ผู้จัดการรายวัน360-สศช.เผยเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ขยายตัวลดลง 12.2% ส่วนทั้งปีคาดติดลบ 7.5% หากไม่มีการระบาดของโควิด-19 รอบสอง ชี้เศรษฐกิจไทยพ้นจุดต่ำสุดแล้ว เร่งรัฐอัดฉีดเงินจากพ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้าน ดูแลไม่ให้เกิดหนี้เสีย ฟื้นฟูท่องเที่ยว บริการ ห่วงการเมือง ม็อบฉุด นัดถกคลังสรุปมาตรการชง ศบค.เศรษฐกิจ 19 ส.ค.นี้ “สุพัฒน์พงษ์”เตรียมออกมาตรการใหม่ดูแลเศรษฐกิจสู้โควิด-19 ภายในเดือนนี้ ลดแจกเงิน เน้นเพิ่มการจ้างงาน ยันฐานะการคลังยังปึ๊ก
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ปี 2563 ขยายตัวติดลบ 12.2% จากไตรมาส 1 ที่ขยายตัวติดลบ 2.2% และคาดว่าทั้งปีจะขยายติดลบ 7.8% ถึงลบ 7.3% โดยมีค่ากลางอยู่ที่ลบ 7.5% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายติดลบ 6% ถึงลบ 5% และอยู่ภายใต้สมมุติฐานไม่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบสอง เนื่องจากผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในไตรมาส 2 หยุดทั้งหมด แต่เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 น่าจะขยายตัวต่ำที่สุดของปีแล้ว
ทั้งนี้ ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ภาคการเกษตร การผลิตทุกภาคอุตสาหกรรม ภาคการท่องเที่ยว โรงแรม และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ร้านอาหาร รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชน ขยายตัวติดลบหมด โดยได้รับผลกระทบจากปัญหาสงครามการค้า โควิด-19 และภัยแล้ง มีตัวช่วยทางเศรษฐกิจเพียงตัวเดียว คือ การบริโภคและการลงทุนของภาครัฐเท่านั้น
นายทศพรกล่าวว่า แนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะต้องเร่งรัดมาตรการจากการใช้เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทไม่ให้ล่าช้า ต้องดูแลภาคอุตสาหกรรม ไม่ให้มีปัญหาหนี้เสีย จนลุกลามไปกระทบสถาบันการเงิน ต้องดูแลสาขาเศรษฐกิจที่มีปัญหาการฟื้นตัว เช่น ภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) ต้องดูแลเป็นพิเศษ โดยสศช. จะหารือกับกระทรวงการคลัง และรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกระทรวงการคลัง เพื่อสรุปมาตรการเสนอให้ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 (ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมนัดแรกในวันที่ 19 ส.ค.นี้
สำหรับปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจ ต้องดูแลรักษาบรรยากาศทางการเมืองให้ดี เพราะถ้าปัจจัยทางการเมืองเกิดความวุ่นวาย จะทำให้เกิดปัญหาซ้ำเติมเศรษฐกิจและมีผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และยังผลกระทบจากรายได้จากการท่องเที่ยวที่หายไป รายได้จากการส่งออกที่ลดลง แต่ถ้าการทดลองวัคซีนโควิด-19 เห็นผลในช่วงกลางปีหน้า เศรษฐกิจการค้าโลกจะค่อยๆ ปรับฟื้นตัวดีขึ้น โดยไทยต้องประคองเศรษฐกิจด้วยการใช้จ่ายของภาครัฐ การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน เพื่อที่จะสามารถเดินหน้าเศรษฐกิจได้ทันทีหลังจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว
ถก ศบค.เศรษฐกิจนัดแรก 19 ส.ค.นี้
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ มั่นใจว่าการตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ จะแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคโควิด-19 ได้อย่างตรงจุด รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยไม่ซ้ำซ้อนกับการทำงานของกระทรวงและหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ แต่เป็นการระดมความเห็น ความต้องการในระยะจำเป็นเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงตามสถานการณ์ แก้ไขผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างทันท่วงที เพื่อลดผลกระทบในระยะกลางและระยะยาว และจะมีการประชุมครั้งแรกวันที่ 19 ส.ค.นี้ เพื่อประเมินผลกระทบเศรษฐกิจ และข้อเสนอในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ส่วนการตั้งคณะกรรมการสร้างไทยไปด้วยกัน นายกรัฐมนตรี ต้องการรับฟังข้อเสนอแนะในความต้องการของจังหวัด เพื่อเสนอถึงรัฐบาลโดยตรง โดยให้จังหวัดได้มีการประชุม ระดมความเห็นของทุกภาคส่วน จัดทำเป็นข้อเสนอในระยะเร่งด่วนถึงรัฐบาล โดยมีรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลจังหวัดนั้นๆ คอยติดตาม ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ ผลัดดันให้การทำงานสัมฤทธิผลโดยเร็ว และยืนยันว่า การทำงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยนั้น ไม่ซ้ำซ้อนกับกลไกรัฐที่มีอยู่ แต่เป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
เตรียมคลอดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน กล่าวว่า มีแผนที่จะออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในเดือนส.ค.2563 โดยมาตรการชุดนี้ จะไม่ใช่การแจกเงินเหมือนที่ผ่านมา หรืออาจจะปรับลดวงเงินลง โดยจะเป็นการดูแลช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน ซึ่งมาตรการต่างๆ จะเป็นการร่วมมือกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่มาตรจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว และเชื่อว่าในระยะเวลา 6-12 เดือนข้างหน้า จะเห็นผลและทำให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบมีความเข้มแข็งมากขึ้น
สำหรับแนวทางที่กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการ มี 5 แนวทาง ได้แก่ 1.การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 2.จะเน้นการสร้างความยั่งยืนของการฟื้นฟูเศรษฐกิจและค่อยๆ ผ่อนคลายความช่วยเหลือโดยตรง 3.จูงใจให้ภาคธุรกิจเกิดการจ้างงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 4.ต้องมีการจ้างแรงงานใหม่จากนักศึกษาจบใหม่ และให้แรงงานเดิมที่ว่างงานกลับเข้าสู่ระบบ และ 5.ต้องบูรณาการข้อมูลและทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วน
คลังยันฐานะการคลังยังแข็งแกร่ง
นายปรีดี ดาวฉาย รมว.คลัง กล่าวว่า โยบายเร่งด่วน จะมองใน 3 ด้าน คือ 1.การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น ปัญหาด้านรายได้ การมีงานทำ จากเศรษฐกิจฝืดเคือง ไม่มีการท่องเที่ยว ไม่มีการเดินทาง ไม่มีการจับจ่ายใช้สอย 2.การดูแลประชาชน เช่น การลดค่าครองชีพ การจ้างงาน การประคับประคองผู้ประกอบการ และ 3.การช่วยเหลือกลุ่มเอสเอ็มอี ผู้ประกอบการรายเล็ก ผู้ประกอบการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งจะทำงานร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ใกล้ชิดมากขึ้น
ทั้งนี้ กรอบวงเงินกู้เดิม ยังเพียงพอต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำการกู้เงินเพิ่มเติม แต่หากมีความจำเป็นในการใช้งบประมาณเพิ่ม ก็ยืนยันได้ว่าฐานะทางการคลังยังอยู่ในระดับที่เหมาะสม และจะไม่เกินเพดานการก่อหนี้สาธารณะ แม้ว่ารายได้การจัดเก็บของภาครัฐจะลดลง
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ปี 2563 ขยายตัวติดลบ 12.2% จากไตรมาส 1 ที่ขยายตัวติดลบ 2.2% และคาดว่าทั้งปีจะขยายติดลบ 7.8% ถึงลบ 7.3% โดยมีค่ากลางอยู่ที่ลบ 7.5% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายติดลบ 6% ถึงลบ 5% และอยู่ภายใต้สมมุติฐานไม่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบสอง เนื่องจากผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในไตรมาส 2 หยุดทั้งหมด แต่เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 น่าจะขยายตัวต่ำที่สุดของปีแล้ว
ทั้งนี้ ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ภาคการเกษตร การผลิตทุกภาคอุตสาหกรรม ภาคการท่องเที่ยว โรงแรม และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ร้านอาหาร รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชน ขยายตัวติดลบหมด โดยได้รับผลกระทบจากปัญหาสงครามการค้า โควิด-19 และภัยแล้ง มีตัวช่วยทางเศรษฐกิจเพียงตัวเดียว คือ การบริโภคและการลงทุนของภาครัฐเท่านั้น
นายทศพรกล่าวว่า แนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะต้องเร่งรัดมาตรการจากการใช้เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทไม่ให้ล่าช้า ต้องดูแลภาคอุตสาหกรรม ไม่ให้มีปัญหาหนี้เสีย จนลุกลามไปกระทบสถาบันการเงิน ต้องดูแลสาขาเศรษฐกิจที่มีปัญหาการฟื้นตัว เช่น ภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) ต้องดูแลเป็นพิเศษ โดยสศช. จะหารือกับกระทรวงการคลัง และรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกระทรวงการคลัง เพื่อสรุปมาตรการเสนอให้ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 (ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมนัดแรกในวันที่ 19 ส.ค.นี้
สำหรับปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจ ต้องดูแลรักษาบรรยากาศทางการเมืองให้ดี เพราะถ้าปัจจัยทางการเมืองเกิดความวุ่นวาย จะทำให้เกิดปัญหาซ้ำเติมเศรษฐกิจและมีผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และยังผลกระทบจากรายได้จากการท่องเที่ยวที่หายไป รายได้จากการส่งออกที่ลดลง แต่ถ้าการทดลองวัคซีนโควิด-19 เห็นผลในช่วงกลางปีหน้า เศรษฐกิจการค้าโลกจะค่อยๆ ปรับฟื้นตัวดีขึ้น โดยไทยต้องประคองเศรษฐกิจด้วยการใช้จ่ายของภาครัฐ การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน เพื่อที่จะสามารถเดินหน้าเศรษฐกิจได้ทันทีหลังจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว
ถก ศบค.เศรษฐกิจนัดแรก 19 ส.ค.นี้
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ มั่นใจว่าการตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ จะแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคโควิด-19 ได้อย่างตรงจุด รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยไม่ซ้ำซ้อนกับการทำงานของกระทรวงและหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ แต่เป็นการระดมความเห็น ความต้องการในระยะจำเป็นเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงตามสถานการณ์ แก้ไขผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างทันท่วงที เพื่อลดผลกระทบในระยะกลางและระยะยาว และจะมีการประชุมครั้งแรกวันที่ 19 ส.ค.นี้ เพื่อประเมินผลกระทบเศรษฐกิจ และข้อเสนอในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ส่วนการตั้งคณะกรรมการสร้างไทยไปด้วยกัน นายกรัฐมนตรี ต้องการรับฟังข้อเสนอแนะในความต้องการของจังหวัด เพื่อเสนอถึงรัฐบาลโดยตรง โดยให้จังหวัดได้มีการประชุม ระดมความเห็นของทุกภาคส่วน จัดทำเป็นข้อเสนอในระยะเร่งด่วนถึงรัฐบาล โดยมีรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลจังหวัดนั้นๆ คอยติดตาม ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ ผลัดดันให้การทำงานสัมฤทธิผลโดยเร็ว และยืนยันว่า การทำงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยนั้น ไม่ซ้ำซ้อนกับกลไกรัฐที่มีอยู่ แต่เป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
เตรียมคลอดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน กล่าวว่า มีแผนที่จะออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในเดือนส.ค.2563 โดยมาตรการชุดนี้ จะไม่ใช่การแจกเงินเหมือนที่ผ่านมา หรืออาจจะปรับลดวงเงินลง โดยจะเป็นการดูแลช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน ซึ่งมาตรการต่างๆ จะเป็นการร่วมมือกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่มาตรจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว และเชื่อว่าในระยะเวลา 6-12 เดือนข้างหน้า จะเห็นผลและทำให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบมีความเข้มแข็งมากขึ้น
สำหรับแนวทางที่กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการ มี 5 แนวทาง ได้แก่ 1.การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 2.จะเน้นการสร้างความยั่งยืนของการฟื้นฟูเศรษฐกิจและค่อยๆ ผ่อนคลายความช่วยเหลือโดยตรง 3.จูงใจให้ภาคธุรกิจเกิดการจ้างงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 4.ต้องมีการจ้างแรงงานใหม่จากนักศึกษาจบใหม่ และให้แรงงานเดิมที่ว่างงานกลับเข้าสู่ระบบ และ 5.ต้องบูรณาการข้อมูลและทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วน
คลังยันฐานะการคลังยังแข็งแกร่ง
นายปรีดี ดาวฉาย รมว.คลัง กล่าวว่า โยบายเร่งด่วน จะมองใน 3 ด้าน คือ 1.การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น ปัญหาด้านรายได้ การมีงานทำ จากเศรษฐกิจฝืดเคือง ไม่มีการท่องเที่ยว ไม่มีการเดินทาง ไม่มีการจับจ่ายใช้สอย 2.การดูแลประชาชน เช่น การลดค่าครองชีพ การจ้างงาน การประคับประคองผู้ประกอบการ และ 3.การช่วยเหลือกลุ่มเอสเอ็มอี ผู้ประกอบการรายเล็ก ผู้ประกอบการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งจะทำงานร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ใกล้ชิดมากขึ้น
ทั้งนี้ กรอบวงเงินกู้เดิม ยังเพียงพอต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำการกู้เงินเพิ่มเติม แต่หากมีความจำเป็นในการใช้งบประมาณเพิ่ม ก็ยืนยันได้ว่าฐานะทางการคลังยังอยู่ในระดับที่เหมาะสม และจะไม่เกินเพดานการก่อหนี้สาธารณะ แม้ว่ารายได้การจัดเก็บของภาครัฐจะลดลง