10 วิสาหกิจชุมชนออกโรงหนุนโรงไฟฟ้าชุมชน ยันตอบโจทย์นโยบายรัฐ สร้างงาน สร้างรายได้ชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากที่แท้จริง แนะก.พลังงาน รับซื้อขั้นต่ำ 400 เมกะวัตต์ เผย 100-200 เมกะวัตต์ต่ำไป ไม่ตอบโจทย์กระตุ้นศก.
ม.ร.ว.วรากร วรวรรณ ประธานที่ปรึกษาวิสาหกิจชุมชน กลุ่มรักษ์ช้างรักษาป่าตะวันออก (ปม.) เปิดเผยว่าวิสาหกิจชุมชน10 แห่งได้หารือพบว่า ความต้องการของวิสาหกิจชุมชน และนักลงทุนต้องการให้ ก.พลังงาน รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน ขั้นต่ำ 400 เมกะวัตต์ เพื่อให้วิสาหกิจได้มีส่วนร่วมประมาณ 160-170 แห่ง จะมีรายได้จากการขายหญ้าเพื่อเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า, ส่วนแบ่งจากการขายไฟฟ้า และผลตอบแทนจากการทำโครงการต่อเนื่อง เป็นการกระตุ้นศก.ฐานราก อย่างชัดเจน ตอบโจทย์นโยบายรัฐบาล ทั้งการจ้างงาน และการเพิ่มรายได้ให้ชุมชน
"โรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อศก.ฐานรากนั้น เป็นนโยบายของนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตรมว.พลังงาน ระยะแรก 700 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นควิกวิน 100 เมกะวัตต์ สำหรับโรงไฟฟ้าที่มีความพร้อมแล้ว ที่เหลือ 600 เมกะวัตต์ เป็นโครงการทั่วไป เมื่อนายสนธิรัตน์ ลาออกจาก รมว.พลังงาน ล่าสุด นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ เข้ามาทำหน้าที่ รมว.พลังงาน ก็ให้ศึกษาเงื่อนไขการเดินหน้าโครงการ และมีเป้าหมายรับซื้อระยะแรก 100-200 เมกะวัตต์ ซึ่งทางวิสาหกิจชุมชนมองว่าน้อยเกินไป เพราะหากต้องแยก ควิกวิน 100 เมกะวัตต์ ที่พร้อมอยู่แล้ว ก็จะเหลือโครงการใหม่เพียง 100 เมกะวัตต์เท่านั้น แทบจะไม่ได้ตอบโจทย์การไปกระตุ้นศก.มากนัก ดังนั้นขั้นต่ำควรจะเป็น 400 เมกะวัตต์ และหากเป็นไปได้ก็ไม่ควรจะรวมควิกวิน100 เมกะวัตต์" ม.ร.ว.วรากร กล่าว
ทั้งนี้ หากมีการส่งเสริมโรงไฟฟ้าชุมชน 700 เมกะวัตต์ (100+600 เมกะวัตต์) ประเมินว่าจะก่อให้เกิดการจ้างงานในช่วงก่อสร้างโรงไฟฟ้า 62,500 คน และช่วงเดินระบบ 29,800 คน และการส่งเสริมให้ชุมชนปลูกไม้โตเร็ว จะสามารถใช้ประโยชน์จากไม้ปลูกได้ 20 ปี การลงทุนจากภาคเอกชนในพื้นที่ ที่ได้ใบอนุญาตขายไฟ (PPA)ที่คาดว่าจะอยู่ราว 50,000 ล้านบาท และชุมชนจะมีส่วนแบ่งค่าไฟฟ้า (25 สต.ต่อหน่วย) เมกะวัตต์ ละ2,000,000 บาทต่อปี หรือจะมีรายได้รวม1,400 ล้านบาทต่อปี และยังมีรายได้จากการขายเชื้อเพลิงอีก 8,700 ล้านบาทต่อปี ซึ่งหากสัดส่วนเมกะวัตต์ลดลง การจ้างงานและรายได้เหล่านี้ก็จะลดลงตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นทางกระทรวงพลังงาน ระบุถึงปัจจัยที่ทำให้การรับซื้อต่ำเนื่องจากกังวลว่าโครงการอาจจะทำไม่ได้ เนื่องจากมีวัตถุดิบ ( ไม้ยืนต้น หญ้าเนเปียร์ กระถินยักษ์ )ไม่พอเพียง ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยลดพื้นที่ลงเหลือไม่เกิน 3 เมกะวัตต์ ต่อโครงการ ส่วนกรณีที่การกำหนดให้วิสาหกิจชุมชนเข้าถือหุ้น 10-40% ตามเงื่อนไขเดิม แต่เบื้องต้นภาครัฐอาจจะยกเว้นคิดว่าไม่มีปัญหาอะไร เพราะที่สุดอยู่ที่ผลตอบแทนที่ให้กับชุมชนเป็นสำคัญ
แหล่งข่าวจาก ก.พลังงาน กล่าวยืนยันว่า โรงโรงไฟฟ้าชุมชนยังไม่ได้ถูกยกเลิก หากแต่ต้องปรับเกณฑ์ใหม่ให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่น การกำหนดสัดส่วนให้ชุมชนเข้าถือหุ้น10-40% ที่มีบางส่วนเสนอให้ยกเลิก เพราะการถือหุ้นอาจไม่ได้การันตีถึงผลตอบแทนให้ชุมชนที่ดีเสมอไป จึงเห็นว่าควรจะเพิ่มประโยชน์ด้านอื่นที่มีความมั่นคงกว่า เช่น การการันตีรับซื้อวัตถุดิบในราคาที่สูงไว้เลย และทำสัญญาคอนแทรกฟาร์มมิ่ง กับเกษตรกร ซึ่งเหล่านี้จะต้องหารือว่า จะทำได้หรือไม่ เช่นเดียวกับ ควิกวิน 100 เมกะวัตต์ จะต้องไม่เอื้อให้กับรายเดิมจนทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกับผู้ที่จะเข้ามาใหม่ เช่นเดียวกับ VSPPเก่า เข้ามาสวมสิทธิ์ รับอัตราค่าไฟที่แพงกว่าของเดิม เป็นต้น ทั้งหมดนี้จะได้ข้อสรุปภายใน ก.ย. และนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ต.ค.นี้
ม.ร.ว.วรากร วรวรรณ ประธานที่ปรึกษาวิสาหกิจชุมชน กลุ่มรักษ์ช้างรักษาป่าตะวันออก (ปม.) เปิดเผยว่าวิสาหกิจชุมชน10 แห่งได้หารือพบว่า ความต้องการของวิสาหกิจชุมชน และนักลงทุนต้องการให้ ก.พลังงาน รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน ขั้นต่ำ 400 เมกะวัตต์ เพื่อให้วิสาหกิจได้มีส่วนร่วมประมาณ 160-170 แห่ง จะมีรายได้จากการขายหญ้าเพื่อเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า, ส่วนแบ่งจากการขายไฟฟ้า และผลตอบแทนจากการทำโครงการต่อเนื่อง เป็นการกระตุ้นศก.ฐานราก อย่างชัดเจน ตอบโจทย์นโยบายรัฐบาล ทั้งการจ้างงาน และการเพิ่มรายได้ให้ชุมชน
"โรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อศก.ฐานรากนั้น เป็นนโยบายของนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตรมว.พลังงาน ระยะแรก 700 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นควิกวิน 100 เมกะวัตต์ สำหรับโรงไฟฟ้าที่มีความพร้อมแล้ว ที่เหลือ 600 เมกะวัตต์ เป็นโครงการทั่วไป เมื่อนายสนธิรัตน์ ลาออกจาก รมว.พลังงาน ล่าสุด นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ เข้ามาทำหน้าที่ รมว.พลังงาน ก็ให้ศึกษาเงื่อนไขการเดินหน้าโครงการ และมีเป้าหมายรับซื้อระยะแรก 100-200 เมกะวัตต์ ซึ่งทางวิสาหกิจชุมชนมองว่าน้อยเกินไป เพราะหากต้องแยก ควิกวิน 100 เมกะวัตต์ ที่พร้อมอยู่แล้ว ก็จะเหลือโครงการใหม่เพียง 100 เมกะวัตต์เท่านั้น แทบจะไม่ได้ตอบโจทย์การไปกระตุ้นศก.มากนัก ดังนั้นขั้นต่ำควรจะเป็น 400 เมกะวัตต์ และหากเป็นไปได้ก็ไม่ควรจะรวมควิกวิน100 เมกะวัตต์" ม.ร.ว.วรากร กล่าว
ทั้งนี้ หากมีการส่งเสริมโรงไฟฟ้าชุมชน 700 เมกะวัตต์ (100+600 เมกะวัตต์) ประเมินว่าจะก่อให้เกิดการจ้างงานในช่วงก่อสร้างโรงไฟฟ้า 62,500 คน และช่วงเดินระบบ 29,800 คน และการส่งเสริมให้ชุมชนปลูกไม้โตเร็ว จะสามารถใช้ประโยชน์จากไม้ปลูกได้ 20 ปี การลงทุนจากภาคเอกชนในพื้นที่ ที่ได้ใบอนุญาตขายไฟ (PPA)ที่คาดว่าจะอยู่ราว 50,000 ล้านบาท และชุมชนจะมีส่วนแบ่งค่าไฟฟ้า (25 สต.ต่อหน่วย) เมกะวัตต์ ละ2,000,000 บาทต่อปี หรือจะมีรายได้รวม1,400 ล้านบาทต่อปี และยังมีรายได้จากการขายเชื้อเพลิงอีก 8,700 ล้านบาทต่อปี ซึ่งหากสัดส่วนเมกะวัตต์ลดลง การจ้างงานและรายได้เหล่านี้ก็จะลดลงตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นทางกระทรวงพลังงาน ระบุถึงปัจจัยที่ทำให้การรับซื้อต่ำเนื่องจากกังวลว่าโครงการอาจจะทำไม่ได้ เนื่องจากมีวัตถุดิบ ( ไม้ยืนต้น หญ้าเนเปียร์ กระถินยักษ์ )ไม่พอเพียง ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยลดพื้นที่ลงเหลือไม่เกิน 3 เมกะวัตต์ ต่อโครงการ ส่วนกรณีที่การกำหนดให้วิสาหกิจชุมชนเข้าถือหุ้น 10-40% ตามเงื่อนไขเดิม แต่เบื้องต้นภาครัฐอาจจะยกเว้นคิดว่าไม่มีปัญหาอะไร เพราะที่สุดอยู่ที่ผลตอบแทนที่ให้กับชุมชนเป็นสำคัญ
แหล่งข่าวจาก ก.พลังงาน กล่าวยืนยันว่า โรงโรงไฟฟ้าชุมชนยังไม่ได้ถูกยกเลิก หากแต่ต้องปรับเกณฑ์ใหม่ให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่น การกำหนดสัดส่วนให้ชุมชนเข้าถือหุ้น10-40% ที่มีบางส่วนเสนอให้ยกเลิก เพราะการถือหุ้นอาจไม่ได้การันตีถึงผลตอบแทนให้ชุมชนที่ดีเสมอไป จึงเห็นว่าควรจะเพิ่มประโยชน์ด้านอื่นที่มีความมั่นคงกว่า เช่น การการันตีรับซื้อวัตถุดิบในราคาที่สูงไว้เลย และทำสัญญาคอนแทรกฟาร์มมิ่ง กับเกษตรกร ซึ่งเหล่านี้จะต้องหารือว่า จะทำได้หรือไม่ เช่นเดียวกับ ควิกวิน 100 เมกะวัตต์ จะต้องไม่เอื้อให้กับรายเดิมจนทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกับผู้ที่จะเข้ามาใหม่ เช่นเดียวกับ VSPPเก่า เข้ามาสวมสิทธิ์ รับอัตราค่าไฟที่แพงกว่าของเดิม เป็นต้น ทั้งหมดนี้จะได้ข้อสรุปภายใน ก.ย. และนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ต.ค.นี้