“สุพันธุ์ “ประธาน ส.อ.ท.นำทัพผู้บริหารเข้าหารือ “บิ๊กตู่” วันนี้( 19 มิ.ย.) ชงมาตรการฟื้นฟูและเยียวยาเศรษฐกิจหลังโควิด-19 พร้อมหนุนดึง บสย.อุ้ม “เอสเอ็มอี” เข้าถึงซอฟท์โลน 5 แสนล้าน ปลื้มดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ พ.ค.ขยับครั้งแรกรอบ 4 เดือน
วานนี้ (18 มิ.ย.) นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า วันนี้ (19 มิ.ย.) ผู้บริหารส.อ.ท.จะเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อเสนอมาตรการฟื้นฟูและเยียวยาเศรษฐกิจไทยหลังประสบปัญหาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงแนวทางการช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) โดยกระทรวงการคลังอนุมัติวงเงินให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 2 แสนล้านบาท เพื่อค้ำประกันเอสเอ็มอีจำนวนมากที่ยังเข้าไม่ถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วงเงิน 5 แสนล้านบาท ผ่านธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยต่ำ 2%
“การฟื้นฟูที่เราจะเสนอนั้นไม่ได้เน้นการใช้เงินจากรัฐ อาทิ มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยกลุ่มผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมจะเข้าสนับสนุนด้านเทคโนโลยีการเพาะปลูกพืชเกษตรสำคัญรวมทั้งรับซื้อ อาทิ ข้าว มันสำปะหลัง ปาล์ม เบื้องต้นกำหนด 2 ล้านไร่ โดยเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 1,500 บาทต่อไร่จากการลดต้นทุน ส่วนเอสเอ็มอีนั้นปัญหาคือซอฟท์โลนของธปท.ที่ผ่านมาปล่อยได้น้อยมากเพียง 8 หมื่นล้านบาทเพราะรัฐค้ำประกันให้เพียง 2 ปีทำให้ธนาคารพาณิชบ์ไม่กล้าปล่อยสินเชื่อให้จึงต้องการให้รัฐบาลให้ บสย.เข้าสนับสนุนขยายการค้ำประกันไปจนถึง 5 ปี” นายสุพันธุ์กล่าว
นอกจากนี้ยังจะหารือถึงประเด็นที่เคยเสนอรัฐบาลเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปแล้ว อาทิ การตั้งกองทุนนวัตกรรม 1,000 ล้านบาท ที่รัฐบาลควรจะเป็นเจ้าภาพในการจัดตั้ง เป็นต้น รวมทั้งคุยในปัญหาของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ต้องการให้รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือเพื่อกระตุ้นยอดผลิต และดูแลแรงงานในระบบประมาณ 7.5 แสนคน เป็นต้น
ด้าน นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท.เปิดเผยว่า การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 5 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.63 ) อยู่ที่ 300,501 คันลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 35% รวมมูลค่าการส่งออก 158,740.70 ล้านบาทเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่าส่งออกรถยนต์อยู่ที่ 233,850 ล้านบาทลดลง 32.12% หรือคิดเป็นมูลค่าที่หายไป 75,110 ล้านบาทและหากรวมการส่งออกกลุ่มรถยนต์ (รวมเครื่องยนต์ อะไหล่ ชิ้นส่วน) และรถจักรยานยนต์ 5 เดือนแรกปีนี้มีมูลค่าอยู่ที่ 263,868 ล้านบาทเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนส่งออกรวมที่ 368,399 ล้านบาทลดลง28.37% หรือคิดเป็นมูลค่า 104,521ล้านบาท
“ต้องติดตามการส่งออกใกล้ชิดว่าโควิด -19 จะเป็นอย่างไร เพราะยอดติดเชื้อยังสูง หากส่งออกเฉพาะรถยนต์สำเร็จรูปของไทยปี 2563 หายไปประมาณ 50-60% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มียอดส่งออกรถยนต์ประมาณ 545,967.56 ล้านบาทก็อาจจะทำให้มูลค่าหายไปเกือบ 300,000 ล้านบาทได้เช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่เรากลัวคือการกลับมาระบาดของโควิด-19 รอบ 2 เช่นเดียวกับในประเทศที่ยอดขายรถยนต์ 5 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 270,591 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 38.18% ก็ยังต้องติดตามแรงซื้อในประเทศเพราะประชาชนเองยังกังวลกับรายได้ในอนาคตที่ไม่แน่นอนจึงอยากให้รัฐเร่งกระตุ้นแรงซื้อให้มากขึ้น” นายสุรพงษ์กล่าว
สำหรับ ยอดการผลิตรถยนต์รวมเดือนพ.ค.63 อยู่ที่ 56,035 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 69.1% ส่งผลให้การผลิต 5เดือนแรกปีนี้(ม.ค.-พ.ค.63)อยู่ที่ 534,428 คันลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 40.16% ดังนั้นหากการผลิตอยู่ระดับเฉลี่ย 60,000 คันต่อเดือนในช่วงที่เหลือยอมรับว่าจะทำให้ยอดการผลิตปีนี้ทั้งสิ้นจะอยู่ที่เพียง 954,428 คันแต่หากดีสุดผลิตช่วงที่เหลือเดือนละ 100,000 คันจะทำให้ยอดการผลิตทั้งปีอยู่ที่ 1,234,428 คัน ดังนั้นจึงต้องติดตามสถานการณ์โควิด-19 ทั้งไทยและต่างประเทศใกล้ชิดโดยยอมรับว่ามีความกังวลหากมีการระบาดรอบ 2 จะส่งผลกระทบในทางลบเพิ่มขึ้น
วานนี้ (18 มิ.ย.) นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า วันนี้ (19 มิ.ย.) ผู้บริหารส.อ.ท.จะเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อเสนอมาตรการฟื้นฟูและเยียวยาเศรษฐกิจไทยหลังประสบปัญหาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงแนวทางการช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) โดยกระทรวงการคลังอนุมัติวงเงินให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 2 แสนล้านบาท เพื่อค้ำประกันเอสเอ็มอีจำนวนมากที่ยังเข้าไม่ถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วงเงิน 5 แสนล้านบาท ผ่านธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยต่ำ 2%
“การฟื้นฟูที่เราจะเสนอนั้นไม่ได้เน้นการใช้เงินจากรัฐ อาทิ มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยกลุ่มผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมจะเข้าสนับสนุนด้านเทคโนโลยีการเพาะปลูกพืชเกษตรสำคัญรวมทั้งรับซื้อ อาทิ ข้าว มันสำปะหลัง ปาล์ม เบื้องต้นกำหนด 2 ล้านไร่ โดยเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 1,500 บาทต่อไร่จากการลดต้นทุน ส่วนเอสเอ็มอีนั้นปัญหาคือซอฟท์โลนของธปท.ที่ผ่านมาปล่อยได้น้อยมากเพียง 8 หมื่นล้านบาทเพราะรัฐค้ำประกันให้เพียง 2 ปีทำให้ธนาคารพาณิชบ์ไม่กล้าปล่อยสินเชื่อให้จึงต้องการให้รัฐบาลให้ บสย.เข้าสนับสนุนขยายการค้ำประกันไปจนถึง 5 ปี” นายสุพันธุ์กล่าว
นอกจากนี้ยังจะหารือถึงประเด็นที่เคยเสนอรัฐบาลเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปแล้ว อาทิ การตั้งกองทุนนวัตกรรม 1,000 ล้านบาท ที่รัฐบาลควรจะเป็นเจ้าภาพในการจัดตั้ง เป็นต้น รวมทั้งคุยในปัญหาของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ต้องการให้รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือเพื่อกระตุ้นยอดผลิต และดูแลแรงงานในระบบประมาณ 7.5 แสนคน เป็นต้น
ด้าน นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท.เปิดเผยว่า การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 5 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.63 ) อยู่ที่ 300,501 คันลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 35% รวมมูลค่าการส่งออก 158,740.70 ล้านบาทเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่าส่งออกรถยนต์อยู่ที่ 233,850 ล้านบาทลดลง 32.12% หรือคิดเป็นมูลค่าที่หายไป 75,110 ล้านบาทและหากรวมการส่งออกกลุ่มรถยนต์ (รวมเครื่องยนต์ อะไหล่ ชิ้นส่วน) และรถจักรยานยนต์ 5 เดือนแรกปีนี้มีมูลค่าอยู่ที่ 263,868 ล้านบาทเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนส่งออกรวมที่ 368,399 ล้านบาทลดลง28.37% หรือคิดเป็นมูลค่า 104,521ล้านบาท
“ต้องติดตามการส่งออกใกล้ชิดว่าโควิด -19 จะเป็นอย่างไร เพราะยอดติดเชื้อยังสูง หากส่งออกเฉพาะรถยนต์สำเร็จรูปของไทยปี 2563 หายไปประมาณ 50-60% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มียอดส่งออกรถยนต์ประมาณ 545,967.56 ล้านบาทก็อาจจะทำให้มูลค่าหายไปเกือบ 300,000 ล้านบาทได้เช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่เรากลัวคือการกลับมาระบาดของโควิด-19 รอบ 2 เช่นเดียวกับในประเทศที่ยอดขายรถยนต์ 5 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 270,591 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 38.18% ก็ยังต้องติดตามแรงซื้อในประเทศเพราะประชาชนเองยังกังวลกับรายได้ในอนาคตที่ไม่แน่นอนจึงอยากให้รัฐเร่งกระตุ้นแรงซื้อให้มากขึ้น” นายสุรพงษ์กล่าว
สำหรับ ยอดการผลิตรถยนต์รวมเดือนพ.ค.63 อยู่ที่ 56,035 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 69.1% ส่งผลให้การผลิต 5เดือนแรกปีนี้(ม.ค.-พ.ค.63)อยู่ที่ 534,428 คันลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 40.16% ดังนั้นหากการผลิตอยู่ระดับเฉลี่ย 60,000 คันต่อเดือนในช่วงที่เหลือยอมรับว่าจะทำให้ยอดการผลิตปีนี้ทั้งสิ้นจะอยู่ที่เพียง 954,428 คันแต่หากดีสุดผลิตช่วงที่เหลือเดือนละ 100,000 คันจะทำให้ยอดการผลิตทั้งปีอยู่ที่ 1,234,428 คัน ดังนั้นจึงต้องติดตามสถานการณ์โควิด-19 ทั้งไทยและต่างประเทศใกล้ชิดโดยยอมรับว่ามีความกังวลหากมีการระบาดรอบ 2 จะส่งผลกระทบในทางลบเพิ่มขึ้น