ผู้จัดการรายวัน360-"บิ๊กตู่" เผยแผนฟื้นฟูการบินไทย ยังไม่เข้าครม. ต้องทำให้สมบูรณ์ก่อนขอคนใน-นอกองค์กร สหภาพฯ ต้องร่วมมือด้วย ไม่อย่างนั้น 2 หมื่นกว่าคนมีปัญหา ยันไม่ได้ขัดแย้งไม่มีผลประโยชน์ ยังไม่พูดไปถึงเรื่องค้ำประกันเงินกู้“ศักดิ์สยาม”ชี้แผนฟื้นฟูการบินไทยตามกรอบ คนร.เห็นชอบ ยังมีความเสี่ยง 23 ข้อ ขีดเส้น พ.ค. นี้ ทำ Action Plan ให้ชัดเจน น่าเชื่อถือ หากทำไม่ได้ อาจต้องใช้แนวทางอื่น "ธนกร" ซัดคนปล่อยข่าว "สมคิด-อุตตม" หนุนอุ้มการบินไทยสวนมติครม.ที่ เพื่อหวังดิสเครดิต ด้าน"อรรถวิชช์" ชี้แผนอุ้มการบินไทย ขาดความชัดเจน แนะเข้าฟื้นฟูกิจการตามเทคนิค "พ.ร.บ.ล้มละลาย"
วานนี้ (12 พ.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงแผนฟื้นฟูบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI ว่า อยู่ในขั้นตอนการพิจารณา ยังไม่มีวาระพิจารณาในครม. ตนย้ำเว่าจะต้องเข้าสู่แผนการฟื้นฟูที่มีประสิทธิผล เกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายตัว ก็ขอร้องบุคลากรทั้งในองค์กร นอกองค์กร และสหภาพรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง จะต้องช่วยกันตรงนี้ ไม่อย่างนั้นไปกันไม่ได้ ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ก็เสนอเข้ามาแล้ว ทั้งหมดยังต้องดำเนินการอีกหลายอย่าง เพื่อนำเข้าครม.อนุมัติได้
" องค์กรของท่านมีคน 2 หมื่นกว่าคนจะเกิดปัญหาทันที ถ้าท่านไม่ช่วยกันแล้วใครจะช่วย " นายกฯ กล่าว
ส่วนวิสาหกิจอื่นๆ ก็มีแผนการฟื้นฟูอยู่แล้ว มีแต่ของการบินไทยที่ไม่เป็นไปตามแผนฟื้นฟูเท่านั้นเอง ส่วนเรื่องของการให้กู้ การค้ำประกันเงินกู้ ยังไม่มีการพูดตรงนั้น
“ศักดิ์สยาม” ชี้แผนฟื้นฟูบินไทยมีความเสี่ยง 23 ข้อ
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงแผนฟื้นฟูบริษัท การบินไทยจำกัด ว่า แผนฟื้นฟูที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) นั้น เป็นกรอบแผนใหญ่ที่ยังไม่มีรายละเอียด เช่น แผนบริหารหนี้ แผนรายได้ แผนรายจ่าย และต้องมีเงื่อนไข ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 เข้ามาพิจารณาร่วมด้วย เนื่องจากแผนฟื้นฟูเดิม ยังไม่มีเรื่องโควิด-19 ซึ่งได้ให้ การบินไทยไปจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) พิจารณาแผนที่การบินไทยจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม
ทั้งนี้กรอบแผนฟื้นฟูที่คนร.อนุมัติ เป็นหลักการกว้างๆประมาณ 7 -9 เรื่อง ซึ่งเป็นหลักการปกติของการเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจสายการบินที่ต้องทำ แต่การนำกรอบไปสู่การปฏิบัติจะต้องมีแผนละเอียด ซึ่งแผนฟื้นฟูยังระบุว่า มีความเสี่ยง 23 เรื่อง ซึ่งตนเห็นว่า หากยังมีความเสี่ยงอยู่ แม้เพียงเรื่องเดียวก็ไม่ได้
“ตั้งแต่ก่อตั้ง การบินไทยถือเป็นรัฐวิสาหกิจที่ประสบความสำเร็จ มีกำไร แต่ในช่วงหลังมีปัญหา ซึ่งในปี 2558 เคยมีการดำเนินการฟื้นฟูใกล้เคียงในลักษณะนี้ ดังนั้นต้องนำข้อมูลมาประมวลทั้งหมด”รมว.คมนาคมกล่าว
แผนฟื้นฟูนี้ต้องมีคำอธิบายที่ชัดเจน คือ Action Plan ต้องชัดเจน who what When Where Why KPI ต้องมีอย่างละเอียดทั้งหมด
"ธนกร" ซัดคนปล่อยข่าวดิสเครดิต "สมคิด-อุตตม"
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวคณะรัฐมนตรีเสียงข้างมากปล่อยล้มละลายการบินไทย โดยมีเพียง 2 เสียง คือนายอุตตม สาวนยน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่ยังหนุนให้อุ้มการบินไทย นั้น นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ไม่เป็นความจริง ซึ่งได้รับการยืนยันจาก รมว. คลัง แล้ว ไม่มีการนำแผนฟื้นฟูการบินไทยเข้าสู่การพิจารณาของครม. แต่แป็นความพยายามการปล่อยข่าวของคนที่ไม่หวังดีกับรัฐบาล
"อรรถวิชช์" แนะเข้าพ.ร.บ.ล้มละลาย
ด้านนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า โฟสต์เฟซบุ๊ก ส่งข้อความถึงการบินไทย โดยระบุตอนหนึ่งว่า “ผมเห็นว่าการอุ้มการบินไทยต้องมีแผนฟื้นฟูกิจการที่ชัดเจน ผูกพันตามกฎหมายล้มละลาย ส่งสัญญาณเป็นการผ่าตัดใหญ่ ให้เจ้าหนี้และคู่ค้าตื่นตัว รวมถึงเป็นการสร้างความชอบธรรมที่จะชะลอการซื้อฝูงบินใหม่ 38 ลำ มูลค่า 1.5 แสนล้าน จากบริษัทโบอิ้ง สหรัฐอเมริกา
การทำแผนฟื้นฟู ตาม“พ.ร.บ.ล้มละลาย”จะทำให้เกิดผลทางกฎหมาย คือ Automatic stay ภาษาบ้านๆ คือ จะมาตัดน้ำตัดไฟไม่ได้ ธุรกิจเดินต่อได้ เจ้าหนี้ต้องมาดูแผนฟื้นฟูร่วมกัน ยอมลดหนี้ ประหนึ่งมาช่วยทำให้ธุรกิจเดินต่อได้ ไม่งั้นอดได้หนี้คืน เพราะถ้าเจ้าหนี้จะไม่ให้ทำธุรกิจต่อ หรือไม่อนุมัติแผนฟื้นฟูแล้ว เจ้าหนี้จะต้องไปรอการชำระบัญชี รอขายซากของธุรกิจที่ไม่คุ้มค่า
รัฐบาล การบินไทย สหภาพ เจ้าหนี้ต่างๆ ต้องตัดสินใจและมาช่วยกันทำ “แผนฟื้นฟูกิจการอย่างเป็นทางการ ภายใต้ พ.ร.บ.ล้มละลาย”ไม่ใช่แค่แผนการปรับปรุงภายในองค์กร แบบที่เอาไปผ่านคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) มานั้น น้ำหนักมันน้อยไป
การที่รัฐจะช่วย 5 หมื่นล้านคราวนี้ มันได้แค่เอาเครื่องขึ้นกลับไปบินเหมือนก่อนวิกฤตโควิด-19 เท่านั้น ไม่ได้ช่วยให้หลุดพ้นจากสภาพร่อแร่จากเดิม
การทำแผนฟื้นฟูกิจการภายใต้ พ.ร.บ.ล้มละลาย เป็นการส่งสัญญาณถึงสหรัฐอเมริกาด้วยว่า การรับมอบฝูงเครื่องบินโบอิ้งนั้น ทำไม่ได้ เพราะการบินไทยอาการหนักจริง หมดเวลาเกรงใจสหรัฐฯแล้ว ! เพราะ 25 เม.ย.63 ที่ผ่านมา คำสั่งประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ มีผลเป็นการตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร GSP ทำให้สินค้าของไทยต้องเจอกับกำแพงภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ การที่สหรัฐฯ ตัดสินใจกีดกันทางการค้าเพราะขาดดุลทางการค้าอย่างหนักกับไทย ซึ่งไทยเองก็น่าจะใช้สิทธิ์ไม่รับเครื่องบินโบอิ้ง เพราะการบินไทยก็ขาดทุนอย่างหนักหน่วงเช่นเดียวกัน เล่นกันแฟร์แฟร์ ไปเลย
วานนี้ (12 พ.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงแผนฟื้นฟูบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI ว่า อยู่ในขั้นตอนการพิจารณา ยังไม่มีวาระพิจารณาในครม. ตนย้ำเว่าจะต้องเข้าสู่แผนการฟื้นฟูที่มีประสิทธิผล เกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายตัว ก็ขอร้องบุคลากรทั้งในองค์กร นอกองค์กร และสหภาพรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง จะต้องช่วยกันตรงนี้ ไม่อย่างนั้นไปกันไม่ได้ ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ก็เสนอเข้ามาแล้ว ทั้งหมดยังต้องดำเนินการอีกหลายอย่าง เพื่อนำเข้าครม.อนุมัติได้
" องค์กรของท่านมีคน 2 หมื่นกว่าคนจะเกิดปัญหาทันที ถ้าท่านไม่ช่วยกันแล้วใครจะช่วย " นายกฯ กล่าว
ส่วนวิสาหกิจอื่นๆ ก็มีแผนการฟื้นฟูอยู่แล้ว มีแต่ของการบินไทยที่ไม่เป็นไปตามแผนฟื้นฟูเท่านั้นเอง ส่วนเรื่องของการให้กู้ การค้ำประกันเงินกู้ ยังไม่มีการพูดตรงนั้น
“ศักดิ์สยาม” ชี้แผนฟื้นฟูบินไทยมีความเสี่ยง 23 ข้อ
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงแผนฟื้นฟูบริษัท การบินไทยจำกัด ว่า แผนฟื้นฟูที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) นั้น เป็นกรอบแผนใหญ่ที่ยังไม่มีรายละเอียด เช่น แผนบริหารหนี้ แผนรายได้ แผนรายจ่าย และต้องมีเงื่อนไข ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 เข้ามาพิจารณาร่วมด้วย เนื่องจากแผนฟื้นฟูเดิม ยังไม่มีเรื่องโควิด-19 ซึ่งได้ให้ การบินไทยไปจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) พิจารณาแผนที่การบินไทยจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม
ทั้งนี้กรอบแผนฟื้นฟูที่คนร.อนุมัติ เป็นหลักการกว้างๆประมาณ 7 -9 เรื่อง ซึ่งเป็นหลักการปกติของการเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจสายการบินที่ต้องทำ แต่การนำกรอบไปสู่การปฏิบัติจะต้องมีแผนละเอียด ซึ่งแผนฟื้นฟูยังระบุว่า มีความเสี่ยง 23 เรื่อง ซึ่งตนเห็นว่า หากยังมีความเสี่ยงอยู่ แม้เพียงเรื่องเดียวก็ไม่ได้
“ตั้งแต่ก่อตั้ง การบินไทยถือเป็นรัฐวิสาหกิจที่ประสบความสำเร็จ มีกำไร แต่ในช่วงหลังมีปัญหา ซึ่งในปี 2558 เคยมีการดำเนินการฟื้นฟูใกล้เคียงในลักษณะนี้ ดังนั้นต้องนำข้อมูลมาประมวลทั้งหมด”รมว.คมนาคมกล่าว
แผนฟื้นฟูนี้ต้องมีคำอธิบายที่ชัดเจน คือ Action Plan ต้องชัดเจน who what When Where Why KPI ต้องมีอย่างละเอียดทั้งหมด
"ธนกร" ซัดคนปล่อยข่าวดิสเครดิต "สมคิด-อุตตม"
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวคณะรัฐมนตรีเสียงข้างมากปล่อยล้มละลายการบินไทย โดยมีเพียง 2 เสียง คือนายอุตตม สาวนยน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่ยังหนุนให้อุ้มการบินไทย นั้น นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ไม่เป็นความจริง ซึ่งได้รับการยืนยันจาก รมว. คลัง แล้ว ไม่มีการนำแผนฟื้นฟูการบินไทยเข้าสู่การพิจารณาของครม. แต่แป็นความพยายามการปล่อยข่าวของคนที่ไม่หวังดีกับรัฐบาล
"อรรถวิชช์" แนะเข้าพ.ร.บ.ล้มละลาย
ด้านนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า โฟสต์เฟซบุ๊ก ส่งข้อความถึงการบินไทย โดยระบุตอนหนึ่งว่า “ผมเห็นว่าการอุ้มการบินไทยต้องมีแผนฟื้นฟูกิจการที่ชัดเจน ผูกพันตามกฎหมายล้มละลาย ส่งสัญญาณเป็นการผ่าตัดใหญ่ ให้เจ้าหนี้และคู่ค้าตื่นตัว รวมถึงเป็นการสร้างความชอบธรรมที่จะชะลอการซื้อฝูงบินใหม่ 38 ลำ มูลค่า 1.5 แสนล้าน จากบริษัทโบอิ้ง สหรัฐอเมริกา
การทำแผนฟื้นฟู ตาม“พ.ร.บ.ล้มละลาย”จะทำให้เกิดผลทางกฎหมาย คือ Automatic stay ภาษาบ้านๆ คือ จะมาตัดน้ำตัดไฟไม่ได้ ธุรกิจเดินต่อได้ เจ้าหนี้ต้องมาดูแผนฟื้นฟูร่วมกัน ยอมลดหนี้ ประหนึ่งมาช่วยทำให้ธุรกิจเดินต่อได้ ไม่งั้นอดได้หนี้คืน เพราะถ้าเจ้าหนี้จะไม่ให้ทำธุรกิจต่อ หรือไม่อนุมัติแผนฟื้นฟูแล้ว เจ้าหนี้จะต้องไปรอการชำระบัญชี รอขายซากของธุรกิจที่ไม่คุ้มค่า
รัฐบาล การบินไทย สหภาพ เจ้าหนี้ต่างๆ ต้องตัดสินใจและมาช่วยกันทำ “แผนฟื้นฟูกิจการอย่างเป็นทางการ ภายใต้ พ.ร.บ.ล้มละลาย”ไม่ใช่แค่แผนการปรับปรุงภายในองค์กร แบบที่เอาไปผ่านคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) มานั้น น้ำหนักมันน้อยไป
การที่รัฐจะช่วย 5 หมื่นล้านคราวนี้ มันได้แค่เอาเครื่องขึ้นกลับไปบินเหมือนก่อนวิกฤตโควิด-19 เท่านั้น ไม่ได้ช่วยให้หลุดพ้นจากสภาพร่อแร่จากเดิม
การทำแผนฟื้นฟูกิจการภายใต้ พ.ร.บ.ล้มละลาย เป็นการส่งสัญญาณถึงสหรัฐอเมริกาด้วยว่า การรับมอบฝูงเครื่องบินโบอิ้งนั้น ทำไม่ได้ เพราะการบินไทยอาการหนักจริง หมดเวลาเกรงใจสหรัฐฯแล้ว ! เพราะ 25 เม.ย.63 ที่ผ่านมา คำสั่งประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ มีผลเป็นการตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร GSP ทำให้สินค้าของไทยต้องเจอกับกำแพงภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ การที่สหรัฐฯ ตัดสินใจกีดกันทางการค้าเพราะขาดดุลทางการค้าอย่างหนักกับไทย ซึ่งไทยเองก็น่าจะใช้สิทธิ์ไม่รับเครื่องบินโบอิ้ง เพราะการบินไทยก็ขาดทุนอย่างหนักหน่วงเช่นเดียวกัน เล่นกันแฟร์แฟร์ ไปเลย