"ซูเปอร์โพล" พบคนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบในช่วงโควิด-19 แต่มาตรการภาครัฐฯ ช่วยเยียวยาความเดือดร้อนได้ สำหรับกระทรวงที่อยู่ในความทรงจำคือ กระทรวงการคลัง ที่แจกเงินเยียวยาประชาชน และกระทรวงพลังงาน ที่ลดราคาน้ำมัน ลดค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม
สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจภาคสนาม "เรื่องความทรงจำประชาชน"ในช่วงที่ผ่านมาที่มีการระบาดของโควิด-19 โดยสำรวจจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,766 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 18 - 19 มิ.ย.63 ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 95.1 ได้รับผลกระทบเกิดความทุกข์ยาก เดือดร้อนช่วงโควิด-19 ในขณะที่เพียงร้อยละ 4.9 ไม่ได้รับผลกระทบ ไม่ทุกข์ ไม่เดือดร้อน
เมื่อถามถึงมาตรการของกระทรวงต่างๆ ในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะรัฐมนตรี ที่ช่วยลดความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนช่วงโควิด-19 พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 64.8 ระบุ กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แจกเงินเยียวยาให้ประชาชน เป็นมาตรการช่วยลดความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชน รองลงมา คือ ร้อยละ 56.3 ระบุ กระทรวงพลังงาน เรื่องลดราคาน้ำมัน ลดค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และแจกแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต่างๆ ร้อยละ 43.2 ระบุ กระทรวงมหาดไทย เรื่องลดค่าไฟ ลดค่าน้ำประปา ในขณะที่ร้อยละ 12.3 ระบุ กระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องแจกหน้ากากอนามัย และร้อยละ 2.7 ระบุกระทรวงดิจิทัลฯ เรื่อง โทรฟรี
เมื่อถามถึงการติดตามดู พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกรายการโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เรื่องรัฐบาลนิวนอร์มอล เมื่อเย็นวันที่ 17 มิ.ย. ที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 72.6 ระบุ ไม่ได้ติดตาม ในขณะที่ ร้อยละ 27.4 ระบุติดตาม
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงระดับความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ถ้าทำได้ตามที่พูดในรายการโทรทัศน์ พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 66.3 ระบุ มีความเชื่อมั่นศรัทธาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ถึงไม่เพิ่มขึ้นเลย ร้อยละ 9.6 ระบุ เพิ่มขึ้นค่อนข้างน้อย ร้อยละ 14.9 ระบุเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก และร้อยละ 9.2 ระบุเพิ่มขึ้นมากถึงมากที่สุด
ที่น่าเป็นห่วงคือ พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลที่ดีที่สุด มีอยู่ในตอนนี้หรือไม่ พบว่า ร้อยละ 28.4 ระบุ ยังมีพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลที่ดีที่สุดอยู่ในตอนนี้ แต่ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 71.6 ระบุ ไม่มี
ทั้งนี้ ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการสำรวจครั้งนี้ว่าความทรงจำของประชาชน เป็นเรื่องสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าได้ ถ้าประชาชนมีความทรงจำที่ดีต่อรัฐบาล ก็ย่อมจะส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนประเทศ โดยผลโพลนี้ ชี้ให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่เกือบทั้งประเทศ เป็นทุกข์และเดือดร้อนช่วงโควิด-19 ผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองเดือดร้อนทุกข์ยากเหมือนกับประชาชนทั่วไปหรือไม่ แต่ยังดีที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ไม่ได้ปล่อยปละละเลยความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชน จึงได้มีมาตรการต่างๆ ออกมาเยียวยาจนเป็นที่จดจำ ที่ไม่ใช่แค่การรับรู้ เพราะมาตรการต่างๆ เป็นสิ่งที่จับต้องได้ไม่ใช่แค่วาทะกรรมทางการเมืองที่ฟังแล้วดูดี
นายกฯยังไม่ปรับครม.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้ประชุม และได้ร่นเวลาในการประชุมใหญ่สามัญพรรค เพื่อเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ มาเป็นวันที่ 27 มิ.ย. ส่งผลให้เกิดกระแสข่าวว่าจะมีการปรับครม.เร็วขึ้นนั้น แหล่งข่าวระดับสูงในทำเนียบรัฐบาลระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าจะยังไม่มีการปรับครม.ในช่วงนี้ เพราะยังเคลียร์ปัญหาเรื่องเงินเยียวยา ในส่วนของประกันสังคมที่ยังล่าช้ายังไม่จบ และจะต้อง เร่งทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ วาระแรก ในวันที่ 1-2 ก.ค.นี้
นอกจากนี้ ยังมีเรื่อง วิธีการทำงานแบบ New Normal ของนายกรัฐมนตรี ที่ได้แถลงการณ์ ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) ไปเมื่อวันที่ 17 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยนายกฯ จะเชิญแต่ละภาคส่วนมาเสนอวิสัยทัศน์ ความคิด เพื่อนำไปศึกษาจัดทำเป็นโครงการ เป็นนโยบาย ตามที่นายกฯ ต้องการ เร่งแก้ปัญหาความเป็นอยู่ประชาชน และฟื้นเศรษฐกิจ หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ให้เรียบร้อยก่อน
สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจภาคสนาม "เรื่องความทรงจำประชาชน"ในช่วงที่ผ่านมาที่มีการระบาดของโควิด-19 โดยสำรวจจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,766 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 18 - 19 มิ.ย.63 ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 95.1 ได้รับผลกระทบเกิดความทุกข์ยาก เดือดร้อนช่วงโควิด-19 ในขณะที่เพียงร้อยละ 4.9 ไม่ได้รับผลกระทบ ไม่ทุกข์ ไม่เดือดร้อน
เมื่อถามถึงมาตรการของกระทรวงต่างๆ ในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะรัฐมนตรี ที่ช่วยลดความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนช่วงโควิด-19 พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 64.8 ระบุ กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แจกเงินเยียวยาให้ประชาชน เป็นมาตรการช่วยลดความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชน รองลงมา คือ ร้อยละ 56.3 ระบุ กระทรวงพลังงาน เรื่องลดราคาน้ำมัน ลดค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และแจกแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต่างๆ ร้อยละ 43.2 ระบุ กระทรวงมหาดไทย เรื่องลดค่าไฟ ลดค่าน้ำประปา ในขณะที่ร้อยละ 12.3 ระบุ กระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องแจกหน้ากากอนามัย และร้อยละ 2.7 ระบุกระทรวงดิจิทัลฯ เรื่อง โทรฟรี
เมื่อถามถึงการติดตามดู พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกรายการโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เรื่องรัฐบาลนิวนอร์มอล เมื่อเย็นวันที่ 17 มิ.ย. ที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 72.6 ระบุ ไม่ได้ติดตาม ในขณะที่ ร้อยละ 27.4 ระบุติดตาม
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงระดับความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ถ้าทำได้ตามที่พูดในรายการโทรทัศน์ พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 66.3 ระบุ มีความเชื่อมั่นศรัทธาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ถึงไม่เพิ่มขึ้นเลย ร้อยละ 9.6 ระบุ เพิ่มขึ้นค่อนข้างน้อย ร้อยละ 14.9 ระบุเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก และร้อยละ 9.2 ระบุเพิ่มขึ้นมากถึงมากที่สุด
ที่น่าเป็นห่วงคือ พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลที่ดีที่สุด มีอยู่ในตอนนี้หรือไม่ พบว่า ร้อยละ 28.4 ระบุ ยังมีพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลที่ดีที่สุดอยู่ในตอนนี้ แต่ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 71.6 ระบุ ไม่มี
ทั้งนี้ ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการสำรวจครั้งนี้ว่าความทรงจำของประชาชน เป็นเรื่องสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าได้ ถ้าประชาชนมีความทรงจำที่ดีต่อรัฐบาล ก็ย่อมจะส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนประเทศ โดยผลโพลนี้ ชี้ให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่เกือบทั้งประเทศ เป็นทุกข์และเดือดร้อนช่วงโควิด-19 ผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองเดือดร้อนทุกข์ยากเหมือนกับประชาชนทั่วไปหรือไม่ แต่ยังดีที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ไม่ได้ปล่อยปละละเลยความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชน จึงได้มีมาตรการต่างๆ ออกมาเยียวยาจนเป็นที่จดจำ ที่ไม่ใช่แค่การรับรู้ เพราะมาตรการต่างๆ เป็นสิ่งที่จับต้องได้ไม่ใช่แค่วาทะกรรมทางการเมืองที่ฟังแล้วดูดี
นายกฯยังไม่ปรับครม.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้ประชุม และได้ร่นเวลาในการประชุมใหญ่สามัญพรรค เพื่อเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ มาเป็นวันที่ 27 มิ.ย. ส่งผลให้เกิดกระแสข่าวว่าจะมีการปรับครม.เร็วขึ้นนั้น แหล่งข่าวระดับสูงในทำเนียบรัฐบาลระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าจะยังไม่มีการปรับครม.ในช่วงนี้ เพราะยังเคลียร์ปัญหาเรื่องเงินเยียวยา ในส่วนของประกันสังคมที่ยังล่าช้ายังไม่จบ และจะต้อง เร่งทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ วาระแรก ในวันที่ 1-2 ก.ค.นี้
นอกจากนี้ ยังมีเรื่อง วิธีการทำงานแบบ New Normal ของนายกรัฐมนตรี ที่ได้แถลงการณ์ ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) ไปเมื่อวันที่ 17 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยนายกฯ จะเชิญแต่ละภาคส่วนมาเสนอวิสัยทัศน์ ความคิด เพื่อนำไปศึกษาจัดทำเป็นโครงการ เป็นนโยบาย ตามที่นายกฯ ต้องการ เร่งแก้ปัญหาความเป็นอยู่ประชาชน และฟื้นเศรษฐกิจ หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ให้เรียบร้อยก่อน