“ก.คลัง” จ่อดูแลกลุ่มตกหล่น คนแก่ คนไร้บ้าน และผู้ลงทะเบียนรับ5,000ไม่สำเร็จกว่า1ล้านคนหลังปิดโครงการ17พ.ค.นี้ พร้อมยึดเวลารับเรื่องร้องทุกข์อีก1สัปดาห์ถึงวันศูกร์หน้า 15 พ.ค. ยืนยันช่วยเหลือกลุ่มลงทะเบียนไม่สำเร็จ 1.7 ล้านคน
วานนี้ (7 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่ลานอเนกประสงค์ กรมประชาสัมพันธ์ ซ.อารีย์สัมพันธ์ ถนนพระราม 6 ยังคงมีประชาชนจำนวนมากเดินทางมาร้องทุกข์ กรณีปัญหาการลงทะเบียนมาตรการเราไม่ทิ้งกัน มอบเงินเยียวยาผู้ประกอบอาชีพอิสระ 5,000 บาทต่อเดือน รวมเป็นเวลา 3 เดือน โดยมี นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการ รมว.คลัง ร่วมสังเกตการณ์ ชี้แจงทำความเข้าใจ และสอบถามปัญหาจากประชาชน เช่นเดิม
นายธนกร เปิดเผยว่า จากการหารือกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายแล้วพบว่า เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั่วถึง และอำนวยความสะดวกแก่พี่น้องประชาชนในการรับเรื่องราวร้องทุกข์ และการประสานงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงการคลังจะขยายเวลาการปิดให้มีการลงทะเบียนรับเรื่องราวร้องทุกข์เงินเยียวยา 5,000 บาท จากเดิมกำหนดปิดวันที่ 8 พ.ค.63 ออกไปจนถึงวันที่ 15 พ.ค.63 ในวันและเวลาราชการ ทั้งนี้ ของดให้บริการรับเรื่องร้องทุกข์ระหว่างวันที่ 9-11 พ.ค.63 ที่เป็นวันหยุดราชการ
“สูงวัย-พิการ-ไร้บ้าน” เตรียมเฮ
ส่วนความคืบหน้าในการยื่นทบทวนสิทธิ์ของผู้ลงทะเบียนมาตรการเราไม่ทิ้งกันนั้น นายธนกร เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้ยื่นขอทบทวนสิทธิ์แล้ว 5.6 ล้านราย โดยในจำนวนนี้ผ่านเกณฑ์และได้รับเงินแล้ว 3.8 ล้านคน สำหรับส่วนที่เหลือกระทรวงการคลังจะเร่งส่งผู้พิทักษ์สิทธิ์ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 17 พ.ค.63 ซึ่งถือเป็นวันสิ้นสุดโครงการ โดยย้ำว่าผู้ที่ลงทะเบียนทั้งหมดจะรู้ว่า ตนได้รับสิทธิ์หรือไม่ได้รับสิทธิ์
“หลังจากวันที่ 17 พ.ค.63 กระทรวงการคลังจะร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเข้าดูแลกลุ่มที่ตกหล่นการเยียวยาจากรัฐบาล โดยจะรวมถึงกลุ่มชายขอบ กลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ คนไร้บ้าน และกลุ่มที่ลงทะเบียนไม่สำเร็จอีกราว 1 ล้านคน เพื่อพิจารณาหามาตรการช่วยเหลือเป็นลำดับต่อไป" นายธนกร ระบุ
ผ่านเกณฑ์แล้วกว่า 13.4 ล้านคน
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวเสริมว่า จากยอดผู้ลงทะเบียนรับสิทธิจำนวน 28.8 ล้านคน นั้น ขณะนี้สามารถจำแนกกลุ่มผู้ลงทะเบียนว่าได้รับสิทธิ และไม่ได้รับสิทธิเรียบร้อยแล้ว โดยจำนวนผู้ที่เขาข่ายได้รับเงินเยียวยาในขณะนี้มีอยู่ราว 16 ล้านคน ผ่านการพิจารณาและตรวจสอบแล้ว 13.4 ล้านราย ล่าสุดมีผู้ผ่านเกณฑ์รับเงินจากมาตรการเราไม่ทิ้งกันแล้วกว่า 13.4 ล้านคน โดยในวันที่ 8 พ.ค.นี้ กระทรวงการคลังจะเร่งโอนให้แล้วเสร็จ 11 ล้านคน และส่วนที่เหลือจะเร่งดำเนินการโอนเงินแล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้า
ช่วยเกษตรกรไม่ซ้ำเราไม่ทิ้งกัน
สำหรับมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบทั้งจากภัยแล้ง และโควิด-19 นั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เตรียมให้ความช่วยเหลือเงินเยียวยา 5,000 บาท รวม 3 เดือน ตั้งแต่ พ.ค. – ก.ค.63 ให้แก่เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน 10 ล้านราย โดยได้เปิดช่องทาง www.เยียวยาเกษตรกร.com ให้จะเปิดให้เกษตรกรเข้าลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 20.00 น. วานนี้ (7 พ.ค.)
นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการ ธ.ก.ส.กล่าวว่า การจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกรนั้น ธ.ก.ส. จะคัดกรองจากข้อมูลผู้ลงทะเบียนเกษตรกรที่ผ่านการตรวจสอบจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หลังจากนั้น ก็จะดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง 2 ช่องทาง คือ เกษตรกรมีบัญชีเงินฝากกับ ธ.ก.ส. สามารถใช้บัญชีเงินฝากที่มีอยู่ได้ โดยไม่ต้องเปิดบัญชีใหม่ และรอรับการโอนเงินตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.63 เป็นต้นไป ส่วนเกษตรกรที่ไม่มีบัญชีเงินฝากกับ ธ.ก.ส. สามารถลงทะเบียนบัญชีเงินฝากที่มีอยู่กับธนาคารใดก็ได้ ผ่านเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com
“ข้อสำคัญสำหรับการได้เงินเยียวยาเกษตรกรในครั้งนี้ก็คือ เกษตรกรที่รับเงินเยียวยาเกษตรกร 15,000 บาทนั้น จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับการรับเงินจากมาตรการเราไม่ทิ้งกัน” นายอภิรมย์ ระบุ
วานนี้ (7 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่ลานอเนกประสงค์ กรมประชาสัมพันธ์ ซ.อารีย์สัมพันธ์ ถนนพระราม 6 ยังคงมีประชาชนจำนวนมากเดินทางมาร้องทุกข์ กรณีปัญหาการลงทะเบียนมาตรการเราไม่ทิ้งกัน มอบเงินเยียวยาผู้ประกอบอาชีพอิสระ 5,000 บาทต่อเดือน รวมเป็นเวลา 3 เดือน โดยมี นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการ รมว.คลัง ร่วมสังเกตการณ์ ชี้แจงทำความเข้าใจ และสอบถามปัญหาจากประชาชน เช่นเดิม
นายธนกร เปิดเผยว่า จากการหารือกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายแล้วพบว่า เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั่วถึง และอำนวยความสะดวกแก่พี่น้องประชาชนในการรับเรื่องราวร้องทุกข์ และการประสานงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงการคลังจะขยายเวลาการปิดให้มีการลงทะเบียนรับเรื่องราวร้องทุกข์เงินเยียวยา 5,000 บาท จากเดิมกำหนดปิดวันที่ 8 พ.ค.63 ออกไปจนถึงวันที่ 15 พ.ค.63 ในวันและเวลาราชการ ทั้งนี้ ของดให้บริการรับเรื่องร้องทุกข์ระหว่างวันที่ 9-11 พ.ค.63 ที่เป็นวันหยุดราชการ
“สูงวัย-พิการ-ไร้บ้าน” เตรียมเฮ
ส่วนความคืบหน้าในการยื่นทบทวนสิทธิ์ของผู้ลงทะเบียนมาตรการเราไม่ทิ้งกันนั้น นายธนกร เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้ยื่นขอทบทวนสิทธิ์แล้ว 5.6 ล้านราย โดยในจำนวนนี้ผ่านเกณฑ์และได้รับเงินแล้ว 3.8 ล้านคน สำหรับส่วนที่เหลือกระทรวงการคลังจะเร่งส่งผู้พิทักษ์สิทธิ์ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 17 พ.ค.63 ซึ่งถือเป็นวันสิ้นสุดโครงการ โดยย้ำว่าผู้ที่ลงทะเบียนทั้งหมดจะรู้ว่า ตนได้รับสิทธิ์หรือไม่ได้รับสิทธิ์
“หลังจากวันที่ 17 พ.ค.63 กระทรวงการคลังจะร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเข้าดูแลกลุ่มที่ตกหล่นการเยียวยาจากรัฐบาล โดยจะรวมถึงกลุ่มชายขอบ กลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ คนไร้บ้าน และกลุ่มที่ลงทะเบียนไม่สำเร็จอีกราว 1 ล้านคน เพื่อพิจารณาหามาตรการช่วยเหลือเป็นลำดับต่อไป" นายธนกร ระบุ
ผ่านเกณฑ์แล้วกว่า 13.4 ล้านคน
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวเสริมว่า จากยอดผู้ลงทะเบียนรับสิทธิจำนวน 28.8 ล้านคน นั้น ขณะนี้สามารถจำแนกกลุ่มผู้ลงทะเบียนว่าได้รับสิทธิ และไม่ได้รับสิทธิเรียบร้อยแล้ว โดยจำนวนผู้ที่เขาข่ายได้รับเงินเยียวยาในขณะนี้มีอยู่ราว 16 ล้านคน ผ่านการพิจารณาและตรวจสอบแล้ว 13.4 ล้านราย ล่าสุดมีผู้ผ่านเกณฑ์รับเงินจากมาตรการเราไม่ทิ้งกันแล้วกว่า 13.4 ล้านคน โดยในวันที่ 8 พ.ค.นี้ กระทรวงการคลังจะเร่งโอนให้แล้วเสร็จ 11 ล้านคน และส่วนที่เหลือจะเร่งดำเนินการโอนเงินแล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้า
ช่วยเกษตรกรไม่ซ้ำเราไม่ทิ้งกัน
สำหรับมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบทั้งจากภัยแล้ง และโควิด-19 นั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เตรียมให้ความช่วยเหลือเงินเยียวยา 5,000 บาท รวม 3 เดือน ตั้งแต่ พ.ค. – ก.ค.63 ให้แก่เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน 10 ล้านราย โดยได้เปิดช่องทาง www.เยียวยาเกษตรกร.com ให้จะเปิดให้เกษตรกรเข้าลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 20.00 น. วานนี้ (7 พ.ค.)
นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการ ธ.ก.ส.กล่าวว่า การจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกรนั้น ธ.ก.ส. จะคัดกรองจากข้อมูลผู้ลงทะเบียนเกษตรกรที่ผ่านการตรวจสอบจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หลังจากนั้น ก็จะดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง 2 ช่องทาง คือ เกษตรกรมีบัญชีเงินฝากกับ ธ.ก.ส. สามารถใช้บัญชีเงินฝากที่มีอยู่ได้ โดยไม่ต้องเปิดบัญชีใหม่ และรอรับการโอนเงินตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.63 เป็นต้นไป ส่วนเกษตรกรที่ไม่มีบัญชีเงินฝากกับ ธ.ก.ส. สามารถลงทะเบียนบัญชีเงินฝากที่มีอยู่กับธนาคารใดก็ได้ ผ่านเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com
“ข้อสำคัญสำหรับการได้เงินเยียวยาเกษตรกรในครั้งนี้ก็คือ เกษตรกรที่รับเงินเยียวยาเกษตรกร 15,000 บาทนั้น จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับการรับเงินจากมาตรการเราไม่ทิ้งกัน” นายอภิรมย์ ระบุ