ผู้จัดการรายวัน 369-“อุตตม”ดึงแบงก์รัฐ-หน่วยงานในสังกัด ร่วมจัดตั้งทีม “เราไม่ทิ้งกัน” เดินหน้า “โครงการก้าวต่อไปเราไม่ทิ้งกันสู้ภัยโควิด-19” เฟส 3 หวังเร่งเยียวยาประชาชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐาน พร้อมส่งทีมคลังสัญจรลงพื้นที่ทั่วประเทศรับฟังความคิดเห็น ด้าน 3 แบงก์รัฐ “ออมสิน-ธ.ก.ส.-ธอส.” ผนึกกำลังจัดสินเชื่อแพกใหญ่ ดอกเบี้ยต่ำ วงเงินรวมกว่า 2.3 แสนล้าน สนับสนุนประชาชนมีทุนสร้างอาชีพ ผู้ประกอบการมีเงินขับเคลื่อนธุรกิจ และแบ่งเบาภาระเรื่องบ้าน
นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง แถลงถึงการดำเนินมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 ว่า กระทรวงการคลังได้ร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) และหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง สานต่อมาตรการดูแลเยียวยาประชาชน ผ่านโครงการก้าวต่อไปเราไม่ทิ้งกันสู้ภัยโควิด-19” และจัดตั้ง “ทีมเราไม่ทิ้งกัน” เพื่อติดตาม สำรวจ และรับทราบความเดือดร้อน และเร่งเยียวยาในระยะที่ 3 ตามแผนการใช้จ่ายเงินตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท เพื่อฟื้นฟู คืนอาชีพ คืนรายได้ให้กับประชาชน ตลอดจนออกมาตรการเพิ่มเติมช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างฐานรากทางเศรษฐกิจของประเทศให้แข็งแกร่ง
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังมีข้อมูลผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับการเยียวยา ทำให้สามารถนำข้อมูลมาประมวลผล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยจะส่ง “ทีมเราไม่ทิ้งกัน” ลงพื้นที่เยี่ยมเยียน สำรวจ ประเมินสภาพความเป็นอยู่ เพื่อทราบความเดือดร้อนและความต้องการพื้นฐานของผู้ได้รับการเยียวยาทั่วประเทศอย่างทั่วถึง ขณะเดียวกันจะร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดอบรมอาชีพ ด้วยการเสริมสร้างทักษะอาชีพใหม่ให้ตรงกับความต้องการของตลาดที่จะเปลี่ยนไปหลังสถานการณ์โควิด-19 สิ้นสุดลง
“กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ SFIs ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อต่างๆ ดูแลลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งกลุ่มลูกค้าบุคคล และภาคธุรกิจ พร้อมสร้างตลาดใหม่ ปรับปรุงตลาดเก่าให้ได้มาตรฐาน สะอาด เป็นตลาดปลอดเชื้อเปิดช่องทางอี-มาร์เก็ต ตอบสนองความต้องการพ่อค้าแม่ค้ารุ่นใหม่และผู้ที่สนใจ เพื่อสร้างรายได้บนแพลตฟอร์มอี-มาร์เก็ตของภาครัฐ”
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังมีนโยบายจัดกิจกรรม “สัญจร” ตามภูมิภาคต่างๆ ต่อไป เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้ได้รับการเยียวยา เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจจากชนบทสู่เมือง จากฐานรากสู่ระดับประเทศ
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการออมสิน กล่าวว่า ออมสินได้เตรียมสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ระยะเวลาผ่อนนาน เพื่อฟื้นฟูรายได้ประชาชนรายย่อยและเอสเอ็มอี จำนวน 4 ประเภท วงเงินสินเชื่อประเภทละ 10,000 ล้านบาท รวมวงเงินสินเชื่อ 40,000 ล้านบาท ได้แก่ สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ สินเชื่อก่อร่างสร้างตัวใหม่ สินเชื่อคลายกังวล และสินเชื่อซอฟต์โลนเยียวยาผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกและธุรกิจท่องเที่ยว
นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ธ.ก.ส.ได้เตรียมที่จะออกสินเชื่อช่วยเหลือสนับสนุนเกษตรกรหลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลายแล้ว เพื่อให้มีเงินทุนในการประกอบอาชีพหรือสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย โครงการที่ 1 สินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ สำหรับเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจซึ่งไม่เคยเป็นลูกค้า ธ.ก.ส.มาก่อน ได้มีเงินทุนประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท วงเงินกู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท , โครงการที่ 2 สินเชื่อนิวเจนฮักบ้านเกิดสำหรับเกษตรกร ทายาทเกษตรกร หรือคนรุ่นใหม่ที่กลับคืนสู่ภูมิลำเนาและสนใจในการทำเกษตรกรรมวงเงินรวม 60,000 ล้านบาท และโครงการที่ 3 สินเชื่อระยะสั้นฤดูการผลิตใหม่ สำหรับเกษตรกรที่ได้รับการพักชำระหนี้ เพื่อเป็นเงินทุนในการทำการเกษตรระยะสั้น ปีการผลิต 2563/64 วงเงินรวม 100,000 ล้านบาท วงเงินกู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท
นายกมลภพ วีระพละ รองกรรมการผู้จัดการ และรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า คณะกรรมการธนาคารมีมติเห็นชอบให้จัดทำ “โครงการ ธอส. ปันน้ำใจ เราไม่ทิ้งกัน” ผ่าน 2 มาตรการทั้งทางด้านการเงิน และด้าน CSR ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ “โครงการบ้าน ธอส. เราไม่ทิ้งกัน” วงเงิน 20,000 ล้านบาท ให้กู้สำหรับบุคคลในครอบครัวของประชาชนที่ได้รับสิทธิ์ตามโครงการเราไม่ทิ้งกันของรัฐบาล (มาตรการเงินเยียวยา 5,000 บาท จำนวน 3 เดือน) หรือบุคคลในครอบครัวของลูกค้า ธอส. ที่ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วม “มาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 และยังมีมาตรการบรรเทาผลกระทบให้กับลูกค้าทั้ง 8 มาตรการตาม “โครงการ ธอส. ช่วยคนไทย ร่วมสร้างชาติ” โดยช่วยเหลือด้านอัตราดอกเบี้ย เพื่อกู้ซื้อ ปลูกสร้าง ต่อเติม ขยายและซ่อมแซมบ้าน วงเงินกู้ 3 ล้านบาทต่อหลักประกัน ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ คิดค่าประเมินราคาหลักประกันในอัตราพิเศษ และให้ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 40 ปี ยื่นคำขอกู้และทำนิติกรรมได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.–30 ธ.ค.2563
นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง แถลงถึงการดำเนินมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 ว่า กระทรวงการคลังได้ร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) และหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง สานต่อมาตรการดูแลเยียวยาประชาชน ผ่านโครงการก้าวต่อไปเราไม่ทิ้งกันสู้ภัยโควิด-19” และจัดตั้ง “ทีมเราไม่ทิ้งกัน” เพื่อติดตาม สำรวจ และรับทราบความเดือดร้อน และเร่งเยียวยาในระยะที่ 3 ตามแผนการใช้จ่ายเงินตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท เพื่อฟื้นฟู คืนอาชีพ คืนรายได้ให้กับประชาชน ตลอดจนออกมาตรการเพิ่มเติมช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างฐานรากทางเศรษฐกิจของประเทศให้แข็งแกร่ง
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังมีข้อมูลผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับการเยียวยา ทำให้สามารถนำข้อมูลมาประมวลผล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยจะส่ง “ทีมเราไม่ทิ้งกัน” ลงพื้นที่เยี่ยมเยียน สำรวจ ประเมินสภาพความเป็นอยู่ เพื่อทราบความเดือดร้อนและความต้องการพื้นฐานของผู้ได้รับการเยียวยาทั่วประเทศอย่างทั่วถึง ขณะเดียวกันจะร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดอบรมอาชีพ ด้วยการเสริมสร้างทักษะอาชีพใหม่ให้ตรงกับความต้องการของตลาดที่จะเปลี่ยนไปหลังสถานการณ์โควิด-19 สิ้นสุดลง
“กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ SFIs ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อต่างๆ ดูแลลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งกลุ่มลูกค้าบุคคล และภาคธุรกิจ พร้อมสร้างตลาดใหม่ ปรับปรุงตลาดเก่าให้ได้มาตรฐาน สะอาด เป็นตลาดปลอดเชื้อเปิดช่องทางอี-มาร์เก็ต ตอบสนองความต้องการพ่อค้าแม่ค้ารุ่นใหม่และผู้ที่สนใจ เพื่อสร้างรายได้บนแพลตฟอร์มอี-มาร์เก็ตของภาครัฐ”
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังมีนโยบายจัดกิจกรรม “สัญจร” ตามภูมิภาคต่างๆ ต่อไป เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้ได้รับการเยียวยา เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจจากชนบทสู่เมือง จากฐานรากสู่ระดับประเทศ
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการออมสิน กล่าวว่า ออมสินได้เตรียมสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ระยะเวลาผ่อนนาน เพื่อฟื้นฟูรายได้ประชาชนรายย่อยและเอสเอ็มอี จำนวน 4 ประเภท วงเงินสินเชื่อประเภทละ 10,000 ล้านบาท รวมวงเงินสินเชื่อ 40,000 ล้านบาท ได้แก่ สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ สินเชื่อก่อร่างสร้างตัวใหม่ สินเชื่อคลายกังวล และสินเชื่อซอฟต์โลนเยียวยาผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกและธุรกิจท่องเที่ยว
นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ธ.ก.ส.ได้เตรียมที่จะออกสินเชื่อช่วยเหลือสนับสนุนเกษตรกรหลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลายแล้ว เพื่อให้มีเงินทุนในการประกอบอาชีพหรือสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย โครงการที่ 1 สินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ สำหรับเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจซึ่งไม่เคยเป็นลูกค้า ธ.ก.ส.มาก่อน ได้มีเงินทุนประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท วงเงินกู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท , โครงการที่ 2 สินเชื่อนิวเจนฮักบ้านเกิดสำหรับเกษตรกร ทายาทเกษตรกร หรือคนรุ่นใหม่ที่กลับคืนสู่ภูมิลำเนาและสนใจในการทำเกษตรกรรมวงเงินรวม 60,000 ล้านบาท และโครงการที่ 3 สินเชื่อระยะสั้นฤดูการผลิตใหม่ สำหรับเกษตรกรที่ได้รับการพักชำระหนี้ เพื่อเป็นเงินทุนในการทำการเกษตรระยะสั้น ปีการผลิต 2563/64 วงเงินรวม 100,000 ล้านบาท วงเงินกู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท
นายกมลภพ วีระพละ รองกรรมการผู้จัดการ และรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า คณะกรรมการธนาคารมีมติเห็นชอบให้จัดทำ “โครงการ ธอส. ปันน้ำใจ เราไม่ทิ้งกัน” ผ่าน 2 มาตรการทั้งทางด้านการเงิน และด้าน CSR ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ “โครงการบ้าน ธอส. เราไม่ทิ้งกัน” วงเงิน 20,000 ล้านบาท ให้กู้สำหรับบุคคลในครอบครัวของประชาชนที่ได้รับสิทธิ์ตามโครงการเราไม่ทิ้งกันของรัฐบาล (มาตรการเงินเยียวยา 5,000 บาท จำนวน 3 เดือน) หรือบุคคลในครอบครัวของลูกค้า ธอส. ที่ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วม “มาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 และยังมีมาตรการบรรเทาผลกระทบให้กับลูกค้าทั้ง 8 มาตรการตาม “โครงการ ธอส. ช่วยคนไทย ร่วมสร้างชาติ” โดยช่วยเหลือด้านอัตราดอกเบี้ย เพื่อกู้ซื้อ ปลูกสร้าง ต่อเติม ขยายและซ่อมแซมบ้าน วงเงินกู้ 3 ล้านบาทต่อหลักประกัน ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ คิดค่าประเมินราคาหลักประกันในอัตราพิเศษ และให้ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 40 ปี ยื่นคำขอกู้และทำนิติกรรมได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.–30 ธ.ค.2563