ปชป.ชี้ รธน.แก้ได้ด้วย 3 เงื่อนไข ใช้เวทีสภา ประชาชนเห็นพ้อง และต้องจริงใจ ข้องใจ "ปิยบุตร" มุ่งแก้ หมวด1-2 เพื่ออะไร "ส.ว.คำนูณ"ย้ำแก้รธน.ตั้ง ส.ส.ร. สำเร็จหรือไม่ อยู่ที่ ประชาชน 51.2 ล้านคนเป็นผู้ให้คำตอบ ไม่ใช่แค่ส.ส.-ส.ว. 750 คน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการแก้ไขรธน.ว่า แม้หลายฝ่าย จะมีความเห็นต่างในเรื่องของเนื้อหา และรูปแบบการแก้ไข ว่าจะตั้ง ส.ส.ร. หรือแก้รายประเด็นก็ตาม ซึ่งตนเห็นว่า การแก้ไขรธน. จะสำเร็จได้ต้องมี 3 เงื่อนไขประกอบกัน นั่นคือ 1. ต้องใช้เวทีสภาแสวงหาความเห็นร่วมกันให้ได้เพราะถ้าขาดเสียงฝ่ายค้าน 20% หรือขาดเสียงส.ว. 1 ใน 3 การแก้รธน.ก็สำเร็จตาม มาตรา 256 ไม่ได้ ตนจึงเสนอว่า ให้วิปของพรรคประชาธิปัตย์ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ เร่งไปหารือกับวิปรัฐบาล เพื่อประสานงานกับวิปฝ่ายค้าน และวิปวุฒิสภา เพื่อหาความสอดคล้องต้องกันว่า มีประเด็นใดที่เห็นตรงกันบ้าง อะไรที่เห็นต่าง อะไรที่จะปรับหันหน้าเข้าหากันได้ เพื่อหาทางให้แก้รัฐธรรมนูญเดินหน้าต่อไปได้ เกิดผลสัมฤทธิ์จริง เพราะความเห็นพ้องในรัฐสภาเป็นเรื่องจำเป็น ไม่เช่นนั้นก็แก้ไม่ได้
2. การแก้รธน.จะสำเร็จได้ ประชาชนต้องเห็นพ้องด้วย เพราะเขาเป็นเจ้าของประเทศ และเมื่อผ่านรัฐสภาแล้ว ต้องเอาไปทำประชามติถามประชาชน ถ้าประชามติไม่ผ่าน ก็แก้ไม่ได้ และ 3. ทุกฝ่ายต้องจริงใจ ต้องตั้งเป้าหมายร่วมกันว่า ประเด็นการแก้ไขรธน. ต้องไม่ใช่ประเด็นทางการเมือง แต่เป็นประเด็นที่ต้องจับมือร่วมใจกัน หวังให้เกิดการแก้ไขได้จริงเท่านั้น ถ้าไม่ครบ 3 เงื่อนไขนี้ ก็ยากที่การแก้ไขให้สำเร็จได้
"ปิยบุตร"มุ่งแก้รธน.หมวด1-2เพื่ออะไร
นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรค ปชป. ชัดเจนว่า สนับสนุนให้มีการแก้ มาตรา 256 และให้มีการตั้งส.ส.ร. เพื่อไปจัดทำร่างรธน.ทั้งฉบับ โดยมีหลักการชัดว่า การจัดทำร่างรธน. ที่มีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม หมวด 1 บททั่วไป และ หมวด 2 พระมหากษัตริย์ ของรธน. จะกระทำมิได้ ส่วนที่มีบางพรรค และบางคนที่พยายามให้มีการแก้ ดูแล้วจะไม่มีเหตุผลมารองรับ เพราะทั้ง 2 หมวด มี 24 มาตรา ไม่ได้มีมาตราใด ไม่มีถ้อยคำใด ที่มีผลกระทบต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
"โดยเฉพาะ นายปิยบุตร แสงกนกกุล ที่เป็นคนที่มีความพยายามที่จะแก้ หมวด 1 และ หมวด 2 อยากถามกลับเช่นกันว่า ทำเพื่ออะไร เรื่องนี้เป็นการต่อสู้ทางแนวคิด หากมีส่วนไหนที่ไม่ตรงกัน ก็ต้องดูกันด้วยเหตุด้วยผลแห่งความถูกต้อง จึงจะเป็นคำตอบในทุกสิ่ง" นายราเมศ กล่าว
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ในฐษนะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า การแก้ไขรธน.นั้น เราประกาศจุดยืนไปแล้วว่า ให้มี ส.ส.ร. ส่วนที่มีการเสนอแก้ไขเป็นรายมาตรา ควบคู่ไปด้วยนั้น ก็ต้องว่ากันไป จุดไหนที่เป็นประโยชน์กับบ้านเมืองและประชาชน จะเป็นรูปแบบใดเราก็พร้อมให้การสนับสนุนแต่จุดยืนของพรรคภูมิใจไทยคือ การให้มี ส.ส.ร.
เมื่อถามถึงประเด็น ปิดสวิตช์ ส.ว. นายอนุทิน กล่าวว่า รายละเอียดต้องไปพูดคุยกัน เพราะเมื่อมีการแก้ไขรธน. และตั้งส.ส.ร.แล้ว อำนาจการแก้ไขอยู่ที่ ส.ส.ร. และเรามีหน้าที่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ เพราะทุกอย่างมีขั้นตอนและกระบวนการอยู่ และเมื่อทุกคนทำตามนั้นก็จะอธิบายสังคมได้ เราอย่าไปทำนอกกรอบของกฎหมาย
แก้รธน.สำเร็จหรือไม่อยู่ที่ปชช.51.2ล้าน
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ในหัวข้อเรื่อง แก้รธน.ตั้งส.ส.ร.คำตอบอยู่ที่ประชาชน 51.2 ล้านคน ไม่ใช่แค่ ส.ส.-ส.ว. 750 คน โดยมีเนื้อหาระบุว่า การแก้ไขรธน. มาตรา 256 ให้ตั้งส.ส.ร.ขึ้นมายกร่างรธน. ใหม่ทั้งฉบับ ไม่ได้จบลงที่ผลโหวตในรัฐสภา แต่มีกระบวนการบังคับ ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คือ ต้องนำไปถามให้ประชาชนตัดสินใจตอบโดยตรง ผ่านการออกเสียงประชามติก่อนว่า จะเห็นชอบด้วยหรือไม่ ถ้าคำตอบออกมาเป็นว่าเห็นชอบด้วย การแก้รธน.ให้ตั้ง ส.ส.ร. จึงจะมีผล ถ้าคำตอบออกมาเป็นว่าไม่เห็นชอบด้วย ญัตติแก้ไขรธน. ก็จะตกไป ไม่มีส.ส.ร. ไม่มีการร่างรธน.ใหม่ทั้งฉบับ โดยประชาชนที่จะตอบคำถามนี้ ก็ไม่ใช่แค่ 16.8 ล้านคน ที่ลงมติเห็นชอบกับรธน.60 เมื่อ 4 ปีก่อนเท่านั้น แต่เป็นการถามประชาชน ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมดราว 51.2 ล้านคน
นายคำนูณระบุว่า ตนได้ตัดสินใจโหวตเห็นชอบ กับญัตติแก้ไขรธน.มาตรา 256 ให้มีการตั้ง ส.ส.ร. เพราะถ้าตนโหวตไม่เห็นชอบ หรืองดออกเสียง จนเป็นเหตุให้ เสียงเห็นชอบของ ส.ว.มีไม่ถึง 84 เสียง ทำให้ญัตติตกไปตั้งแต่ชั้นรัฐสภา ไม่ต้องไปถามประชาชน ก็จะเหมือนกับไปขวางทางการตัดสินใจโดยตรงของประชาชนทั้งประเทศ 51.2 ล้านคน ไม่เพียงเท่านั้น ญัตติขอแก้ไขรธน.ให้มีการตั้ง ส.ส.ร. หากผ่านประชามติจากประชาชนแล้ว ยังจะต้องมีการเลือกตั้ง ส.ส.ร.โดยตรงทั่วประเทศอีก150-200 คน และหากร่าง รธน.ฉบับใหม่เสร็จแล้ว ยังอาจจะต้องไปทำประชามติอีกครั้งหนึ่ง
ดังนั้นการจะได้รธน.ฉบับใหม่ หรือไม่ ต้องผ่านกระบวนการลงประชามติ จากประชาชน 51.2 ล้านคน 2-3 ครั้ง ไม่ได้จบที่ผลโหวตในรัฐสภา โดยส.ส.-ส.ว. 750 คนเท่านั้น ซึ่งประชาชน 16.8 ล้านคน ที่ลงมติเห็นชอบกับรธน.60 เมื่อ 4 ปีก่อน ได้สิทธิตอบแน่นอน
ลืมเผด็จการรัฐสภา-สภาทาสแล้วหรือ
พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว. กล่าวถึง ข้อเสนอแก้ไขรธน. เพื่อปิดสวิทช์ ส.ว.ว่า ตนคิดว่าไม่ต้องปิดสวิทช์ ส.ว.หรอก เพราะการเสนอชื่อนายกฯ ในรธน.60 นั้น เป็นเรื่องของพรรคการเมือง ส.ว.เสนอชื่อไม่ได้ ถ้าพรรคการเมืองไหนไม่ต้องการให้ใครเป็นนายกฯ ก็อย่าเสนอชื่อเขาเข้าไป พรรคไหนไม่อยากได้ใครเป็นนายกฯ ก็อย่าไปร่วมกับเขา จัดตั้งรัฐบาล แค่นี้ก็จบแล้ว ส.ว.ไม่มีน้ำยาหรอก อย่าเกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง
อยากไรก็ตาม กรณีเผด็จการรัฐสภา หรือสภาทาส ในปี 2556 พรรคร่วมรัฐบาลสมัย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯได้เสนอแก้ไขรธน. ฉบับ 2550 ใน มาตรา 111 เรื่องที่มาของ ส.ว. ซึ่งการแก้ไขรธน.ของรัฐสภา ในครั้งนั้น พรรคร่วมรัฐบาล และ ส.ว.บางส่วน ใช้มติเสียงข้างมาก ปิดปากไม่ให้ฝ่ายค้านอภิปราย รัฐสภาถูกกล่าวหาว่า เป็นเผด็จการรัฐสภา และฝ่ายค้านคือ ส.ส.ประชาธิปัตย์ วางพวงหรีดประนามรัฐสภา ว่าเป็น สภาทาส
" ดังนั้น รธน.60 จึงบัญญัติให้การแก้ไขรธน. ต้องใช้เสียงเห็นชอบกึ่งหนึ่งของรัฐสภา ในจำนวนเสียงเห็นชอบนี้ ต้องมีเสียง1 ใน 3 ของ ส.ว. และส.ส.ฝ่ายค้าน ร้อยละ 20 เพื่อให้ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน เป็นการแก้ปัญหาเผด็จการรัฐสภา และสภาทาส วันนี้ลืมกันแล้วหรือ จึงจะแก้ไข ตัดเสียงเห็นชอบของส.ว.และส.ส.ฝ่ายค้านออก กลับไปให้เป็นสภาทาสเหมือนเดิม" พล.อ.สมเจตน์ กล่าว
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการแก้ไขรธน.ว่า แม้หลายฝ่าย จะมีความเห็นต่างในเรื่องของเนื้อหา และรูปแบบการแก้ไข ว่าจะตั้ง ส.ส.ร. หรือแก้รายประเด็นก็ตาม ซึ่งตนเห็นว่า การแก้ไขรธน. จะสำเร็จได้ต้องมี 3 เงื่อนไขประกอบกัน นั่นคือ 1. ต้องใช้เวทีสภาแสวงหาความเห็นร่วมกันให้ได้เพราะถ้าขาดเสียงฝ่ายค้าน 20% หรือขาดเสียงส.ว. 1 ใน 3 การแก้รธน.ก็สำเร็จตาม มาตรา 256 ไม่ได้ ตนจึงเสนอว่า ให้วิปของพรรคประชาธิปัตย์ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ เร่งไปหารือกับวิปรัฐบาล เพื่อประสานงานกับวิปฝ่ายค้าน และวิปวุฒิสภา เพื่อหาความสอดคล้องต้องกันว่า มีประเด็นใดที่เห็นตรงกันบ้าง อะไรที่เห็นต่าง อะไรที่จะปรับหันหน้าเข้าหากันได้ เพื่อหาทางให้แก้รัฐธรรมนูญเดินหน้าต่อไปได้ เกิดผลสัมฤทธิ์จริง เพราะความเห็นพ้องในรัฐสภาเป็นเรื่องจำเป็น ไม่เช่นนั้นก็แก้ไม่ได้
2. การแก้รธน.จะสำเร็จได้ ประชาชนต้องเห็นพ้องด้วย เพราะเขาเป็นเจ้าของประเทศ และเมื่อผ่านรัฐสภาแล้ว ต้องเอาไปทำประชามติถามประชาชน ถ้าประชามติไม่ผ่าน ก็แก้ไม่ได้ และ 3. ทุกฝ่ายต้องจริงใจ ต้องตั้งเป้าหมายร่วมกันว่า ประเด็นการแก้ไขรธน. ต้องไม่ใช่ประเด็นทางการเมือง แต่เป็นประเด็นที่ต้องจับมือร่วมใจกัน หวังให้เกิดการแก้ไขได้จริงเท่านั้น ถ้าไม่ครบ 3 เงื่อนไขนี้ ก็ยากที่การแก้ไขให้สำเร็จได้
"ปิยบุตร"มุ่งแก้รธน.หมวด1-2เพื่ออะไร
นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรค ปชป. ชัดเจนว่า สนับสนุนให้มีการแก้ มาตรา 256 และให้มีการตั้งส.ส.ร. เพื่อไปจัดทำร่างรธน.ทั้งฉบับ โดยมีหลักการชัดว่า การจัดทำร่างรธน. ที่มีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม หมวด 1 บททั่วไป และ หมวด 2 พระมหากษัตริย์ ของรธน. จะกระทำมิได้ ส่วนที่มีบางพรรค และบางคนที่พยายามให้มีการแก้ ดูแล้วจะไม่มีเหตุผลมารองรับ เพราะทั้ง 2 หมวด มี 24 มาตรา ไม่ได้มีมาตราใด ไม่มีถ้อยคำใด ที่มีผลกระทบต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
"โดยเฉพาะ นายปิยบุตร แสงกนกกุล ที่เป็นคนที่มีความพยายามที่จะแก้ หมวด 1 และ หมวด 2 อยากถามกลับเช่นกันว่า ทำเพื่ออะไร เรื่องนี้เป็นการต่อสู้ทางแนวคิด หากมีส่วนไหนที่ไม่ตรงกัน ก็ต้องดูกันด้วยเหตุด้วยผลแห่งความถูกต้อง จึงจะเป็นคำตอบในทุกสิ่ง" นายราเมศ กล่าว
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ในฐษนะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า การแก้ไขรธน.นั้น เราประกาศจุดยืนไปแล้วว่า ให้มี ส.ส.ร. ส่วนที่มีการเสนอแก้ไขเป็นรายมาตรา ควบคู่ไปด้วยนั้น ก็ต้องว่ากันไป จุดไหนที่เป็นประโยชน์กับบ้านเมืองและประชาชน จะเป็นรูปแบบใดเราก็พร้อมให้การสนับสนุนแต่จุดยืนของพรรคภูมิใจไทยคือ การให้มี ส.ส.ร.
เมื่อถามถึงประเด็น ปิดสวิตช์ ส.ว. นายอนุทิน กล่าวว่า รายละเอียดต้องไปพูดคุยกัน เพราะเมื่อมีการแก้ไขรธน. และตั้งส.ส.ร.แล้ว อำนาจการแก้ไขอยู่ที่ ส.ส.ร. และเรามีหน้าที่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ เพราะทุกอย่างมีขั้นตอนและกระบวนการอยู่ และเมื่อทุกคนทำตามนั้นก็จะอธิบายสังคมได้ เราอย่าไปทำนอกกรอบของกฎหมาย
แก้รธน.สำเร็จหรือไม่อยู่ที่ปชช.51.2ล้าน
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ในหัวข้อเรื่อง แก้รธน.ตั้งส.ส.ร.คำตอบอยู่ที่ประชาชน 51.2 ล้านคน ไม่ใช่แค่ ส.ส.-ส.ว. 750 คน โดยมีเนื้อหาระบุว่า การแก้ไขรธน. มาตรา 256 ให้ตั้งส.ส.ร.ขึ้นมายกร่างรธน. ใหม่ทั้งฉบับ ไม่ได้จบลงที่ผลโหวตในรัฐสภา แต่มีกระบวนการบังคับ ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คือ ต้องนำไปถามให้ประชาชนตัดสินใจตอบโดยตรง ผ่านการออกเสียงประชามติก่อนว่า จะเห็นชอบด้วยหรือไม่ ถ้าคำตอบออกมาเป็นว่าเห็นชอบด้วย การแก้รธน.ให้ตั้ง ส.ส.ร. จึงจะมีผล ถ้าคำตอบออกมาเป็นว่าไม่เห็นชอบด้วย ญัตติแก้ไขรธน. ก็จะตกไป ไม่มีส.ส.ร. ไม่มีการร่างรธน.ใหม่ทั้งฉบับ โดยประชาชนที่จะตอบคำถามนี้ ก็ไม่ใช่แค่ 16.8 ล้านคน ที่ลงมติเห็นชอบกับรธน.60 เมื่อ 4 ปีก่อนเท่านั้น แต่เป็นการถามประชาชน ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมดราว 51.2 ล้านคน
นายคำนูณระบุว่า ตนได้ตัดสินใจโหวตเห็นชอบ กับญัตติแก้ไขรธน.มาตรา 256 ให้มีการตั้ง ส.ส.ร. เพราะถ้าตนโหวตไม่เห็นชอบ หรืองดออกเสียง จนเป็นเหตุให้ เสียงเห็นชอบของ ส.ว.มีไม่ถึง 84 เสียง ทำให้ญัตติตกไปตั้งแต่ชั้นรัฐสภา ไม่ต้องไปถามประชาชน ก็จะเหมือนกับไปขวางทางการตัดสินใจโดยตรงของประชาชนทั้งประเทศ 51.2 ล้านคน ไม่เพียงเท่านั้น ญัตติขอแก้ไขรธน.ให้มีการตั้ง ส.ส.ร. หากผ่านประชามติจากประชาชนแล้ว ยังจะต้องมีการเลือกตั้ง ส.ส.ร.โดยตรงทั่วประเทศอีก150-200 คน และหากร่าง รธน.ฉบับใหม่เสร็จแล้ว ยังอาจจะต้องไปทำประชามติอีกครั้งหนึ่ง
ดังนั้นการจะได้รธน.ฉบับใหม่ หรือไม่ ต้องผ่านกระบวนการลงประชามติ จากประชาชน 51.2 ล้านคน 2-3 ครั้ง ไม่ได้จบที่ผลโหวตในรัฐสภา โดยส.ส.-ส.ว. 750 คนเท่านั้น ซึ่งประชาชน 16.8 ล้านคน ที่ลงมติเห็นชอบกับรธน.60 เมื่อ 4 ปีก่อน ได้สิทธิตอบแน่นอน
ลืมเผด็จการรัฐสภา-สภาทาสแล้วหรือ
พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว. กล่าวถึง ข้อเสนอแก้ไขรธน. เพื่อปิดสวิทช์ ส.ว.ว่า ตนคิดว่าไม่ต้องปิดสวิทช์ ส.ว.หรอก เพราะการเสนอชื่อนายกฯ ในรธน.60 นั้น เป็นเรื่องของพรรคการเมือง ส.ว.เสนอชื่อไม่ได้ ถ้าพรรคการเมืองไหนไม่ต้องการให้ใครเป็นนายกฯ ก็อย่าเสนอชื่อเขาเข้าไป พรรคไหนไม่อยากได้ใครเป็นนายกฯ ก็อย่าไปร่วมกับเขา จัดตั้งรัฐบาล แค่นี้ก็จบแล้ว ส.ว.ไม่มีน้ำยาหรอก อย่าเกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง
อยากไรก็ตาม กรณีเผด็จการรัฐสภา หรือสภาทาส ในปี 2556 พรรคร่วมรัฐบาลสมัย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯได้เสนอแก้ไขรธน. ฉบับ 2550 ใน มาตรา 111 เรื่องที่มาของ ส.ว. ซึ่งการแก้ไขรธน.ของรัฐสภา ในครั้งนั้น พรรคร่วมรัฐบาล และ ส.ว.บางส่วน ใช้มติเสียงข้างมาก ปิดปากไม่ให้ฝ่ายค้านอภิปราย รัฐสภาถูกกล่าวหาว่า เป็นเผด็จการรัฐสภา และฝ่ายค้านคือ ส.ส.ประชาธิปัตย์ วางพวงหรีดประนามรัฐสภา ว่าเป็น สภาทาส
" ดังนั้น รธน.60 จึงบัญญัติให้การแก้ไขรธน. ต้องใช้เสียงเห็นชอบกึ่งหนึ่งของรัฐสภา ในจำนวนเสียงเห็นชอบนี้ ต้องมีเสียง1 ใน 3 ของ ส.ว. และส.ส.ฝ่ายค้าน ร้อยละ 20 เพื่อให้ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน เป็นการแก้ปัญหาเผด็จการรัฐสภา และสภาทาส วันนี้ลืมกันแล้วหรือ จึงจะแก้ไข ตัดเสียงเห็นชอบของส.ว.และส.ส.ฝ่ายค้านออก กลับไปให้เป็นสภาทาสเหมือนเดิม" พล.อ.สมเจตน์ กล่าว