"สนธิรัตน์" ลงพื้นที่ ลำปาง ตรวจเยี่ยมสถานีไฟฟ้าแรงสูงของ กฟผ. ปลุกกระแสทำโรงไฟฟ้าชุมชน ปลูกพืชพลังงาน ผลักดันโครงการมาสเตอร์พีซ "พลังงานสร้างชาติ" มั่นใจเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้ดีที่สุด แต่ถูกมองเป็นแหล่งผลประโยชน์
เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน และคณะได้ลงพื้นที่ จ.ลำปาง เข้าเยี่ยมชมสถานีไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) โดยมี นายพัฒนา แสงศรีโรจน์ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และผู้บริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับ และรายงานผลการทำงาน
นายสนธิรัตน์ ได้มอบนโยบายให้กฟผ. เป็นต้นแบบช่วยขับเคลื่อนโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน อันจะช่วยหมุนเศรษฐกิจฐานรากให้แก่ชุมชน ให้ชาวบ้านมีรายได้จากการขายไฟฟ้าและช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้น และเข้าถึงแหล่งพลังงาน
นอกจากนั้น ยังได้เร่งรัดแผนงานที่เกี่ยวข้องกับการทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานไฟฟ้าในภูมิภาค เนื่องจากระบบส่งของกฟผ. มีครอบคลุมทั่วประเทศ อีกทั้งยังมีความทันสมัย สามารถสร้างความมั่นคงด้านระบบส่งไฟฟ้าในประเทศ ซึ่ง กฟผ.สามารถนำศักยภาพนี้ขยายไปสู่ภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งยังสามารถใช้โอกาสนี้ในการที่จะเปลี่ยนตัวเองให้เป็นตัวกลางในการซื้อขายพลังงานไฟฟ้า(Trader)ได้
ทั้งนี้ ระหว่างการมอบนโบายให้กับเจ้าหน้าที่กฟผ. นายสนธิรัตน์ ได้กล่าวว่า กระทรวงพลังงานเป็นแหล่งที่หลายคนมักจะมองว่ามีผลประโยชน์ และที่ตนสะเทือนใจมากคือ เรื่องที่ต่างชาติรับหัวคิวกันทั่วประเทศ ทำให้เสื่อมเสียต่อโครงการที่ตนกำลังพยายามผลักดันมาก
อย่างตอนนำเรื่องพลังงานสร้างชาติมาเสนอในครม.เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้แต่ท่านนายกรัฐมนตรี ยังบอกว่าโครงการนี้ดูให้ดีดีนะ มีเรื่องร้องเรียนเยอะ ซึ่งตนก็รู้สึกเสียใจ ซึ่งตนก็ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไปไกลขนาดนั้น ดังนั้น จึงทำให้เหนื่อยกว่าเดิม ต้องลงพื้นที่หนักกว่าเดิมเพื่อปรามในพื้นที่
"จริงๆแล้ว โครงการนี้จะเป็นมาสเตอร์พีซของกระทรวงพลังงานในอนาคต ซึ่งตรงนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น"
ซึ่งตามที่ กฟผ.ได้นำเสนอว่าโครงการนี้จะสามารถสร้างป่า สร้างพืชพลังงาน ซึ่งเรื่องพืชพลังงานนี้ เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ตนจะทำต่อไป นอกเหนือจากโรงไฟฟ้าชุมชน เพราะโครงการปลูกพืชพลังงาน จะสามารถไปแก้ปัญหาเรื่องการปลูกไม้ที่มีปัญหาเช่น ยางพารา ฯลฯได้ โดยไม้โตเร็วเหล่านี้ จะเข้าไปแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ หากไม่ทำกระทรวงพลังงาน ก็จะห่างจากการแก้ปัญหาเศรศฐกิจไปเรื่อยๆ
"กระทรวงพลังงาน เป็นกระทรวงที่สามารถแก้ปัญหาเศรฐกิจฐานรากได้มากที่สุด อิมแพ็กใหญ่มากหากทำให้เป็น ซึ่งจะเห็นว่าประชาชนตื่นตัวมากทั่วประเทศ แต่เราจะต้องต่อสู่กับระบบการทำงานที่มันไม่ใช่ ไปติดสินบน ไปวางมัดจำ ไปซื้อที่ ไปซื้อวิสาหกิจชุมชน นี่คือปัญหาที่มันเกิดขึ้น จะเป็นประโยชน์มากๆ ต่อตัวชุมชน แล้วจะไม่มีแรงต้านจากชาวบ้านในพื้นที่ เพราะชาวบ้านได้ประโยชน์จริง การคิดโรงไฟฟ้าชุมชนคือการนำชุมชนมาจับมือกับโรงไฟฟ้า และที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องป่าไม้ ก็จะขอทำ MOU กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และจะกลายเป็นต้นแบบของโครงการของกระทรวงพลังงานต่อไป
เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน และคณะได้ลงพื้นที่ จ.ลำปาง เข้าเยี่ยมชมสถานีไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) โดยมี นายพัฒนา แสงศรีโรจน์ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และผู้บริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับ และรายงานผลการทำงาน
นายสนธิรัตน์ ได้มอบนโยบายให้กฟผ. เป็นต้นแบบช่วยขับเคลื่อนโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน อันจะช่วยหมุนเศรษฐกิจฐานรากให้แก่ชุมชน ให้ชาวบ้านมีรายได้จากการขายไฟฟ้าและช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้น และเข้าถึงแหล่งพลังงาน
นอกจากนั้น ยังได้เร่งรัดแผนงานที่เกี่ยวข้องกับการทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานไฟฟ้าในภูมิภาค เนื่องจากระบบส่งของกฟผ. มีครอบคลุมทั่วประเทศ อีกทั้งยังมีความทันสมัย สามารถสร้างความมั่นคงด้านระบบส่งไฟฟ้าในประเทศ ซึ่ง กฟผ.สามารถนำศักยภาพนี้ขยายไปสู่ภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งยังสามารถใช้โอกาสนี้ในการที่จะเปลี่ยนตัวเองให้เป็นตัวกลางในการซื้อขายพลังงานไฟฟ้า(Trader)ได้
ทั้งนี้ ระหว่างการมอบนโบายให้กับเจ้าหน้าที่กฟผ. นายสนธิรัตน์ ได้กล่าวว่า กระทรวงพลังงานเป็นแหล่งที่หลายคนมักจะมองว่ามีผลประโยชน์ และที่ตนสะเทือนใจมากคือ เรื่องที่ต่างชาติรับหัวคิวกันทั่วประเทศ ทำให้เสื่อมเสียต่อโครงการที่ตนกำลังพยายามผลักดันมาก
อย่างตอนนำเรื่องพลังงานสร้างชาติมาเสนอในครม.เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้แต่ท่านนายกรัฐมนตรี ยังบอกว่าโครงการนี้ดูให้ดีดีนะ มีเรื่องร้องเรียนเยอะ ซึ่งตนก็รู้สึกเสียใจ ซึ่งตนก็ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไปไกลขนาดนั้น ดังนั้น จึงทำให้เหนื่อยกว่าเดิม ต้องลงพื้นที่หนักกว่าเดิมเพื่อปรามในพื้นที่
"จริงๆแล้ว โครงการนี้จะเป็นมาสเตอร์พีซของกระทรวงพลังงานในอนาคต ซึ่งตรงนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น"
ซึ่งตามที่ กฟผ.ได้นำเสนอว่าโครงการนี้จะสามารถสร้างป่า สร้างพืชพลังงาน ซึ่งเรื่องพืชพลังงานนี้ เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ตนจะทำต่อไป นอกเหนือจากโรงไฟฟ้าชุมชน เพราะโครงการปลูกพืชพลังงาน จะสามารถไปแก้ปัญหาเรื่องการปลูกไม้ที่มีปัญหาเช่น ยางพารา ฯลฯได้ โดยไม้โตเร็วเหล่านี้ จะเข้าไปแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ หากไม่ทำกระทรวงพลังงาน ก็จะห่างจากการแก้ปัญหาเศรศฐกิจไปเรื่อยๆ
"กระทรวงพลังงาน เป็นกระทรวงที่สามารถแก้ปัญหาเศรฐกิจฐานรากได้มากที่สุด อิมแพ็กใหญ่มากหากทำให้เป็น ซึ่งจะเห็นว่าประชาชนตื่นตัวมากทั่วประเทศ แต่เราจะต้องต่อสู่กับระบบการทำงานที่มันไม่ใช่ ไปติดสินบน ไปวางมัดจำ ไปซื้อที่ ไปซื้อวิสาหกิจชุมชน นี่คือปัญหาที่มันเกิดขึ้น จะเป็นประโยชน์มากๆ ต่อตัวชุมชน แล้วจะไม่มีแรงต้านจากชาวบ้านในพื้นที่ เพราะชาวบ้านได้ประโยชน์จริง การคิดโรงไฟฟ้าชุมชนคือการนำชุมชนมาจับมือกับโรงไฟฟ้า และที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องป่าไม้ ก็จะขอทำ MOU กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และจะกลายเป็นต้นแบบของโครงการของกระทรวงพลังงานต่อไป