ผู้จัดการรายวัน360 - นายกฯมอบนโยบาย ศบศ. ย้ำรัฐบาลมุ่งช่วยเหลือประชาชนทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ พร้อมฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างมั่นคง ทั้งส่งเสริมการจ้างงาน และกระตุ้นการใช้จ่ายเพื่อลดค่าครองชีพประชาชน คาดใช้งบกว่า 6.8 หมื่นล้าน แย้มเตรียมแจกเงิน 3 พันบาท รวม 15 ล้านคน เพื่อใช้ซื้อของใช้อุปโภคบริโภค เปิดทางทั้งร้านค้ารายย่อย หาบเร่ แผงลอย เซเว่นฯ และโมเดิร์นเทรด "สุชาติ" เผย ศบศ.ไฟเขียวโครงการส่งเสริมการจ้างงานเด็กจบใหม่ ส่งให้สภาพัฒน์ลุยต่อ เตรียมจัดงานยักษ์ "จ๊อบเอ็กซ์โป" ปลายเดือนนี้
เช้าวานนี้ (2ก.ย.) ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุม ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส ควิด-19 (ศบศ.)
หลังการประชุม นายกรัฐมนตรีได้โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ที่ประชุม ศบศ. ได้เห็นชอบเรื่องสำคัญหลายเรื่อง ซึ่งทั้งหมดจะเร่งนำเข้าที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณาและสรุปรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
เรื่องแรก เป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ ได้เห็นชอบให้มีการเพิ่มสิทธิให้ผู้ลงทะเบียนโครงการเราเที่ยวด้วยกัน และเห็นชอบในหลักการให้ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และพนักงานรัฐวิสาหกิจ สามารถลาพักผ่อนในวันธรรมดาเพิ่มได้ 2 วัน โดยไม่ถือเป็นวันลา เมื่อลงทะเบียนใช้สิทธิ
เรื่องที่สอง เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการจ้างงานสำหรับผู้จบการศึกษาใหม่ ตั้งแต่ระดับป.ตรี , ปวส. และ ปวช. จำนวน 260,000 อัตรา โดยมีอัตราค่าจ้างตามวุฒิการศึกษา 9,400 - 15,000 บาท/เดือน โดยวางกรอบระยะเวลาการจ้างงาน 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 30 ก.ย.64
เรื่องที่สาม ได้เห็นชอบในหลักการมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายเพื่อช่วยลดค่าครองชีพของประชาชน ส่งเสริมการบริโภค และช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยทั่วไป โดยรัฐบาลจะช่วยค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน ประมาณ 15 ล้านคน และกลุ่มร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยมุ่งเน้นไปที่ร้านค้ารายย่อย หาบเร่ แผงลอย อีกประมาณ 80,000 แห่ง ผ่านกลไกกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาล
ด้านนายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน กล่าวภายหลังการประชุม ศบศ. ว่า ตนได้นำเสนอโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่ สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่โดยภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งที่ประชุมให้ความเห็นชอบ แล้วส่งเรื่องดังกล่าวให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ไปดำเนินการต่อ เพราะโครงการนี้ต้องใช้งบฯ จากเงินกู้ตาม พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ 400,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อ สศช.พิจารณาเสร็จแล้ว จะนำเข้าสู่การที่ประชุมครม. ต่อไป
ทั้งนี้โครงการดังกล่าว จะเป็นการแก้ปัญหาการว่างงานของผู้ที่เพิ่งจบการศึกษา ประกอบด้วย 1.มาตรการจ่ายเงินอุดหนุนสมทบเงินเดือนค่าจ้างแรงงานใหม่ให้กับลูกจ้างที่เพิ่งจบการศึกษา ด้วยการโอนเงินตรงเข้าบัญชีของลูกจ้างในธนาคารกรุงไทย ซึ่งรัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบ 50 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างแต่ละเดือนตามวุฒิการศึกษา ซึ่งต้องไม่เกิน 7,500 บาทต่อราย โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 12 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.63-30 ก.ย.64 กรอบวงเงินงบประมาณที่จะใช้ 23,476.4 ล้านบาท ตั้งเป้าหมายจ้างงานผู้จบการศึกษาใหม่ทั่วประเทศ 260,000 คน ส่วนผู้ที่จะลงทะเบียนเพื่อรับเงินอุดหนุนนี้ ต้องมีคุณสมบัติเป็นคนไทย อายุไม่เกิน 25 ปี หรือถ้าเป็นผู้ที่มีอายุเกิน 25 ปี ต้องสำเร็จการศึกษาในช่วงปี 62- 63
2. การจัดงาน “ไทยแลนด์ จ๊อบ เอ็กซ์โป (Thailand Job Expo 2020)”ที่จะรวมตำแหน่งงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประมาณ 1 ล้านตำแหน่ง เพื่อจับคู่ตำแหน่งานกับตัวบุคคล ซึ่งคาดจะจัดขึ้นช่วงปลายเดือนก.ย.นี้
3.การใช้แพลตฟอร์มที่ชื่อ “ไทยมีงานทำ”ซึ่งกระทรวงแรงงาน จะนำมาใช้เป็นฐานข้อมูลใหญ่ (บิ๊กดาต้า)
นายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ผู้ช่วยเลาขานุการ ศบศ. กล่าวว่า รายละเอียดมาตรการกระตุ้นการบริโภค โดยการแจกเงินให้คนที่อายุ 18 ปี ขึ้นไปจำนวน 15 ล้านคน คนละ 3,000 บาท ให้เวลาใช้ 3 เดือน โดยจะกำหนดให้ใช้วันละ 100-250 บาท คาดจะเริ่มได้ภายในเดือนต.ค.นี้
ทั้งนี้ ผู้ได้สิทธิ จะนำเงินไปใช้กับร้านค้าหาบเร่แผงลอยที่มาลงทะเบียน โดยขณะนี้ยังเปิดให้ซื้อของในร้านค้าเซเว่น และในห้างสรรพสินค้าได้ โดยการซื้อของจะเป็นแบบร่วมจ่ายผู้ซื้อจ่าย 50% และ รัฐจ่ายให้ 50% โดยรัฐบาลจะใช้เงินกู้ในโครงการนี้จำนวน 4.5 หมื่นล้านบาท ใช้ในโครงการนี้ เมื่อรวมกับที่ผู้ได้สิทธิต้องออกด้วย จะทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบ 9 หมื่นล้านบาท
สำหรับมาตราการการจ้างงานสำหรับเด็กจบใหม่ โดยรัฐบาลสมทบจ่ายกับนายจ้างเป็นระยะเวลา 1 ปี (ต.ค.63-ต.ค.64) รวมจำนวน 260,000 อัตรา วงเงินรวม 23,000 ล้านบาท
เช้าวานนี้ (2ก.ย.) ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุม ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส ควิด-19 (ศบศ.)
หลังการประชุม นายกรัฐมนตรีได้โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ที่ประชุม ศบศ. ได้เห็นชอบเรื่องสำคัญหลายเรื่อง ซึ่งทั้งหมดจะเร่งนำเข้าที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณาและสรุปรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
เรื่องแรก เป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ ได้เห็นชอบให้มีการเพิ่มสิทธิให้ผู้ลงทะเบียนโครงการเราเที่ยวด้วยกัน และเห็นชอบในหลักการให้ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และพนักงานรัฐวิสาหกิจ สามารถลาพักผ่อนในวันธรรมดาเพิ่มได้ 2 วัน โดยไม่ถือเป็นวันลา เมื่อลงทะเบียนใช้สิทธิ
เรื่องที่สอง เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการจ้างงานสำหรับผู้จบการศึกษาใหม่ ตั้งแต่ระดับป.ตรี , ปวส. และ ปวช. จำนวน 260,000 อัตรา โดยมีอัตราค่าจ้างตามวุฒิการศึกษา 9,400 - 15,000 บาท/เดือน โดยวางกรอบระยะเวลาการจ้างงาน 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 30 ก.ย.64
เรื่องที่สาม ได้เห็นชอบในหลักการมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายเพื่อช่วยลดค่าครองชีพของประชาชน ส่งเสริมการบริโภค และช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยทั่วไป โดยรัฐบาลจะช่วยค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน ประมาณ 15 ล้านคน และกลุ่มร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยมุ่งเน้นไปที่ร้านค้ารายย่อย หาบเร่ แผงลอย อีกประมาณ 80,000 แห่ง ผ่านกลไกกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาล
ด้านนายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน กล่าวภายหลังการประชุม ศบศ. ว่า ตนได้นำเสนอโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่ สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่โดยภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งที่ประชุมให้ความเห็นชอบ แล้วส่งเรื่องดังกล่าวให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ไปดำเนินการต่อ เพราะโครงการนี้ต้องใช้งบฯ จากเงินกู้ตาม พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ 400,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อ สศช.พิจารณาเสร็จแล้ว จะนำเข้าสู่การที่ประชุมครม. ต่อไป
ทั้งนี้โครงการดังกล่าว จะเป็นการแก้ปัญหาการว่างงานของผู้ที่เพิ่งจบการศึกษา ประกอบด้วย 1.มาตรการจ่ายเงินอุดหนุนสมทบเงินเดือนค่าจ้างแรงงานใหม่ให้กับลูกจ้างที่เพิ่งจบการศึกษา ด้วยการโอนเงินตรงเข้าบัญชีของลูกจ้างในธนาคารกรุงไทย ซึ่งรัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบ 50 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างแต่ละเดือนตามวุฒิการศึกษา ซึ่งต้องไม่เกิน 7,500 บาทต่อราย โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 12 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.63-30 ก.ย.64 กรอบวงเงินงบประมาณที่จะใช้ 23,476.4 ล้านบาท ตั้งเป้าหมายจ้างงานผู้จบการศึกษาใหม่ทั่วประเทศ 260,000 คน ส่วนผู้ที่จะลงทะเบียนเพื่อรับเงินอุดหนุนนี้ ต้องมีคุณสมบัติเป็นคนไทย อายุไม่เกิน 25 ปี หรือถ้าเป็นผู้ที่มีอายุเกิน 25 ปี ต้องสำเร็จการศึกษาในช่วงปี 62- 63
2. การจัดงาน “ไทยแลนด์ จ๊อบ เอ็กซ์โป (Thailand Job Expo 2020)”ที่จะรวมตำแหน่งงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประมาณ 1 ล้านตำแหน่ง เพื่อจับคู่ตำแหน่งานกับตัวบุคคล ซึ่งคาดจะจัดขึ้นช่วงปลายเดือนก.ย.นี้
3.การใช้แพลตฟอร์มที่ชื่อ “ไทยมีงานทำ”ซึ่งกระทรวงแรงงาน จะนำมาใช้เป็นฐานข้อมูลใหญ่ (บิ๊กดาต้า)
นายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ผู้ช่วยเลาขานุการ ศบศ. กล่าวว่า รายละเอียดมาตรการกระตุ้นการบริโภค โดยการแจกเงินให้คนที่อายุ 18 ปี ขึ้นไปจำนวน 15 ล้านคน คนละ 3,000 บาท ให้เวลาใช้ 3 เดือน โดยจะกำหนดให้ใช้วันละ 100-250 บาท คาดจะเริ่มได้ภายในเดือนต.ค.นี้
ทั้งนี้ ผู้ได้สิทธิ จะนำเงินไปใช้กับร้านค้าหาบเร่แผงลอยที่มาลงทะเบียน โดยขณะนี้ยังเปิดให้ซื้อของในร้านค้าเซเว่น และในห้างสรรพสินค้าได้ โดยการซื้อของจะเป็นแบบร่วมจ่ายผู้ซื้อจ่าย 50% และ รัฐจ่ายให้ 50% โดยรัฐบาลจะใช้เงินกู้ในโครงการนี้จำนวน 4.5 หมื่นล้านบาท ใช้ในโครงการนี้ เมื่อรวมกับที่ผู้ได้สิทธิต้องออกด้วย จะทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบ 9 หมื่นล้านบาท
สำหรับมาตราการการจ้างงานสำหรับเด็กจบใหม่ โดยรัฐบาลสมทบจ่ายกับนายจ้างเป็นระยะเวลา 1 ปี (ต.ค.63-ต.ค.64) รวมจำนวน 260,000 อัตรา วงเงินรวม 23,000 ล้านบาท