ศบค.แถลงพบป่วย 3 ราย อยู่ในสถานกักกันทั้งหมด ไม่มีเสียชีวิตเพิ่ม เตือนเด็กเริ่มเป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อในต่างประเทศ เผยคกก.ด้านกฎหมาย กำลังศึกษากม.ทดแทน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นายกฯย้ำ รัฐบาลไม่ได้ยื้อเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อกุมอำนาจ
วานนี้ (17พ.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ 3 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยสะสมอยู่ที่ 3,028 ราย หายป่วยแล้ว 2,856 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม ทำให้ยอดสะสมผู้เสียชีวิตยังอยู่ที่ 56 ราย อยู่ระหว่างรักษาตัว 116 ราย
ในส่วนผู้ป่วยรายใหม่ 3 ราย มาจากสถานกักกันที่รัฐจัดให้ทั้งหมด และเป็นเพศชายทั้งหมด โดย 1 ราย เป็นนักศึกษา อายุ 23 ปี กลับมาจากปากีสถาน เมื่อวันที่ 7 พ.ค. อีก 2 ราย เป็นนักศึกษาอายุ 21 ปี และ 23 ปี กลับมาจากอียิปต์ เมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา
สำหรับสถานการณ์ผู้ติดเชื้อทั่วโลก มี 4,720,196 ราย เสียชีวิต 313,220 ราย คิดเป็น 6.6% ส่วนสถานการณ์ในต่างประเทศที่น่าสนใจ พบว่าจำนวนเด็กป่วยที่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับภูมิต้านทานที่มีความเชื่อมโยงกับโควิด-19 เพิ่มขึ้นในเวลาไม่กี่สัปดาห์ มีอย่างน้อย 5 รายเสียชีวิต จากอาการดังกล่าวในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งองค์การอนามัยโลก ระบุว่าอาการอักเสบของอวัยวะหลายระบบ จะเกี่ยวพันกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งแต่เดิมเด็กไม่ค่อยมีอาการป่วย แต่ตอนนี้อาการหนัก และถึงขั้นเสียชีวิต จึงต้องรีบศึกษา วิเคราะห์ วิจัยกัน เพราะเด็กและผู้สูงอายุคือกลุ่มเสี่ยง
นพ.ทวีศิลป์ ยังกล่าวถึง แพลตฟอร์ม"ไทยชนะ" ว่ารัฐบาลไม่ได้บังคับให้ทุกคนต้องลงทะเบียน แต่เป็นการขอความร่วมมือ เพราะดีต่อสุขภาพท่านเอง เพื่อทำให้ได้รับทราบความแออัด และหนาแน่นของผู้ใช้บริการ ดีต่อผู้ที่เปิดกิจการด้วย เพราะไม่รู้ว่าลูกค้าเป็นส่วนหนึ่งของการนำเชื้อมาด้วยหรือไม่ และยังดีต่อการตรวจสอบมาตรการ ถือว่าดีต่อทุกส่วน และการลงทะเบียนไม่ได้ยุ่งยากอะไร โดยวันที่ 17 พ.ค. มีร้านค้าลงทะเบียนไปแล้ว 11,599 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ใน กทม. และจังหวัดใหญ่ๆ ข้อดีอีกอย่างของการลงทะเบียนคือ หากท่านไปติดโรคมา หรือมีข่าวว่าเกิดการติดเชื้อในสถานที่นั้นๆ แทนที่เราจะไปกวาดคนทั้งร้อยคนมาตรวจ ระบบตรงนี้จะทำให้เราสามารถจำกัดคนได้ ไม่ต้องไปหว่านแหตรวจ
ส่วนมาตรการผ่อนปรนในระยะที่ 2 ถ้าดีขึ้น จะมีการพิจารณาไม่ขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และหันมาใช้ พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อ แทนหรือไม่นั้น ทาง ผอ.ศบค.ได้มอบให้คณะกรรมการด้านกฎหมายไปศึกษา ถ้าจะต้องมีการปรับเปลี่ยน ก็ให้มีการนำเสนอขึ้นมา
ทั้งนี้ การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ผ่านมา เป็นการรวบรวมกฎหมายต่างๆ ให้มาอยู่ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ให้เกิดมาตรการดูแลสังคมในสถานการณ์โรคที่รุนแรง แต่ตอนนี้ในประเทศเราควบคุมโรคได้ระดับหนึ่ง เพียงแต่ยังมีประเด็น เช่น ขณะนี้เราห้ามเครื่องบินเข้าถึง 30 มิ.ย. ถ้าจะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะใช้สามารถประมวลกฎหมายตัวใดมาแทน ดังนั้นจึงต้องใช้กฎหมายหลายด้านประกอบกัน เพื่อป้องกันการนำเชื้อเข้าประเทศ และการควบคุมเชื้อให้อยู่ในการดูแลได้ทั้งหมด ตรงนี้จึงมีความจำเป็น ถ้าจะยกเลิกแต่สถานการณ์ของโลกยังมีการติดเชื้ออยู่จำนวนมาก เราต้องดูกันอย่างลึกซึ้ง และใช้เวลาพอสมควร ถ้าไทยดีขึ้น ทั่วโลกดีขึ้น ก็ไม่มีความจำเป็น แต่สถานการณ์โลกยังมีการระบาด จึงยังมีความจำเป็น ซึ่งคณะกรรมการด้านกฎหมาย จะต้องไปศึกษามาว่ามีกฎหมายอะไรทดแทนได้ เพื่อสรุปความเห็นนำเสนอต่อ ผอ.ศบค. ต่อไป
ยันไม่ได้ยื้อพ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อกุมอำนาจ
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะ ผอ.ศบค. ได้มีการประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์อยู่ตลอด โดยล่าสุดได้อนุมัติให้มีการผ่อนคลาย ระยะที่ 2 หลังการประเมินการผ่อนคลายระยะที่ 1 พบตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงเป็นลำดับ รวมทั้งความร่วมมือของประชาชนทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก จึงทำให้สามารถผ่อนคลายในระยะที่ 2 ได้
ส่วนที่มีการเสนอจะให้ ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทันทีนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบันอาจจะยังดำเนินการไม่ได้ทันที ซึ่งนายกฯ เข้าใจถึงความเดือดร้อนของประชาชนทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่รัฐบาลจำเป็นยังต้องให้คงอยู่ เพราะจากการรายงานของผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ในแต่ละวัน ยังมีตัวเลขที่ผันผวน จึงจำเป็นต้องให้สถานการณ์ผู้ติดเชื้อฯ หยุดนิ่งก่อน "เพราะเราต้องรักษาชีวิตประชาชนก่อน"
อย่างไรก็ดี นายกฯได้เน้นย้ำว่า "ไม่ได้ประวิงเวลาประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เพื่อประโยชน์ของตัวเอง หรือต้องการรักษาอำนาจไว้อย่างที่หลายฝ่ายนำไปเป็นประเด็นกล่าวหา รัฐบาลเข้าใจดีว่า วันนี้บ้านเมืองกำลังมีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ รัฐบาลก็กำลังดำเนินการแก้ปัญหา และช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในทุกกลุ่ม ที่ได้รับผลกระทบอยู่" นางนฤมล กล่าว
เปิดห้างสรรพสินค้าวันแรกคึกคัก
จากกรณีที่รัฐบาลประกาศมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ ซึ่งวานนี้ (17 พ.ค.) เป็นการเปิดห้างสรรพสินค้าวันแรก ปรากฏว่า มีประชาชนเดินทางเข้ามาใช้บริการห้างสรรพสินค้ากันเป็นจำนวนมากในหลายๆ พื้นที่ โดยพบว่ามีประชาชนจำนวนมากมีการไปต่อแถวเพื่อเข้าไปช้อปในห้างสรรพสินค้าต่างๆ ทั่วประเทศอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม บรรดาห้างสรรพสินค้าต่างๆ ยังคงดำเนินมาตรการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล หรือ social distancing และปฏิบัติตามคำแนะนำของสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ทั้ง 5 ข้อ คืด 1. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง 2. ตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าพื้นที่ 3. เว้นระยะห่าง 4. การใช้พื้นที่สาธารณะ แต่ละจุดมีบริการเจลแอลกอฮอล์ 5. ต้องจำกัดคนเข้าใช้บริการในแต่ละแผนก
ห้ามบินเข้า-ออกไทยถึง 30 มิ.ย.
นายจุฬา สุขมานพ ผอ.สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หรือ CAATได้ลงนาม ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง ห้ามอากาศยานทำการบินเข้าสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 5)
ทั้งนี้ หลังจาก กพท. ประกาศ เรื่อง ห้ามอากาศยานทำการบินเข้าสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 4) ประกาศ ณ วันที่ 27 เม.ย.63 ซึ่งมีผลห้ามอากาศยานขนส่งคนโดยสาร ทำการบินเข้ามายังท่าอากาศยานในประเทศไทยจนถึง วันที่ 31 พ.ค.63 นั้น ด้วยเหตุผลและความจำเป็นในการคงความต่อเนื่องของมาตรการดังกล่าวต่อไป เพื่อประสิทธิผลในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 27 และ มาตรา 28 แห่งพ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ผอ. กพท. จึงออกประกาศเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
1. ห้ามอากาศยานขนส่งคนโดยสารทำการบินเข้ามายังท่าอากาศยานในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันทื่ 1 มิ.ย.63 เวลา 00.01 น. จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.63 เวลา 23.59 น.
2. การอนุญาตการบินที่กพท. ได้ออกให้แก่อากาศยานขนส่งคนโดยสาร สำหรับการบินเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงระยะเวลาตาม 1. ให้เป็นอันยกเลิก
3. ข้อห้ามตาม 1. ไม่รวมถึงอากาศยานดังต่อไปนี้
(1) อากาศยานราชการหรือที่ใช้ในราชการทหาร (2) อากาศยานที่ขอลงฉุกเฉิน (3) อากาศยานที่ขอลงทางเทคนิค โดยไม่มีผู้โดยสารออกจากเครื่อง (4) อากาศยานที่ทำการบินเพื่อให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม ทำการบินทางการแพทย์ หรือการขนส่งสิ่งของเพื่อสงเคราะห์แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (5) อากาศยานที่ได้รับอนุญาตให้ทำการบินรับส่งบุคคลกลับประเทศไทยหรือกลับภูมิลำเนา (6) อากาศยานขนส่งสินค้า
4. บุคคลหรือผู้โดยสารบนอากาศยานตาม 3. จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ เช่น การกักตัวเป็นเวลา 14 วัน และบรรดาข้อกำหนดที่ออกตามความใน มาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ทั้งนี้ บัดนี้เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
วานนี้ (17พ.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ 3 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยสะสมอยู่ที่ 3,028 ราย หายป่วยแล้ว 2,856 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม ทำให้ยอดสะสมผู้เสียชีวิตยังอยู่ที่ 56 ราย อยู่ระหว่างรักษาตัว 116 ราย
ในส่วนผู้ป่วยรายใหม่ 3 ราย มาจากสถานกักกันที่รัฐจัดให้ทั้งหมด และเป็นเพศชายทั้งหมด โดย 1 ราย เป็นนักศึกษา อายุ 23 ปี กลับมาจากปากีสถาน เมื่อวันที่ 7 พ.ค. อีก 2 ราย เป็นนักศึกษาอายุ 21 ปี และ 23 ปี กลับมาจากอียิปต์ เมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา
สำหรับสถานการณ์ผู้ติดเชื้อทั่วโลก มี 4,720,196 ราย เสียชีวิต 313,220 ราย คิดเป็น 6.6% ส่วนสถานการณ์ในต่างประเทศที่น่าสนใจ พบว่าจำนวนเด็กป่วยที่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับภูมิต้านทานที่มีความเชื่อมโยงกับโควิด-19 เพิ่มขึ้นในเวลาไม่กี่สัปดาห์ มีอย่างน้อย 5 รายเสียชีวิต จากอาการดังกล่าวในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งองค์การอนามัยโลก ระบุว่าอาการอักเสบของอวัยวะหลายระบบ จะเกี่ยวพันกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งแต่เดิมเด็กไม่ค่อยมีอาการป่วย แต่ตอนนี้อาการหนัก และถึงขั้นเสียชีวิต จึงต้องรีบศึกษา วิเคราะห์ วิจัยกัน เพราะเด็กและผู้สูงอายุคือกลุ่มเสี่ยง
นพ.ทวีศิลป์ ยังกล่าวถึง แพลตฟอร์ม"ไทยชนะ" ว่ารัฐบาลไม่ได้บังคับให้ทุกคนต้องลงทะเบียน แต่เป็นการขอความร่วมมือ เพราะดีต่อสุขภาพท่านเอง เพื่อทำให้ได้รับทราบความแออัด และหนาแน่นของผู้ใช้บริการ ดีต่อผู้ที่เปิดกิจการด้วย เพราะไม่รู้ว่าลูกค้าเป็นส่วนหนึ่งของการนำเชื้อมาด้วยหรือไม่ และยังดีต่อการตรวจสอบมาตรการ ถือว่าดีต่อทุกส่วน และการลงทะเบียนไม่ได้ยุ่งยากอะไร โดยวันที่ 17 พ.ค. มีร้านค้าลงทะเบียนไปแล้ว 11,599 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ใน กทม. และจังหวัดใหญ่ๆ ข้อดีอีกอย่างของการลงทะเบียนคือ หากท่านไปติดโรคมา หรือมีข่าวว่าเกิดการติดเชื้อในสถานที่นั้นๆ แทนที่เราจะไปกวาดคนทั้งร้อยคนมาตรวจ ระบบตรงนี้จะทำให้เราสามารถจำกัดคนได้ ไม่ต้องไปหว่านแหตรวจ
ส่วนมาตรการผ่อนปรนในระยะที่ 2 ถ้าดีขึ้น จะมีการพิจารณาไม่ขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และหันมาใช้ พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อ แทนหรือไม่นั้น ทาง ผอ.ศบค.ได้มอบให้คณะกรรมการด้านกฎหมายไปศึกษา ถ้าจะต้องมีการปรับเปลี่ยน ก็ให้มีการนำเสนอขึ้นมา
ทั้งนี้ การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ผ่านมา เป็นการรวบรวมกฎหมายต่างๆ ให้มาอยู่ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ให้เกิดมาตรการดูแลสังคมในสถานการณ์โรคที่รุนแรง แต่ตอนนี้ในประเทศเราควบคุมโรคได้ระดับหนึ่ง เพียงแต่ยังมีประเด็น เช่น ขณะนี้เราห้ามเครื่องบินเข้าถึง 30 มิ.ย. ถ้าจะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะใช้สามารถประมวลกฎหมายตัวใดมาแทน ดังนั้นจึงต้องใช้กฎหมายหลายด้านประกอบกัน เพื่อป้องกันการนำเชื้อเข้าประเทศ และการควบคุมเชื้อให้อยู่ในการดูแลได้ทั้งหมด ตรงนี้จึงมีความจำเป็น ถ้าจะยกเลิกแต่สถานการณ์ของโลกยังมีการติดเชื้ออยู่จำนวนมาก เราต้องดูกันอย่างลึกซึ้ง และใช้เวลาพอสมควร ถ้าไทยดีขึ้น ทั่วโลกดีขึ้น ก็ไม่มีความจำเป็น แต่สถานการณ์โลกยังมีการระบาด จึงยังมีความจำเป็น ซึ่งคณะกรรมการด้านกฎหมาย จะต้องไปศึกษามาว่ามีกฎหมายอะไรทดแทนได้ เพื่อสรุปความเห็นนำเสนอต่อ ผอ.ศบค. ต่อไป
ยันไม่ได้ยื้อพ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อกุมอำนาจ
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะ ผอ.ศบค. ได้มีการประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์อยู่ตลอด โดยล่าสุดได้อนุมัติให้มีการผ่อนคลาย ระยะที่ 2 หลังการประเมินการผ่อนคลายระยะที่ 1 พบตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงเป็นลำดับ รวมทั้งความร่วมมือของประชาชนทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก จึงทำให้สามารถผ่อนคลายในระยะที่ 2 ได้
ส่วนที่มีการเสนอจะให้ ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทันทีนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบันอาจจะยังดำเนินการไม่ได้ทันที ซึ่งนายกฯ เข้าใจถึงความเดือดร้อนของประชาชนทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่รัฐบาลจำเป็นยังต้องให้คงอยู่ เพราะจากการรายงานของผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ในแต่ละวัน ยังมีตัวเลขที่ผันผวน จึงจำเป็นต้องให้สถานการณ์ผู้ติดเชื้อฯ หยุดนิ่งก่อน "เพราะเราต้องรักษาชีวิตประชาชนก่อน"
อย่างไรก็ดี นายกฯได้เน้นย้ำว่า "ไม่ได้ประวิงเวลาประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เพื่อประโยชน์ของตัวเอง หรือต้องการรักษาอำนาจไว้อย่างที่หลายฝ่ายนำไปเป็นประเด็นกล่าวหา รัฐบาลเข้าใจดีว่า วันนี้บ้านเมืองกำลังมีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ รัฐบาลก็กำลังดำเนินการแก้ปัญหา และช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในทุกกลุ่ม ที่ได้รับผลกระทบอยู่" นางนฤมล กล่าว
เปิดห้างสรรพสินค้าวันแรกคึกคัก
จากกรณีที่รัฐบาลประกาศมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ ซึ่งวานนี้ (17 พ.ค.) เป็นการเปิดห้างสรรพสินค้าวันแรก ปรากฏว่า มีประชาชนเดินทางเข้ามาใช้บริการห้างสรรพสินค้ากันเป็นจำนวนมากในหลายๆ พื้นที่ โดยพบว่ามีประชาชนจำนวนมากมีการไปต่อแถวเพื่อเข้าไปช้อปในห้างสรรพสินค้าต่างๆ ทั่วประเทศอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม บรรดาห้างสรรพสินค้าต่างๆ ยังคงดำเนินมาตรการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล หรือ social distancing และปฏิบัติตามคำแนะนำของสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ทั้ง 5 ข้อ คืด 1. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง 2. ตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าพื้นที่ 3. เว้นระยะห่าง 4. การใช้พื้นที่สาธารณะ แต่ละจุดมีบริการเจลแอลกอฮอล์ 5. ต้องจำกัดคนเข้าใช้บริการในแต่ละแผนก
ห้ามบินเข้า-ออกไทยถึง 30 มิ.ย.
นายจุฬา สุขมานพ ผอ.สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หรือ CAATได้ลงนาม ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง ห้ามอากาศยานทำการบินเข้าสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 5)
ทั้งนี้ หลังจาก กพท. ประกาศ เรื่อง ห้ามอากาศยานทำการบินเข้าสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 4) ประกาศ ณ วันที่ 27 เม.ย.63 ซึ่งมีผลห้ามอากาศยานขนส่งคนโดยสาร ทำการบินเข้ามายังท่าอากาศยานในประเทศไทยจนถึง วันที่ 31 พ.ค.63 นั้น ด้วยเหตุผลและความจำเป็นในการคงความต่อเนื่องของมาตรการดังกล่าวต่อไป เพื่อประสิทธิผลในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 27 และ มาตรา 28 แห่งพ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ผอ. กพท. จึงออกประกาศเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
1. ห้ามอากาศยานขนส่งคนโดยสารทำการบินเข้ามายังท่าอากาศยานในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันทื่ 1 มิ.ย.63 เวลา 00.01 น. จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.63 เวลา 23.59 น.
2. การอนุญาตการบินที่กพท. ได้ออกให้แก่อากาศยานขนส่งคนโดยสาร สำหรับการบินเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงระยะเวลาตาม 1. ให้เป็นอันยกเลิก
3. ข้อห้ามตาม 1. ไม่รวมถึงอากาศยานดังต่อไปนี้
(1) อากาศยานราชการหรือที่ใช้ในราชการทหาร (2) อากาศยานที่ขอลงฉุกเฉิน (3) อากาศยานที่ขอลงทางเทคนิค โดยไม่มีผู้โดยสารออกจากเครื่อง (4) อากาศยานที่ทำการบินเพื่อให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม ทำการบินทางการแพทย์ หรือการขนส่งสิ่งของเพื่อสงเคราะห์แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (5) อากาศยานที่ได้รับอนุญาตให้ทำการบินรับส่งบุคคลกลับประเทศไทยหรือกลับภูมิลำเนา (6) อากาศยานขนส่งสินค้า
4. บุคคลหรือผู้โดยสารบนอากาศยานตาม 3. จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ เช่น การกักตัวเป็นเวลา 14 วัน และบรรดาข้อกำหนดที่ออกตามความใน มาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ทั้งนี้ บัดนี้เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง