ผู้จัดการรายวัน360-“ส.อ.ท.–สภาองค์การนายจ้าง” มองสวนทางบอร์ดประกันสังคม หนุนทบทวนเพิ่มการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประกันตนจาก 62% เป็น 75% เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากวิกฤตโควิด-19 ชี้ต้องช่วยระยะสั้นให้รอดตายก่อน หากมองแต่อนาคตเงินไม่พอ อาจไม่มีอนาคตให้เห็น “หม่อมเต่า” ย้ำจ่ายชดเชยว่างงาน 75% ทำได้ เงินมีเพียงพอ ลุ้นรายงาน ครม. วันนี้เคาะแนวทาง
นายสุชาติ จันทรานาคราช ประธานคณะอนุกรรมการมาตรการแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท. ไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) ที่มีมติไม่พิจารณาแนวทางการเพิ่มการจ่ายเงินกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 จาก 62% ของเงินเดือนแต่ไม่เกินเพดาน 15,000 บาท เป็น 75% เพื่อบรรเทาผลกระทบในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงเห็นว่าควรจะทบทวน เพราะเงินที่จ่าย เป็นของลูกจ้างและนายจ้าง ซึ่งหมายถึงเงินที่พวกเขาได้สะสมเป็นหลัก ไม่ใช่เงินงบประมาณทั้งหมดหรือเงินจากส่วนอื่นๆ ต่างจากเงินเยียวยาของกระทรวงการคลังที่จ่ายให้ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม 5,000 บาท ดังนั้น เมื่อผู้จ่ายประกันเดือดร้อน จึงควรช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ก่อนที่ลูกจ้างและนายจ้างจะไม่มีงานทำหรือต้องปิดกิจการไป
ทั้งนี้ การช่วยเหลือมีสิ่งที่ต้องคำนึง ได้แก่ 1.ความเดือดร้อนของลูกจ้างและนายจ้าง ซึ่งแน่นอนว่าสถานการณ์โควิด-19 ทุกอย่างต้องหยุดชะงักลงไป และส่วนหนึ่งต้องปิด เพราะคำสั่งรัฐ ซึ่งถือว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเหตุสุดวิสัย 2.วงเงินของกองทุนประกันสังคมเพียงพอหรือไม่ ซึ่งสำหรับตนแล้วมองว่าวงเงินรวมกว่า 2 ล้านล้านบาท หากแยกส่วนของประกันการว่างงานที่มีอยู่ 1.6 แสนล้านบาทนั้น มีเพียงพอ เพราะหากไปคำนึงถึงอนาคต แต่ระยะสั้นแรงงานต้องตกงานไป หรือนายจ้างปิดกิจการ ในที่สุดเงินเหล่านี้จะไม่มีอยู่ดี 3.วงเงินที่ได้รับ 62% ไม่เพียงพอ จึงได้มีการเสนอเป็น 75%
“หากบอร์ดประกันสังคมบอกว่าอนาคตจะมีคนตกงานอีกมาก เงินจะไม่พอ ถ้ามัวเก็บเงินไว้ใช้ในอนาคต ถามว่าจะมีอนาคตให้พวกเขาไหม ส.อ.ท.เคยประเมินไว้ว่าโควิด-19 หากจบ มิ.ย. จะมีแรงงานตกงานราว 7 ล้านคน ซึ่งขณะนี้มีแรงงานในระบบประกันสังคมอยู่ประมาณ 1 ล้านกว่าคนแล้ว หากทุกฝ่ายช่วยได้ทันท่วงที ปัญหานี้ก็จะเบาลงได้ ซึ่งมาตรการด้านแรงงาน ส.อ.ท. ได้นำเสนอผ่านคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ไปแล้ว บางมาตรการภาครัฐได้พิจารณาดำเนินการให้ แต่บางมาตรการก็ยังรอการพิจารณา เช่น การรับเงินทดแทนกรณีว่างงานจาก62% เป็น 75% การขอปรับลดอัตราการจ่ายเงินสมทบในส่วนของนายจ้าง สถานประกอบการ เหลือ 1% ไปจนถึงสิ้นปีนี้ เป็นต้น” นายสุชาติกล่าว
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า ขณะนี้ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนจากการว่างงาน เพราะเหตุสุดวิสัยจากผลกระทบโควิด-19 จึงเห็นว่าประกันสังคมควรจ่ายเงินให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33 จาก 62% ของค่าจ้างรายวัน แต่ไม่เกินเพดาน 15,000 บาท เป็น 75% เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน แต่อาจไม่ต้องขยายเวลาจากเดิม 3 เดือนไปถึงสิ้นปีก็ได้ หากเห็นว่าจะมีผลกระทบต่อเม็ดเงินในอนาคต
รายงานข่าว แจ้งว่า การประชุมคณะกรรมการประกันสังคมเมื่อ 7 พ.ค.2563 ได้มีการนำเสนอวาระพิจารณา 2 เรื่อง คือ เพิ่มสัดส่วนชดเชยผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบและเป็นเหตุสุดวิสัยเพิ่มจาก 62% เป็น 75% ของค่าจ้างรายวัน โดยไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน พร้อมกับเสนอให้ขยายเวลาชดเชยจาก 3 เดือน เป็นยาวถึงสิ้นปี และ 2.การปรับลดส่งเงินสมทบของนายจ้างเหลือเพียง 1% จากเดิมที่ 4% โดยให้เหตุผลว่าสัดส่วนเดิมที่เยียวยาไม่พอใช้ในแต่ละเดือน ซึ่งปรากฏว่าบอร์ดประกันสังคมมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่อนุมัติทั้ง 2 ประเด็น
ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รมว.แรงงาน กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 12 พ.ค.2563 จะรายงานเรื่องความคืบหน้าการจ่ายเงินเยียวให้กับผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่ลงทะเบียนรับเงินเยียวยากว่า 9.9 แสนคน ในอัตรา 62% ว่าจ่ายให้ผู้ประกันตนแล้วกี่ราย เป็นเงินเท่าไร ส่วนการเสนอให้จ่ายเพิ่มเติมเป็น 75% นั้น ยังไม่ได้รับรายงานผลการประชุมบอร์ดประกันสังคมจากนายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน อย่างเป็นทางการ แต่อาจจะได้ผลในช่วงเช้าวันนี้ และนำเข้าที่ประชุม ครม. วาระจรก็ได้ ทุกอย่างเป็นไปได้ ส่วนจะปรับเพิ่มเป็น 75% หรือไม่ เห็นว่าสามารถทำได้ เหมือนครั้งก่อนให้เพิ่มจาก 50% เป็น 62% ก็ทำมาแล้ว แต่จะขอดูเหตุผลของบอร์ดประกันสังคมก่อน ซึ่งถ้าจะเพิ่ม ก็ไม่เป็นภาระอะไร ยังมีเงินกองทุนสะสมอยู่ 2.1 ล้านล้านบาท และขึ้นอยู่กับว่าอีก 3 เดือน 6 เดือน จะมีคนว่างงานเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่
นายสุชาติ จันทรานาคราช ประธานคณะอนุกรรมการมาตรการแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท. ไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) ที่มีมติไม่พิจารณาแนวทางการเพิ่มการจ่ายเงินกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 จาก 62% ของเงินเดือนแต่ไม่เกินเพดาน 15,000 บาท เป็น 75% เพื่อบรรเทาผลกระทบในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงเห็นว่าควรจะทบทวน เพราะเงินที่จ่าย เป็นของลูกจ้างและนายจ้าง ซึ่งหมายถึงเงินที่พวกเขาได้สะสมเป็นหลัก ไม่ใช่เงินงบประมาณทั้งหมดหรือเงินจากส่วนอื่นๆ ต่างจากเงินเยียวยาของกระทรวงการคลังที่จ่ายให้ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม 5,000 บาท ดังนั้น เมื่อผู้จ่ายประกันเดือดร้อน จึงควรช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ก่อนที่ลูกจ้างและนายจ้างจะไม่มีงานทำหรือต้องปิดกิจการไป
ทั้งนี้ การช่วยเหลือมีสิ่งที่ต้องคำนึง ได้แก่ 1.ความเดือดร้อนของลูกจ้างและนายจ้าง ซึ่งแน่นอนว่าสถานการณ์โควิด-19 ทุกอย่างต้องหยุดชะงักลงไป และส่วนหนึ่งต้องปิด เพราะคำสั่งรัฐ ซึ่งถือว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเหตุสุดวิสัย 2.วงเงินของกองทุนประกันสังคมเพียงพอหรือไม่ ซึ่งสำหรับตนแล้วมองว่าวงเงินรวมกว่า 2 ล้านล้านบาท หากแยกส่วนของประกันการว่างงานที่มีอยู่ 1.6 แสนล้านบาทนั้น มีเพียงพอ เพราะหากไปคำนึงถึงอนาคต แต่ระยะสั้นแรงงานต้องตกงานไป หรือนายจ้างปิดกิจการ ในที่สุดเงินเหล่านี้จะไม่มีอยู่ดี 3.วงเงินที่ได้รับ 62% ไม่เพียงพอ จึงได้มีการเสนอเป็น 75%
“หากบอร์ดประกันสังคมบอกว่าอนาคตจะมีคนตกงานอีกมาก เงินจะไม่พอ ถ้ามัวเก็บเงินไว้ใช้ในอนาคต ถามว่าจะมีอนาคตให้พวกเขาไหม ส.อ.ท.เคยประเมินไว้ว่าโควิด-19 หากจบ มิ.ย. จะมีแรงงานตกงานราว 7 ล้านคน ซึ่งขณะนี้มีแรงงานในระบบประกันสังคมอยู่ประมาณ 1 ล้านกว่าคนแล้ว หากทุกฝ่ายช่วยได้ทันท่วงที ปัญหานี้ก็จะเบาลงได้ ซึ่งมาตรการด้านแรงงาน ส.อ.ท. ได้นำเสนอผ่านคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ไปแล้ว บางมาตรการภาครัฐได้พิจารณาดำเนินการให้ แต่บางมาตรการก็ยังรอการพิจารณา เช่น การรับเงินทดแทนกรณีว่างงานจาก62% เป็น 75% การขอปรับลดอัตราการจ่ายเงินสมทบในส่วนของนายจ้าง สถานประกอบการ เหลือ 1% ไปจนถึงสิ้นปีนี้ เป็นต้น” นายสุชาติกล่าว
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า ขณะนี้ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนจากการว่างงาน เพราะเหตุสุดวิสัยจากผลกระทบโควิด-19 จึงเห็นว่าประกันสังคมควรจ่ายเงินให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33 จาก 62% ของค่าจ้างรายวัน แต่ไม่เกินเพดาน 15,000 บาท เป็น 75% เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน แต่อาจไม่ต้องขยายเวลาจากเดิม 3 เดือนไปถึงสิ้นปีก็ได้ หากเห็นว่าจะมีผลกระทบต่อเม็ดเงินในอนาคต
รายงานข่าว แจ้งว่า การประชุมคณะกรรมการประกันสังคมเมื่อ 7 พ.ค.2563 ได้มีการนำเสนอวาระพิจารณา 2 เรื่อง คือ เพิ่มสัดส่วนชดเชยผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบและเป็นเหตุสุดวิสัยเพิ่มจาก 62% เป็น 75% ของค่าจ้างรายวัน โดยไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน พร้อมกับเสนอให้ขยายเวลาชดเชยจาก 3 เดือน เป็นยาวถึงสิ้นปี และ 2.การปรับลดส่งเงินสมทบของนายจ้างเหลือเพียง 1% จากเดิมที่ 4% โดยให้เหตุผลว่าสัดส่วนเดิมที่เยียวยาไม่พอใช้ในแต่ละเดือน ซึ่งปรากฏว่าบอร์ดประกันสังคมมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่อนุมัติทั้ง 2 ประเด็น
ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รมว.แรงงาน กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 12 พ.ค.2563 จะรายงานเรื่องความคืบหน้าการจ่ายเงินเยียวให้กับผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่ลงทะเบียนรับเงินเยียวยากว่า 9.9 แสนคน ในอัตรา 62% ว่าจ่ายให้ผู้ประกันตนแล้วกี่ราย เป็นเงินเท่าไร ส่วนการเสนอให้จ่ายเพิ่มเติมเป็น 75% นั้น ยังไม่ได้รับรายงานผลการประชุมบอร์ดประกันสังคมจากนายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน อย่างเป็นทางการ แต่อาจจะได้ผลในช่วงเช้าวันนี้ และนำเข้าที่ประชุม ครม. วาระจรก็ได้ ทุกอย่างเป็นไปได้ ส่วนจะปรับเพิ่มเป็น 75% หรือไม่ เห็นว่าสามารถทำได้ เหมือนครั้งก่อนให้เพิ่มจาก 50% เป็น 62% ก็ทำมาแล้ว แต่จะขอดูเหตุผลของบอร์ดประกันสังคมก่อน ซึ่งถ้าจะเพิ่ม ก็ไม่เป็นภาระอะไร ยังมีเงินกองทุนสะสมอยู่ 2.1 ล้านล้านบาท และขึ้นอยู่กับว่าอีก 3 เดือน 6 เดือน จะมีคนว่างงานเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่