“สมคิด” วอนหยุดปล่อยข่าว “การบินไทย” ล้มละลาย “รมว.คลัง” แจงฟื้นฟูกิจการ ไม่จำเป็นต้องล้มละลาย ชี้ถึงเวลา “เจ้าจำปี” ปรับตัวครั้งใหญ่ ด้าน กมธ.ติดตามงบฯ สภาฯแนะรัฐ “เซตซีโร่” เปลี่ยนผู้บริหารยกชุด
วานนี้ (14 พ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีการพิจารณาแนวทางการแก้ปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (บมจ.การบินไทย) ว่า เป็นเรื่องของกระทรวงคมนาคม ที่กำกับดูแล บมจ.การบินไทย และคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ตัดสินใจ
“เรื่องบางเรื่อง Sensitive ไปลงข่าวกันทีสองทีแล้วต้องไปนั่งแก้ข่าวมีประโยชน์อะไร เราต้องรู้ว่า บ้านเมืองตอนนี้มีหลายปัญหา” นายสมคิด กล่าว
เผยคุยเจ้าหนี้หาทางจ่ายเงินเดือน
ด้าน นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวถึงแนวโน้มการนำ บมจ.การบินไทย เข้าสู่กระบวนการล้มละลายว่า ถือเป็นหนึ่งในแนวทางแก้ไขปัญหาที่กระทรวงการคลัง และผู้เกี่ยวข้องได้หารือกัน แต่การตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะอยู่ที่คณะรัฐมนตรี อย่างไรก็ดี การทำแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทย อาจจะไม่จำเป็นจะต้องทำให้ บมจ.การบินไทย ล้มละลายก็ได้
ส่วนกรณีมีกระแสข่าวว่าสิ้นเดือน พ.ค 63 บมจ.การบินไทย จะประสบปัญหามีเงินไม่เพียงพอสำหรับการจ่ายเงินเดือนให้พนักงานนั้น นายอุตตม กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวผู้บริหารและคณะกรรมการ (บอร์ด) บมจ.การบินไทย ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยได้ดำเนินการเจรจากับเจ้าหนี้จนประสบผลสำเร็จไปแล้วประมาณหนึ่ง
“การบินไทยยังต้องแก้ปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งขณะนี้ทุกฝ่ายได้พยายามแก้ไขปัญหากันอย่างเต็มที่ ครั้งนี้ถือว่าหมดเวลาแล้ว และการบินไทยจำเป็นต้องปรับตัวครั้งใหญ่ โดยทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง เนื่องจากการบินไทยไทยไม่สามารถทำแบบเดิมได้อีกแล้ว” รมว.คลัง กล่าว
กมธ.สภาฯชี้ต้องโละผู้บริหารยกชุด
ที่รัฐสภา มีการประชุมของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาการจัดทำ และติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายไชยา พรหมา ส.ส.หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย เป็นประธาน ได้นัดประชุมออนไลน์ เพื่อพิจารณาประเด็นการแก้ไขปัญหาโครงสร้างหนี้ของ บมจ.การบินไทย โดยมี นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะรองประธานบอร์ด คนที่ 2 และรักษาการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) บมจ.การบินไทย และนายปัญญา ชูพานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เข้าชี้แจงรายละเอียด
โดยนายจักรกฤศฏิ์ ได้กล่าวช่วงหนึ่งว่า จุดอ่อนของ บมจ.การบินไทย คือความเป็นรัฐวิสาหกิจที่ไม่เอื้อต่อการแข่งขันในอุตสาหกรรมการบิน จึงมีข้อเสนอในการปรับโครงสร้างองค์กรให้ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อความคล่องตัวในการแข่งขันและสามารถต่อสู้กับคู่แข่งรายอื่นๆได้ แต่ก็ติดปัญหาทั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจฯ และข้อกฎหมายหลายฉบับ ซึ่งมีการหารือร่วมกันหลายครั้ง แต่ไม่มีบทสรุป เนื่องจากมีปัญหาที่ซับซ้อน ทั้งการค้ำประกันเงินกู้จากหน่วยงานรัฐ หรือการไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล จะทำให้ขาดสภาพคล่องด้านการเงิน ไม่มีเงินชำระหนี้ และเงินเดือนพนักงาน จนต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู หรือเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย
“หากไม่มีข้อยุติภายใน 15-30 วันนี้ จะมีปัญหาเรื่องการเข้าสู่สถานะขาดสภาพคล่อง ซึ่งกระแสเงินสดของบริษัทอยู่ได้ถึงแค่ต้นเดือน มิ.ย. โดยคณะผู้บริหารอยู่ระหว่างเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อยืดเวลาพักชำระหนี้ แต่มีบางรายไม่ยอมและจะฟ้อง หากไปถึงระดับนั้นจะเป็นอันตรายมาก” นายจักรกฤศฏิ์ ระบุ
ทั้งนี้ กมธ.ส่วนใหญ่ได้เสนอแนะเบื้องต้นว่า ต้องมีการเซตซีโร่ บมจ.การบินไทย ปรับเปลี่ยนคณะผู้บริหารที่มีความเป็นมืออาชีพ ไม่ใช่ให้ข้าราชการ นายทหาร หรือคนที่มีประโยชน์ได้เสียเข้ามาบริหาร นอกจากนั้น ในแผนการฟื้นฟูที่เสนอให้รัฐบาลใช้เงินภาษีของประชาชนช่วยเหลือการบินไทยนั้น รัฐบาลต้องเปิดเผยรายละเอียดและข้อเท็จจริง และต้องกล้าผ่าตัดใหญ่ โดย กมธ.ได้นัดหารือประเด็นดังกล่าวอีกครั้งในสัปดาห์หน้า โดยเชิญจะเชิญ ตัวแทนสหภาพฯบมจ.การบินไทย เข้าชี้แจง
”เสี่ยหนู” ชี้ ก.คลังค้ำเงินกู้ไม่ได้
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 15.00 น. ที่กระทรวงคมนาคม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯกำกับดูแลกระทรวงคมนาคม ได้ประชุมร่วมกับ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม, นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม, น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์, นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รักษาการดีดี บมจ.การบินไทย เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟู บมจ.การบินไทย ขณะที่ นายสมคิด และนายอุตตม เดิมจะเดินทางมาร่วมประชุมด้วย ติดภารกิจสำคัญ จึงไม่ได้เดินทางมาร่วมประชุม
โดย นายอนุทิน เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้รับฟังข้อมูลทั้งหมดเพื่อหาทางออก ที่จะทำแล้วเกิดความเสียหายน้อยที่สุด ซึ่งยังไม่ได้ตัดสินใจ โดยจะต้องรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากนี้ต้องหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง และผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง
“การบินไทยเป็นบริษัทมหาชน ตอนนี้ยังพูดอะไรไม่ได้ ปัญหาการบินไทยเป็นเรื่องใหญ่ ต้องหารือให้ครบถ้วนและรายงานนายกรัฐมนตรีก่อน ยังพูดอะไรตอนนี้ไม่ได้” นายอนุทิน ระบุ
ผู้สื่อข่าวถามว่า แนวทางค้ำประกันเงินกู้ให้กับ บมจ.การบินไทย ตัดทิ้งแล้วหรือไม่ นายอนุทินกล่าวว่า ยังไม่ได้ตัดทิ้ง แต่ตนเห็นว่าเป็นแนวทางที่ทำไม่ได้ และอาจต้องแนวทางอื่น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการประชุมซึ่งใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมงครึ่ง รัฐมนตรีที่เข้าร่วมต่างปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ โดยอ้างว่า ต้องเสนอแนวทางฟื้นฟูกิจการ บมจ.การบินไทย ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ในฐานะประธาน คนร.พิจารณาก่อน
ชงยื่นขอล้มละลาย-พ้น รสก.
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากที่ประชุม เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้มีมติเกี่ยวกับแนวทางฟื้นฟูกิจการ บมจ.การบินไทย ที่จะเสนอให้ คนร.พิจารณาในวันที่ 18 พ.ค.นี้ และเสนอคณะรัฐมนตรี เห็นชอบในวันที่ 19 พ.ค.นี้ ใน 2 ประเด็นหลัก คือ 1.ให้เสนอ คนร.เพื่อให้มีมติให้กระทรวงการคลังลดสัดส่วนการถือหุ้นใน บมจ.การบินไทย ให้ต่ำกว่า 50% เพื่อให้ บมจ.การบินไทย พ้นสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ และ 2.ให้เสนอ คนร.ทบทวนแผนฟื้นฟูกิจการ บมจ.การบินไทย ที่ คนร.เคยมีมติก่อนหน้า โดยเสนอให้ยกเลิกการค้ำประกันเงินกู้ระยะสั้นวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท รวมถึงยกเลิกการเพิ่มทุนวงเงิน 8 หมื่นล้านบาท และให้ บมจ.การบินไทย ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลาย เพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูฯตาม พ.ร.บ.ล้มละลายต่อไป
“เมื่อการบินไทย ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลาย เพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่กระทรวงการคลังต้องเข้ามาค้ำประกันเงินกู้และไม่จำเป็นต้องใส่เงินเพิ่มทุน โดยการบินไทยจะต้องเสนอเสนอรายชื่อผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการต่อศาล และศาลจะมีคำสั่งเรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาผู้ทำแผนต่อไป ส่วนการที่กระทรวงการคลังจะถือหุ้นในการบินไทยต่อไปหรือไม่ สัดส่วนเท่าไรขึ้นอยู่กับรายละเอียดในแผนฟื้นฟู” แหล่งข่าว ระบุ
วานนี้ (14 พ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีการพิจารณาแนวทางการแก้ปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (บมจ.การบินไทย) ว่า เป็นเรื่องของกระทรวงคมนาคม ที่กำกับดูแล บมจ.การบินไทย และคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ตัดสินใจ
“เรื่องบางเรื่อง Sensitive ไปลงข่าวกันทีสองทีแล้วต้องไปนั่งแก้ข่าวมีประโยชน์อะไร เราต้องรู้ว่า บ้านเมืองตอนนี้มีหลายปัญหา” นายสมคิด กล่าว
เผยคุยเจ้าหนี้หาทางจ่ายเงินเดือน
ด้าน นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวถึงแนวโน้มการนำ บมจ.การบินไทย เข้าสู่กระบวนการล้มละลายว่า ถือเป็นหนึ่งในแนวทางแก้ไขปัญหาที่กระทรวงการคลัง และผู้เกี่ยวข้องได้หารือกัน แต่การตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะอยู่ที่คณะรัฐมนตรี อย่างไรก็ดี การทำแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทย อาจจะไม่จำเป็นจะต้องทำให้ บมจ.การบินไทย ล้มละลายก็ได้
ส่วนกรณีมีกระแสข่าวว่าสิ้นเดือน พ.ค 63 บมจ.การบินไทย จะประสบปัญหามีเงินไม่เพียงพอสำหรับการจ่ายเงินเดือนให้พนักงานนั้น นายอุตตม กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวผู้บริหารและคณะกรรมการ (บอร์ด) บมจ.การบินไทย ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยได้ดำเนินการเจรจากับเจ้าหนี้จนประสบผลสำเร็จไปแล้วประมาณหนึ่ง
“การบินไทยยังต้องแก้ปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งขณะนี้ทุกฝ่ายได้พยายามแก้ไขปัญหากันอย่างเต็มที่ ครั้งนี้ถือว่าหมดเวลาแล้ว และการบินไทยจำเป็นต้องปรับตัวครั้งใหญ่ โดยทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง เนื่องจากการบินไทยไทยไม่สามารถทำแบบเดิมได้อีกแล้ว” รมว.คลัง กล่าว
กมธ.สภาฯชี้ต้องโละผู้บริหารยกชุด
ที่รัฐสภา มีการประชุมของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาการจัดทำ และติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายไชยา พรหมา ส.ส.หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย เป็นประธาน ได้นัดประชุมออนไลน์ เพื่อพิจารณาประเด็นการแก้ไขปัญหาโครงสร้างหนี้ของ บมจ.การบินไทย โดยมี นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะรองประธานบอร์ด คนที่ 2 และรักษาการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) บมจ.การบินไทย และนายปัญญา ชูพานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เข้าชี้แจงรายละเอียด
โดยนายจักรกฤศฏิ์ ได้กล่าวช่วงหนึ่งว่า จุดอ่อนของ บมจ.การบินไทย คือความเป็นรัฐวิสาหกิจที่ไม่เอื้อต่อการแข่งขันในอุตสาหกรรมการบิน จึงมีข้อเสนอในการปรับโครงสร้างองค์กรให้ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อความคล่องตัวในการแข่งขันและสามารถต่อสู้กับคู่แข่งรายอื่นๆได้ แต่ก็ติดปัญหาทั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจฯ และข้อกฎหมายหลายฉบับ ซึ่งมีการหารือร่วมกันหลายครั้ง แต่ไม่มีบทสรุป เนื่องจากมีปัญหาที่ซับซ้อน ทั้งการค้ำประกันเงินกู้จากหน่วยงานรัฐ หรือการไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล จะทำให้ขาดสภาพคล่องด้านการเงิน ไม่มีเงินชำระหนี้ และเงินเดือนพนักงาน จนต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู หรือเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย
“หากไม่มีข้อยุติภายใน 15-30 วันนี้ จะมีปัญหาเรื่องการเข้าสู่สถานะขาดสภาพคล่อง ซึ่งกระแสเงินสดของบริษัทอยู่ได้ถึงแค่ต้นเดือน มิ.ย. โดยคณะผู้บริหารอยู่ระหว่างเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อยืดเวลาพักชำระหนี้ แต่มีบางรายไม่ยอมและจะฟ้อง หากไปถึงระดับนั้นจะเป็นอันตรายมาก” นายจักรกฤศฏิ์ ระบุ
ทั้งนี้ กมธ.ส่วนใหญ่ได้เสนอแนะเบื้องต้นว่า ต้องมีการเซตซีโร่ บมจ.การบินไทย ปรับเปลี่ยนคณะผู้บริหารที่มีความเป็นมืออาชีพ ไม่ใช่ให้ข้าราชการ นายทหาร หรือคนที่มีประโยชน์ได้เสียเข้ามาบริหาร นอกจากนั้น ในแผนการฟื้นฟูที่เสนอให้รัฐบาลใช้เงินภาษีของประชาชนช่วยเหลือการบินไทยนั้น รัฐบาลต้องเปิดเผยรายละเอียดและข้อเท็จจริง และต้องกล้าผ่าตัดใหญ่ โดย กมธ.ได้นัดหารือประเด็นดังกล่าวอีกครั้งในสัปดาห์หน้า โดยเชิญจะเชิญ ตัวแทนสหภาพฯบมจ.การบินไทย เข้าชี้แจง
”เสี่ยหนู” ชี้ ก.คลังค้ำเงินกู้ไม่ได้
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 15.00 น. ที่กระทรวงคมนาคม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯกำกับดูแลกระทรวงคมนาคม ได้ประชุมร่วมกับ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม, นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม, น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์, นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รักษาการดีดี บมจ.การบินไทย เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟู บมจ.การบินไทย ขณะที่ นายสมคิด และนายอุตตม เดิมจะเดินทางมาร่วมประชุมด้วย ติดภารกิจสำคัญ จึงไม่ได้เดินทางมาร่วมประชุม
โดย นายอนุทิน เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้รับฟังข้อมูลทั้งหมดเพื่อหาทางออก ที่จะทำแล้วเกิดความเสียหายน้อยที่สุด ซึ่งยังไม่ได้ตัดสินใจ โดยจะต้องรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากนี้ต้องหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง และผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง
“การบินไทยเป็นบริษัทมหาชน ตอนนี้ยังพูดอะไรไม่ได้ ปัญหาการบินไทยเป็นเรื่องใหญ่ ต้องหารือให้ครบถ้วนและรายงานนายกรัฐมนตรีก่อน ยังพูดอะไรตอนนี้ไม่ได้” นายอนุทิน ระบุ
ผู้สื่อข่าวถามว่า แนวทางค้ำประกันเงินกู้ให้กับ บมจ.การบินไทย ตัดทิ้งแล้วหรือไม่ นายอนุทินกล่าวว่า ยังไม่ได้ตัดทิ้ง แต่ตนเห็นว่าเป็นแนวทางที่ทำไม่ได้ และอาจต้องแนวทางอื่น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการประชุมซึ่งใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมงครึ่ง รัฐมนตรีที่เข้าร่วมต่างปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ โดยอ้างว่า ต้องเสนอแนวทางฟื้นฟูกิจการ บมจ.การบินไทย ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ในฐานะประธาน คนร.พิจารณาก่อน
ชงยื่นขอล้มละลาย-พ้น รสก.
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากที่ประชุม เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้มีมติเกี่ยวกับแนวทางฟื้นฟูกิจการ บมจ.การบินไทย ที่จะเสนอให้ คนร.พิจารณาในวันที่ 18 พ.ค.นี้ และเสนอคณะรัฐมนตรี เห็นชอบในวันที่ 19 พ.ค.นี้ ใน 2 ประเด็นหลัก คือ 1.ให้เสนอ คนร.เพื่อให้มีมติให้กระทรวงการคลังลดสัดส่วนการถือหุ้นใน บมจ.การบินไทย ให้ต่ำกว่า 50% เพื่อให้ บมจ.การบินไทย พ้นสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ และ 2.ให้เสนอ คนร.ทบทวนแผนฟื้นฟูกิจการ บมจ.การบินไทย ที่ คนร.เคยมีมติก่อนหน้า โดยเสนอให้ยกเลิกการค้ำประกันเงินกู้ระยะสั้นวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท รวมถึงยกเลิกการเพิ่มทุนวงเงิน 8 หมื่นล้านบาท และให้ บมจ.การบินไทย ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลาย เพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูฯตาม พ.ร.บ.ล้มละลายต่อไป
“เมื่อการบินไทย ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลาย เพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่กระทรวงการคลังต้องเข้ามาค้ำประกันเงินกู้และไม่จำเป็นต้องใส่เงินเพิ่มทุน โดยการบินไทยจะต้องเสนอเสนอรายชื่อผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการต่อศาล และศาลจะมีคำสั่งเรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาผู้ทำแผนต่อไป ส่วนการที่กระทรวงการคลังจะถือหุ้นในการบินไทยต่อไปหรือไม่ สัดส่วนเท่าไรขึ้นอยู่กับรายละเอียดในแผนฟื้นฟู” แหล่งข่าว ระบุ