ผู้จัดการรายวยัน360- นายกฯเผยครม.เคาะล็อตแรก วงเงิน 1 แสนล้านบาท ฟื้นฟูเศรษฐกิจ-สังคม ภายใต้พ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้าน เน้นจ้างงาน-การเกษตรก่อน เล็งหามาตรการอุ้มเอสเอ็มอี เข้าถึงแหล่งเงินทุน ย้ำเข้มงวดใช้จ่ายงบประมาณอย่างระมัดระวัง เตรียมเดินสายคุยสื่อฯ ขอฟังมุมมองในการขับเคลื่อนประเทศ "สมคิด"หวัง ศก.ครึ่งปีหลังฟื้นตัว รับทั่วโลกอ่วมจากโควิด-19 เผย "เจโทร" ยังมั่นใจลงทุนไทย ไม่เคลื่อนย้าย สภานายจ้างฯ หวั่นเด็กจบใหม่ปีนี้ 5 แสนคนที่ยังคงเคว้งคว้างหากปล่อยว่างงาน 1-2 ปีส่อเป็นคนตกงานถาวรราว 4 แสนคน
วานนี้ (8ก.ค.) พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า ครม.ได้อนุมัตินำเสนอหลักการ โครงการในระยะที่ 1 เรื่องการใช้เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม จากผลกระทบของโควิด-19 กรอบวงเงิน 4 แสนล้านบาท ภายใต้ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ซึ่งระยะแรกจะเน้นหนักด้านการเกษตรก่อน เพื่อสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชน ในส่วนนักธุรกิจ เอสเอ็มอี เป็นอีกเรื่องที่จะทยอยมีมาตรการออกมาตามลำดับ ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน รัฐบาลต้องหามาตรการที่เหมาะสมด้วยความร่วมมือของ ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย ตลอดจนกลไกของรัฐ หรือกลไกต่างๆ กองทุนต่างๆ ให้เกิดความเหมาะสมในการที่จะให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้ในช่วงนี้
ทั้งนี้ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ได้แบ่งโครงการเป็นหลายระยะ โดยครั้งนี้ ครม.ได้อนุมัติโครงการระยะแรกก่อน วงเงินไม่เกิน 1 แสนล้านบาท ส่วนระยะที่ 2 ก็ต้องเตรียมการต่อไปที่จะนำมาอนุมัติในครม. สิ่งสำคัญสุดคือ ต้องทำให้เกิดการจ้างงาน เนื่องจากบางธุรกิจไม่สามารถประกอบกิจการได้ สินค้าส่งออกไม่ได้ เพราะความต้องการจากต่างประเทศลดลง เป็นเรื่องของห่วงโซ่การตลาดและสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งวันนี้ได้มีการเร่งรัดการส่งออกผลไม้ ทั้งทางบก ทางเรือ และมีการพัฒนาเรื่องด่าน ให้สามารถดำเนินการเรื่องการขนส่งได้ โดยได้หารือกับประเทศเพื่อนบ้าน และทราบจากกระทรวงพาณิชย์ว่า เป็นไปได้ด้วยดี
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจำเป็นต้องปรับกลไกให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ต้องเร่งรัดการใช้จ่ายภายในประเทศให้มากยิ่งขึ้น วันนี้ทราบว่าการท่องเที่ยวในประเทศหลังหยุดยาวที่ผ่านมาได้มีการประเมินว่า มีการท่องเที่ยวมากขึ้น มีการเข้าพักตามโรงแรมต่างๆ มากขึ้น แต่ยังไม่มากพอที่จะทำให้ธุรกิจดีขึ้น ก็หวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้นตามลำดับ จากมาตรการผ่อนคลายป้องกันโควิด-19 ระยะที่ 4 และ ระยะที่ 5 ซึ่งก็ต้องมีระยะต่อไป สำหรับเรื่องการท่องเที่ยวก็ขอให้ช่วยกันใช้จ่ายบ้างสำหรับผู้ที่มีเงิน ส่วนผู้ที่ไม่มีเงิน ขอให้เก็บหอมรอมริบ
นอกจากนี้ รัฐบาลได้กำชับทุกหน่วยงานจัดทำงบประมาณในการจ้างงาน ถ้าไม่เพียงพอรัฐบาลก็จะหามาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติมลงไป อาจจะเป็นการจ้างงานรายวัน รายชั่วโมง ให้ประชาชนมีส่วนร่วม และใช้โครงการที่มีอยู่แล้วเดิม บ้าน วัด โรงเรียน ที่จะมีการจ้างงานในท้องถิ่น และในส่วนของวัดก็ต้องร่วมมือกันในวัด ดูแลปรับปรุงวัด เกิดการจ้างงาน อยู่ในแผนการใช้งบประมาณอีกส่วนหนึ่ง
สำหรับเรื่องของเอสเอ็มอี และ ซอฟต์โลน รัฐบาลก็จำเป็นต้องหามาตรการที่เหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงในเรื่องของแหล่งเงินทุน ซึ่งต้องมีการระมัดระวังการใช้จ่าย ปัญหาหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ในอนาคตด้วย รัฐบาลต้องยอมรับว่าเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ทุกคนก็ทราบดีถ้ากู้ไปโดยไม่มีหลักทรัพย์ เราก็จำเป็นต้องดูแลเขา แต่จะดูแลได้เท่าไร เพียงใด อย่างไร รัฐบาลก็ไม่เคยทอดทิ้ง
ทั้งนี้ ในเรื่องของงบฯฟื้นฟูระยะแรกไม่เกิน 1 แสนล้านบาท ส่วนระยะที่ 2 มีอีก 3 แสนล้านบาท ซึ่งในช่วงนี้กำลังดำเนินการในส่วนที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดก่อน และทยอยดำเนินการในระยะต่อไป โดยจะใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง รวมถึงต้องระมัดระวังการตรวจสอบจากภาคประชาชน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องกวดขันเข้มงวดในเรื่องเหล่านี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกรัฐมนตรีมีกำหนดนัดพบ บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์ เพื่อรับฟังมุมมองในการขับเคลื่อนประเทศ 2 ประเด็น คือประเด็นที่คนไทยและประเทศไทยของเราควรให้ความสำคัญในสถานการณ์ปัจจุบัน และปัจจัยที่จะช่วยผลักดันและขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งนายกฯ ได้ให้ทีมงานทำจดหมายประสานไปยังถึงกองบรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์ 10 ฉบับ เพื่อประสานเข้าพบโดยประเดิมเริ่มต้นเดินสายพบกับบรรณาธิการสื่อในเครือโพสต์พับลิชชิ่งเป็นสื่อแรก ในช่วงบ่ายวันที่ 8ก.ค. จากนั้นมีคิวพบกับ เดลินิวส์ ไทยรัฐ และ เนชั่น ในวันที่ 9 ก.ค. ส่วนในวันศุกร์ที่10 ก.ค. จะเป็นคิวของสื่อในเครือมติชนกรุ๊ป ต่อเนื่องไปถึงสัปดาห์หน้า โดยวันจันทร์ที่ 13 ก.ค. พบกับสื่อในเครือผู้จัดการ ตามลำดับ ทั้งนี้ ยังไม่มีกำหนดนัดพบสื่อมวลชนประเภทอื่น
"สมคิด"หวัง ศก.ครึ่งปีหลังฟื้นตัว
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังนายทาเคทานิ อัทสึชิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ณ กรุงเทพฯ (เจโทร กรุงเทพฯ) เข้าพบว่า เจโทรกับหอการค้าญี่ปุ่น ได้มารายงานผลสำรวจเรื่องการค้า เพราะเขามีการสำรวจในทุกประเทศที่ไปลงทุน ซึ่งทุกประเทศก็มีผลออกมาคล้ายกันคือ ประสบปัญหาจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งตนก็ได้ถามไปว่าจะเคลื่อนย้ายไปที่อื่น หรือไม่ โดยเขายังมั่นใจว่าจะลงทุนอยู่ในประเทศไทย ตนจึงเสนอไปว่า ควรจะมีการดูเพิ่มเติมถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนไหวในการลงทุน โดยใช้ข้อมูลจากทุกประเทศที่เขาได้ไปสำรวจมา โดยเฉพาะในลาตินอเมริกา จีน ยุโรป และเอเชีย ล้วนแล้วแต่มีการเคลื่อนไหวทั้งสิ้น ซึ่งเขาฉายข้อมูลเหล่านี้ออกมา
เมื่อถามว่าการที่เขายังลงทุน เพราะเห็นตัวเลขการควบคุมโควิด-19 ของเราได้ดี ใช่หรือไม่ นายสมคิด กล่าวว่า สิ่งที่เขาพูดคือตัวเลข การลงทุน และมาตรการภาษีของเรา ที่ไปได้เร็ว ทำให้เขามีความพึงพอใจ และการช่วยเหลือนักธุรกิจเขาก็ชมเชยมา ซึ่งทุกประเทศล้วนแล้วแต่ประสบปัญหาทั้งสิ้น ตนจึงอยากให้เขาทราบว่าขณะนี้มันหนักทุกประเทศ แต่เราต้องช่วยกัน เพื่อจะผ่านพ้นไปให้ได้หลังจากปลายปีนี้ ซึ่งช่วงครึ่งปีหลังจะเจอพายุพอสมควร ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยแต่เป็นทั้งหมด ช่วงไตรมาส 1-2 ที่ผ่านมา เป็นช่วงที่เราควบคุมสถานการณ์โควิด-19 อย่างเข้ม และผลกระทบจากตรงนั้นก็จะมา แต่หากเราผ่านพ้นตรงนี้ไปได้ สามารถขยายมาตรการออกไปได้ เราก็จะฟื้นตัว หวังว่าอย่างนั้น
เมื่อถามว่า ครม.เศรษฐกิจ จะมีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ใช่หรือไม่ นายสมคิดตอบสั้นๆว่า "ก็ต้องไปถามหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ไปถามท่านนายกฯ"
หวั่นนักศึกษาจบใหม่ปีนี้4แสนคนตกงาน
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีความกังวลถึงตัวเลขนักศึกษาจบใหม่ปีการศึกษา 2563 จำนวน 500,000 คนที่อาจกลายเป็นผู้ว่างงานถาวรเนื่องจากผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ทำให้นายจ้างไม่มีนโยบายรับคนเพิ่มแม้ว่ารัฐจะผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์สู่เฟส 5 ทำให้ธุรกิจเริ่มกลับมาดำเนินกิจการปกติแต่ภาพรวมธุรกิจก็ไม่ได้กลับมาดำเนินธุรกิจได้เหมือนเช่นก่อนโควิด-19 ส่งผลให้แรงงานไม่รวมเด็กจบใหม่ที่เหลือของปีนี้ยังคงมีอัตราว่างงานประมาณ 3.5-3.6 ล้านคน
“ผมห่วงเด็กจบใหม่ปีนี้ 5 แสนคนที่หากปล่อยว่างงาน 1-2 ปีจะตกงานถาวร โยมองว่าดีสุดที่จบมาในสาขาที่ดีๆ อาจถูกดึงตัวไปทำงานได้อย่างเก่งก็ราว 20% ที่เหลือราว 400,000 คนจะตกงานถาวรเพราะส่วนหนึ่งจบอดุมศึกษาที่ไม่ตรงกับความต้องการของนายจ้าง และผลของโควิด-19 นายจ้างเองมีน้อยมากที่จะรับคนเพิ่ม เพื่อลดขนาดธุรกิจลงให้สอดคล้องกับกำลังซื้อและเศรษฐกิจทั้งไทยและโลก ที่คาดว่าจะถดถอยและยังไม่รู้ว่าโควิด-19จะจบเมื่อใด”นายธนิตกล่าว
วานนี้ (8ก.ค.) พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า ครม.ได้อนุมัตินำเสนอหลักการ โครงการในระยะที่ 1 เรื่องการใช้เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม จากผลกระทบของโควิด-19 กรอบวงเงิน 4 แสนล้านบาท ภายใต้ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ซึ่งระยะแรกจะเน้นหนักด้านการเกษตรก่อน เพื่อสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชน ในส่วนนักธุรกิจ เอสเอ็มอี เป็นอีกเรื่องที่จะทยอยมีมาตรการออกมาตามลำดับ ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน รัฐบาลต้องหามาตรการที่เหมาะสมด้วยความร่วมมือของ ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย ตลอดจนกลไกของรัฐ หรือกลไกต่างๆ กองทุนต่างๆ ให้เกิดความเหมาะสมในการที่จะให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้ในช่วงนี้
ทั้งนี้ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ได้แบ่งโครงการเป็นหลายระยะ โดยครั้งนี้ ครม.ได้อนุมัติโครงการระยะแรกก่อน วงเงินไม่เกิน 1 แสนล้านบาท ส่วนระยะที่ 2 ก็ต้องเตรียมการต่อไปที่จะนำมาอนุมัติในครม. สิ่งสำคัญสุดคือ ต้องทำให้เกิดการจ้างงาน เนื่องจากบางธุรกิจไม่สามารถประกอบกิจการได้ สินค้าส่งออกไม่ได้ เพราะความต้องการจากต่างประเทศลดลง เป็นเรื่องของห่วงโซ่การตลาดและสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งวันนี้ได้มีการเร่งรัดการส่งออกผลไม้ ทั้งทางบก ทางเรือ และมีการพัฒนาเรื่องด่าน ให้สามารถดำเนินการเรื่องการขนส่งได้ โดยได้หารือกับประเทศเพื่อนบ้าน และทราบจากกระทรวงพาณิชย์ว่า เป็นไปได้ด้วยดี
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจำเป็นต้องปรับกลไกให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ต้องเร่งรัดการใช้จ่ายภายในประเทศให้มากยิ่งขึ้น วันนี้ทราบว่าการท่องเที่ยวในประเทศหลังหยุดยาวที่ผ่านมาได้มีการประเมินว่า มีการท่องเที่ยวมากขึ้น มีการเข้าพักตามโรงแรมต่างๆ มากขึ้น แต่ยังไม่มากพอที่จะทำให้ธุรกิจดีขึ้น ก็หวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้นตามลำดับ จากมาตรการผ่อนคลายป้องกันโควิด-19 ระยะที่ 4 และ ระยะที่ 5 ซึ่งก็ต้องมีระยะต่อไป สำหรับเรื่องการท่องเที่ยวก็ขอให้ช่วยกันใช้จ่ายบ้างสำหรับผู้ที่มีเงิน ส่วนผู้ที่ไม่มีเงิน ขอให้เก็บหอมรอมริบ
นอกจากนี้ รัฐบาลได้กำชับทุกหน่วยงานจัดทำงบประมาณในการจ้างงาน ถ้าไม่เพียงพอรัฐบาลก็จะหามาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติมลงไป อาจจะเป็นการจ้างงานรายวัน รายชั่วโมง ให้ประชาชนมีส่วนร่วม และใช้โครงการที่มีอยู่แล้วเดิม บ้าน วัด โรงเรียน ที่จะมีการจ้างงานในท้องถิ่น และในส่วนของวัดก็ต้องร่วมมือกันในวัด ดูแลปรับปรุงวัด เกิดการจ้างงาน อยู่ในแผนการใช้งบประมาณอีกส่วนหนึ่ง
สำหรับเรื่องของเอสเอ็มอี และ ซอฟต์โลน รัฐบาลก็จำเป็นต้องหามาตรการที่เหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงในเรื่องของแหล่งเงินทุน ซึ่งต้องมีการระมัดระวังการใช้จ่าย ปัญหาหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ในอนาคตด้วย รัฐบาลต้องยอมรับว่าเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ทุกคนก็ทราบดีถ้ากู้ไปโดยไม่มีหลักทรัพย์ เราก็จำเป็นต้องดูแลเขา แต่จะดูแลได้เท่าไร เพียงใด อย่างไร รัฐบาลก็ไม่เคยทอดทิ้ง
ทั้งนี้ ในเรื่องของงบฯฟื้นฟูระยะแรกไม่เกิน 1 แสนล้านบาท ส่วนระยะที่ 2 มีอีก 3 แสนล้านบาท ซึ่งในช่วงนี้กำลังดำเนินการในส่วนที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดก่อน และทยอยดำเนินการในระยะต่อไป โดยจะใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง รวมถึงต้องระมัดระวังการตรวจสอบจากภาคประชาชน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องกวดขันเข้มงวดในเรื่องเหล่านี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกรัฐมนตรีมีกำหนดนัดพบ บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์ เพื่อรับฟังมุมมองในการขับเคลื่อนประเทศ 2 ประเด็น คือประเด็นที่คนไทยและประเทศไทยของเราควรให้ความสำคัญในสถานการณ์ปัจจุบัน และปัจจัยที่จะช่วยผลักดันและขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งนายกฯ ได้ให้ทีมงานทำจดหมายประสานไปยังถึงกองบรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์ 10 ฉบับ เพื่อประสานเข้าพบโดยประเดิมเริ่มต้นเดินสายพบกับบรรณาธิการสื่อในเครือโพสต์พับลิชชิ่งเป็นสื่อแรก ในช่วงบ่ายวันที่ 8ก.ค. จากนั้นมีคิวพบกับ เดลินิวส์ ไทยรัฐ และ เนชั่น ในวันที่ 9 ก.ค. ส่วนในวันศุกร์ที่10 ก.ค. จะเป็นคิวของสื่อในเครือมติชนกรุ๊ป ต่อเนื่องไปถึงสัปดาห์หน้า โดยวันจันทร์ที่ 13 ก.ค. พบกับสื่อในเครือผู้จัดการ ตามลำดับ ทั้งนี้ ยังไม่มีกำหนดนัดพบสื่อมวลชนประเภทอื่น
"สมคิด"หวัง ศก.ครึ่งปีหลังฟื้นตัว
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังนายทาเคทานิ อัทสึชิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ณ กรุงเทพฯ (เจโทร กรุงเทพฯ) เข้าพบว่า เจโทรกับหอการค้าญี่ปุ่น ได้มารายงานผลสำรวจเรื่องการค้า เพราะเขามีการสำรวจในทุกประเทศที่ไปลงทุน ซึ่งทุกประเทศก็มีผลออกมาคล้ายกันคือ ประสบปัญหาจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งตนก็ได้ถามไปว่าจะเคลื่อนย้ายไปที่อื่น หรือไม่ โดยเขายังมั่นใจว่าจะลงทุนอยู่ในประเทศไทย ตนจึงเสนอไปว่า ควรจะมีการดูเพิ่มเติมถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนไหวในการลงทุน โดยใช้ข้อมูลจากทุกประเทศที่เขาได้ไปสำรวจมา โดยเฉพาะในลาตินอเมริกา จีน ยุโรป และเอเชีย ล้วนแล้วแต่มีการเคลื่อนไหวทั้งสิ้น ซึ่งเขาฉายข้อมูลเหล่านี้ออกมา
เมื่อถามว่าการที่เขายังลงทุน เพราะเห็นตัวเลขการควบคุมโควิด-19 ของเราได้ดี ใช่หรือไม่ นายสมคิด กล่าวว่า สิ่งที่เขาพูดคือตัวเลข การลงทุน และมาตรการภาษีของเรา ที่ไปได้เร็ว ทำให้เขามีความพึงพอใจ และการช่วยเหลือนักธุรกิจเขาก็ชมเชยมา ซึ่งทุกประเทศล้วนแล้วแต่ประสบปัญหาทั้งสิ้น ตนจึงอยากให้เขาทราบว่าขณะนี้มันหนักทุกประเทศ แต่เราต้องช่วยกัน เพื่อจะผ่านพ้นไปให้ได้หลังจากปลายปีนี้ ซึ่งช่วงครึ่งปีหลังจะเจอพายุพอสมควร ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยแต่เป็นทั้งหมด ช่วงไตรมาส 1-2 ที่ผ่านมา เป็นช่วงที่เราควบคุมสถานการณ์โควิด-19 อย่างเข้ม และผลกระทบจากตรงนั้นก็จะมา แต่หากเราผ่านพ้นตรงนี้ไปได้ สามารถขยายมาตรการออกไปได้ เราก็จะฟื้นตัว หวังว่าอย่างนั้น
เมื่อถามว่า ครม.เศรษฐกิจ จะมีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ใช่หรือไม่ นายสมคิดตอบสั้นๆว่า "ก็ต้องไปถามหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ไปถามท่านนายกฯ"
หวั่นนักศึกษาจบใหม่ปีนี้4แสนคนตกงาน
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีความกังวลถึงตัวเลขนักศึกษาจบใหม่ปีการศึกษา 2563 จำนวน 500,000 คนที่อาจกลายเป็นผู้ว่างงานถาวรเนื่องจากผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ทำให้นายจ้างไม่มีนโยบายรับคนเพิ่มแม้ว่ารัฐจะผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์สู่เฟส 5 ทำให้ธุรกิจเริ่มกลับมาดำเนินกิจการปกติแต่ภาพรวมธุรกิจก็ไม่ได้กลับมาดำเนินธุรกิจได้เหมือนเช่นก่อนโควิด-19 ส่งผลให้แรงงานไม่รวมเด็กจบใหม่ที่เหลือของปีนี้ยังคงมีอัตราว่างงานประมาณ 3.5-3.6 ล้านคน
“ผมห่วงเด็กจบใหม่ปีนี้ 5 แสนคนที่หากปล่อยว่างงาน 1-2 ปีจะตกงานถาวร โยมองว่าดีสุดที่จบมาในสาขาที่ดีๆ อาจถูกดึงตัวไปทำงานได้อย่างเก่งก็ราว 20% ที่เหลือราว 400,000 คนจะตกงานถาวรเพราะส่วนหนึ่งจบอดุมศึกษาที่ไม่ตรงกับความต้องการของนายจ้าง และผลของโควิด-19 นายจ้างเองมีน้อยมากที่จะรับคนเพิ่ม เพื่อลดขนาดธุรกิจลงให้สอดคล้องกับกำลังซื้อและเศรษฐกิจทั้งไทยและโลก ที่คาดว่าจะถดถอยและยังไม่รู้ว่าโควิด-19จะจบเมื่อใด”นายธนิตกล่าว