ผู้จัดการรายวัน360-“พลังงาน”เร่งรับมือหลัง “เชฟรอน” ยื่นอนุญาโตตุลาการ กรณีการรื้อถอนแท่นปิโตรเลียมในอ่าวไทย หลังสิ้นสุดสัมปทานเม.ย.65 ย้ำไม่กระทบความมั่นคงด้านพลังงาน เผย ปตท. เตรียมพร้อมนำเข้า LNG อยู่แล้ว ด้าน ปตท.สผ. มั่นใจเข้าผลิตก๊าซฯ ในแหล่งเอราวัณได้ตามแผนที่วางไว้
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เปิดเผยถึงกรณีที่บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ได้เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ เนื่องจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติให้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานแหล่งเอราวัณในเดือนเม.ย.2565 ว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานได้เตรียมขั้นตอนต่างๆ ไว้เพื่อสู้คดีแล้ว ซึ่งรายละเอียดไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะเป็นเรื่องประเด็นทางกฎหมาย โดยมั่นใจว่าจะมีแนวทางที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ในที่สุด แต่ในเรื่องของความมั่นคงด้านพลังงาน หากเกิดผลกระทบกับการผลิตที่ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ก็มั่นใจว่าจะไม่กระทบกับความมั่นคงด้านเชื้อเพลิง เพราะ บมจ.ปตท. ได้เตรียมพร้อมสถานีรับ-ส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Receiving Terminal) เพื่อนำเข้าไว้อยู่แล้ว
“เรื่องนี้ได้เข้าสู่ขั้นตอนอนุญาโตตุลาการ การให้ข้อมูล จึงต้องระมัดระวัง กระทรวงพลังงานได้เตรียมแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวไว้หมดแล้ว โดยมอบหมายให้นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานในฐานะประธานคณะกรรมการปิโตรเลียมไปเร่งดำเนินการ”นายสุพัฒนพงษ์กล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเริ่มจากการที่สัญญาสัมปทานของแหล่งก๊าซเอราวัณที่เชฟรอนได้รับสัมปทานจะสิ้นสุดลงในเดือนเม.ย.2565 รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงาน จึงได้เปิดการประมูลขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแหล่งเอราวัณ (แปลง G1/61) สัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) ซึ่งเชฟรอนพ่ายแพ้การประมูลให้กับกลุ่ม บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) ส่งผลให้ตามกฎหมาย การเปลี่ยนผ่านต้องมีการรื้อถอนแท่นปิโตรเลียม โดยที่ผ่านมา กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และเชฟรอนได้หารือเพื่อตกลงการส่งมอบแท่น เพื่อให้กลุ่ม ปตท.สผ. เข้ามาใช้ในการผลิตต่อจำนวน 142 แท่น ส่วนอีก 49 แท่นทางเชฟรอนรับภาระรื้อถอนเองทั้งหมด โดย 7 แท่นในจำนวนนี้ ได้รื้อถอนไปทำปะการังเทียมแล้ว
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เชฟรอนยื่นร้องต่ออนุญาโตตุลาการ เป็นประเด็นใน 142 แท่น เพราะไม่สามารถตกลงกับกระทรวงพลังงานได้ว่าจะต้องวางเงินค่ารื้อถอนในสัดส่วนเท่าใด โดยเชฟรอนมองว่าแม้ใช้ประโยชน์มานาน 40 ปี แต่ ปตท.สผ. เข้ามาใช้ประโยชน์ต่ออีก 10-20 ปี ดังนั้น สัดส่วนการจ่าย ก็ควรจะน้อยลง แต่รัฐกลับให้จ่ายก่อนและจ่ายเต็ม โดยคิดเป็นเงินที่ต้องจ่ายสูงถึง 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 48,000 ล้านบาท
นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. กล่าวว่า ยังเชื่อว่า ปตท.สผ. บริษัทในเครือ ปตท. จะเข้าพื้นที่แหล่งเอราวัณ เพื่อผลิตก๊าซฯ ได้ตามกำหนด เพราะทุกฝ่าย ทั้งกระทรวงพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ปตท.สผ. และเชฟรอน อยู่ระหว่างการเจรจาหาทางออกร่วมกัน ซึ่ง ปตท. ในฐานะที่เป็นรัฐวิสาหกิจดูแลความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ก็จะบริหารจัดการไม่ให้เกิดความขาดแคลน
นายพงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท.สผ. กล่าวว่า การยื่นอนุญาโตตุลาการ เป็นการตั้งคณะขึ้นมาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่าง 2 ฝ่าย ไม่ใช่เป็นการฟ้องร้อง โดยมั่นใจว่าจะสามารถผลิตก๊าซฯ ในแหล่งเอราวัณหลังรับโอนจากเชฟรอนได้ตามที่รัฐกำหนดไว้ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ตั้งแต่เดือนเม.ย.2565 เป็นต้นไป ซึ่งขณะนี้ปตท.สผ.ได้เข้าพื้นที่เพื่อทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แล้ว และเตรียมเจรจากับเชฟรอนเพื่อขออนุญาตนำแท่นผลิตปิโตรเลียมในเฟสแรกจำนวน 8 แท่น มูลค่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐไปติดตั้งในพื้นที่ก่อนภายในกลางปี 2564 เพื่อให้สามารถผลิตก๊าซฯ ได้ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หลังรับโอนแหล่งเอราวัณที่จะสิ้นสุดสัญญาในปี 2565
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เปิดเผยถึงกรณีที่บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ได้เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ เนื่องจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติให้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานแหล่งเอราวัณในเดือนเม.ย.2565 ว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานได้เตรียมขั้นตอนต่างๆ ไว้เพื่อสู้คดีแล้ว ซึ่งรายละเอียดไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะเป็นเรื่องประเด็นทางกฎหมาย โดยมั่นใจว่าจะมีแนวทางที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ในที่สุด แต่ในเรื่องของความมั่นคงด้านพลังงาน หากเกิดผลกระทบกับการผลิตที่ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ก็มั่นใจว่าจะไม่กระทบกับความมั่นคงด้านเชื้อเพลิง เพราะ บมจ.ปตท. ได้เตรียมพร้อมสถานีรับ-ส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Receiving Terminal) เพื่อนำเข้าไว้อยู่แล้ว
“เรื่องนี้ได้เข้าสู่ขั้นตอนอนุญาโตตุลาการ การให้ข้อมูล จึงต้องระมัดระวัง กระทรวงพลังงานได้เตรียมแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวไว้หมดแล้ว โดยมอบหมายให้นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานในฐานะประธานคณะกรรมการปิโตรเลียมไปเร่งดำเนินการ”นายสุพัฒนพงษ์กล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเริ่มจากการที่สัญญาสัมปทานของแหล่งก๊าซเอราวัณที่เชฟรอนได้รับสัมปทานจะสิ้นสุดลงในเดือนเม.ย.2565 รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงาน จึงได้เปิดการประมูลขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแหล่งเอราวัณ (แปลง G1/61) สัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) ซึ่งเชฟรอนพ่ายแพ้การประมูลให้กับกลุ่ม บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) ส่งผลให้ตามกฎหมาย การเปลี่ยนผ่านต้องมีการรื้อถอนแท่นปิโตรเลียม โดยที่ผ่านมา กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และเชฟรอนได้หารือเพื่อตกลงการส่งมอบแท่น เพื่อให้กลุ่ม ปตท.สผ. เข้ามาใช้ในการผลิตต่อจำนวน 142 แท่น ส่วนอีก 49 แท่นทางเชฟรอนรับภาระรื้อถอนเองทั้งหมด โดย 7 แท่นในจำนวนนี้ ได้รื้อถอนไปทำปะการังเทียมแล้ว
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เชฟรอนยื่นร้องต่ออนุญาโตตุลาการ เป็นประเด็นใน 142 แท่น เพราะไม่สามารถตกลงกับกระทรวงพลังงานได้ว่าจะต้องวางเงินค่ารื้อถอนในสัดส่วนเท่าใด โดยเชฟรอนมองว่าแม้ใช้ประโยชน์มานาน 40 ปี แต่ ปตท.สผ. เข้ามาใช้ประโยชน์ต่ออีก 10-20 ปี ดังนั้น สัดส่วนการจ่าย ก็ควรจะน้อยลง แต่รัฐกลับให้จ่ายก่อนและจ่ายเต็ม โดยคิดเป็นเงินที่ต้องจ่ายสูงถึง 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 48,000 ล้านบาท
นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. กล่าวว่า ยังเชื่อว่า ปตท.สผ. บริษัทในเครือ ปตท. จะเข้าพื้นที่แหล่งเอราวัณ เพื่อผลิตก๊าซฯ ได้ตามกำหนด เพราะทุกฝ่าย ทั้งกระทรวงพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ปตท.สผ. และเชฟรอน อยู่ระหว่างการเจรจาหาทางออกร่วมกัน ซึ่ง ปตท. ในฐานะที่เป็นรัฐวิสาหกิจดูแลความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ก็จะบริหารจัดการไม่ให้เกิดความขาดแคลน
นายพงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท.สผ. กล่าวว่า การยื่นอนุญาโตตุลาการ เป็นการตั้งคณะขึ้นมาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่าง 2 ฝ่าย ไม่ใช่เป็นการฟ้องร้อง โดยมั่นใจว่าจะสามารถผลิตก๊าซฯ ในแหล่งเอราวัณหลังรับโอนจากเชฟรอนได้ตามที่รัฐกำหนดไว้ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ตั้งแต่เดือนเม.ย.2565 เป็นต้นไป ซึ่งขณะนี้ปตท.สผ.ได้เข้าพื้นที่เพื่อทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แล้ว และเตรียมเจรจากับเชฟรอนเพื่อขออนุญาตนำแท่นผลิตปิโตรเลียมในเฟสแรกจำนวน 8 แท่น มูลค่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐไปติดตั้งในพื้นที่ก่อนภายในกลางปี 2564 เพื่อให้สามารถผลิตก๊าซฯ ได้ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หลังรับโอนแหล่งเอราวัณที่จะสิ้นสุดสัญญาในปี 2565