ผู้จัดการรายวัน360-ศบค.รายงานสถานการณ์โควิด-19 พบผู้ป่วยรายใหม่ 1 ราย กลับจากอินโดนีเซียแล้ว 12 วันถึงพบเชื้อ และไม่แสดงอาการ สธ.เร่งติดตามชาวมาเลเซียติดเชื้อ หลังเดินทางกลับจากไทย "อนุทิน"ชง ครม. อนุมัติให้ไทยร่วมลงทุนกับต่างชาติผลิตวัคซีนโควิด-19 “หมอยง” ลุ้นไทยปลอดเชื้อ 100 วัน ห่วงชุมนุม เข้าหน้าฝน เปิดเทอม ทำเชื้อกลับมาระบาดรอบ 2 “หมอธีระ”เตือนอย่าริเล่นกับเรื่องท่องเที่ยว ชุมนุมไม่เว้นระยะห่าง
วานนี้ (17 ส.ค.) ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พบผู้ป่วยรายใหม่ 1 ราย เป็นนักศึกษาชายไทย อายุ 24 ปี เดินทางกลับจากประเทศอินโดนีเซีย เข้าพักสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) โดยเดินทามาไทยวันที่ 3 ส.ค.2563 เข้าพัก State Quarantine จ.ชลบุรี วันที่ 15 ส.ค.2563 ผลตรวจพบเชื้อ แต่ไม่มีอาการ
ทั้งนี้ จนถึงปัจจุบันมีผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 3,378 ราย เป็นผู้ป่วยในประเทศ 2,444 ราย และตรวจพบในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ จำนวน 441 ราย จำนวนผู้ป่วยรักษาหายแล้วรวม 3,194 ราย ส่วนผู้ป่วยที่กำลังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 126 ราย ขณะที่ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม โดยยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 58 ราย
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีพบชาวมาเลเซียติดเชื้อโควิด-19 หลังเดินทางกลับจากไทย ว่า กรมควบคุมโรคได้ประสานไปยังจุดประสานงานกฎอนามัยระหว่างประเทศ (IHR national focal point) ของมาเลเซียทันที เพื่อขอทราบข้อมูลสำหรับสอบสวนโรค และตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติม โดยมาเลเซียแจ้งว่าพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งมีรายงานในเบื้องต้น คือ ผู้ติดเชื้อรายดังกล่าว เป็นเพศชาย สัญชาติมาเลเซีย อายุ 46 ปี เดินทางออกจากไทยถึงมาเลเซีย ในวันที่ 5 ส.ค.2563 ผลตรวจครั้งแรกไม่พบเชื้อ ต่อมามีการตรวจซ้ำในวันที่ 15 ส.ค.2563 ผลพบเชื้อ โดยวิธี RT-PCR ผู้ติดเชื้อรายนี้ไม่มีอาการใดๆ โดยขณะอยู่ในไทย อาศัยอยู่ในสถานที่พำนักในกรุงเทพฯ โดยพักอาศัยอยู่ในที่พักเป็นส่วนใหญ่
อย่างไรก็ตาม ทีมปฏิบัติการสอบสวนและควบคุมโรค จะได้ทำการสอบสวนและค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิดในที่พักที่ผู้ติดเชื้ออาศัยอยู่ และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากมาเลเซียเกี่ยวกับรายละเอียดการพักอาศัย การเดินทางในไทย รวมถึงสอบสวนหาสาเหตุของการติดเชื้อต่อไป
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวว่า วันนี้ (18 ส.ค.) จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติให้ไทยได้หารือและร่วมลงทุนกับนานาชาติในการผลิตวัคซีนโควิด-19 โดยมีงบสำหรับการสนับสนุนเรื่องนี้ประมาณ 600 ล้านบาท จากงบที่ได้รับการสนับสนุนเรื่องวัคซีนทั้งหมด 3,000 ล้านบาท โดยน่าจะเป็นงบกลาง เพราะเรื่องนี้เร่งด่วน ต้องรีบคุยให้ได้ข้อสรุป เพราะหากตกลงกันได้ เมื่อต่างประเทศสามารถผลิตได้ ไทยก็จะมีสิทธิ์ในการเข้าถึงสูตร และนำมาผลิตในไทยได้
ส่วนวัคซีนที่กำลังทำการวิจัยในประเทศ มีความคืบหน้าไปมากเช่นเดียวกัน แต่เมื่อถึงขั้นตอนการเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รับรอง ก็จะเร่งทำ แต่จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัย ไม่มีทางที่จะเอาประชาชนมาเสี่ยงอันตราย
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว “Yong Poovorawan” พูดถึงประเทศไทยที่ไม่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศนานกว่า 80 วัน ว่า อยากให้ทุกคนช่วยกันดูแลความสะอาดของตนเองให้ประเทศไทยไม่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศทะลุ 100 วัน แต่ได้แสดงความเป็นห่วงว่าช่วงนี้ประเทศไทยอยู่ในหน้าฝน ยิ่งเป็นการง่ายต่อการแพร่กระจายเชื้อและทำให้ไวรัสอยู่ได้นานขึ้น อีกทั้งปัญหาการชุมนุมของผู้ประท้วง ก็อาจจะทำให้มีการแพร่ระบาดของโรคขึ้นมาอีกได้
ด้านรศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่านทางเฟซบุ๊ก มีใจความสรุปว่า วันนี้ (18 ส.ค.) จะมีผู้ติดเชื้อทะลุ 22 ล้านคนอย่างเป็นทางการ โดยกลุ่มประเทศยุโรป กำลังสู้กับการระบาดรอบใหม่ เพราะมีการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา ระบบคัดกรองก็รับภาระไม่ไหว และยังไม่สามารถติดตามนักท่องเที่ยวได้ เช่น เยอรมัน อิตาลี ก็มีการระบาดซ้ำในกลุ่มคนอายุน้อย และเริ่มปิดไนต์คลับ ส่วนไทย ก็มีทั้งศึกนอก ศึกใน โดยศึกนอกอย่าริเล่นกับไฟฟองสบู่ท่องเที่ยว เพราะหายนะจะมาเยือน ศึกใน มีการชุมนุมกันอย่างต่อเนื่อง แออัด มีคนไม่ใส่หน้ากาก มีตะเบ็งตะโกน แชร์ของกินของใช้ร่วมกัน ความเสี่ยงสูงมาก แถมยังมีการทยอยเข้ามาของคนที่เดินทางจากต่างประเทศ ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงสูงเป็นทวีคูณ
นอกจากนี้ ขอให้ระวังเรื่องการขาดแคลนยา และอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ โดยล่าสุดองค์การอนามัยโลก ได้ออกมาเตือนแล้ว และส่วนตัวคิดว่า หากยังระบาดรุนแรงไปอีก 6 เดือนโดยควบคุมไม่ได้ อาจเจอปัญหาขาดแคลนยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ หวังใจว่า องค์การเภสัชกรรม องค์การอาหารและยา (อย.) และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดหายาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ คงจะมีแผนเตรียมพร้อมเรื่องนี้ไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว
วานนี้ (17 ส.ค.) ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พบผู้ป่วยรายใหม่ 1 ราย เป็นนักศึกษาชายไทย อายุ 24 ปี เดินทางกลับจากประเทศอินโดนีเซีย เข้าพักสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) โดยเดินทามาไทยวันที่ 3 ส.ค.2563 เข้าพัก State Quarantine จ.ชลบุรี วันที่ 15 ส.ค.2563 ผลตรวจพบเชื้อ แต่ไม่มีอาการ
ทั้งนี้ จนถึงปัจจุบันมีผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 3,378 ราย เป็นผู้ป่วยในประเทศ 2,444 ราย และตรวจพบในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ จำนวน 441 ราย จำนวนผู้ป่วยรักษาหายแล้วรวม 3,194 ราย ส่วนผู้ป่วยที่กำลังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 126 ราย ขณะที่ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม โดยยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 58 ราย
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีพบชาวมาเลเซียติดเชื้อโควิด-19 หลังเดินทางกลับจากไทย ว่า กรมควบคุมโรคได้ประสานไปยังจุดประสานงานกฎอนามัยระหว่างประเทศ (IHR national focal point) ของมาเลเซียทันที เพื่อขอทราบข้อมูลสำหรับสอบสวนโรค และตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติม โดยมาเลเซียแจ้งว่าพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งมีรายงานในเบื้องต้น คือ ผู้ติดเชื้อรายดังกล่าว เป็นเพศชาย สัญชาติมาเลเซีย อายุ 46 ปี เดินทางออกจากไทยถึงมาเลเซีย ในวันที่ 5 ส.ค.2563 ผลตรวจครั้งแรกไม่พบเชื้อ ต่อมามีการตรวจซ้ำในวันที่ 15 ส.ค.2563 ผลพบเชื้อ โดยวิธี RT-PCR ผู้ติดเชื้อรายนี้ไม่มีอาการใดๆ โดยขณะอยู่ในไทย อาศัยอยู่ในสถานที่พำนักในกรุงเทพฯ โดยพักอาศัยอยู่ในที่พักเป็นส่วนใหญ่
อย่างไรก็ตาม ทีมปฏิบัติการสอบสวนและควบคุมโรค จะได้ทำการสอบสวนและค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิดในที่พักที่ผู้ติดเชื้ออาศัยอยู่ และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากมาเลเซียเกี่ยวกับรายละเอียดการพักอาศัย การเดินทางในไทย รวมถึงสอบสวนหาสาเหตุของการติดเชื้อต่อไป
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวว่า วันนี้ (18 ส.ค.) จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติให้ไทยได้หารือและร่วมลงทุนกับนานาชาติในการผลิตวัคซีนโควิด-19 โดยมีงบสำหรับการสนับสนุนเรื่องนี้ประมาณ 600 ล้านบาท จากงบที่ได้รับการสนับสนุนเรื่องวัคซีนทั้งหมด 3,000 ล้านบาท โดยน่าจะเป็นงบกลาง เพราะเรื่องนี้เร่งด่วน ต้องรีบคุยให้ได้ข้อสรุป เพราะหากตกลงกันได้ เมื่อต่างประเทศสามารถผลิตได้ ไทยก็จะมีสิทธิ์ในการเข้าถึงสูตร และนำมาผลิตในไทยได้
ส่วนวัคซีนที่กำลังทำการวิจัยในประเทศ มีความคืบหน้าไปมากเช่นเดียวกัน แต่เมื่อถึงขั้นตอนการเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รับรอง ก็จะเร่งทำ แต่จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัย ไม่มีทางที่จะเอาประชาชนมาเสี่ยงอันตราย
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว “Yong Poovorawan” พูดถึงประเทศไทยที่ไม่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศนานกว่า 80 วัน ว่า อยากให้ทุกคนช่วยกันดูแลความสะอาดของตนเองให้ประเทศไทยไม่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศทะลุ 100 วัน แต่ได้แสดงความเป็นห่วงว่าช่วงนี้ประเทศไทยอยู่ในหน้าฝน ยิ่งเป็นการง่ายต่อการแพร่กระจายเชื้อและทำให้ไวรัสอยู่ได้นานขึ้น อีกทั้งปัญหาการชุมนุมของผู้ประท้วง ก็อาจจะทำให้มีการแพร่ระบาดของโรคขึ้นมาอีกได้
ด้านรศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่านทางเฟซบุ๊ก มีใจความสรุปว่า วันนี้ (18 ส.ค.) จะมีผู้ติดเชื้อทะลุ 22 ล้านคนอย่างเป็นทางการ โดยกลุ่มประเทศยุโรป กำลังสู้กับการระบาดรอบใหม่ เพราะมีการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา ระบบคัดกรองก็รับภาระไม่ไหว และยังไม่สามารถติดตามนักท่องเที่ยวได้ เช่น เยอรมัน อิตาลี ก็มีการระบาดซ้ำในกลุ่มคนอายุน้อย และเริ่มปิดไนต์คลับ ส่วนไทย ก็มีทั้งศึกนอก ศึกใน โดยศึกนอกอย่าริเล่นกับไฟฟองสบู่ท่องเที่ยว เพราะหายนะจะมาเยือน ศึกใน มีการชุมนุมกันอย่างต่อเนื่อง แออัด มีคนไม่ใส่หน้ากาก มีตะเบ็งตะโกน แชร์ของกินของใช้ร่วมกัน ความเสี่ยงสูงมาก แถมยังมีการทยอยเข้ามาของคนที่เดินทางจากต่างประเทศ ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงสูงเป็นทวีคูณ
นอกจากนี้ ขอให้ระวังเรื่องการขาดแคลนยา และอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ โดยล่าสุดองค์การอนามัยโลก ได้ออกมาเตือนแล้ว และส่วนตัวคิดว่า หากยังระบาดรุนแรงไปอีก 6 เดือนโดยควบคุมไม่ได้ อาจเจอปัญหาขาดแคลนยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ หวังใจว่า องค์การเภสัชกรรม องค์การอาหารและยา (อย.) และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดหายาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ คงจะมีแผนเตรียมพร้อมเรื่องนี้ไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว