“ครม.ประยุทธ์ 2/2” ถ่ายภาพหมู่ก่อนปฏิบัติหน้าที่ พร้อมอวยพรให้ทุกคนโชคดี "อนุชา" ก้มกราบแทบตัก "บิ๊กป้อม" หลังดันนั่งรัฐมนตรีได้สำเร็จ "บิ๊กตู่" สั่งนำภาพหมู่ ครม.ใหม่ประกอบ MV "คนดีไม่มีวันตาย" ย้ำ ครม.น้อมนำพระราชดำรัสในหลวง
เช้าวานนี้ (13ส.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดที่ 63 หรือ ครม.ประยุทธ์ 2/2 ถ่ายภาพหมู่ร่วมกันก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ บริเวณด้านหน้าตึกไทยคู่ฟ้า สำหรับบรรยากาศช่วงก่อนที่จะมีการถ่ายภาพหมู่ บรรดารัฐมนตรีได้ทยอยมายืนประจำจุด โดย นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรม ได้เดินทางมาถึงเป็นคนแรก ทั้งนี้ เมื่อ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางมาถึงนายอนุชา นาคาศัย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ลุกจากเก้าอี้ และไปก้มกราบที่ตัก พล.อ.ประวิตร ทันที ส่วนรัฐมนตรีคนอื่นๆได้เข้าไปทักทายและแสดงความยินดีกับรัฐมนตรีใหม่
ในระหว่างรอรัฐมนตรีที่ยังเดินทางมาไม่ถึง พล.อ.ประวิตร ได้กระเซ้าพล.อ.ประยุทธ์ว่า "ให้คนแก่มารอแต่เช้า" รวมถึงช่วงหนึ่งพล.อ.ประยุทธ์ ยังได้หยอกล้อกับ พล.อ.ประวิตร แล้วชี้ไปที่เข็มนาฬิกา และแหวนที่พล.อ.ประวิตร สวมใส่อยู่ พร้อมทั้งชี้มาที่กลุ่มสื่อมวลชน นอกจากนี้พล.อ.ประยุทธ์ ได้เดินทักทายคณะรัฐมนตรี คนอื่นๆ เพื่อรอเวลา โดยคนสุดท้ายที่เดินทางมาถึงคือ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง จากนั้นคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้ถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน โดยภายหลังถ่ายภาพเสร็จ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวกับครม.ว่า "ขอบคุณครับ ขอให้โชคดี" แล้วเดินทางไปเป็นประธานการประชุม ครม. ที่ตึกสันติไมตรี หลังจากที่เลื่อนมาจากวันอังคารที่ 11 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยได้เปิดให้ช่างภาพได้บันทึกภาพการประชุมครั้งแรกของครม.ประยุทธ์ 2/2
ทั้งนี้นายกฯได้สั่งการให้สำนักโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี ทำมิวสิกวีดีโอเพลง “คนดีไม่มีวันตาย”ความยาว 3.25 นาที โดยใช้ภาพประกอบเป็นภาพเคลื่อนไหว และภาพนิ่งช่วงที่ ครม. ชุดใหม่ถ่ายภาพหมู่ ในช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ และเตรียมนำไปเผยแพร่ในช่องทางของรัฐบาล และโซเชียลมีเดีย
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุม ครม. นายกฯได้มอบนโยบายและแบ่งงานรองนายกฯ และ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีการจัดลำดับรักษาการแทนนายกฯ (สร.1) ดังนี้ 1.พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ (สร.2), 2. นายวิษณุ เครืองาม (สร.3), 3. นายอนุทิน ชาญวีรกูล (สร.4), 4. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (สร.5), 5. นายดอน ปรมัตถ์วินัย (สร.6) และ 6.นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ (สร.7)
นอกจากนี้ ครม. ยังมีมติรับทราบ คําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี จำนวน 3 ฉบับ เรื่อง มอบหมายและมอบอํานาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กํากับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคต่างๆ โดยมีจุดที่น่าสนใจ อาทิ พล.อ.ประวิตร ดูแลกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงแรงงาน, หน่วยงานด้านความมั่นคง เว้นสำนักงานตำแหน่งแห่งชาติ (สตช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำทั้งหมด ขณะที่ นายวิษณุ ยังคงดูแลกระทรวงและหน่วยงานเดิมทั้งหมด แต่เพิ่มเติมในส่วน กระทรวงอุตสาหกรรม เข้ามาด้วย ด้าน นายดอน กำกับดูแลกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ส่วน นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ กำกับดูแลกระทรวงการคลัง และกระทรวงพลังงาน รวมไปถึงหน่วยงานทางด้านเศรษฐกิจอื่นๆ
ภายหลังการประชุม ครม. นายกฯเปิดเผยถึงการนำรัฐมนตรีที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณ เมื่อวันที่ 12 ส.ค.ที่ผ่านมาว่า การถวายสัตย์ปฏิญาณ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่พระองค์ทรงมีพระเมตตากับคณะรัฐมนตรีใหม่ที่เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณ พระองค์ทรงให้กำลังใจ ให้ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และเกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศชาติ ประชาชนโดยรวม ทุกคนมีความสุข มีความพึงพอใจ รัฐบาล คณะรัฐมนตรีทั้งเก่าและใหม่ พร้อมที่จะน้อมนำกระแสพระราชดำรัสดังกล่าวมาเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานอย่างเคร่งครัด เต็มขีดความสามารถ
เมื่อถามถึงการพิจารณาแต่งตั้งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนใหม่ พล.อ.ประยุทธ์ เอามือชี้ไปที่หน้าอกตัวเอง พร้อมกับกล่าวว่า “ผมนี่แหละโฆษก” โดยมีรายงานว่านายกฯได้รับรายชื่อ 3 บุคคลที่ทางพรรคพลังประชารัฐส่งเข้ามาให้พิจารณา ประกอบด้วย นายอนุชา บุรพชัยศรี เลขานุการ รมว.ศึกษาธิการ, นายธนกร วังบุญคงชนะ อดีตเลขานุการ รมว.คลัง และนายทศพล เพ็งส้ม อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน แล้ว แต่ยังไม่ตัดสินใจเลือกคนใดคนหนึ่ง
ช่วงเย็น พล.อ.ประยุทธ์ ได้แถลงการณ์ผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เรื่อง ครม.ใหม่ และการเดินหน้าประเทศ โดยระบุถึงแนวทางที่ได้มอบให้รัฐมนตรี 5 ประการที่ต้องทำเพื่อดูแลพี่น้องประชาชนคนไทย ประกอบด้วย งานที่ 1 ต้องเยียวยาความเจ็บปวดที่ประชาชนกำลังเผชิญอยู่ต่อไปอีกโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs และประชาชนในภาคส่วนต่างๆ ที่ต้องตกงานในช่วงที่ผ่านมา, งานที่ 2 ต้องแก้ปัญหาต่างๆ ในแนวทางที่จะช่วยประเทศ อย่างยั่งยืน โดยต้องตระหนักอยู่เสมอว่าปัญหาเศรษฐกิจโลกจะยังคงอยู่ต่อไปอีกนาน, งานที่ 3 ต้องสร้างแรงจูงใจให้ธุรกิจต่างๆ ยังคงการจ้างงานลูกจ้างของเค้าต่อไป และให้ธุรกิจต่างๆ ใช้ช่วงเวลานี้ พลิกองค์กรของตัวเองให้กลายเป็นองค์กรที่มีประสิทธภาพและสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น
งานที่ 4 ต้องมีแผนเรื่องการจ้างงานคนรุ่นใหม่ นักศึกษาจบใหม่จำนวนมากกำลังเข้าสู่ตลาดแรงงาน และงานที่ 5 เกี่ยวกับการทำงานต่างๆ เหล่านี้ จะต้องทำด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส่ และรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกคนในสังคมมีบทบาทหน้าที่ ที่จะช่วยกันนำพาประเทศ ก้าวผ่านความท้าทายนี้ไปให้ได้
ขณะที่ น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม.ว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบแต่งตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยแบ่งคณะกรรมการเป็น 2 สองส่วน ส่วนแรก เป็นคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ มีนายกฯเป็นประธาน ทำหน้าที่จัดทำข้อเสนอและวางกรอบแนวทางการดำเนินการเศรษฐกิจจากหน่วยงาน กำกับดูแล ควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที
คณะกรรมการประกอบด้วย นายกฯ เป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรีที่รับมอบหมาย เป็นกรรมการ โดยมีรัฐมนตรี 11 กระทรวง ประกอบด้วย รมว.คลัง, รมว.ต่างประเทศ, รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา, รมว.เกษตรและสหกรณ์, รมว.คมนาคม, รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, รมว.พาณิชย์, รมว.มหาดไทย, รมว.แรงงาน, รมว.อุตสาหกรรม และ รมว.สาธารณสุข และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รวมถึงมีตัวแทนจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สมาคมธนาคารไทย, โดยมีเลขาการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นกรรมการและเลขานุการ รวมแล้วมีกรรมการ 22 คน
ส่วนอีกชุดคือ คณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการเศรษฐกิจ มีหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเร่งรัดการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ที่มีอนุกรรมการ 3 ชุด ได้แก่ อนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะในระยะเร่งด่วน อนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะบริหารเศรษฐกิจ ส่งเสริมการลงทุนระยะปานกลางและระยะยาว และอนุกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจรายสาขา เพื่อเสนอแนะในรายสาขาต่างๆ ที่มีเอกชนเข้ามาเป็นคณะทำงานด้วย
คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วย นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร อดีต รมช.คมนาคม เป็นประธาน, ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ, เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ), เลขาธิการ สศช. และมีปลัดกระทรวงต่างๆ รวมทั้งผู้ว่าการ ธปท.เป็นกรรมการด้วย
เช้าวานนี้ (13ส.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดที่ 63 หรือ ครม.ประยุทธ์ 2/2 ถ่ายภาพหมู่ร่วมกันก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ บริเวณด้านหน้าตึกไทยคู่ฟ้า สำหรับบรรยากาศช่วงก่อนที่จะมีการถ่ายภาพหมู่ บรรดารัฐมนตรีได้ทยอยมายืนประจำจุด โดย นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรม ได้เดินทางมาถึงเป็นคนแรก ทั้งนี้ เมื่อ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางมาถึงนายอนุชา นาคาศัย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ลุกจากเก้าอี้ และไปก้มกราบที่ตัก พล.อ.ประวิตร ทันที ส่วนรัฐมนตรีคนอื่นๆได้เข้าไปทักทายและแสดงความยินดีกับรัฐมนตรีใหม่
ในระหว่างรอรัฐมนตรีที่ยังเดินทางมาไม่ถึง พล.อ.ประวิตร ได้กระเซ้าพล.อ.ประยุทธ์ว่า "ให้คนแก่มารอแต่เช้า" รวมถึงช่วงหนึ่งพล.อ.ประยุทธ์ ยังได้หยอกล้อกับ พล.อ.ประวิตร แล้วชี้ไปที่เข็มนาฬิกา และแหวนที่พล.อ.ประวิตร สวมใส่อยู่ พร้อมทั้งชี้มาที่กลุ่มสื่อมวลชน นอกจากนี้พล.อ.ประยุทธ์ ได้เดินทักทายคณะรัฐมนตรี คนอื่นๆ เพื่อรอเวลา โดยคนสุดท้ายที่เดินทางมาถึงคือ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง จากนั้นคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้ถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน โดยภายหลังถ่ายภาพเสร็จ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวกับครม.ว่า "ขอบคุณครับ ขอให้โชคดี" แล้วเดินทางไปเป็นประธานการประชุม ครม. ที่ตึกสันติไมตรี หลังจากที่เลื่อนมาจากวันอังคารที่ 11 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยได้เปิดให้ช่างภาพได้บันทึกภาพการประชุมครั้งแรกของครม.ประยุทธ์ 2/2
ทั้งนี้นายกฯได้สั่งการให้สำนักโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี ทำมิวสิกวีดีโอเพลง “คนดีไม่มีวันตาย”ความยาว 3.25 นาที โดยใช้ภาพประกอบเป็นภาพเคลื่อนไหว และภาพนิ่งช่วงที่ ครม. ชุดใหม่ถ่ายภาพหมู่ ในช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ และเตรียมนำไปเผยแพร่ในช่องทางของรัฐบาล และโซเชียลมีเดีย
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุม ครม. นายกฯได้มอบนโยบายและแบ่งงานรองนายกฯ และ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีการจัดลำดับรักษาการแทนนายกฯ (สร.1) ดังนี้ 1.พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ (สร.2), 2. นายวิษณุ เครืองาม (สร.3), 3. นายอนุทิน ชาญวีรกูล (สร.4), 4. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (สร.5), 5. นายดอน ปรมัตถ์วินัย (สร.6) และ 6.นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ (สร.7)
นอกจากนี้ ครม. ยังมีมติรับทราบ คําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี จำนวน 3 ฉบับ เรื่อง มอบหมายและมอบอํานาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กํากับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคต่างๆ โดยมีจุดที่น่าสนใจ อาทิ พล.อ.ประวิตร ดูแลกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงแรงงาน, หน่วยงานด้านความมั่นคง เว้นสำนักงานตำแหน่งแห่งชาติ (สตช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำทั้งหมด ขณะที่ นายวิษณุ ยังคงดูแลกระทรวงและหน่วยงานเดิมทั้งหมด แต่เพิ่มเติมในส่วน กระทรวงอุตสาหกรรม เข้ามาด้วย ด้าน นายดอน กำกับดูแลกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ส่วน นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ กำกับดูแลกระทรวงการคลัง และกระทรวงพลังงาน รวมไปถึงหน่วยงานทางด้านเศรษฐกิจอื่นๆ
ภายหลังการประชุม ครม. นายกฯเปิดเผยถึงการนำรัฐมนตรีที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณ เมื่อวันที่ 12 ส.ค.ที่ผ่านมาว่า การถวายสัตย์ปฏิญาณ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่พระองค์ทรงมีพระเมตตากับคณะรัฐมนตรีใหม่ที่เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณ พระองค์ทรงให้กำลังใจ ให้ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และเกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศชาติ ประชาชนโดยรวม ทุกคนมีความสุข มีความพึงพอใจ รัฐบาล คณะรัฐมนตรีทั้งเก่าและใหม่ พร้อมที่จะน้อมนำกระแสพระราชดำรัสดังกล่าวมาเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานอย่างเคร่งครัด เต็มขีดความสามารถ
เมื่อถามถึงการพิจารณาแต่งตั้งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนใหม่ พล.อ.ประยุทธ์ เอามือชี้ไปที่หน้าอกตัวเอง พร้อมกับกล่าวว่า “ผมนี่แหละโฆษก” โดยมีรายงานว่านายกฯได้รับรายชื่อ 3 บุคคลที่ทางพรรคพลังประชารัฐส่งเข้ามาให้พิจารณา ประกอบด้วย นายอนุชา บุรพชัยศรี เลขานุการ รมว.ศึกษาธิการ, นายธนกร วังบุญคงชนะ อดีตเลขานุการ รมว.คลัง และนายทศพล เพ็งส้ม อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน แล้ว แต่ยังไม่ตัดสินใจเลือกคนใดคนหนึ่ง
ช่วงเย็น พล.อ.ประยุทธ์ ได้แถลงการณ์ผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เรื่อง ครม.ใหม่ และการเดินหน้าประเทศ โดยระบุถึงแนวทางที่ได้มอบให้รัฐมนตรี 5 ประการที่ต้องทำเพื่อดูแลพี่น้องประชาชนคนไทย ประกอบด้วย งานที่ 1 ต้องเยียวยาความเจ็บปวดที่ประชาชนกำลังเผชิญอยู่ต่อไปอีกโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs และประชาชนในภาคส่วนต่างๆ ที่ต้องตกงานในช่วงที่ผ่านมา, งานที่ 2 ต้องแก้ปัญหาต่างๆ ในแนวทางที่จะช่วยประเทศ อย่างยั่งยืน โดยต้องตระหนักอยู่เสมอว่าปัญหาเศรษฐกิจโลกจะยังคงอยู่ต่อไปอีกนาน, งานที่ 3 ต้องสร้างแรงจูงใจให้ธุรกิจต่างๆ ยังคงการจ้างงานลูกจ้างของเค้าต่อไป และให้ธุรกิจต่างๆ ใช้ช่วงเวลานี้ พลิกองค์กรของตัวเองให้กลายเป็นองค์กรที่มีประสิทธภาพและสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น
งานที่ 4 ต้องมีแผนเรื่องการจ้างงานคนรุ่นใหม่ นักศึกษาจบใหม่จำนวนมากกำลังเข้าสู่ตลาดแรงงาน และงานที่ 5 เกี่ยวกับการทำงานต่างๆ เหล่านี้ จะต้องทำด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส่ และรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกคนในสังคมมีบทบาทหน้าที่ ที่จะช่วยกันนำพาประเทศ ก้าวผ่านความท้าทายนี้ไปให้ได้
ขณะที่ น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม.ว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบแต่งตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยแบ่งคณะกรรมการเป็น 2 สองส่วน ส่วนแรก เป็นคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ มีนายกฯเป็นประธาน ทำหน้าที่จัดทำข้อเสนอและวางกรอบแนวทางการดำเนินการเศรษฐกิจจากหน่วยงาน กำกับดูแล ควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที
คณะกรรมการประกอบด้วย นายกฯ เป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรีที่รับมอบหมาย เป็นกรรมการ โดยมีรัฐมนตรี 11 กระทรวง ประกอบด้วย รมว.คลัง, รมว.ต่างประเทศ, รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา, รมว.เกษตรและสหกรณ์, รมว.คมนาคม, รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, รมว.พาณิชย์, รมว.มหาดไทย, รมว.แรงงาน, รมว.อุตสาหกรรม และ รมว.สาธารณสุข และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รวมถึงมีตัวแทนจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สมาคมธนาคารไทย, โดยมีเลขาการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นกรรมการและเลขานุการ รวมแล้วมีกรรมการ 22 คน
ส่วนอีกชุดคือ คณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการเศรษฐกิจ มีหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเร่งรัดการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ที่มีอนุกรรมการ 3 ชุด ได้แก่ อนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะในระยะเร่งด่วน อนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะบริหารเศรษฐกิจ ส่งเสริมการลงทุนระยะปานกลางและระยะยาว และอนุกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจรายสาขา เพื่อเสนอแนะในรายสาขาต่างๆ ที่มีเอกชนเข้ามาเป็นคณะทำงานด้วย
คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วย นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร อดีต รมช.คมนาคม เป็นประธาน, ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ, เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ), เลขาธิการ สศช. และมีปลัดกระทรวงต่างๆ รวมทั้งผู้ว่าการ ธปท.เป็นกรรมการด้วย