กพท.นัด16 ก.ย.ถกข้อมูล EIA ขยายดอนเมืองเฟส 3 คาดไม่ต้องทำใหม่ หลังทอท. ยันเที่ยวบินไม่เกิน 60 เที่ยวบิน/ชม. รับที่ 40 ล้านคน ไม่กระทบสาระสำคัญ พร้อมเพิ่มมาตรการดูแล สวล. หวั่นโควิดอยู่ยาวอาจต้องทบทวนผังการใช้พื้นที่ใหม่
นายจุฬา สุขมานพ ผอ.สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ กพท. เปิดเผยว่าจากที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้จัดทำรายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)โครงการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) ให้รองรับผู้โดยสารได้ 40 ล้านคนต่อปี ซึ่งกทพ.ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาโดยมีผู้แทนจาก สนง.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สผ.) ร่วมด้วยโดยในวันที่16 ก.ย.นี้ จะมีการประชุม และให้ทอท.ชี้แจงรายละเอียดอีกครั้ง
ก่อนหน้านี้คณะทำงานฯกทพ. เคยมีการพิจารณาถึงการพัฒนาขยายสนามบินดอนเมืองระยะที่ 3 เป็นการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลง รายงาน EIA เดิมหรือไม่ โดยพิจารณาจากตัวเลขที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง ทอท.ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่าตามรายงาน EIA เดิมสามารถรองรับเที่ยวบินสูงสุดในชั่วโมงคับคั่งได้ 60 เที่ยวบินต่อชม. ซึ่งอยู่ในแผนดอนเมืองเฟส 3 โดยจะไม่ทำให้เกิดผลเปลี่ยนแปลงรายงาน EIAเดิม
ทั้งนี้ หากข้อมูลของ ทอท. ยืนยันได้ว่าการขยายดอนเมืองเฟส 3 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญต่อกรอบ EIAเดิม รวมถึงทอท. จะต้องมีมาตรการดูแลผลกระทบที่จะเกิดขึ้น คาดว่าจะสามารสรุปผลการพิจารณาEIAได้ในวันที่16 ก.ย. นี้ และมีแนวโน้มว่าทอท. ไม่ต้องรายงาน EIAใหม่
แหล่งข่าวจาก ทอท.เปิดเผยว่า การพัฒนาสนามบินดอนเมืองเฟส 3 ครั้งนี้ ไม่มีการขยายรันเวย์ จึงอยู่ในขอบเขต EIAเดิม ทั้งนี้ ตามแผนมีเป้าหมายรองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูง แต่หลังจากเกิดโควิด-19 ทำให้การเปิดบินระหว่างประเทศทำไม่ได้ ขณะที่สนามบิน จะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น จัดเพิ่มพื้นที่บริเวณผู้โดยสารขาเข้า สำหรับเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข และโถงและที่นั่งพักรอสำหรับผู้โดยสาร เพื่อรองรับกระบวนคัดกรอง และการตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ
ดังนั้น ทอท.จึงต้องปรับปรุงแผน เพื่อกำหนดการใช้พื้นที่ใหม่ให้เหมาะสมกับสถาณการณ์ ที่คาดว่า โรคโควิด-19 จะยังคงอยู่ไปอีกนาน รวมถึงควรพิจารณาปรับเลื่อนแผนการลงทุนออกไปเพื่อให้สอดคล้องกับความจำเป็นจริงๆ ซึ่งคาดว่าในปี 64 ปริมาณการเดินทางจะยังไม่กลับมาเหมือนเดิม ซึ่งจะส่งผลต่อรายได้ และสถานะการเงินของทอท.แน่นอน
จากข้อมูลพบว่า หลังเกิดโควิด-19 ผู้โดยสารลดลงไปอย่างมาก โดยหลังผ่อนปรนให้สามารถเดินทางภายในประเทศได้ ผู้โดยสารค่อยๆ เพิ่มขึ้นจาก 5,000 คน/วัน จนล่าสุดช่วงวันหยุดชดเชยสงกรานต์ วันที่ 4-7 ก.ย. มีผู้โดยสารเฉลี่ย 55,000 คน/วัน แต่ยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด ที่มีผู้โดยสารรวมกว่า 1.2 แสนคน/วัน แบ่งเป็นในปท. 70,000 คน/วัน ระหว่างปท. 50,000 คน/วัน
สำหรับแผนพัฒนาสนามบินดอนเมืองเฟส 3 วงเงินลงทุน 38,000 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จเปิดบริการในปี2568 โดย ทอท.จะใช้เงินรายได้ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภค เช่น อาคารผู้โดยสาร และให้เอกชนร่วมลงทุน PPPกิจกรรมเชิงพาณิชย์ เช่น ร้านค้า ที่จอดรถ โดยมีการก่อสร้างสำคัญ เช่น อาคารผู้โดยสารแห่งที่ 3 ที่รองรับผู้โดยสารได้ 18 ล้านคนต่อปี วงเงินลงทุน 30,000 ล้านบาท (รองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศเป็นหลัก) เริ่มก่อสร้างปี 64 แล้วเสร็จ ปี 66 , ปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร หลังที่ 1 เพื่อปรับเปลี่ยนให้รองรับผู้โดยสารภายในประเทศ ร่วมกับอาคารผู้โดยสาร หลังที่ 2 ,โครงการก่อสร้าง อาคาร JUNCTION BUILDING,ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM)วงเงิน 10,000 ล้านบาท เป็นต้น
ทั้งนี้ นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.เคยยืนยันว่า ทอท.จะไม่ชะลอแผนการลงทุนขยายสนามบิน แม้โควิด ระบาด เนื่องจาก ตามแผนการขยายจะเสร็จปี 65 ซึ่งเชื่อว่าจะพอดีกับที่สถานการณ์เดินทาง และจำนวนผู้โดยสารกลับสู่ปกติ หากไม่เร่งลงทุนไว้รอ จะไม่ทันเวลา
นายจุฬา สุขมานพ ผอ.สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ กพท. เปิดเผยว่าจากที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้จัดทำรายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)โครงการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) ให้รองรับผู้โดยสารได้ 40 ล้านคนต่อปี ซึ่งกทพ.ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาโดยมีผู้แทนจาก สนง.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สผ.) ร่วมด้วยโดยในวันที่16 ก.ย.นี้ จะมีการประชุม และให้ทอท.ชี้แจงรายละเอียดอีกครั้ง
ก่อนหน้านี้คณะทำงานฯกทพ. เคยมีการพิจารณาถึงการพัฒนาขยายสนามบินดอนเมืองระยะที่ 3 เป็นการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลง รายงาน EIA เดิมหรือไม่ โดยพิจารณาจากตัวเลขที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง ทอท.ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่าตามรายงาน EIA เดิมสามารถรองรับเที่ยวบินสูงสุดในชั่วโมงคับคั่งได้ 60 เที่ยวบินต่อชม. ซึ่งอยู่ในแผนดอนเมืองเฟส 3 โดยจะไม่ทำให้เกิดผลเปลี่ยนแปลงรายงาน EIAเดิม
ทั้งนี้ หากข้อมูลของ ทอท. ยืนยันได้ว่าการขยายดอนเมืองเฟส 3 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญต่อกรอบ EIAเดิม รวมถึงทอท. จะต้องมีมาตรการดูแลผลกระทบที่จะเกิดขึ้น คาดว่าจะสามารสรุปผลการพิจารณาEIAได้ในวันที่16 ก.ย. นี้ และมีแนวโน้มว่าทอท. ไม่ต้องรายงาน EIAใหม่
แหล่งข่าวจาก ทอท.เปิดเผยว่า การพัฒนาสนามบินดอนเมืองเฟส 3 ครั้งนี้ ไม่มีการขยายรันเวย์ จึงอยู่ในขอบเขต EIAเดิม ทั้งนี้ ตามแผนมีเป้าหมายรองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูง แต่หลังจากเกิดโควิด-19 ทำให้การเปิดบินระหว่างประเทศทำไม่ได้ ขณะที่สนามบิน จะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น จัดเพิ่มพื้นที่บริเวณผู้โดยสารขาเข้า สำหรับเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข และโถงและที่นั่งพักรอสำหรับผู้โดยสาร เพื่อรองรับกระบวนคัดกรอง และการตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ
ดังนั้น ทอท.จึงต้องปรับปรุงแผน เพื่อกำหนดการใช้พื้นที่ใหม่ให้เหมาะสมกับสถาณการณ์ ที่คาดว่า โรคโควิด-19 จะยังคงอยู่ไปอีกนาน รวมถึงควรพิจารณาปรับเลื่อนแผนการลงทุนออกไปเพื่อให้สอดคล้องกับความจำเป็นจริงๆ ซึ่งคาดว่าในปี 64 ปริมาณการเดินทางจะยังไม่กลับมาเหมือนเดิม ซึ่งจะส่งผลต่อรายได้ และสถานะการเงินของทอท.แน่นอน
จากข้อมูลพบว่า หลังเกิดโควิด-19 ผู้โดยสารลดลงไปอย่างมาก โดยหลังผ่อนปรนให้สามารถเดินทางภายในประเทศได้ ผู้โดยสารค่อยๆ เพิ่มขึ้นจาก 5,000 คน/วัน จนล่าสุดช่วงวันหยุดชดเชยสงกรานต์ วันที่ 4-7 ก.ย. มีผู้โดยสารเฉลี่ย 55,000 คน/วัน แต่ยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด ที่มีผู้โดยสารรวมกว่า 1.2 แสนคน/วัน แบ่งเป็นในปท. 70,000 คน/วัน ระหว่างปท. 50,000 คน/วัน
สำหรับแผนพัฒนาสนามบินดอนเมืองเฟส 3 วงเงินลงทุน 38,000 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จเปิดบริการในปี2568 โดย ทอท.จะใช้เงินรายได้ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภค เช่น อาคารผู้โดยสาร และให้เอกชนร่วมลงทุน PPPกิจกรรมเชิงพาณิชย์ เช่น ร้านค้า ที่จอดรถ โดยมีการก่อสร้างสำคัญ เช่น อาคารผู้โดยสารแห่งที่ 3 ที่รองรับผู้โดยสารได้ 18 ล้านคนต่อปี วงเงินลงทุน 30,000 ล้านบาท (รองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศเป็นหลัก) เริ่มก่อสร้างปี 64 แล้วเสร็จ ปี 66 , ปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร หลังที่ 1 เพื่อปรับเปลี่ยนให้รองรับผู้โดยสารภายในประเทศ ร่วมกับอาคารผู้โดยสาร หลังที่ 2 ,โครงการก่อสร้าง อาคาร JUNCTION BUILDING,ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM)วงเงิน 10,000 ล้านบาท เป็นต้น
ทั้งนี้ นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.เคยยืนยันว่า ทอท.จะไม่ชะลอแผนการลงทุนขยายสนามบิน แม้โควิด ระบาด เนื่องจาก ตามแผนการขยายจะเสร็จปี 65 ซึ่งเชื่อว่าจะพอดีกับที่สถานการณ์เดินทาง และจำนวนผู้โดยสารกลับสู่ปกติ หากไม่เร่งลงทุนไว้รอ จะไม่ทันเวลา