xs
xsm
sm
md
lg

ตั้งกองทุนแสนล.ช่วยSMEs รับGDPไตรมาสแรกติดลบ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


สมคิด” สั่ง “คลัง” เร่งตั้งกองทุนมูลค่า 1 แสนล้านบาท อุ้มเอสเอ็มอีที่ยังเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนของแบงก์ เหตุ ยังไม่มีประวัติกู้เงินแบงก์ จึงเข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก “อุตตม” เผย แหล่งทุนที่ใช้จัดตั้งกองทุนจะมาจากเงินฟื้นฟู 4 แสนล้าน

วานนี้ (14 พ.ค.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมทบทวนภาวะเศรษฐกิจที่กระทรวงกาคลังว่าได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม (สศช.) สำนักงบประมาณ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รวมถึงหน่วยงานการปฎิบัติที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมหารือติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการในเรื่องต่างๆ โดยหลายอย่างได้เป็นไปตามเป้า แม้ในช่วงแรกอาจจะมีอุปสรรคบ้าง แต่มีการแก้ไขกันไปได้มากแล้ว

แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาในขณะนี้ผู้ประกอบการรายเล็กๆ ยังคงเข้าไม่แหล่งทุนในระบบธนาคาร ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องเข้าไปช่วยเหลือ เนื่องจากผู้ประกอบการไม่มีความสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้จริงๆ ซึ่งตนกำชับให้กระทรวงการคลัง ร่วมกับปลัดกระทรวงการคลังและ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และปลัดกระทรวงการคลัง เร่งวางรูปแนวทางในการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดเล็ก ซึ่งคาดว่าน่าจะมีข้อสรุปได้ในเร็ววันนี้ เช่นเดียวกับการให้ความช่วยเหลือบริษัทต่างๆ ที่ยังไม่ปลดพนักงาน เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนธนาคาร ทั้งนี้ ในส่วนนี้จะพิจารณาเสร็จสิ้นได้ก่อนวันที่ 19 พ.ค. 63

นายสมคิด ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ปัจจุบันมีผู้เสนอโครงการมาหลายฝ่าย ซึ่งสอดคล้องกับโครงการนี้ที่ต้องการให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เพื่อให้ทุกอย่างมีความโปร่งใส และให้เกิดผลงานตามที่ต้องการ เป็นแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ จะเห็นว่าโครงการหลายอย่างเป็นไปตามเป้าหมาย และได้รับการแก้ไขไปค่อนข้างแล้วค่อนข้างมาก แต่หลังจากนี้ไปจะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดเล็กๆ ที่เข้าไม่ถึงระบบธนาคาร

นอกจากนี้ ยังได้กำชับให้คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้จาก พ.ร.ก. 1 ล้านล้านบาท เร่งทำความเข้าใจกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการเข้ามาขอใช้งบประมาณจาก พ.ร.ก.ดังกล่าว เพื่อจัดทำโครงการจ้างงานในชุมชนช่วยเหลือผู้ที่ถูกเลิกจ้างให้มีงานและรายได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองเศรษฐกิจในช่วงระยะกลางข้างหน้า ยังได้มีการประกาศกรอบนโยบายแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วงเงินรวม 4 แสนล้านบาท โดยมีการเสนอโครงการเพื่อให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่น เนื่องจากในอนาคตยังจะมีคนตกงานอีก ดังนั้นทาง ธปท. จึงได้เสนอให้มีการจัดทำโครงการในรูปแบบ Area Based และ Agenda Based เพื่อพิจารณาว่าจะสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้เกิดการจ้างงาน เช่น สร้างแรงงานทุกหมู่บ้าน ดูแลเรื่องบัญชีการเงิน ซึ่งเห็นว่าจะสามารถสร้างให้เกิดการจ้างงานได้จำนวนมาก

ด้าน นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบมาตรการเสริมที่เป็นกลไกในลักษณะกองทุน ซึ่งจะมีวงเงินรวมไม่เกิน 1 แสนล้านบาท โดยแหล่งเงินทุนจะมาจากเงินฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมวงเงิน 4 แสนล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็ก เช่น วิสาหกจิชุมที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนสถาบันการเงิน เนื่องจากไม่มีประวัติการกู้เงิน เนื่องจากยังไม่เคยกู้มาก่อน และไม่ได้ครอบคลุมอยู่ในมาตรการช่วยเหลือเยียวยาก่อนหน้านี้

ทั้งนี้ จะเห็นว่ากลุ่มดังกล่าวมีจำนวนที่มากพอสมควร ซึ่งกำลังเร่งศึกษาผ่านสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยทและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้จะไม่มีบันทึกในสถาบันการเงิน ดังนั้น เพื่อแยกให้ออกว่าใครเป็นใคร และรูปแบบการช่วยเหลือจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขอะไร และกองทุนนี้จะดำเนินการโดยใคร ซึ่งเป็นการบ้านที่กำลังเร่งทำ เพื่อให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด โดยคาดว่าน่าจะมีกรอบขั้นตอนที่ชัดเจนภายในสิ้นเดือน พ.ค. นี้ ส่วนรูปแบบการให้ความช่วยเหลือจากกองทุนดังกล่าวนั้น นายอุตตม ย้ำว่า ต้องไม่มีความซ้ำกับวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) วงเงิน 5 แสนล้านบาท แต่จะเป็นการออกแบบให้สอดคล้องกัน โดยผู้ที่ควรใช้ซอฟต์โลนก็ให้ไปใช้ซอฟต์โลนที่มี อย่างไรก็ตาม ปลัดกระทรวงคลังจะทำหน้าที่ในการดูแลภาพรวมร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) อีกครั้ง

ด้านมาตรการดูแลผู้ประกอบการที่มีกลไกดูแลรักษาการจ้างงานนั้น กระทรวงการคลังกำลังพิจารณาว่าจะเป็นในลักษณะการให้สินเชื่อหรือในรูปแบบอื่นๆ เพื่อรักษาการจ้างงาน โดยกลุ่มที่จะเข้าโครงการนี้ส่วนหนึ่งจะเป็น 8 สายการบิน และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวขนาดเล็ก เช่น โฮมสเตย์ ซึ่งได้รับความเดือดร้อนจากการจ้างงานเช่นเดียวกัน ซึ่งจะต้องดูว่ากลไกการดูแลควรเป็นลักษณะใด

“วันจันทร์ที่ 18 พ.ค. 63 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะร่วมกันแถลงตัวเลขตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 1 ของปี 63 โดยตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจตามผลการประเมินของมั้ง 2 หน่วยงานดังกล่าว น่าจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย แต่โดยเบื้องต้นตัวเลขทางเศรษฐกิจจะติดลบอย่างแน่นอน” นายอุตตม กล่าว

ส่วนแนวโน้มสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปี 63 จะพลิกกลับมาดีขึ้นได้หรือไม่นั้น รมว.คลัง กล่าวว่า ยังจะต้องรอติดตามสถานการณ์โควิด-19 เป็นหลัก เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อเนื่องอย่างแน่นอน โดยพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่ว่าเหตุได้เกิดขึ้นแล้ว และมีคนได้รับผลกระทบจากการตกงาน ซึ่งรัฐบาลได้พยายามเข้าดูแลกันอยู่



กำลังโหลดความคิดเห็น