ผู้จัดการรายวัน360-โครงการยื่นของบกองทุนอนุรักษ์ฯปีงบ2563 ที่มีให้ 5,600 ล้านบาท ถูกตีตกอื้อเหตุไม่เข้าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ก.พลังงานเคาะอนุมัติแล้วแค่ 1,035 โครงการมูลค่า 2,065 ล้านบาทจากที่ยื่นขอกว่า 5,000 โครงการ คิดเป็นเงินถึง 6.2 หมื่นล้านบาท พร้อมวางกรอบใช้งบปี'64เน้นจ้างงานไม่ต่ำกว่า 5,000 คน โฟกัสนักศึกษาจบใหม่ พร้อมดึงเอสเอ็มอีเข้าร่วม
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยการประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ที่มีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงานเป็นประธานเมื่อ 26 ส.ค.ว่า ที่ประชุมได้อนุมัติโครงการที่ขอรับการสนับสนุนปีงบประมาณ 2563 จำนวน 1,035 โครงการ วงเงินที่ให้การสนับสนุน 2,065 ล้านบาทจากกรอบวงเงินที่ให้การสนับสนุน 5,600 ล้านบาท
"ยอมรับว่าโครงการที่ยื่นของบมามีทั้งสิ้น 5,155 โครงการวงเงินสูงถึง 62,000 ล้านบาทคณะกรรมการกลั่นกรองได้มีการพิจารณาคัดเลือกภายใต้เกณฑ์การพิจารณาที่ตั้งไว้ 7 เงื่อนไขพบว่าที่ผ่านน้อยเพราะมีความซ้ำซ้อนและไม่เป็นไปตามเงื่อนไข เทคโนโลยีพลังงานที่ระบุให้ต้องทันสมัยส่วนใหญ่ก็เสนอมาเป็นโซลาร์ เป็นต้น"นายกุลิศกล่าว
สำหรับเกณฑ์การพิจารณาโครงการที่จะขอรับส่งเสริมปีงบประมาณ 2564 วงเงิน 10,000 ล้านบาทนั้นเบื้องต้นจากการหารือกระทรวงพลังงานจะร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.)จะปรับรูปแบบจากเดิมที่กำหนดเกณฑ์ให้ยื่นแต่ละหมวดเข้ามาเป็นการกำหนดผลลัพธ์ของโครงการเช่น การพัฒนาพลังงานและนวัตกรรมพลังงานใหม่ๆ ที่จะมีการแจกจ่ายแนวทางนี้ไปยังมหาวิทยาลัยให้มายื่นแข่งขันกัน
นอกจากนี้จะพิจารณาด้านการสร้างงานและสร้างรายได้ตามนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงานโดยเน้นการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ระดับปริญญาตรี และอาชีวะ หรือนักศึกษาที่ใกล้จบแต่ไม่มีทุนการศึกษาต่อเพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ที่จะเน้นการอบรมความรู้ด้านพลังงาน และจัดเก็บข้อมูลเพื่อทำคลังข้อมูล(Big Data) และยังรวมถึงการช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)เพิ่มเติมจากปีงบที่ผ่านมาไม่ได้รับการสนับสนุนโดยจะได้มีการหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)ในประเด็นดังกล่าวต่อไป
" ปีนี้ทางรองนายกฯและรมว.พลังานขอให้เพิ่มเติมการให้งบกับเอสเอ็มอีเข้ามาด้วย โดยการจ้างงานและสร้างรายได้นั้นเบื้องต้นที่หารือกันขั้นต่ำมองไว้ที่ 5,000 คนแต่ทั้งนี้ยังไม่ได้เสนอนายสุพัฒนพงษ์ซึ่งต้องรอสรุปให้ชัดเจนอีกครั้ง"นายกุลิศกล่าว
อย่างไรก็ตามในวันที่ 28 ส.ค.นี้จะมีการหารือภายในร่วมกับ 4 หน่วยงานได้แก่ กรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) และกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และหน่วยงานสังกัดได้แก่ บมจ.ปตท.และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เพื่อสรุปกรอบการสร้างงาน สร้างรายได้หลังจากที่ได้มอบหมายให้ไปคิดแผนมานำเสนอ โดยคาดว่าจะสรุปกรอบเพื่อเปิดให้ผู้สนใจยื่นขอใช้งบปี 64 ได้ภายในกลางก.ย.นี้
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยการประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ที่มีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงานเป็นประธานเมื่อ 26 ส.ค.ว่า ที่ประชุมได้อนุมัติโครงการที่ขอรับการสนับสนุนปีงบประมาณ 2563 จำนวน 1,035 โครงการ วงเงินที่ให้การสนับสนุน 2,065 ล้านบาทจากกรอบวงเงินที่ให้การสนับสนุน 5,600 ล้านบาท
"ยอมรับว่าโครงการที่ยื่นของบมามีทั้งสิ้น 5,155 โครงการวงเงินสูงถึง 62,000 ล้านบาทคณะกรรมการกลั่นกรองได้มีการพิจารณาคัดเลือกภายใต้เกณฑ์การพิจารณาที่ตั้งไว้ 7 เงื่อนไขพบว่าที่ผ่านน้อยเพราะมีความซ้ำซ้อนและไม่เป็นไปตามเงื่อนไข เทคโนโลยีพลังงานที่ระบุให้ต้องทันสมัยส่วนใหญ่ก็เสนอมาเป็นโซลาร์ เป็นต้น"นายกุลิศกล่าว
สำหรับเกณฑ์การพิจารณาโครงการที่จะขอรับส่งเสริมปีงบประมาณ 2564 วงเงิน 10,000 ล้านบาทนั้นเบื้องต้นจากการหารือกระทรวงพลังงานจะร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.)จะปรับรูปแบบจากเดิมที่กำหนดเกณฑ์ให้ยื่นแต่ละหมวดเข้ามาเป็นการกำหนดผลลัพธ์ของโครงการเช่น การพัฒนาพลังงานและนวัตกรรมพลังงานใหม่ๆ ที่จะมีการแจกจ่ายแนวทางนี้ไปยังมหาวิทยาลัยให้มายื่นแข่งขันกัน
นอกจากนี้จะพิจารณาด้านการสร้างงานและสร้างรายได้ตามนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงานโดยเน้นการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่ระดับปริญญาตรี และอาชีวะ หรือนักศึกษาที่ใกล้จบแต่ไม่มีทุนการศึกษาต่อเพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ที่จะเน้นการอบรมความรู้ด้านพลังงาน และจัดเก็บข้อมูลเพื่อทำคลังข้อมูล(Big Data) และยังรวมถึงการช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)เพิ่มเติมจากปีงบที่ผ่านมาไม่ได้รับการสนับสนุนโดยจะได้มีการหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)ในประเด็นดังกล่าวต่อไป
" ปีนี้ทางรองนายกฯและรมว.พลังานขอให้เพิ่มเติมการให้งบกับเอสเอ็มอีเข้ามาด้วย โดยการจ้างงานและสร้างรายได้นั้นเบื้องต้นที่หารือกันขั้นต่ำมองไว้ที่ 5,000 คนแต่ทั้งนี้ยังไม่ได้เสนอนายสุพัฒนพงษ์ซึ่งต้องรอสรุปให้ชัดเจนอีกครั้ง"นายกุลิศกล่าว
อย่างไรก็ตามในวันที่ 28 ส.ค.นี้จะมีการหารือภายในร่วมกับ 4 หน่วยงานได้แก่ กรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) และกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และหน่วยงานสังกัดได้แก่ บมจ.ปตท.และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เพื่อสรุปกรอบการสร้างงาน สร้างรายได้หลังจากที่ได้มอบหมายให้ไปคิดแผนมานำเสนอ โดยคาดว่าจะสรุปกรอบเพื่อเปิดให้ผู้สนใจยื่นขอใช้งบปี 64 ได้ภายในกลางก.ย.นี้