รฟท.เร่งทีโออาร์ เปิดประมูลรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 สาย "เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ" และ "บ้านไผ่-นครพนม" วงเงินรวมกว่า 1.2 แสนล. ใน ต.ค. นี้ รวมงานโยธาและระบบอาณัติสัญญาณเพื่อความรวดเร็ว เร่งเวนคืนงบ 2 หมื่นล้าน เปิดพื้นที่ใหม่
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ภายในปี 64 นี้คาดว่าจะสามารถประกาศประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง คือ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงิน 85,345 ล้านบาท และสายบ้านไผ่ - มหาสารคาม -ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 66,848.33 ล้านบาท โดยล่าสุดที่ประชุมบอร์ดรฟท.เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ที่ผ่านมาได้อนุมัติจัดจ้างที่ปรึกษา สำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืน ในสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ แล้ว
รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งว่า รถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ นั้น ครม. มีมติอนุมัติโครงการ และหลักการ ร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนของโครงการเพื่อสร้างทางรถไฟ สะพานข้ามทางรถไฟในเส้นทาง 4 จังหวัด คือ แพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 61 โดยรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)ผ่านการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว
เบื้องต้นค่าก่อสร้างงานโยธา อยู่ที่ 72,921 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 ช่วง เด่นชัย-งาว ระยะทาง 104 กม.วงเงิน 26,704 ล้านบาท สัญญาที่ 2 ช่วง งาว-เชียงราย ระยะทาง 135 กม. วงเงิน 28,735 ล้านบาท สัญญาที่ 3 ช่วง เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 84 กม. วงเงิน 17,482 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ 10,660 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษา 1,764 ล้านบาท โดยรัฐรับภาระค่าดำเนินการทั้งโครงการ โดยสำนักงบประมาณจัดสรรงบรายปี หรือกระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ค้ำประกันตามความเหมาะสม มีแผนเปิดเดินรถปี 68
ส่วนสาย บ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม นั้น ครม. อนุมัติเมื่อวันที่ 28 พ.ค.62 วงเงินค่าก่อสร้างงานโยธา 5 หมื่นล้านบาท แบ่งงานออกเป็น 2 สัญญา มีค่าเวนคืน 10,255.33 ล้านบาท (พื้นที่ 7,100 แปลง) แผนกำหนดเปิดเดินรถในปี 68 ขณะที่รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ได้รับการอนุมัติแล้ว เมื่อวันที่ 30 เม.ย.63
แหล่งข่าวจาก รฟท. แจ้งว่า รฟท.อยู่ระหว่างร่าง ทีโออาร์ ทั้ง 2 โครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จ และเปิดประมูลได้ในเดือนต.ค. และได้ตัวผู้รับจ้างภายในปี 63 นี้ โดยผู้รับจ้างในแต่ละสัญญาจะต้องรับผิดชอบก่อสร้างงานโยธา และติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการก่อสร้าง ซึ่งต่างจากรูปแบบการประมูลรถไฟทางคู่ระยะแรก 5 เส้นทาง ที่มี 9 สัญญา แต่แยกประมูลงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ซึ่งพบว่างานมีความล่าช้ามากกว่าการรวมงานโยธาและงานอาณัติสัญญาณไว้ด้วยกัน
รถไฟทางคู่ 2 เส้นทางนี้ เป็นทางสายใหม่ที่จะต้องมีการเวนคืนพื้นที่ และส่งมอบให้ผู้รับจ้างก่อสร้าง ดังนั้น ตัวแปรสำคัญที่จะส่งผลต่อการก่อสร้างได้ตามแผนและกรอบเวลาที่กำหนดไว้เดิม หรือคือการส่งมอบพื้นที่ ดังนั้น ในทางคู่ขนานรฟท.จะเร่งเวนคืนพื้นที่ให้เร็วที่สุด เพื่อส่งมอบและเริ่มก่อสร้างได้ในปี 64 โดยจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 36 เดือน ส่วนช่วงที่มีอุโมงค์ จะใช้เวลาประมาณ 48 เดือน
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ภายในปี 64 นี้คาดว่าจะสามารถประกาศประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง คือ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงิน 85,345 ล้านบาท และสายบ้านไผ่ - มหาสารคาม -ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 66,848.33 ล้านบาท โดยล่าสุดที่ประชุมบอร์ดรฟท.เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ที่ผ่านมาได้อนุมัติจัดจ้างที่ปรึกษา สำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืน ในสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ แล้ว
รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งว่า รถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ นั้น ครม. มีมติอนุมัติโครงการ และหลักการ ร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนของโครงการเพื่อสร้างทางรถไฟ สะพานข้ามทางรถไฟในเส้นทาง 4 จังหวัด คือ แพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 61 โดยรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)ผ่านการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว
เบื้องต้นค่าก่อสร้างงานโยธา อยู่ที่ 72,921 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 ช่วง เด่นชัย-งาว ระยะทาง 104 กม.วงเงิน 26,704 ล้านบาท สัญญาที่ 2 ช่วง งาว-เชียงราย ระยะทาง 135 กม. วงเงิน 28,735 ล้านบาท สัญญาที่ 3 ช่วง เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 84 กม. วงเงิน 17,482 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ 10,660 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษา 1,764 ล้านบาท โดยรัฐรับภาระค่าดำเนินการทั้งโครงการ โดยสำนักงบประมาณจัดสรรงบรายปี หรือกระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ค้ำประกันตามความเหมาะสม มีแผนเปิดเดินรถปี 68
ส่วนสาย บ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม นั้น ครม. อนุมัติเมื่อวันที่ 28 พ.ค.62 วงเงินค่าก่อสร้างงานโยธา 5 หมื่นล้านบาท แบ่งงานออกเป็น 2 สัญญา มีค่าเวนคืน 10,255.33 ล้านบาท (พื้นที่ 7,100 แปลง) แผนกำหนดเปิดเดินรถในปี 68 ขณะที่รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ได้รับการอนุมัติแล้ว เมื่อวันที่ 30 เม.ย.63
แหล่งข่าวจาก รฟท. แจ้งว่า รฟท.อยู่ระหว่างร่าง ทีโออาร์ ทั้ง 2 โครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จ และเปิดประมูลได้ในเดือนต.ค. และได้ตัวผู้รับจ้างภายในปี 63 นี้ โดยผู้รับจ้างในแต่ละสัญญาจะต้องรับผิดชอบก่อสร้างงานโยธา และติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการก่อสร้าง ซึ่งต่างจากรูปแบบการประมูลรถไฟทางคู่ระยะแรก 5 เส้นทาง ที่มี 9 สัญญา แต่แยกประมูลงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ซึ่งพบว่างานมีความล่าช้ามากกว่าการรวมงานโยธาและงานอาณัติสัญญาณไว้ด้วยกัน
รถไฟทางคู่ 2 เส้นทางนี้ เป็นทางสายใหม่ที่จะต้องมีการเวนคืนพื้นที่ และส่งมอบให้ผู้รับจ้างก่อสร้าง ดังนั้น ตัวแปรสำคัญที่จะส่งผลต่อการก่อสร้างได้ตามแผนและกรอบเวลาที่กำหนดไว้เดิม หรือคือการส่งมอบพื้นที่ ดังนั้น ในทางคู่ขนานรฟท.จะเร่งเวนคืนพื้นที่ให้เร็วที่สุด เพื่อส่งมอบและเริ่มก่อสร้างได้ในปี 64 โดยจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 36 เดือน ส่วนช่วงที่มีอุโมงค์ จะใช้เวลาประมาณ 48 เดือน