ผู้จัดการรายวัน 360 - กกร. แนะรัฐขับเคลื่อนแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจฯ 4 แสนล้านบาท เร่งด่วนหวังอัดเม็ดเงินหนุนศก.ฐานรากหลังกำลังซื้อภาครัวเรือนอ่อนแอ เศรษฐกิจโลกยังถดถอย สกัดการว่างงาน พร้อมหนุนเปิดเวทีกรอ.ร่วมแก้ไขเศรษฐกิจประเทศปีละ 2 ครั้ง หนุนไทยเข้าร่วมเจรจา CPTPP เดือนส.ค.นี้ เล็งจัดสัมมนาใหญ่ระดมความเห็นทุกส่วน ส.อ.ท.จ่อพบบิ๊กตู่ 19 มิ.ย. ชงแผนฟื้นฟูอุตฯหนุนเศรษฐกิจ
นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย ในฐานะประธานกรรมการสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ว่า กกร.ยังคงประมาณการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรฐกิจไทยปี 2563 คงเดิมไว้ที่ -5% ถึง -3% การส่งออก -10% ถึง -5% อัตราเงินเฟ้อทั่วไป -1.5% ถึง 0% แม้เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ อาทิ กำลังซื้อครัวเรือนอ่อนแอ เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอย สงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงที่จะปะทุรอบใหม่ ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคธุรกิจยังไม่กลับสู่ภาวะปกติเหมือนก่อนโควิด-19 กกร.จึงยังห่วงการว่างงานในประเทศ ดังนั้นภาครัฐต้องเร่งขับเคลื่อนแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมโดยเร็ว โดยเฉพาะโครงการที่ช่วยเพิ่มเม็ดเงินเศรษฐกิจฐานราก
“รัฐต้องเร่งขับเคลื่อนแผนฟื่นฟูฯ 4แสนล้านบาทโดยเร็ว รวมถึงพิจารณาวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำภายใต้พระราชกำหนด(พ.ร.ก.) 5 แสนล้านบาทให้รวดเร็ว คล่องตัวมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เช่น อาจให้บรรษัทค้ำประกันสินเชื่อขนาดย่อม(บสย.) เข้ามาช่วยค้ำประกันสินเชื่อเพิ่มเติม รวมทั้งกกร.จะเสนอให้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.) เป็นเวทีเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งเพื่อให้เงินนั้นถึงฐานรากอย่างรวดเร็ว”นายปรีดีกล่าว
สำหรับการปล่อยเงินกู้ซอฟต์โลนวงเงิน 500,000 ล้านบาทตามโครงการของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ที่ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ไปแล้วประมาณ 75,000 ล้านบาทนั้น หลายฝ่ายอาจจะมองว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบวงเงินรวม แต่แนวทางการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งก็มีกฎเกณฑ์วางไว้ เนื่องจากสินเชื่อที่ปล่อยไปกลายเป็นหนี้เอ็นพีแอลกระทบต่อฐานะของธนาคาร ดังนั้นการที่ กกร. จะเสนอให้ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)เข้ามาช่วยในการค้ำประกันนั้นก็เป็นอีกทางที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ได้มากขึ้น
"ปัญหาหลักของผู้ประกอบการที่ไม่ผ่านก็คือ ความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลงจากสภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่ธนาคารเองก็ต้องยึดหลักเกณฑ์ในการปล่อยสินเชื่อที่ดีเช่นกัน ทำให้วงเงินที่ปล่อยออกไปไม่มากอย่างที่คาดหวังกันไว้ ดังนั้น หากมีอีกฝ่ายเข้ามาช่วยเรื่องแบ่งเบาความเสี่ยงก็จะช่วยให้ปล่อยได้ง่ายขึ้น ขณะที่การปรับโครงสร้างหนี้ก็เร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องเช่นกัน"
ส.อ.ท.จ่อพบนายกฯ 19 มิ.ย.เร่งขับเคลื่อนศก.
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า การที่รัฐบาลเตรียมคลายล็อกดาวน์เฟส 4 รวมถึงการทดลองยกเลิกเคอร์ฟิว 15 วันทั่วประเทศแต่ยังคงพ.ร.ก.ฉุกเฉินจะทำให้ธุรกิจเปิดดำเนินงานได้มากขึ้นปัญหาแรงงานที่ว่างงานจะบรรเทาลงแต่สิ่งสำคัญคือระยะต่อไปรัฐต้องเร่งขับเคลื่อนแผนฟื้นฟูฯวงเงิน 4 แสนล้านบาทเร่งด่วนเพราะมาตรการต่างๆที่ช่วยเหลือผู้ที่ตกงานช่วงที่ผ่านมาได้หมดลงแล้ว
โดยวันที่ 19 มิ.ย. ทางส.อ.ท.จะเข้าหารือกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจและแผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมซึ่งต้องการให้เน้นใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ หรือ Made in Thailand
“การปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนนตรีนั้นสิ่งสำคัญคือทีมเศรษฐกิจจะต้องเดินหน้าแผนฟื้นฟูฯให้เม็ดเงินต่างๆของรัฐสสามารถขับเคลื่อนให้ภาคสังคมทุกส่วนเติบโตก้าวไปข้างหน้าได้เพราะเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการและติดตามอยู่ โดยการทำงานอยากเห็นการร่วมมือผ่านเวทีกรอ.เพื่อให้เกิประสิทธิภาพสูงสุด”นายสุพันธุ์กล่าว
หนุนไทยร่วมเจรจา CPTPP
นายกลินทร์ สารสิน ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กกร. เห็นควรสนับสนุนให้ประเทศไทย เข้าร่วมเจรจากับกลุ่มประเทศภายใต้ข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ในเดือนส.ค. 2563 เนื่องจากการเข้าร่วมเจรจาทำให้เห็นถึงผลดีหรือผลเสียต่อการเข้าร่วมเป็นประเทศภาคีตามข้อตกลง CPTPP ซึ่งกระบวนการเข้าร่วมเป็นประเทศภาคีนั้น มีขั้นตอนต่างๆ ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 4 ปี โดยเรื่องนี้กกร.เตรียมจะจัดสัมมนาหัวข้อดังกล่าวเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นโดยเฉพาะกลุ่มที่กังวลที่ไทยจะเสียเปรียบ โดยเห็นว่าการเข้าร่วมเจรจาจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยทราบถึงข้อตกลง และเป็นประโยชน์สำหรับการปรับตัวของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้ในเวทีโลก โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม ASEAN
“กกร.ได้เสนอรัฐบาลให้อนุญาตให้นักธุรกิจต่างชาติที่ต้องการเดินทางมาที่ไทยได้หลังจากที่ก่อนหน้าไทยได้ปิดน่านฟ้าโดยจะพิจารณาจากประเทศที่มีผู้ติดเชื้อไม่มากก่อนเป็นลำดับแรกๆ อาทิ ไต้หวัน เวียดนาม เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น” นายกลินทร์กล่าว
ปชป.หนุนตั้งกมธ.พิจารณาร่วมCPTPP
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.2563 เพื่อจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ของไทย ว่า พรรคประชาธิปัตย์พร้อมยกมือสนับสนุนการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาการเข้าร่วม CPTPP เพราะเป็นเวทีให้ทุกภาคส่วนได้แสดงความคิดเห็น และหาข้อสรุปว่าไทยควรเข้าร่วมหรือไม่
“เรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องกับทุกหน่วยงาน และมีข้อกังวลจากภาคประชาสังคมในหลายเรื่อง ทั้งเรื่องของสาธารณสุข เกษตร การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ยา การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ รัฐบาลจึงให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อเป็นเจ้าภาพพิจารณาเรื่องนี้ โดยให้นับหนึ่งใหม่ และให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีโอกาสชี้แจง และร่วมแสดงความเห็น เมื่อกรรมาธิการมีความเห็นอย่างไร จะเสนอไปยังสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ลงมติ จากนั้นจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป ส่วนกระทรวงพาณิชย์ จะมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไร ก็ต้องแล้วแต่การพิจารณาของสภาฯ และครม.”
สำหรับการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าว คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร จะมีการประชุมเพื่อกำหนดสัดส่วนและจำนวนของคณะกรรมาธิการ ซึ่งในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ มีโควตาที่จะส่งผู้แทนเข้าร่วม 2 คน คือ ตัวแทนจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนจะใช้เวลาพิจารณานานเท่าไร ขึ้นอยู่กับที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะกำหนด
นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย ในฐานะประธานกรรมการสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ว่า กกร.ยังคงประมาณการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรฐกิจไทยปี 2563 คงเดิมไว้ที่ -5% ถึง -3% การส่งออก -10% ถึง -5% อัตราเงินเฟ้อทั่วไป -1.5% ถึง 0% แม้เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ อาทิ กำลังซื้อครัวเรือนอ่อนแอ เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอย สงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงที่จะปะทุรอบใหม่ ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคธุรกิจยังไม่กลับสู่ภาวะปกติเหมือนก่อนโควิด-19 กกร.จึงยังห่วงการว่างงานในประเทศ ดังนั้นภาครัฐต้องเร่งขับเคลื่อนแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมโดยเร็ว โดยเฉพาะโครงการที่ช่วยเพิ่มเม็ดเงินเศรษฐกิจฐานราก
“รัฐต้องเร่งขับเคลื่อนแผนฟื่นฟูฯ 4แสนล้านบาทโดยเร็ว รวมถึงพิจารณาวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำภายใต้พระราชกำหนด(พ.ร.ก.) 5 แสนล้านบาทให้รวดเร็ว คล่องตัวมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เช่น อาจให้บรรษัทค้ำประกันสินเชื่อขนาดย่อม(บสย.) เข้ามาช่วยค้ำประกันสินเชื่อเพิ่มเติม รวมทั้งกกร.จะเสนอให้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.) เป็นเวทีเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งเพื่อให้เงินนั้นถึงฐานรากอย่างรวดเร็ว”นายปรีดีกล่าว
สำหรับการปล่อยเงินกู้ซอฟต์โลนวงเงิน 500,000 ล้านบาทตามโครงการของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ที่ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ไปแล้วประมาณ 75,000 ล้านบาทนั้น หลายฝ่ายอาจจะมองว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบวงเงินรวม แต่แนวทางการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งก็มีกฎเกณฑ์วางไว้ เนื่องจากสินเชื่อที่ปล่อยไปกลายเป็นหนี้เอ็นพีแอลกระทบต่อฐานะของธนาคาร ดังนั้นการที่ กกร. จะเสนอให้ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)เข้ามาช่วยในการค้ำประกันนั้นก็เป็นอีกทางที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ได้มากขึ้น
"ปัญหาหลักของผู้ประกอบการที่ไม่ผ่านก็คือ ความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลงจากสภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่ธนาคารเองก็ต้องยึดหลักเกณฑ์ในการปล่อยสินเชื่อที่ดีเช่นกัน ทำให้วงเงินที่ปล่อยออกไปไม่มากอย่างที่คาดหวังกันไว้ ดังนั้น หากมีอีกฝ่ายเข้ามาช่วยเรื่องแบ่งเบาความเสี่ยงก็จะช่วยให้ปล่อยได้ง่ายขึ้น ขณะที่การปรับโครงสร้างหนี้ก็เร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องเช่นกัน"
ส.อ.ท.จ่อพบนายกฯ 19 มิ.ย.เร่งขับเคลื่อนศก.
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า การที่รัฐบาลเตรียมคลายล็อกดาวน์เฟส 4 รวมถึงการทดลองยกเลิกเคอร์ฟิว 15 วันทั่วประเทศแต่ยังคงพ.ร.ก.ฉุกเฉินจะทำให้ธุรกิจเปิดดำเนินงานได้มากขึ้นปัญหาแรงงานที่ว่างงานจะบรรเทาลงแต่สิ่งสำคัญคือระยะต่อไปรัฐต้องเร่งขับเคลื่อนแผนฟื้นฟูฯวงเงิน 4 แสนล้านบาทเร่งด่วนเพราะมาตรการต่างๆที่ช่วยเหลือผู้ที่ตกงานช่วงที่ผ่านมาได้หมดลงแล้ว
โดยวันที่ 19 มิ.ย. ทางส.อ.ท.จะเข้าหารือกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจและแผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมซึ่งต้องการให้เน้นใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ หรือ Made in Thailand
“การปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนนตรีนั้นสิ่งสำคัญคือทีมเศรษฐกิจจะต้องเดินหน้าแผนฟื้นฟูฯให้เม็ดเงินต่างๆของรัฐสสามารถขับเคลื่อนให้ภาคสังคมทุกส่วนเติบโตก้าวไปข้างหน้าได้เพราะเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการและติดตามอยู่ โดยการทำงานอยากเห็นการร่วมมือผ่านเวทีกรอ.เพื่อให้เกิประสิทธิภาพสูงสุด”นายสุพันธุ์กล่าว
หนุนไทยร่วมเจรจา CPTPP
นายกลินทร์ สารสิน ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กกร. เห็นควรสนับสนุนให้ประเทศไทย เข้าร่วมเจรจากับกลุ่มประเทศภายใต้ข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ในเดือนส.ค. 2563 เนื่องจากการเข้าร่วมเจรจาทำให้เห็นถึงผลดีหรือผลเสียต่อการเข้าร่วมเป็นประเทศภาคีตามข้อตกลง CPTPP ซึ่งกระบวนการเข้าร่วมเป็นประเทศภาคีนั้น มีขั้นตอนต่างๆ ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 4 ปี โดยเรื่องนี้กกร.เตรียมจะจัดสัมมนาหัวข้อดังกล่าวเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นโดยเฉพาะกลุ่มที่กังวลที่ไทยจะเสียเปรียบ โดยเห็นว่าการเข้าร่วมเจรจาจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยทราบถึงข้อตกลง และเป็นประโยชน์สำหรับการปรับตัวของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้ในเวทีโลก โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม ASEAN
“กกร.ได้เสนอรัฐบาลให้อนุญาตให้นักธุรกิจต่างชาติที่ต้องการเดินทางมาที่ไทยได้หลังจากที่ก่อนหน้าไทยได้ปิดน่านฟ้าโดยจะพิจารณาจากประเทศที่มีผู้ติดเชื้อไม่มากก่อนเป็นลำดับแรกๆ อาทิ ไต้หวัน เวียดนาม เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น” นายกลินทร์กล่าว
ปชป.หนุนตั้งกมธ.พิจารณาร่วมCPTPP
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.2563 เพื่อจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ของไทย ว่า พรรคประชาธิปัตย์พร้อมยกมือสนับสนุนการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาการเข้าร่วม CPTPP เพราะเป็นเวทีให้ทุกภาคส่วนได้แสดงความคิดเห็น และหาข้อสรุปว่าไทยควรเข้าร่วมหรือไม่
“เรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องกับทุกหน่วยงาน และมีข้อกังวลจากภาคประชาสังคมในหลายเรื่อง ทั้งเรื่องของสาธารณสุข เกษตร การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ยา การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ รัฐบาลจึงให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อเป็นเจ้าภาพพิจารณาเรื่องนี้ โดยให้นับหนึ่งใหม่ และให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีโอกาสชี้แจง และร่วมแสดงความเห็น เมื่อกรรมาธิการมีความเห็นอย่างไร จะเสนอไปยังสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ลงมติ จากนั้นจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป ส่วนกระทรวงพาณิชย์ จะมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไร ก็ต้องแล้วแต่การพิจารณาของสภาฯ และครม.”
สำหรับการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าว คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร จะมีการประชุมเพื่อกำหนดสัดส่วนและจำนวนของคณะกรรมาธิการ ซึ่งในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ มีโควตาที่จะส่งผู้แทนเข้าร่วม 2 คน คือ ตัวแทนจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนจะใช้เวลาพิจารณานานเท่าไร ขึ้นอยู่กับที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะกำหนด