ผู้จัดการรายวัน360-ธปท.เผยเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวเป็นรูปเครื่องหมายถูก หางยาว คาดใช้เวลา 2 ปีกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงปลายปี 64 ยันไม่จำเป็นต้องกู้เงินจากไอเอ็มเอฟ เหตุพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทยแกร่ง เตรียมอัดมาตรการเฟส 3 ช่วยเหลือเชิงลึกเฉพาะเจาะจงรายกลุ่ม รายบุคคล ระบุไม่กังวลเงินทุนไหลออกกดดันบาทอ่อนค่ามากกว่าภูมิภาค เหตุสภาพคล่องสูง ไม่กระทบกิจกรรมทางเศรษฐกิจและดอกเบี้ยในประเทศ
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในงานสัมมนาวิชาการ “ชวนคุยชวนคิด ปรับวิถีธุรกิจท้องถิ่นในโลกใหม่อย่างยั่งยืน” ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยถึงจุดต่ำสุดในไตรมาสที่ 2 และมีแนวโน้มฟื้นตัว หากไม่มีการระบาดของโควิด-19 รอบ 2 โดยเป็นการทยอยฟื้นตัวจนถึงปลายปี 2564 ใช้เวลา 2 ปี เศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 ลักษณะการฟื้นตัวจะเหมือนเครื่องหมายถูกหางยาวที่ใช้ระยะเวลาการฟื้นตัวนาน
ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาช่วงวิกฤติโควิด-19 จะแตกต่างจากวิกฤติต้มยำกุ้ง เพราะไทยมีประสบการณ์และบทเรียนจากการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจมาแล้ว อีกทั้งช่วงนี้ ไทยมีพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่ยังแข็งแรง จากดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล สถาบันการเงินแข็งแรง และมีทุนสำรองระหว่างประเทศในระดับสูง ซึ่งไทยไม่ได้มีการพึ่งพิงเงินกู้จากต่างประเทศมากเหมือนประเทศอื่น โดยสถานะการเงินของไทยยังเข้มแข็ง ทำให้ไม่จำเป็นต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และทำให้รัฐบาลสามารถทำมาตรการในการดูแลเศรษฐกิจที่หลากหลายได้ ทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง
สำหรับผลกระทบจากโควิด-19 ต่อภาคการเงินและมาตรการรับมือ แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ 1.ปลายเดือนก.พ.-มี.ค.2563 ช่วงเกิดโรคระบาด ทำให้คนต้องการถือเงินสด มาตรการช่วงแรกจะเน้นการรักษาเสถียรภาพการเงินเป็นเรื่องสำคัญผ่านการตั้งกองทุนรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ (BSF) 2.การควบคุมโรคระบาดไม่ให้รุนแรง ด้วยการล็อกดาวน์ มีการหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทำให้คนว่างงาน มีการปิดกิจการชั่วคราว จึงเร่งเยียวยาผ่านการให้เงินจากภาครัฐ และภาคธนาคารได้ออกมาตรการขั้นต่ำเป็นการทั่วไปสำหรับลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบ และ 3.การฟื้นฟูช่วยเหลือหลังโควิด-19 จะเป็นมาตรการที่ตรงจุด ตรงกลุ่มเป้าหมาย และเร่งการปรับโครงสร้างหนี้เฉพาะกลุ่มมากกว่าเป็นมาตรการทั่วไปที่เป็นลักษณะเหวี่ยงแห เพราะจะเป็นการสร้างผลกระทบข้างเคียงให้กับสถาบันการเงิน หากลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ แต่เข้าโครงการ ทำให้ธนาคารไม่มีทรัพยากรไปช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ แต่อีกข้างธนาคารยังคงต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก
นายวิรไทกล่าวว่า ในช่วงนี้และระยะต่อไป ตลาดเงินตลาดทุน มีความผันผวนสูงขึ้น เพราะการแพร่ระบาดยังมีความไม่แน่นอนสูง บวกกับในภาคเศรษฐกิจจริง รายได้ในภาคการท่องเที่ยวก็อาจจะหายไป ทำให้มีกระแสเงินไหลออกไปบ้าง ส่งผลให้เงินบาทต่อเงินเหรียญสหรัฐกลับมาอ่อนค่ามากกว่าสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค โดยยอมรับว่าในช่วงที่ผันผวนสูง มีเงินทุนไหลออกบ้าง จากความกังวลต่อผลกระทบของภาคการท่องเที่ยว ที่ยังไม่แน่นอนว่าจะกลับมาได้เมื่อไร บวกกับมีการเปลี่ยนแปลงในประเทศ ทำให้เงินบาทเราอ่อนค่าลงมากกว่าสกุลอื่นในภูมิภาค แต่เงินทุนไหลออก ไม่ได้อยู่ในระดับที่น่าห่วง
อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ไม่ห่วงเงินทุนไหลออก เพราะไทยมีกันชนสูง มีเงินสำรองระหว่างประเทศสูง และยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ แม้ว่าจะเกินดุลน้อยลง อีกอย่างไทยมีหนี้ต่างประเทศน้อย ดังนั้น เงินที่ไหลออก จึงไม่ได้กระทบกับอัตราดอกเบี้ยในประเทศและไม่กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ขณะที่สภาพคล่องในระบบยังสูง เห็นได้จากมีเงินสภาพคล่องไหลกลับเข้ามาในระบบธนาคารพาณิชย์ ส่วนเงินทุนที่ไหลออกที่เห็น เป็นการไหลออกจากตลาดบอนด์
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในงานสัมมนาวิชาการ “ชวนคุยชวนคิด ปรับวิถีธุรกิจท้องถิ่นในโลกใหม่อย่างยั่งยืน” ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยถึงจุดต่ำสุดในไตรมาสที่ 2 และมีแนวโน้มฟื้นตัว หากไม่มีการระบาดของโควิด-19 รอบ 2 โดยเป็นการทยอยฟื้นตัวจนถึงปลายปี 2564 ใช้เวลา 2 ปี เศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 ลักษณะการฟื้นตัวจะเหมือนเครื่องหมายถูกหางยาวที่ใช้ระยะเวลาการฟื้นตัวนาน
ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาช่วงวิกฤติโควิด-19 จะแตกต่างจากวิกฤติต้มยำกุ้ง เพราะไทยมีประสบการณ์และบทเรียนจากการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจมาแล้ว อีกทั้งช่วงนี้ ไทยมีพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่ยังแข็งแรง จากดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล สถาบันการเงินแข็งแรง และมีทุนสำรองระหว่างประเทศในระดับสูง ซึ่งไทยไม่ได้มีการพึ่งพิงเงินกู้จากต่างประเทศมากเหมือนประเทศอื่น โดยสถานะการเงินของไทยยังเข้มแข็ง ทำให้ไม่จำเป็นต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และทำให้รัฐบาลสามารถทำมาตรการในการดูแลเศรษฐกิจที่หลากหลายได้ ทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง
สำหรับผลกระทบจากโควิด-19 ต่อภาคการเงินและมาตรการรับมือ แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ 1.ปลายเดือนก.พ.-มี.ค.2563 ช่วงเกิดโรคระบาด ทำให้คนต้องการถือเงินสด มาตรการช่วงแรกจะเน้นการรักษาเสถียรภาพการเงินเป็นเรื่องสำคัญผ่านการตั้งกองทุนรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ (BSF) 2.การควบคุมโรคระบาดไม่ให้รุนแรง ด้วยการล็อกดาวน์ มีการหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทำให้คนว่างงาน มีการปิดกิจการชั่วคราว จึงเร่งเยียวยาผ่านการให้เงินจากภาครัฐ และภาคธนาคารได้ออกมาตรการขั้นต่ำเป็นการทั่วไปสำหรับลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบ และ 3.การฟื้นฟูช่วยเหลือหลังโควิด-19 จะเป็นมาตรการที่ตรงจุด ตรงกลุ่มเป้าหมาย และเร่งการปรับโครงสร้างหนี้เฉพาะกลุ่มมากกว่าเป็นมาตรการทั่วไปที่เป็นลักษณะเหวี่ยงแห เพราะจะเป็นการสร้างผลกระทบข้างเคียงให้กับสถาบันการเงิน หากลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ แต่เข้าโครงการ ทำให้ธนาคารไม่มีทรัพยากรไปช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ แต่อีกข้างธนาคารยังคงต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก
นายวิรไทกล่าวว่า ในช่วงนี้และระยะต่อไป ตลาดเงินตลาดทุน มีความผันผวนสูงขึ้น เพราะการแพร่ระบาดยังมีความไม่แน่นอนสูง บวกกับในภาคเศรษฐกิจจริง รายได้ในภาคการท่องเที่ยวก็อาจจะหายไป ทำให้มีกระแสเงินไหลออกไปบ้าง ส่งผลให้เงินบาทต่อเงินเหรียญสหรัฐกลับมาอ่อนค่ามากกว่าสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค โดยยอมรับว่าในช่วงที่ผันผวนสูง มีเงินทุนไหลออกบ้าง จากความกังวลต่อผลกระทบของภาคการท่องเที่ยว ที่ยังไม่แน่นอนว่าจะกลับมาได้เมื่อไร บวกกับมีการเปลี่ยนแปลงในประเทศ ทำให้เงินบาทเราอ่อนค่าลงมากกว่าสกุลอื่นในภูมิภาค แต่เงินทุนไหลออก ไม่ได้อยู่ในระดับที่น่าห่วง
อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ไม่ห่วงเงินทุนไหลออก เพราะไทยมีกันชนสูง มีเงินสำรองระหว่างประเทศสูง และยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ แม้ว่าจะเกินดุลน้อยลง อีกอย่างไทยมีหนี้ต่างประเทศน้อย ดังนั้น เงินที่ไหลออก จึงไม่ได้กระทบกับอัตราดอกเบี้ยในประเทศและไม่กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ขณะที่สภาพคล่องในระบบยังสูง เห็นได้จากมีเงินสภาพคล่องไหลกลับเข้ามาในระบบธนาคารพาณิชย์ ส่วนเงินทุนที่ไหลออกที่เห็น เป็นการไหลออกจากตลาดบอนด์