ผู้จัดการรายวัน360- กพท.หารือสายการบินระหว่างประเทศและสนามบิน เตรียมพร้อมเปิดบินระหว่างประเทศ ผ่อนปรนขายตั๋วได้เต็มที่ ด้านแอร์ไลน์ รอ ศบค. ชัดเจน ก่อนตัดสินใจขายตั๋วเปิดบิน ลุ้นเริ่มเห็นเที่ยวบินในก.ย. ยอมรับต้องขายตั๋ว77% จึงจะคุ้มทุน
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หรือCAAT กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับสายการบินสัญชาติไทยและผู้ดำเนินการสนามบิน ว่า กพท.ได้สรุปแนวทาง ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ที่เกี่ยวกับการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ใช้บังคับกับสนามบิน อากาศยานคนประจำอากาศยาน และได้จัดทำร่างประกาศ เรื่อง แนวปฏิบัติในการให้บริการผู้โดยสาร สำหรับเส้นทางการบินระหว่างประเทศในช่วงสถานการณ์โควิด-19 จึงได้ทำความเข้าใจร่วมกันกับสายการบิน และผู้ดำเนินการสนามบิน เกี่ยวกับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค และเพื่อเตรียมความพร้อม กรณีกลับมาเริ่มเปิดให้บริการเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศ ประกอบด้วย มาตรการตั้งแต่การคัดกรองโรคก่อนออกประเทศ ทั้งประเทศต้นทางอื่น ๆ และประเทศไทย / Check-in / Boarding / การปฏิบัติตัวทั้งของผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่องบิน และมาตรการเมื่อถึงสนามบินปลายทาง ทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งได้ข้อสรุปเบื้องต้น ดังนี้
ให้สายการบินสามารถจำหน่ายบัตรโดยสารได้เต็มตามจำนวนที่นั่งได้ เนื่องจากระบบอากาศหมุนเวียนในเครื่องบินและระบบกรองอากาศภายในเครื่องบิน มีการรับรองแล้วว่ามีมาตรฐาน แต่ผู้โดยสารยังต้องสวมใส่หน้ากากปิดปากและจมูก ส่วนลูกเรือจะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ซึ่งเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ทางศบค.ได้ผ่อนปรนมาตรการ โดยได้ยกเลิกการให้ขายตั๋ววันที่นั่งสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศไปแล้ว
และอนุญาต ให้บริการอาหารและเครื่องดื่มได้ ในเที่ยวบินที่มีระยะเวลาของเที่ยวบินต้องเกิน 2 ชั่วโมง และต้องมีมาตรการลดการสัมผัสระหว่างลูกเรือกับผู้โดยสารมากที่สุด นอกจากนี้จะต้องจัดที่นั่งพิเศษ 3 แถวหลัง เพื่อแยกผู้โดยสารที่มีอาการน่าสงสัยระหว่างเที่ยวบิน
โดยการพิจารณาเปิดเส้นทางบินระหว่างประเทศ หลังครบกำหนดห้ามทำการบินมายังประเทศไทยเป็นการชั่วคราวในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (ศบค.) จะเป็นผู้พิจารณา พร้อมทั้งมาตรการที่จะให้มีการเดินทางเข้าออกอย่างไร ซึ่งจะทำให้ สายการบินประมาณการขายตั๋วว่าจะคุ้มกับการเปิดบินหรือไม่
ทั้งนี้ แม้มาตรการจะชัดเจนและนิ่ง แต่ต้องดูการตอบรับจากผู้โดยสาร การจะเปิดบินของสายการบิน จะต้องมีความคุ้มทุน ล่าสุด ทางสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (ไออารต้า) ได้ทำการสำรวจสายการบิน 122 สาย จะต้องมีผู้โดยสารในอัตราส่วนบรรทุกเฉลี่ย 77% ของจำนวนที่นั่ง สายการบินจึงจะคุ้มทุนในการเปิดบิน ดังนั้นหาก กำหนดขายตั๋วเว้นระยะห่าง Load Factor แค่ 70% สายการบินก็ยังขาดทุน
อย่างไรก็ตาม สายการบินยังมีความกังวลการให้บริการการบินระหว่างทั้งการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสาธารณสุข และ คำสั่ง ศบค.ในการห้ามเดินทางเข้าประเทศ ซึ่งในวันที่ 1 ก.ค.นี้ ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะมีมาตรการผ่อนปรนด้านการบิน หรือไม่ ซึ่งในปี 2563 กพท.ประเมินว่า จำนวนผู้โดยสาร จะลดลงจากปี 2562 (ที่มีประมาณ 165 ล้านคน) ถึง กว่า 70% และคาดว่า จะเริ่มมีการเดินทางระหว่างประเทศในช่วงเดือนก.ย. ในแบบทยอยเปิดบิน ซึ่งจำนวนผู้โดยสารจะยังไม่มากนัก
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หรือCAAT กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับสายการบินสัญชาติไทยและผู้ดำเนินการสนามบิน ว่า กพท.ได้สรุปแนวทาง ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ที่เกี่ยวกับการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ใช้บังคับกับสนามบิน อากาศยานคนประจำอากาศยาน และได้จัดทำร่างประกาศ เรื่อง แนวปฏิบัติในการให้บริการผู้โดยสาร สำหรับเส้นทางการบินระหว่างประเทศในช่วงสถานการณ์โควิด-19 จึงได้ทำความเข้าใจร่วมกันกับสายการบิน และผู้ดำเนินการสนามบิน เกี่ยวกับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค และเพื่อเตรียมความพร้อม กรณีกลับมาเริ่มเปิดให้บริการเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศ ประกอบด้วย มาตรการตั้งแต่การคัดกรองโรคก่อนออกประเทศ ทั้งประเทศต้นทางอื่น ๆ และประเทศไทย / Check-in / Boarding / การปฏิบัติตัวทั้งของผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่องบิน และมาตรการเมื่อถึงสนามบินปลายทาง ทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งได้ข้อสรุปเบื้องต้น ดังนี้
ให้สายการบินสามารถจำหน่ายบัตรโดยสารได้เต็มตามจำนวนที่นั่งได้ เนื่องจากระบบอากาศหมุนเวียนในเครื่องบินและระบบกรองอากาศภายในเครื่องบิน มีการรับรองแล้วว่ามีมาตรฐาน แต่ผู้โดยสารยังต้องสวมใส่หน้ากากปิดปากและจมูก ส่วนลูกเรือจะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ซึ่งเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ทางศบค.ได้ผ่อนปรนมาตรการ โดยได้ยกเลิกการให้ขายตั๋ววันที่นั่งสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศไปแล้ว
และอนุญาต ให้บริการอาหารและเครื่องดื่มได้ ในเที่ยวบินที่มีระยะเวลาของเที่ยวบินต้องเกิน 2 ชั่วโมง และต้องมีมาตรการลดการสัมผัสระหว่างลูกเรือกับผู้โดยสารมากที่สุด นอกจากนี้จะต้องจัดที่นั่งพิเศษ 3 แถวหลัง เพื่อแยกผู้โดยสารที่มีอาการน่าสงสัยระหว่างเที่ยวบิน
โดยการพิจารณาเปิดเส้นทางบินระหว่างประเทศ หลังครบกำหนดห้ามทำการบินมายังประเทศไทยเป็นการชั่วคราวในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (ศบค.) จะเป็นผู้พิจารณา พร้อมทั้งมาตรการที่จะให้มีการเดินทางเข้าออกอย่างไร ซึ่งจะทำให้ สายการบินประมาณการขายตั๋วว่าจะคุ้มกับการเปิดบินหรือไม่
ทั้งนี้ แม้มาตรการจะชัดเจนและนิ่ง แต่ต้องดูการตอบรับจากผู้โดยสาร การจะเปิดบินของสายการบิน จะต้องมีความคุ้มทุน ล่าสุด ทางสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (ไออารต้า) ได้ทำการสำรวจสายการบิน 122 สาย จะต้องมีผู้โดยสารในอัตราส่วนบรรทุกเฉลี่ย 77% ของจำนวนที่นั่ง สายการบินจึงจะคุ้มทุนในการเปิดบิน ดังนั้นหาก กำหนดขายตั๋วเว้นระยะห่าง Load Factor แค่ 70% สายการบินก็ยังขาดทุน
อย่างไรก็ตาม สายการบินยังมีความกังวลการให้บริการการบินระหว่างทั้งการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสาธารณสุข และ คำสั่ง ศบค.ในการห้ามเดินทางเข้าประเทศ ซึ่งในวันที่ 1 ก.ค.นี้ ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะมีมาตรการผ่อนปรนด้านการบิน หรือไม่ ซึ่งในปี 2563 กพท.ประเมินว่า จำนวนผู้โดยสาร จะลดลงจากปี 2562 (ที่มีประมาณ 165 ล้านคน) ถึง กว่า 70% และคาดว่า จะเริ่มมีการเดินทางระหว่างประเทศในช่วงเดือนก.ย. ในแบบทยอยเปิดบิน ซึ่งจำนวนผู้โดยสารจะยังไม่มากนัก