีการหลักคิดของรัฐบาลด้วย" นายกรัฐมนตรีกล่าว
ด้านนายสุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายดนุชาพิชยนันท์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงภายหลังประชุม ศบศ. ว่า ที่ประชุมอนุมัติโครงการ "ช้อปดีมีคืน" เพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศ สนับสนุนผู้ประกอบการในระบบภาษี ให้ประชาชนที่ซื้อสินค้ารวมกันไม่เกิน 30,000 ลดหย่อนภาษีได้ มีระยะเวลาใช้จ่ายช่วงปลาย ต.ค. - 31 ธ.ค. 2563 โดยสามารถนำไปยื่นภาษีได้ในช่วง มี.ค. 2564 มีตัวเลขกลมๆ ราว 4 ล้านคน วงเงิน 120,000 ล้านบาท โดยจะต้องเข้า ครม. อีกครั้งวันที่ 12 ต.ค.นี้
ส่วนโครงการที่ได้อนุมัติไปก่อนหน้า 2 โครงการคือ การเพิ่มเงินให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) 14 ล้านคน ระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ ต.ค. - ธ.ค. 2563 วงเงิน 21,000 ล้านบาท และโครงการ "คนละครึ่ง" ให้สิทธิ์จำนวน 10 ล้านคน ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเข้าร่วมแล้ว 200,000 ราย เป็นการใช้จ่ายจากเงินประชาชน 30,000 ล้านบาท และรัฐออกให้ 30,000 ล้านบาท จะมีเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจ 60,000 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน ศบศ. ได้อนุมัติขยายโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ออกไปจนถึงวันที่ 31 ม.ค. 2564 โดยมีการตัดเงื่อนไขบางประการ เพื่อกระตุ้นการเดินทางและใช้สิทธิ์มากขึ้น โดยปลดล็อกสามารถเที่ยวภายในจังหวัดได้แล้ว
ทั้งนี้ จากมาตรการดังกล่าวจะมีเงินเข้าสู่ระบบกระตุ้นเศรษฐกิจราว 200,000 ล้านบาท ในช่วง ต.ค. - ธ.ค. 2563 เป็นงบประมาณรัฐ 60,000 กว่าล้าน ซึ่งรัฐบาลพยายามให้คนไทยช่วยกันกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงช่วยอุตสาหกรรมที่อ่อนแอให้เข้มแข็งขึ้น ทั้งนี้ในส่วนของโครงการคนละครึ่ง และช้อปดีมีคืน ประชาชนต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนรายละเอียดและเงื่อนไขต่างๆ จะรายงานให้ทราบต่อไป
ด้านนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า มาตรการช้อปดีมีคืนจะช่วยรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศ สนับสนุน ผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษี ส่งเสริมการผลิตสินค้าท้องถิ่น และส่งเสริมการอ่าน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กลุ่มผู้ประกอบการประเภทผู้ประกอบการค้าสินค้าและบริการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและผู้ประกอบการขายหนังสือและสินค้าโอทอป โดยไม่รวมสินค้าเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ยาสูบ สลากกินแบ่งรัฐบาล น้ำมัน ค่าที่พัก และค่าตั๋วเครื่องบิน มาตรการจะมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 2563 เพื่อใช้ ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2563 ณ มีนาคม 2564
ขณะเดียวกัน ศบศ.เห็นชอบการปรับปรุงมาตรการเราเที่ยวด้วยกันและมาตรการกำลังใจ เสนอโดยการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย (ททท.) โดยขยายเวลาโครงการจากสิ้นสุด 31 ตุลาคม 2563 เป็นสิ้นสุด 31 มกราคม 2564 โดย ททท.เสนอมาให้สิ้นสุดในสิ้นปี 2563 แต่นายกรัฐมนตรี เห็นว่าให้ข้ามไปยังปี 2564 เพื่อสนับสนุนให้คนเดินทางท่องเที่ยวผ่านโครงการนี้ในช่วงเทศกาลปีใหม่ด้วย
ส่วนมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศไทย นั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังประชุมอยู่ โดยต้องหามาตรการรองรับตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพราะวันนี้สิ่งสำคัญคือความเดือดร้อนในภาคธุรกิจ ด้านการท่องเที่ยว การโรงแรม ซึ่งต้องปรึกษากันดูว่าจะรับได้หรือไม่ แต่ถ้าจะเปิดรับนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวแบบเปิดเที่ยวทั้งเกาะ คงรับไม่ได้ แต่ถ้าเป็นเฉพาะพื้นที่ หรือเฉพาะหาด ได้หรือไม่ เป้าหมายของเราจะรับตามแนวทางที่จำกัดพื้นที่เฉพาะจะได้หรือไม่ ต้องคิดแบบนี้ไม่อย่างนั้นจะไปไม่ได้ อย่างที่ จ.ภูเก็ต กำลังจะมีเทศกาลกินเจ โดยขอให้เปิดหลังเทศกาลกินเจ คือหลังวันที่ 25 ต.ค.ไปแล้ว โดยขอให้หารือเรื่องนี้โดยขณะนี้ก็ได้เตรียมมาตรการกันอยู่ว่า จะเข้ามาที่ไหน มาอย่างไรแล้วจะอยู่กี่วัน จะติดตามได้หรือไม่ โดยเลือกเฉพาะที่ปลอดภัย
ทั้งนี้ เราไม่ได้เปิดให้เข้ามาทั้งหมด แต่เข้ามาเป็นทริป ไม่ได้ปล่อยให้เข้ามาทางชายแดน ไม่ได้ให้คนทั่วไปเข้ามาเที่ยวคนต่างชาติที่จะมาจะต้องถูกควบคุมตั้งแต่ต้นทาง จะต้องมีการตรวจสอบรับรองการกักตัวของเขามาก่อน และเมื่อมาอยู่ในประเทศไทยต้องอยู่ในพื้นที่จำกัด หรือเข้ามาในสถานที่กักตัว ค้างโรงแรมไหนก็ต้องอยู่โรงแรมนั้น พื้นที่หาดไหนก็หาดนั้น แค่นั้นก่อน ถ้าไม่ทำอย่างนี้มันจะไปอย่างอื่นได้หรือไม่ ถ้าไม่เริ่มก็ไม่ได้อะไรเลย แล้วก็ร้องเรียนว่ามีปัญหา ฉะนั้นประชาชนต้องช่วยกันทั้งหมด มันเป็นห่วงโซ่ ถ้าไม่มีนักท่องเที่ยวโรงแรมก็ปิด ก็ไม่มีการซื้ออาหารการกิน น้ำ เครื่องดื่ม แล้วจะทำอย่างไร ก็ยากจนกันไปหมด
เมื่อถามว่า เบื้องต้นกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้มีการรายงานตัวเลขนักท่องเที่ยวที่แสดงเจตนารมณ์อยากเข้ามาเที่ยวประเทศไทยมากน้อยแค่ไหน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็มีแต่ยังไม่เยอะ เราจึงจะเอามาทดลองก่อน เมื่อถึงเวลาที่เขาพร้อมก็จะมาเยอะขึ้น วันนี้เราเอาคนที่มีความพร้อมที่มีน้อยๆ แต่เป็นคนที่มีคุณภาพ มีการตรวจสอบที่ดีเป็นทริปเข้ามา มาลงที่ไหนก็ต้องลงที่นั่น ไม่ใช่มาลงกรุงเทพฯแล้วไปต่อภูเก็ต
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวถึง การเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทย โดยเป็นนักท่องเที่ยวจากเมืองกวางโจว ประเทศจีน ในล็อตแรก 150 คน โดยเป็นการเช่าเหมาลำลงที่สนามบินภูเก็ต ในวันที่ 8 ต.ค.นี้ ว่า ยืนยันว่ามาตรการของกระทรวงสาธารณสุขให้มีการกักตัว 14 วัน ซึ่งไม่มีอะไรน่ากังวล พร้อมทั้งยอมรับว่า มีการพยายามหาวิธีใช้ชุดตรวจที่สามารถร่นระยะเวลาได้ก็จะดี เพื่อร่นระยะเวลากักตัว