พันธบัตร “เราไม่ทิ้งกัน” สุดฮอต ยอด 5 หมื่นล้านบาท สัปดาห์เดียวขายเกลี้ยง “ผอ.สบน.” เผยกำลังอยู่ระหว่างการประเมินจะเปิดขายรุ่น 2 ต่อหรือไม่ “คลัง” เผยโครงการเยียวยา 5 พันบาท ประสบผลสำเร็จแล้ว 99%
วานนี้ (21 พ.ค.) นางแพตริเซีย มงคลวณิช ผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการเปิดให้จองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่นเราไม่ทิ้งกัน วงเงินรวม 5 หมื่นล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค.-21 พ.ค.63 ว่า ขณะนี้มีผู้เข้าจองซื้อพันธบัตรดังกล่าวจนครบวงเงินการออกพันธบัตรแล้วภายในสัปดาห์เดียว โดยขณะนี้ สบน. กำลังอยู่ระหว่างประเมินว่าควรจะเปิดขายพันธบัตรเพิ่มเติมในรุ่นต่อไปหรือไม่ เนื่องจากประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ พันธบัตรพิเศษรุ่น "เราไม่ทิ้งกัน" ของกระทรวงการคลังในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เป็นพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) วงเงินไม่เกิน 5 หมื่นล้านบาท เปิดจำหน่าย 2 ชนิด อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได ชนิดอายุ 5 ปี เฉลี่ย 2.40% และชนิดอายุ 10 ปี เฉลี่ย 3.00% ต่อปี โดยเริ่มจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา
เผย 2.4 แสนรายยังมีปัญหา
อีกด้าน นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยผลการดำเนินการมาตรการเยียวยา 5,000 บาทว่า ขณะนี้สำเร็จเรียบร้อยแล้ว 99% และมีส่วนที่ยังคงเหลืออีกเพียง 1% นั้นจะเป็นการดำเนินการในส่วนที่ยังตกค้างเกี่ยวกับการขอทบทวนสิทธิ โดยยอดรวมของผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น 28.8 ล้านราย โดยมีการลงทะเบียนซ้ำ 4.8 ล้านราย และลงทะเบียนไม่สำเร็จ 1.7 ล้านราย ทำให้มีผู้ลงทะเบียนที่เข้าสู่ขั้นตอนการคัดกรองตามหลักเกณฑ์จำนวน 22.3 ล้านราย ผู้ผ่านเกณฑ์ 15 ล้านราย ส่วนผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิจะมี 7 ล้านราย และอยู่ระหว่างการดำเนินการทบทวนสิทธิ 2.4 แสนราย โดยผู้ผ่านเกณฑ์ 15 ล้านรายนั้น กระทรวงการคลังได้โอนเงินเยียวยาแล้ว 14.2 ล้านราย ส่วนที่เหลือ 7 แสนรายจะได้รับการโอนเงินครบถ้วนทั้งหมดภายในสัปดาห์นี้ โดยจะมีรอบการโอนวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 จำนวน 2.3 แสนราย และวันที่ 22 พ.ค.63 จำนวน 4.4 แสนราย
“อีก 1% ที่กำลังดำเนินการเป็นกลุ่มที่อยู่ระหว่างการดำเนินการทบทวนสิทธิ 2.4 แสนราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ 1 ผู้ขอทบทวนสิทธิ 8 หมื่นราย ที่ผู้พิทักษ์สิทธิ์ได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลแล้ว 2 หมื่นราย ซึ่งทำให้จำนวนผู้ลงทะเบียนขอทบทวนสิทธิในกลุ่มที่ 1 ลดลงเหลือ 6 หมื่นราย, กลุ่มที่ 2 ประมาณ 1 แสนราย เป็นผู้ขอทบทวนสิทธิที่เคยได้รับการติดต่อจากทีมผู้พิทักษ์สิทธิแล้วแต่ไม่สามารถนัดพบได้ และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ผู้พิทักษ์สิทธิได้พยายามติดต่อไปหาแล้วหลายครั้งแต่ติดต่อไม่ได้จำนวน 6 หมื่นราย ซึ่งจะมีการส่ง SMS แจ้งให้ทราบอีกครั้งในวันที่ 22 พ.ค. และขอให้ไปติดต่อที่สาขาธนาคารกรุงไทยที่สะดวกที่สุด เพื่อยืนยันตัวตนและการประกอบอาชีพ โดยให้นำบัตรประชาชนตัวจริงไปแสดงพร้อมหลักฐานการประกอบอาชีพได้จนถึงวันที่ 29 พ.ค.63” นายลวรณ
รอ พม.ชงดูแลกลุ่มเปราะบาง
ผู้อำนวยการ สศค. ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงความเป็นไปได้ในการเปิดโครงการเยียวยารอบที่ 2 ว่า ขี้นอยู่กับนโยบายรัฐบาลและภาพรวมการเยียวยาที่มีนั้นได้ครอบคลุมถึงประชาชนทุกคน ทุกกลุ่มแล้วหรือยัง พร้อมทั้งยืนยันการดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จากรัฐบาลที่ในช่วงผ่านมานั้น จะครอบคลุมประชาชนเกือบทุกกลุ่มแล้ว อย่างไรก็ตาม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ยังเตรียมที่จะเสนอแนวทางให้ความช่วยเหล่อแก่กลุ่มที่เปราะบางทางสังคม ได้แก่ กลุ่มเด็กทารกแรกเกิด กลุ่มคนชรา และกลุ่มผู้พิการ รวม 13 ล้านราย ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่ใหญ่สุด ให้ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้ตาม พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งมีเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา โดยคาดว่าจะสามารถเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ในวันที่ 26 พ.ค. 63 และคาดว่าสำนักบริหารหนี้ (สบน.) จะพิจารณาหาแหล่งเงินกู้เพื่อให้แก่กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ใช้จ่ายเยียวยาให้แก่คนกลุ่มนี้ได้ทันทีในเดือน มิ.ย. 63
แนวทางการให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนั้น นายลวรณ ย้ำว่า แม้ปัจจุบันคนกลุ่มนี้จะยังคงได้รับเงินช่วยเหลือค่าน้ำประปา ค่าไฟ และค่าใช้บริการระบบขนส่งมวลชนในแต่ละเดือนอยู่แล้วก็ตาม แต่กระทรวงการคลังจะยังอยู่ระหว่างรอการพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้านสวัสดิการสังคมต่อไป เนื่องจากกระทรวงการคลังยังต้องดำเนินมาตรการจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ได้รับผลกระทบจากเชื้อโควิด-19 ให้เสร็จสิ้นก่อน.
วานนี้ (21 พ.ค.) นางแพตริเซีย มงคลวณิช ผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการเปิดให้จองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่นเราไม่ทิ้งกัน วงเงินรวม 5 หมื่นล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค.-21 พ.ค.63 ว่า ขณะนี้มีผู้เข้าจองซื้อพันธบัตรดังกล่าวจนครบวงเงินการออกพันธบัตรแล้วภายในสัปดาห์เดียว โดยขณะนี้ สบน. กำลังอยู่ระหว่างประเมินว่าควรจะเปิดขายพันธบัตรเพิ่มเติมในรุ่นต่อไปหรือไม่ เนื่องจากประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ พันธบัตรพิเศษรุ่น "เราไม่ทิ้งกัน" ของกระทรวงการคลังในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เป็นพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) วงเงินไม่เกิน 5 หมื่นล้านบาท เปิดจำหน่าย 2 ชนิด อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได ชนิดอายุ 5 ปี เฉลี่ย 2.40% และชนิดอายุ 10 ปี เฉลี่ย 3.00% ต่อปี โดยเริ่มจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา
เผย 2.4 แสนรายยังมีปัญหา
อีกด้าน นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยผลการดำเนินการมาตรการเยียวยา 5,000 บาทว่า ขณะนี้สำเร็จเรียบร้อยแล้ว 99% และมีส่วนที่ยังคงเหลืออีกเพียง 1% นั้นจะเป็นการดำเนินการในส่วนที่ยังตกค้างเกี่ยวกับการขอทบทวนสิทธิ โดยยอดรวมของผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น 28.8 ล้านราย โดยมีการลงทะเบียนซ้ำ 4.8 ล้านราย และลงทะเบียนไม่สำเร็จ 1.7 ล้านราย ทำให้มีผู้ลงทะเบียนที่เข้าสู่ขั้นตอนการคัดกรองตามหลักเกณฑ์จำนวน 22.3 ล้านราย ผู้ผ่านเกณฑ์ 15 ล้านราย ส่วนผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิจะมี 7 ล้านราย และอยู่ระหว่างการดำเนินการทบทวนสิทธิ 2.4 แสนราย โดยผู้ผ่านเกณฑ์ 15 ล้านรายนั้น กระทรวงการคลังได้โอนเงินเยียวยาแล้ว 14.2 ล้านราย ส่วนที่เหลือ 7 แสนรายจะได้รับการโอนเงินครบถ้วนทั้งหมดภายในสัปดาห์นี้ โดยจะมีรอบการโอนวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 จำนวน 2.3 แสนราย และวันที่ 22 พ.ค.63 จำนวน 4.4 แสนราย
“อีก 1% ที่กำลังดำเนินการเป็นกลุ่มที่อยู่ระหว่างการดำเนินการทบทวนสิทธิ 2.4 แสนราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ 1 ผู้ขอทบทวนสิทธิ 8 หมื่นราย ที่ผู้พิทักษ์สิทธิ์ได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลแล้ว 2 หมื่นราย ซึ่งทำให้จำนวนผู้ลงทะเบียนขอทบทวนสิทธิในกลุ่มที่ 1 ลดลงเหลือ 6 หมื่นราย, กลุ่มที่ 2 ประมาณ 1 แสนราย เป็นผู้ขอทบทวนสิทธิที่เคยได้รับการติดต่อจากทีมผู้พิทักษ์สิทธิแล้วแต่ไม่สามารถนัดพบได้ และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ผู้พิทักษ์สิทธิได้พยายามติดต่อไปหาแล้วหลายครั้งแต่ติดต่อไม่ได้จำนวน 6 หมื่นราย ซึ่งจะมีการส่ง SMS แจ้งให้ทราบอีกครั้งในวันที่ 22 พ.ค. และขอให้ไปติดต่อที่สาขาธนาคารกรุงไทยที่สะดวกที่สุด เพื่อยืนยันตัวตนและการประกอบอาชีพ โดยให้นำบัตรประชาชนตัวจริงไปแสดงพร้อมหลักฐานการประกอบอาชีพได้จนถึงวันที่ 29 พ.ค.63” นายลวรณ
รอ พม.ชงดูแลกลุ่มเปราะบาง
ผู้อำนวยการ สศค. ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงความเป็นไปได้ในการเปิดโครงการเยียวยารอบที่ 2 ว่า ขี้นอยู่กับนโยบายรัฐบาลและภาพรวมการเยียวยาที่มีนั้นได้ครอบคลุมถึงประชาชนทุกคน ทุกกลุ่มแล้วหรือยัง พร้อมทั้งยืนยันการดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จากรัฐบาลที่ในช่วงผ่านมานั้น จะครอบคลุมประชาชนเกือบทุกกลุ่มแล้ว อย่างไรก็ตาม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ยังเตรียมที่จะเสนอแนวทางให้ความช่วยเหล่อแก่กลุ่มที่เปราะบางทางสังคม ได้แก่ กลุ่มเด็กทารกแรกเกิด กลุ่มคนชรา และกลุ่มผู้พิการ รวม 13 ล้านราย ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่ใหญ่สุด ให้ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้ตาม พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งมีเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา โดยคาดว่าจะสามารถเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ในวันที่ 26 พ.ค. 63 และคาดว่าสำนักบริหารหนี้ (สบน.) จะพิจารณาหาแหล่งเงินกู้เพื่อให้แก่กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ใช้จ่ายเยียวยาให้แก่คนกลุ่มนี้ได้ทันทีในเดือน มิ.ย. 63
แนวทางการให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนั้น นายลวรณ ย้ำว่า แม้ปัจจุบันคนกลุ่มนี้จะยังคงได้รับเงินช่วยเหลือค่าน้ำประปา ค่าไฟ และค่าใช้บริการระบบขนส่งมวลชนในแต่ละเดือนอยู่แล้วก็ตาม แต่กระทรวงการคลังจะยังอยู่ระหว่างรอการพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้านสวัสดิการสังคมต่อไป เนื่องจากกระทรวงการคลังยังต้องดำเนินมาตรการจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ได้รับผลกระทบจากเชื้อโควิด-19 ให้เสร็จสิ้นก่อน.