ซูเปอร์โพลระบุ ร้อยละ 95.8 ม็อบต้องเลิกล่วงละเมิดสถาบันฯ ตำรวจต้องดำเนินคดีแกนนำที่ล่วงละเมิด ขณะที่ ร้อยละ 99.4 ระบุ ยังจำได้ต่อความดี และประโยชน์สุขของประชาชน ที่ได้รับจากสถาบันฯ ด้าน ศอปส. จัดกิจกรรม จับตาการจาบจ้างสถาบันฯ
นายนพดล กรรณิกา ผอ.สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจเรื่อง ม็อบต้องเลิกล่วงละเมิดสถาบันฯ ตำรวจต้องรักษาความสงบสุขประชาชน กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ผ่าน"เสียงประชาชนในโลกโซเชียลฯ" 22,046 ตัวอย่าง และ"เสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิม" 1,497 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 5-15 ส.ค. ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 95.8 ระบุ ม็อบต้องเลิกล่วงละเมิดสถาบันฯ หยุดเอาสถาบันหลักของชาติเป็นเครื่องมือของทุกฝ่าย ให้การชุมนุมเป็นเฉพาะเรื่องการเมืองการทำงานของรัฐบาล ในขณะที่มีเพียง ร้อยละ 4.2 ระบุ แล้วแต่ผู้ชุมนุม
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 99.4 ระบุ ยังจำได้ต่อความดี และประโยชน์สุขของประชาชนที่ได้รับจากสถาบันหลักของชาติ ที่ได้สร้างสมมาจากอดีตถึงปัจจุบัน ในขณะที่ ร้อยละ 0.6 ระบุ จำไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 58.7 กังวลต่อม็อบ จะก่อให้เกิดความรุนแรงบานปลายและสูญเสีย ในขณะที่ร้อยละ 41.3 ไม่กังวล นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 78.1 ระบุ ตำรวจต้องรักษาความสงบสุขประชาชน จึงต้องตัดไฟแต่ต้นลม ดำเนินคดีต่อแกนนำที่ละเมิดต่อสถาบันหลักของชาติ ในขณะที่ ร้อยละ 21.9 ไม่เห็นด้วย
ที่น่าเป็นห่วงคือ คนทั้งในโลกโซเชียลฯ และนอกโลกโซเชียลฯ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 57.5 ของคนนอกโลกโซเชียลฯ และ ร้อยละ 53.4 ของคนในโลกโซเชียลฯ คิดว่า มีนักการเมืองสนับสนุนอยู่เบื้องหลังม็อบเยาวชน ในขณะที่ ร้อยละ 42.5 ของคนนอกโลกโซเชียลฯ และร้อยละ 46.6 ของคนในโลกโซเชียลฯ คิดว่าไม่มี
กลุ่มปกป้องสถาบันนัดชุดมนุม
บ่ายวานนี้ (16 ส.ค.) ศูนย์กลางประสานงานนักศึกษาอาชีวะ ประชาชน ปกป้องสถาบัน (ศอปส.) ได้รวมตัวจัดกิจกรรมเพื่อแสดงจุดยืน และสังเกตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มคณะประชาชนปลดแอก ที่บริเวณรอบนอกอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อเฝ้าดูกลุ่มบุคคลว่า มีความพยายามแยกสถาบันพระมหากษัตริย์ ออกจากระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือไม่ หากพบว่ามี พฤติกรรมก้าวล่วงสถาบันฯ อย่างไม่เหมาะสม ก็จะนำหลักฐานทั้งหมด ยื่นถึง พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร.ในวันที่ 17 ส.ค.นี้ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ระหว่างการปราศรัยของ กลุ่มศอปส. ได้เกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีกลุ่มเยาวชน ที่ทยอยเดินทางมาเพื่อเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มประชาชนปลดแอก ได้เดินผ่านบริเวณถนนที่กลุ่ม ศอปส. และเครือข่ายกำลังชุมนุม โดยได้มีการชู 3 นิ้ว ยั่วยุใส่ ซึ่งทางกลุ่ม ศอปส. บางส่วนได้ตะโกนโห่ไล่ แต่ไม่มีการกระทบกระทั่งกัน
ต่อมาเวลา ประมาณ 15.30 น. เมื่อทางกลุ่มนักศึกษา และกลุ่มประชาชนปลดแอก ได้เริ่มมาชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกันมากขึ้น ทางกลุ่ม ศอปส. และเครือข่าย จึงได้ประกาศยุติการชุมนุม แยกย้ายกลับบ้าน เพื่อลดการยั่วยุ และการเผชิญหน้า ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้ทำการปิดถนน บริเวณวงเวียนรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ชุมนุม"ปลดแอก"คึกคัก
สำหรับบรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มประชาชนปลดแอก เป็นไปอย่างคึกคัก มีการชูป้ายไม่เอาเผด็จการ ให้มันจบที่รุ่นเรา อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ยุบสภา และ ร่างรธน.ใหม่ ไม่เอื้อเผด็จการ พร้อมแสดงสัญลักษณ์ ชู 3 นิ้ว โดยมีคนสำคัญมาร่วมชุมนุม อาทิ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคเพื่อไทย ขณะที่แกนนำที่ถูกจับกุมตัวก่อนหน้านี้ และได้รับการประกันตัวออกมา โดยมีเงื่อนไขห้ามทำผิดซ้ำ อาทิ นายอานนท์ นำภา , นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ ระยอง และ นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน ก็ได้มาร่วมชุมนุมด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ กลุ่มประชาชนปลดแอก ประกาศว่า ยังคงยึดหลักการเคลื่อนไหว 3 ข้อ เรียกร้อง 2 จุดยืน 1 ความฝัน โดย 3 ข้อเรียกร้องคือ 1.รัฐบาลต้องหยุดคุกคามประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิและเสรีภาพตามหลักการประชาธิปไตย 2.รัฐบาลต้องร่างรธน.ใหม่ที่มาจากเจตจำนงของประชาชน 3.ต้องยุบสภา เลือกตั้งใหม่
ส่วน 2 จุดยืน คือ 1.ต้องไม่มีการทำรัฐประหาร 2. ต้องไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
สำหรับ 1 ความฝัน คือการมี “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ”อย่างแท้จริง ผ่าน 3 ขั้นตอนการเคลื่อนไหว คือ
1.ปลดส.ว.ผ่านการแก้ มาตรา 269-272 2. ตั้ง ส.ส.ร.เพื่อร่างรธน.ใหม่ 3.ยุบสภา
ขณะที่ตัวแทนจาก ไอ-ลอว์ ขึ้นเวทีปราศรัยว่า ขอเรียกร้องให้มีการแก้รธน. 60 ในประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่ไม่ได้เป็นส.ส.และการได้มาของส.ว.ที่ไม่ได้มาจากประชาชนอย่างแท้จริง พร้อมเชิญชวนผู้มาชุมนุม ร่วมลงชื่อแก้ไขรธน.ทั้งฉบับ ตั้งเป้า 50,000 รายชื่อ
นายกฯสั่งจนท.อดทน อดกลั้น
ด้านน.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ดูความสงบเรียบร้อยร้อยในการจัดการชุมนุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยให้กำลังใจ และขอให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ใช้ความอดทนอดกลั้นต่อการยั่วยุ ห้ามใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมเด็ดขาด โดยให้เข้าใจว่า ความเห็นต่างเป็นเรื่องปกติของการเมือง จึงต้องเปิดโอกาสให้เยาวชน คนหนุ่มสาวได้แสดงออกอย่างเต็มที่ แต่ต้องไม่เกินเลยกรอบของกฎหมาย และไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังแสดงความห่วงใยไปยังเจ้าหน้าที่ รวมถึงผู้ชุมนุม จึงขอให้หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ความรุนแรง ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนคนไทยไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม นายกฯยืนยันให้ความสำคัญกับบทบาทของคนรุ่นใหม่ จึงมีนโยบายให้ส่งเสริมกระบวนการสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน ลดช่องว่างทางความคิดระหว่างคนรุ่นเก่า กับคนรุ่นใหม่ เสริมสร้างความรักและความสามัคคีในการที่จะช่วยกันขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศไปข้างหน้าด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน คนไทยทุกๆ รุ่น ต้องร่วมกันสร้างชาติไทยไปด้วยกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
พท.ตั้งโต๊ะช่วยนศ.ถูกละเมิดสิทธิ์
ที่พรรคเพื่อไทย มีการประชุม แนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษา โดยหลังการประชุม นายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคพท. ในฐานะ ประธานคณะทำงานเพื่อติดตามการชุมนุมของกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ในคณะกมธ.การปกครอง กล่าวว่า พรรคได้ตั้งคณะทำงานฯ โดยมีตนเป็นประธาน เราห่วงใยสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มนิสิตนักศึกษา และประชาชน จึงได้จัดคณะทำงานติดตามการชุมนุมแต่ละจังหวัด จะเข้าไปดูแลสถานการณ์การชุมนุมในทุกพื้นที่ รวมทั้งที่กรุงเทพฯ
"เรากลัวเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ จึงทำหนังสือไปถึง ผบ.ตร. ว่าจะคณะทำงานจะเข้าพื้นที่การชุมนุมเพื่อสังเกตการณ์ โดยจะไปตั้งโต๊ะบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยระหว่าง ถนนดินสอ - ซอยราชดำเนินกลางเหนือ ตั้งแต่เวลา 16.00 น. หากนิสิตนักศึกษาโดนละเมิดสิทธิ สามารถเข้ามาแจ้งได้ โดยส.ส.กทม.ของพรรคเพื่อไทย จะไปรออำนวยความสะดวกและประสานให้ความช่วยเหลืออยู่ในจุดที่มีผู้ชุมนุม จากนั้นจะแจ้งสถานการณ์เข้ามาที่คณะทำงานต่อไป ที่ผ่านมามีญาติของนักศึกษา 4 คน ในจำนวน 32 คน ที่โดนออกหมายเรียก ประสานเข้ามาเพื่อขอความช่วยเหลือ เพราะหวั่นเกรงในเรื่องของความปลอดภัย โดยจะมาพบในวันที่ 18 ส.ค.นี้ เราจะช่วยเหลืออย่างตรงไปตรงมา" นายสมคิดกล่าว
"ตู่"เตือนม็อบทะลุเพดานจะเห็นรัฐประหาร
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานนปช. กล่าวถึง การชุมนุมของกลุ่มคณะประชาชนปลดแอก ว่า ตนเป็นประธาน นปช. มีอุดมการณ์ของตัวเองอย่างชัดเจน และที่ยืนหยัดเรื่องระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะเป็นอุดมการณ์หลัก 1 ใน 6 ข้อ ของนปช.ตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งบัดนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น
นายจตุพร กล่าวว่า หากกลุ่มประชาชนปลดแอก ยืนหยัดใน 3 ข้อเรียกร้อง คือ หยุดคุกคามประชาชน ร่างรธน.ใหม่ และยุบสภา โดยยืนยันจุดยืน 2 เรื่อง ของการไม่เอารัฐประหาร และรัฐบาลแห่งชาติ ทั้งนี้ ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา สังคมเพิ่งเคยเห็นขบวนการของคนหนุ่มสาวที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งข้อเรียกร้องก็มีความชอบธรรม จึงมีการขานรับจากประชาชนทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน รวมถึงภาคประชาชน
อย่างไรก็ตาม การดำรงความมุ่งหมาย 3 ข้อ 2 จุดยืน เพื่อให้ไปถึงปลายทาง คือประชาธิปไตย โดยไม่ไปเกี่ยวกับ 10 ข้อเรียกร้องที่มาทีหลัง เนื่องจากหากไปเรียกร้อง 10 ข้อ ตนรับประกันว่า สังคมไทยจะได้เผด็จการ หรือการรัฐประหารแน่นอน
"ผมสนับสนุนแนวทาง 3 ข้อ 2 จุดยืนอันนี้ เพราะเป็นความชอบธรรมที่ไม่มีใครที่จะปฏิเสธกันได้ แต่ทันทีที่เสนอแนวทางทะลุเพดานกันนั้น หาหนทางชนะไม่เจอ และที่สำคัญที่สุดนั้น ในขบวนการการต่อสู้นั้น ประวัติศาสตร์ก็อธิบายความว่า เวลามีเรื่องทะลุเพดาน มีคนจัดการให้ ไม่ใช่จัดการเองเหมือนดังเช่นปัจจุบัน" นายจตุพร กล่าว จากนั้น จึงกล่าวถึงเหตุการณ์โศกนาฏกรรม 6 ตุลาคม 2519
"ถ้าเหนือจากข้อเรียกร้องและจุดยืนแล้ว ไอ้ที่เห็น มันไม่น่ากลัว ไอ้ที่น่ากลัวคือไม่เห็น และผมก็เชื่อว่าจุดจบก็คือ ภายในรุ่งสาง ก็แอ่นแอ๊นกันไป" นายจตุพรกล่าว และว่า คนหนุ่มสาวทุกวันนี้ ต้องรู้เท่าทันสถานการณ์ และตัดไฟแต่ต้นลม ทั้งยังต้องแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง ตนเชื่อว่าจะได้รับชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ พร้อมทั้งเตือนว่าการต่อสู้ที่เน้นเพียงแค่อารมณ์และความสะใจนั้น ไม่มีวันชนะ
นายนพดล กรรณิกา ผอ.สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจเรื่อง ม็อบต้องเลิกล่วงละเมิดสถาบันฯ ตำรวจต้องรักษาความสงบสุขประชาชน กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ผ่าน"เสียงประชาชนในโลกโซเชียลฯ" 22,046 ตัวอย่าง และ"เสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิม" 1,497 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 5-15 ส.ค. ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 95.8 ระบุ ม็อบต้องเลิกล่วงละเมิดสถาบันฯ หยุดเอาสถาบันหลักของชาติเป็นเครื่องมือของทุกฝ่าย ให้การชุมนุมเป็นเฉพาะเรื่องการเมืองการทำงานของรัฐบาล ในขณะที่มีเพียง ร้อยละ 4.2 ระบุ แล้วแต่ผู้ชุมนุม
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 99.4 ระบุ ยังจำได้ต่อความดี และประโยชน์สุขของประชาชนที่ได้รับจากสถาบันหลักของชาติ ที่ได้สร้างสมมาจากอดีตถึงปัจจุบัน ในขณะที่ ร้อยละ 0.6 ระบุ จำไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 58.7 กังวลต่อม็อบ จะก่อให้เกิดความรุนแรงบานปลายและสูญเสีย ในขณะที่ร้อยละ 41.3 ไม่กังวล นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 78.1 ระบุ ตำรวจต้องรักษาความสงบสุขประชาชน จึงต้องตัดไฟแต่ต้นลม ดำเนินคดีต่อแกนนำที่ละเมิดต่อสถาบันหลักของชาติ ในขณะที่ ร้อยละ 21.9 ไม่เห็นด้วย
ที่น่าเป็นห่วงคือ คนทั้งในโลกโซเชียลฯ และนอกโลกโซเชียลฯ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 57.5 ของคนนอกโลกโซเชียลฯ และ ร้อยละ 53.4 ของคนในโลกโซเชียลฯ คิดว่า มีนักการเมืองสนับสนุนอยู่เบื้องหลังม็อบเยาวชน ในขณะที่ ร้อยละ 42.5 ของคนนอกโลกโซเชียลฯ และร้อยละ 46.6 ของคนในโลกโซเชียลฯ คิดว่าไม่มี
กลุ่มปกป้องสถาบันนัดชุดมนุม
บ่ายวานนี้ (16 ส.ค.) ศูนย์กลางประสานงานนักศึกษาอาชีวะ ประชาชน ปกป้องสถาบัน (ศอปส.) ได้รวมตัวจัดกิจกรรมเพื่อแสดงจุดยืน และสังเกตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มคณะประชาชนปลดแอก ที่บริเวณรอบนอกอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อเฝ้าดูกลุ่มบุคคลว่า มีความพยายามแยกสถาบันพระมหากษัตริย์ ออกจากระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือไม่ หากพบว่ามี พฤติกรรมก้าวล่วงสถาบันฯ อย่างไม่เหมาะสม ก็จะนำหลักฐานทั้งหมด ยื่นถึง พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร.ในวันที่ 17 ส.ค.นี้ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ระหว่างการปราศรัยของ กลุ่มศอปส. ได้เกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีกลุ่มเยาวชน ที่ทยอยเดินทางมาเพื่อเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มประชาชนปลดแอก ได้เดินผ่านบริเวณถนนที่กลุ่ม ศอปส. และเครือข่ายกำลังชุมนุม โดยได้มีการชู 3 นิ้ว ยั่วยุใส่ ซึ่งทางกลุ่ม ศอปส. บางส่วนได้ตะโกนโห่ไล่ แต่ไม่มีการกระทบกระทั่งกัน
ต่อมาเวลา ประมาณ 15.30 น. เมื่อทางกลุ่มนักศึกษา และกลุ่มประชาชนปลดแอก ได้เริ่มมาชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกันมากขึ้น ทางกลุ่ม ศอปส. และเครือข่าย จึงได้ประกาศยุติการชุมนุม แยกย้ายกลับบ้าน เพื่อลดการยั่วยุ และการเผชิญหน้า ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้ทำการปิดถนน บริเวณวงเวียนรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ชุมนุม"ปลดแอก"คึกคัก
สำหรับบรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มประชาชนปลดแอก เป็นไปอย่างคึกคัก มีการชูป้ายไม่เอาเผด็จการ ให้มันจบที่รุ่นเรา อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ยุบสภา และ ร่างรธน.ใหม่ ไม่เอื้อเผด็จการ พร้อมแสดงสัญลักษณ์ ชู 3 นิ้ว โดยมีคนสำคัญมาร่วมชุมนุม อาทิ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคเพื่อไทย ขณะที่แกนนำที่ถูกจับกุมตัวก่อนหน้านี้ และได้รับการประกันตัวออกมา โดยมีเงื่อนไขห้ามทำผิดซ้ำ อาทิ นายอานนท์ นำภา , นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ ระยอง และ นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน ก็ได้มาร่วมชุมนุมด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ กลุ่มประชาชนปลดแอก ประกาศว่า ยังคงยึดหลักการเคลื่อนไหว 3 ข้อ เรียกร้อง 2 จุดยืน 1 ความฝัน โดย 3 ข้อเรียกร้องคือ 1.รัฐบาลต้องหยุดคุกคามประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิและเสรีภาพตามหลักการประชาธิปไตย 2.รัฐบาลต้องร่างรธน.ใหม่ที่มาจากเจตจำนงของประชาชน 3.ต้องยุบสภา เลือกตั้งใหม่
ส่วน 2 จุดยืน คือ 1.ต้องไม่มีการทำรัฐประหาร 2. ต้องไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
สำหรับ 1 ความฝัน คือการมี “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ”อย่างแท้จริง ผ่าน 3 ขั้นตอนการเคลื่อนไหว คือ
1.ปลดส.ว.ผ่านการแก้ มาตรา 269-272 2. ตั้ง ส.ส.ร.เพื่อร่างรธน.ใหม่ 3.ยุบสภา
ขณะที่ตัวแทนจาก ไอ-ลอว์ ขึ้นเวทีปราศรัยว่า ขอเรียกร้องให้มีการแก้รธน. 60 ในประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่ไม่ได้เป็นส.ส.และการได้มาของส.ว.ที่ไม่ได้มาจากประชาชนอย่างแท้จริง พร้อมเชิญชวนผู้มาชุมนุม ร่วมลงชื่อแก้ไขรธน.ทั้งฉบับ ตั้งเป้า 50,000 รายชื่อ
นายกฯสั่งจนท.อดทน อดกลั้น
ด้านน.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ดูความสงบเรียบร้อยร้อยในการจัดการชุมนุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยให้กำลังใจ และขอให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ใช้ความอดทนอดกลั้นต่อการยั่วยุ ห้ามใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมเด็ดขาด โดยให้เข้าใจว่า ความเห็นต่างเป็นเรื่องปกติของการเมือง จึงต้องเปิดโอกาสให้เยาวชน คนหนุ่มสาวได้แสดงออกอย่างเต็มที่ แต่ต้องไม่เกินเลยกรอบของกฎหมาย และไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังแสดงความห่วงใยไปยังเจ้าหน้าที่ รวมถึงผู้ชุมนุม จึงขอให้หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ความรุนแรง ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนคนไทยไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม นายกฯยืนยันให้ความสำคัญกับบทบาทของคนรุ่นใหม่ จึงมีนโยบายให้ส่งเสริมกระบวนการสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน ลดช่องว่างทางความคิดระหว่างคนรุ่นเก่า กับคนรุ่นใหม่ เสริมสร้างความรักและความสามัคคีในการที่จะช่วยกันขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศไปข้างหน้าด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน คนไทยทุกๆ รุ่น ต้องร่วมกันสร้างชาติไทยไปด้วยกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
พท.ตั้งโต๊ะช่วยนศ.ถูกละเมิดสิทธิ์
ที่พรรคเพื่อไทย มีการประชุม แนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษา โดยหลังการประชุม นายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคพท. ในฐานะ ประธานคณะทำงานเพื่อติดตามการชุมนุมของกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ในคณะกมธ.การปกครอง กล่าวว่า พรรคได้ตั้งคณะทำงานฯ โดยมีตนเป็นประธาน เราห่วงใยสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มนิสิตนักศึกษา และประชาชน จึงได้จัดคณะทำงานติดตามการชุมนุมแต่ละจังหวัด จะเข้าไปดูแลสถานการณ์การชุมนุมในทุกพื้นที่ รวมทั้งที่กรุงเทพฯ
"เรากลัวเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ จึงทำหนังสือไปถึง ผบ.ตร. ว่าจะคณะทำงานจะเข้าพื้นที่การชุมนุมเพื่อสังเกตการณ์ โดยจะไปตั้งโต๊ะบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยระหว่าง ถนนดินสอ - ซอยราชดำเนินกลางเหนือ ตั้งแต่เวลา 16.00 น. หากนิสิตนักศึกษาโดนละเมิดสิทธิ สามารถเข้ามาแจ้งได้ โดยส.ส.กทม.ของพรรคเพื่อไทย จะไปรออำนวยความสะดวกและประสานให้ความช่วยเหลืออยู่ในจุดที่มีผู้ชุมนุม จากนั้นจะแจ้งสถานการณ์เข้ามาที่คณะทำงานต่อไป ที่ผ่านมามีญาติของนักศึกษา 4 คน ในจำนวน 32 คน ที่โดนออกหมายเรียก ประสานเข้ามาเพื่อขอความช่วยเหลือ เพราะหวั่นเกรงในเรื่องของความปลอดภัย โดยจะมาพบในวันที่ 18 ส.ค.นี้ เราจะช่วยเหลืออย่างตรงไปตรงมา" นายสมคิดกล่าว
"ตู่"เตือนม็อบทะลุเพดานจะเห็นรัฐประหาร
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานนปช. กล่าวถึง การชุมนุมของกลุ่มคณะประชาชนปลดแอก ว่า ตนเป็นประธาน นปช. มีอุดมการณ์ของตัวเองอย่างชัดเจน และที่ยืนหยัดเรื่องระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะเป็นอุดมการณ์หลัก 1 ใน 6 ข้อ ของนปช.ตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งบัดนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น
นายจตุพร กล่าวว่า หากกลุ่มประชาชนปลดแอก ยืนหยัดใน 3 ข้อเรียกร้อง คือ หยุดคุกคามประชาชน ร่างรธน.ใหม่ และยุบสภา โดยยืนยันจุดยืน 2 เรื่อง ของการไม่เอารัฐประหาร และรัฐบาลแห่งชาติ ทั้งนี้ ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา สังคมเพิ่งเคยเห็นขบวนการของคนหนุ่มสาวที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งข้อเรียกร้องก็มีความชอบธรรม จึงมีการขานรับจากประชาชนทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน รวมถึงภาคประชาชน
อย่างไรก็ตาม การดำรงความมุ่งหมาย 3 ข้อ 2 จุดยืน เพื่อให้ไปถึงปลายทาง คือประชาธิปไตย โดยไม่ไปเกี่ยวกับ 10 ข้อเรียกร้องที่มาทีหลัง เนื่องจากหากไปเรียกร้อง 10 ข้อ ตนรับประกันว่า สังคมไทยจะได้เผด็จการ หรือการรัฐประหารแน่นอน
"ผมสนับสนุนแนวทาง 3 ข้อ 2 จุดยืนอันนี้ เพราะเป็นความชอบธรรมที่ไม่มีใครที่จะปฏิเสธกันได้ แต่ทันทีที่เสนอแนวทางทะลุเพดานกันนั้น หาหนทางชนะไม่เจอ และที่สำคัญที่สุดนั้น ในขบวนการการต่อสู้นั้น ประวัติศาสตร์ก็อธิบายความว่า เวลามีเรื่องทะลุเพดาน มีคนจัดการให้ ไม่ใช่จัดการเองเหมือนดังเช่นปัจจุบัน" นายจตุพร กล่าว จากนั้น จึงกล่าวถึงเหตุการณ์โศกนาฏกรรม 6 ตุลาคม 2519
"ถ้าเหนือจากข้อเรียกร้องและจุดยืนแล้ว ไอ้ที่เห็น มันไม่น่ากลัว ไอ้ที่น่ากลัวคือไม่เห็น และผมก็เชื่อว่าจุดจบก็คือ ภายในรุ่งสาง ก็แอ่นแอ๊นกันไป" นายจตุพรกล่าว และว่า คนหนุ่มสาวทุกวันนี้ ต้องรู้เท่าทันสถานการณ์ และตัดไฟแต่ต้นลม ทั้งยังต้องแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง ตนเชื่อว่าจะได้รับชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ พร้อมทั้งเตือนว่าการต่อสู้ที่เน้นเพียงแค่อารมณ์และความสะใจนั้น ไม่มีวันชนะ