ผู้จัดการรายวัน 360 - ศาลอาญา สั่งจำคุก เจ้าของร้านอาหาร-กก.บริษัท “แหลมเกตซีฟู๊ด” คนละ 1,446 ปี หลอกลูกค้าแห่จองโปรบุฟเฟ่ต์ซีฟูดราคาถูก ก่อนประกาศยกเลิก แต่บ่ายเบี่ยงไม่ยอมคืนเงิน มูลค่าความเสียหายกว่า 2 ล้านบาท
วานนี้ (10 มิ.ย.) ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก อ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อ.2808/2562 ที่พนักงานอัยการยื่นฟ้อง บริษัท แหลมเกต อินฟินิท จำกัด, นายอพิชาต หรือ โจมบวรบัญชารักษ์ หรือ พารุณจุลกะ, น.ส.ประภัสสร บวรบัญชา เป็นจำเลยที่ 1-3 ในความผิดร่วมกันก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด คุณภาพ ปริมาณ ในสินค้าหรือบริการด้วยการโฆษณาข้อความอันเป็นเท็จ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค, ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 343 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
โดยพฤติการณ์ของจำเลย ได้โฆษณาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเฟซบุ๊ก และเว็บไซต์ของร้านชื่อ www.laemgate.net กับโปรแกรมแชตไลน์ Line:@laemgate จำหน่ายบัตรรับประทานอาหารเป็นจำนวนมากตามแต่ละโปรโมชั่น และมีราคาถูกต่ำกว่าความเป็นจริง เช่น “โปรราชาทะเลบุฟเฟ่ต์” ขายเป็นชุดๆ ละ 880 บาท มี 10 ที่นั่งๆ ละ 88 บาท, “โปรนาทีทองมาแล้วจ้า” ขายเป็นชุดๆ ละ 2,020 บาท มี 20 ที่นั่งๆ ละ 101 บาท, “โปรแฟนพันธุ์แท้” ขายเป็นชุดๆ ละ 3,000 บาท มี 30 ที่นั่งๆ ละ 100 บาท และโปรโมชั่นหมีหมี เป็นต้น โดยลูกค้าต้องจองคิววันที่จะเข้าไปทานอาหาร ผ่านทางระบบออนไลน์ของร้าน ซึ่งให้ผู้ที่สนใจโอนเงินเข้าบัญชี ธ.กสิกรไทย เลขที่บัญชี 0401759603 ชื่อบัญชี บจก.แหลมเกต อินฟินิท จนมีคนหลงเชื่อโอนเงินไปจำนวนมาก
ต่อมาวันที่ 22 มี.ค. 62 ทางร้านอาหารแหลมเกต อินฟินิท ได้ประกาศทางโปรแกรมไลน์ และเฟซบุ๊ก ขอยกเลิกและงดบริการทุกโปรโมชั่น เนื่องจากได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม และเกินความคาดหมายทำให้วัตถุดิบจากแหล่งผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะใช้วัตถุดิบสูงเกินกว่าที่คาดการณ์ จึงเป็นเหตุให้มีผู้เสียหายจำนวนมากเข้าแจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับผู้ต้องหา
โดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานประกองคำรับสารภาพเเล้วพิพากษาว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 วรรคแรก ประกอบมาตรา 341, 83 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 47, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ฐานเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิดคุณภาพปริมาณ หรือสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า หรือบริการฐานหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จและฐานหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 ฐานหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จกับฐานหลอกลวงผู้อื่นโดยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนมีอัตราโทษเท่ากัน
ดังนั้นจึงพิพากษาให้ลงโทษฐานหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเพียงบทเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 วรรคแรกประกอบมาตรา 341, 83 จำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำความผิดรวม 723 กระทง ให้จำคุกจำเลยที่ 2, 3 ทุกกระทง กระทงละ 2 ปี รวมจำคุกคนละ 1,446 ปี ส่วนจำเลยที่ 1 ให้ปรับกระทงละ 5,000 บาท รวมปรับ 3,615,000 บาท จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่งทุกกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 จำคุกจำเลยที่ 2, 3 คนละ 723 ปี แต่เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงความผิดแล้วคงจำคุกจำเลยที่ 2, 3 คนละ 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91(2) จำเลยที่ 1 คงปรับ 1,807,500 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29 และให้จำเลยทั้งสามร่วมกันคืนเงินจำนวน 2,500,960 บาท
ต่อมาญาติของนายโจม จำเลยที่2 ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดิน มูลค่า 2.1 ล้านบาท ส่วนจำเลยที่3 ใช้โฉนดที่ดิน มูลค่า 1.8 ล้านบาท และเงินสดอีกจำนวน 130,000 บาท เพื่อขอปล่อยชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์ ซึ่งศาลอาญาพิจารณาแล้ว เห็นควรส่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของจำเลยที่ 2 -3ให้ศาลอุทธรณ์ เป็นผู้พิจารณา จากนั้นเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ จึงนำตัวทั้งสองไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ และทัณฑสถานหญิงกลาง
วานนี้ (10 มิ.ย.) ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก อ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อ.2808/2562 ที่พนักงานอัยการยื่นฟ้อง บริษัท แหลมเกต อินฟินิท จำกัด, นายอพิชาต หรือ โจมบวรบัญชารักษ์ หรือ พารุณจุลกะ, น.ส.ประภัสสร บวรบัญชา เป็นจำเลยที่ 1-3 ในความผิดร่วมกันก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด คุณภาพ ปริมาณ ในสินค้าหรือบริการด้วยการโฆษณาข้อความอันเป็นเท็จ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค, ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 343 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
โดยพฤติการณ์ของจำเลย ได้โฆษณาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเฟซบุ๊ก และเว็บไซต์ของร้านชื่อ www.laemgate.net กับโปรแกรมแชตไลน์ Line:@laemgate จำหน่ายบัตรรับประทานอาหารเป็นจำนวนมากตามแต่ละโปรโมชั่น และมีราคาถูกต่ำกว่าความเป็นจริง เช่น “โปรราชาทะเลบุฟเฟ่ต์” ขายเป็นชุดๆ ละ 880 บาท มี 10 ที่นั่งๆ ละ 88 บาท, “โปรนาทีทองมาแล้วจ้า” ขายเป็นชุดๆ ละ 2,020 บาท มี 20 ที่นั่งๆ ละ 101 บาท, “โปรแฟนพันธุ์แท้” ขายเป็นชุดๆ ละ 3,000 บาท มี 30 ที่นั่งๆ ละ 100 บาท และโปรโมชั่นหมีหมี เป็นต้น โดยลูกค้าต้องจองคิววันที่จะเข้าไปทานอาหาร ผ่านทางระบบออนไลน์ของร้าน ซึ่งให้ผู้ที่สนใจโอนเงินเข้าบัญชี ธ.กสิกรไทย เลขที่บัญชี 0401759603 ชื่อบัญชี บจก.แหลมเกต อินฟินิท จนมีคนหลงเชื่อโอนเงินไปจำนวนมาก
ต่อมาวันที่ 22 มี.ค. 62 ทางร้านอาหารแหลมเกต อินฟินิท ได้ประกาศทางโปรแกรมไลน์ และเฟซบุ๊ก ขอยกเลิกและงดบริการทุกโปรโมชั่น เนื่องจากได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม และเกินความคาดหมายทำให้วัตถุดิบจากแหล่งผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะใช้วัตถุดิบสูงเกินกว่าที่คาดการณ์ จึงเป็นเหตุให้มีผู้เสียหายจำนวนมากเข้าแจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับผู้ต้องหา
โดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานประกองคำรับสารภาพเเล้วพิพากษาว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 วรรคแรก ประกอบมาตรา 341, 83 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 47, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ฐานเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิดคุณภาพปริมาณ หรือสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า หรือบริการฐานหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จและฐานหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 ฐานหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จกับฐานหลอกลวงผู้อื่นโดยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนมีอัตราโทษเท่ากัน
ดังนั้นจึงพิพากษาให้ลงโทษฐานหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเพียงบทเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 วรรคแรกประกอบมาตรา 341, 83 จำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำความผิดรวม 723 กระทง ให้จำคุกจำเลยที่ 2, 3 ทุกกระทง กระทงละ 2 ปี รวมจำคุกคนละ 1,446 ปี ส่วนจำเลยที่ 1 ให้ปรับกระทงละ 5,000 บาท รวมปรับ 3,615,000 บาท จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่งทุกกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 จำคุกจำเลยที่ 2, 3 คนละ 723 ปี แต่เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงความผิดแล้วคงจำคุกจำเลยที่ 2, 3 คนละ 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91(2) จำเลยที่ 1 คงปรับ 1,807,500 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29 และให้จำเลยทั้งสามร่วมกันคืนเงินจำนวน 2,500,960 บาท
ต่อมาญาติของนายโจม จำเลยที่2 ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดิน มูลค่า 2.1 ล้านบาท ส่วนจำเลยที่3 ใช้โฉนดที่ดิน มูลค่า 1.8 ล้านบาท และเงินสดอีกจำนวน 130,000 บาท เพื่อขอปล่อยชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์ ซึ่งศาลอาญาพิจารณาแล้ว เห็นควรส่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของจำเลยที่ 2 -3ให้ศาลอุทธรณ์ เป็นผู้พิจารณา จากนั้นเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ จึงนำตัวทั้งสองไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ และทัณฑสถานหญิงกลาง