ผู้จัดการรายวัน360-"สนธิรัตน์"ถกร่วมเครือข่ายภาคประชาชน เตรียมตั้งคณะทำงานเดินหน้ารื้อเกณฑ์โซลาร์ภาคประชาชนขับเคลื่อนใน 60 วัน เล็งเป้าให้ได้ 50 เมกะวัตต์ หลังโครงการเปิดมาแล้ว แต่มีผู้เสนอขายไฟแค่ 1.8 เมกะวัตต์เท่านั้น พร้อมลุ้นพีดีพี 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 เข้าครม. 30 มิ.ย.นี้ เดินหน้าโรงไฟฟ้าชุมชน
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมการบริหารจัดการโครงการโซลาร์ภาคประชาชนรูปแบบใหม่ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและภาคประชาชน วานนี้ (29 มิ.ย.) ว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปที่เตรียมจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาร่วมกัน เพื่อให้โครงการโซลาร์ภาคประชาชน ที่กระทรวงพลังงานส่งเสริมให้ประชาชนติดตั้งอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ประเภทบ้านที่อยู่อาศัย (โซลาร์รูฟท็อป) สามารถขับเคลื่อนได้ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (พีดีพี 2018) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ที่กำหนดให้เกิดขึ้นปีละ 50 เมกะวัตต์ 5 ปี(ปี 2563-67) โดยกำหนดให้สามารถขับเคลื่อนทันทีใน 60 วัน
"คณะทำงานน่าจะตั้งได้ในเร็วๆ นี้ โดยจะมีนายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน ที่จะดึงทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมในการขับเคลื่อน โดยเป้าหมายอย่างน้อย 50 เมกะวัตต์ ก็อยากให้ขับเคลื่อนได้ทันทีเลยใน 60 วันนี้ เพราะต้องยอมรับว่าโซลาร์ภาคประชาชนที่ผ่านมา คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้เปิดส่งเสริมให้ติดตั้งและไฟส่วนเกินเหลือขายอัตรา 1.68 บาทต่อหน่วยเป็นเวลา 10 ปี แต่ปรากฏว่าจนถึงวันนี้ มีผู้ยื่นข้อเสนอขายไฟเพียง 1.8 เมกะวัตต์เท่านั้น ดังนั้น ก็จะต้องมาดูว่าอะไรเป็นอุปสรรคให้โครงการนี้ไม่เกิด และจะต้องมาร่วมกันแก้ไขให้สามารถเป็นไปตามแผนได้"นายสนธิรัตน์กล่าว
สำหรับรูปแบบที่ปรับปรุง จะเอื้อให้ประชาชนเข้าถึงการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปมากขึ้น โดยมีรูปแบบที่ชัดเจน และอาจจะมีการกำหนดพื้นที่ส่งเสริม เพราะต้องคำนึงถึงระบบสายส่ง
อย่างไรก็ตาม พีดีพี 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 คาดว่าจะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในวันที่ 30 มิ.ย.2563 โดยโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก เป็นหนึ่งในแผนงานที่ถูกบรรจุไว้ในพีดีพีดังกล่าว ก็จะสามารถดำเนินการเปิดรับซื้อได้ โดยหากผ่าน ครม. ทาง กกพ. จะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอโครงการระยะแรก (ควิกวิน) 100 เมกะวัตต์ได้ภายใน 1 ก.ค.2563
น.ส.รสนา โตสิตระกูล แกนนำเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) กล่าวว่า จากการหารือได้สรุปแนวทางหนึ่งที่สำคัญ คือ การนำระบบซื้อขายไฟฟ้าแบบ Net Metering ที่เป็นระบบหักลบกลบหน่วยอัตโนมัติจากไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์รูฟท็อปที่ใช้เองบนหลังคากับไฟฟ้าที่ใช้จากการไฟฟ้า และผู้ใช้ไฟจะจ่ายค่าไฟตามหน่วยที่หักลบแล้ว จะทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งปัจจุบันไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากติดปัญหากับกรมสรรพากรว่าด้วยเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
"คงจะต้องมาดูแนวทางที่จะแก้ไขในเรื่องนี้ รวมไปถึงอัตราการรับซื้อ 1.68 บาทต่อหน่วยระยะ 10 ปีที่ประชาชนเห็นว่ายังไม่เอื้อนัก ราคานี้ก็จะต้องมาหารือกันว่าที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าใด อาจเท่าหรือต่ำกว่าราคาขายส่งที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ขายให้ฝ่ายจำหน่ายก็ได้ ทั้งหมดนี้ จะต้องมาพิจารณาถึงอุปสรรคมีอะไรบ้าง โดยครั้งนี้ก็เริ่มเห็นหลายๆ เรื่องที่เป็นอุปสรรค"น.ส.รสนากล่าว
ทั้งนี้ การส่งเสริมดังกล่าว จะทำให้ประชาชนสามารถลดรายจ่ายจากการผลิตไฟใช้เอง และเพิ่มรายได้จากการขายไฟเข้าระบบ และยังก่อให้เกิดการจ้างงาน เพราะสามารถดึงเด็กที่จบ ปวช. ปวส. มาติดตั้ง ที่สำคัญยังตอบโจทย์การลดปัญหาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาด ซึ่งขณะนี้แนวโน้มการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปมีราคาต่ำลงต่อเนื่อง
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ แกนนำคปพ. กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ ได้เห็นตรงกันระหว่างรัฐและภาคประชาชนที่จะเดินหน้าในการส่งเสริมโซลาร์ภาคประชาชน รวมถึงการนำพลังงานมาลดความเหลื่อมล้ำ และการให้ได้ข้อสรุปเพื่อขับเคลื่อนภายใน 60 วัน นับเป็นความท้าทายที่ทุกส่วนจะต้องไปหารือในการปลดล็อกอุปสรรคต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมด โดยยืนยันว่าคณะทำงานฯจ ะพิจารณาแนวทางที่จะไม่กระทบต่อค่าไฟฟ้ากับประชาชนภาพรวมให้แพงขึ้น
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมการบริหารจัดการโครงการโซลาร์ภาคประชาชนรูปแบบใหม่ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและภาคประชาชน วานนี้ (29 มิ.ย.) ว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปที่เตรียมจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาร่วมกัน เพื่อให้โครงการโซลาร์ภาคประชาชน ที่กระทรวงพลังงานส่งเสริมให้ประชาชนติดตั้งอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ประเภทบ้านที่อยู่อาศัย (โซลาร์รูฟท็อป) สามารถขับเคลื่อนได้ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (พีดีพี 2018) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ที่กำหนดให้เกิดขึ้นปีละ 50 เมกะวัตต์ 5 ปี(ปี 2563-67) โดยกำหนดให้สามารถขับเคลื่อนทันทีใน 60 วัน
"คณะทำงานน่าจะตั้งได้ในเร็วๆ นี้ โดยจะมีนายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน ที่จะดึงทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมในการขับเคลื่อน โดยเป้าหมายอย่างน้อย 50 เมกะวัตต์ ก็อยากให้ขับเคลื่อนได้ทันทีเลยใน 60 วันนี้ เพราะต้องยอมรับว่าโซลาร์ภาคประชาชนที่ผ่านมา คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้เปิดส่งเสริมให้ติดตั้งและไฟส่วนเกินเหลือขายอัตรา 1.68 บาทต่อหน่วยเป็นเวลา 10 ปี แต่ปรากฏว่าจนถึงวันนี้ มีผู้ยื่นข้อเสนอขายไฟเพียง 1.8 เมกะวัตต์เท่านั้น ดังนั้น ก็จะต้องมาดูว่าอะไรเป็นอุปสรรคให้โครงการนี้ไม่เกิด และจะต้องมาร่วมกันแก้ไขให้สามารถเป็นไปตามแผนได้"นายสนธิรัตน์กล่าว
สำหรับรูปแบบที่ปรับปรุง จะเอื้อให้ประชาชนเข้าถึงการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปมากขึ้น โดยมีรูปแบบที่ชัดเจน และอาจจะมีการกำหนดพื้นที่ส่งเสริม เพราะต้องคำนึงถึงระบบสายส่ง
อย่างไรก็ตาม พีดีพี 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 คาดว่าจะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในวันที่ 30 มิ.ย.2563 โดยโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก เป็นหนึ่งในแผนงานที่ถูกบรรจุไว้ในพีดีพีดังกล่าว ก็จะสามารถดำเนินการเปิดรับซื้อได้ โดยหากผ่าน ครม. ทาง กกพ. จะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอโครงการระยะแรก (ควิกวิน) 100 เมกะวัตต์ได้ภายใน 1 ก.ค.2563
น.ส.รสนา โตสิตระกูล แกนนำเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) กล่าวว่า จากการหารือได้สรุปแนวทางหนึ่งที่สำคัญ คือ การนำระบบซื้อขายไฟฟ้าแบบ Net Metering ที่เป็นระบบหักลบกลบหน่วยอัตโนมัติจากไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์รูฟท็อปที่ใช้เองบนหลังคากับไฟฟ้าที่ใช้จากการไฟฟ้า และผู้ใช้ไฟจะจ่ายค่าไฟตามหน่วยที่หักลบแล้ว จะทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งปัจจุบันไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากติดปัญหากับกรมสรรพากรว่าด้วยเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
"คงจะต้องมาดูแนวทางที่จะแก้ไขในเรื่องนี้ รวมไปถึงอัตราการรับซื้อ 1.68 บาทต่อหน่วยระยะ 10 ปีที่ประชาชนเห็นว่ายังไม่เอื้อนัก ราคานี้ก็จะต้องมาหารือกันว่าที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าใด อาจเท่าหรือต่ำกว่าราคาขายส่งที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ขายให้ฝ่ายจำหน่ายก็ได้ ทั้งหมดนี้ จะต้องมาพิจารณาถึงอุปสรรคมีอะไรบ้าง โดยครั้งนี้ก็เริ่มเห็นหลายๆ เรื่องที่เป็นอุปสรรค"น.ส.รสนากล่าว
ทั้งนี้ การส่งเสริมดังกล่าว จะทำให้ประชาชนสามารถลดรายจ่ายจากการผลิตไฟใช้เอง และเพิ่มรายได้จากการขายไฟเข้าระบบ และยังก่อให้เกิดการจ้างงาน เพราะสามารถดึงเด็กที่จบ ปวช. ปวส. มาติดตั้ง ที่สำคัญยังตอบโจทย์การลดปัญหาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาด ซึ่งขณะนี้แนวโน้มการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปมีราคาต่ำลงต่อเนื่อง
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ แกนนำคปพ. กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ ได้เห็นตรงกันระหว่างรัฐและภาคประชาชนที่จะเดินหน้าในการส่งเสริมโซลาร์ภาคประชาชน รวมถึงการนำพลังงานมาลดความเหลื่อมล้ำ และการให้ได้ข้อสรุปเพื่อขับเคลื่อนภายใน 60 วัน นับเป็นความท้าทายที่ทุกส่วนจะต้องไปหารือในการปลดล็อกอุปสรรคต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมด โดยยืนยันว่าคณะทำงานฯจ ะพิจารณาแนวทางที่จะไม่กระทบต่อค่าไฟฟ้ากับประชาชนภาพรวมให้แพงขึ้น