ผู้จัดการรายวัน 360 - ศบค.แถลงผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่ม 1 ราย เสียชีวิต 1 สะสม 55 ราย ส่วนผลแล็บผู้ป่วย 40 รายที่ยะลา ไม่มีผู้ติดเชื้อ สธ. เผยผลทดลองวัคซีนในหนูได้ผลดี ต้องเร่งศึกษาต่อ ก่อนพัฒนาให้ใช้ได้ผลจริง รมว.แรงงาน เตรียมเสนอ ครม. สัปดาห์หน้า เพิ่มเงินช่วยเหลือผู้ประกันตนจากร้อยละ 62 เป็นร้อยละ 75 ล่าสุดอนุมัติแล้ว 4.9 แสนราย วงเงิน 2,563 ล้านบาท ปลัดเกษตรฯ ย้ำให้เกษตรกรขึ้นทะเบียน นายกฯ สั่ง กต. เร่งช่วยเหลืออำนวยความสะดวกนำคนไทยในต่างแดนกลับไทย
วานนี้ (6พ.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ว่า สถานการณ์ในประเทศไทยมีผู้ป่วยรายใหม่ 1 ราย เป็นหญิงไทย อายุ 27 ปี ชาว จ.บุรีรัมย์ เป็นพนักงานนวดที่เดินทางกลับมาจากรัสเซีย เมื่อวันที่ 3 พ.ค. ที่ผ่านมาพร้อมกับคนอื่นๆ ในเที่ยวบินอีก 70 คน โดยพักอยู่ในสถานที่กักตัวของรัฐที่ จ.สมุทรปราการ ทำให้ยอดผู้ป่วยสะสมอยู่ที่ 2,989 ราย หายป่วยสะสม 2,761 ราย เสียชีวิตเพิ่มเติม 1 ราย ยอดสียชีวิตสะสม 55 ราย ส่วน 40 คนที่ จ.ยะลา มีผลตรวจเป็นลบ สำหรับผู้เสียชีวิตรายที่ 55 เป็นชายออสเตรเลีย อายุ 69 ปี อาชีพผู้จัดการโรงแรมที่ จ.พังงา
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อทั่วโลก มี 3,727,295 ราย เสียชีวิต 258,326 ราย และในวันที่ 6 พ.ค. จะมีคนไทยกลับจากเมียนมาร์ 59 ราย เยอรมัน 110 ราย ปากีสถาน 122 ราย และวันที่ 7 พ.ค. เกาหลีใต้ 150 ราย แอฟริกาใต้ 150 ราย โดยตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย.-5 พ.ค.เดินทางเข้ามาแล้ว 4,637 ราย จาก 27 ประเทศ
สำหรับยอดสะสมผู้ที่อยู่ในสถานที่กักตัวของรัฐ ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.-5 พ.ค. มี 12,847 ราย กลับบ้านแล้ว 3,921 ราย อยู่ระหว่างกักตัว 8,026 ราย พบเชื้อ 85 ราย ส่วนการให้ความช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ เช่นที่มาเลเซีย สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ในมาเลเซีย ได้เข้าไปดูแลคนไทยตามรัฐต่างๆ แล้ว 29,491 ราย เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่สถานทูตก็ให้การดูแลอย่างใกล้ชิด
ส่วนผลการปฏิบัติงานด้านความมั่นคงช่วงเคอร์ฟิวคืนวันที่ 5 พ.ค.ต่อเนื่องเช้าวันที่ 6 พ.ค. มีผู้ฝ่าฝืนชุมนุม มั่วสุม 104 ราย เพิ่มขึ้นจากคืนก่อน 6 ราย อันดับหนึ่งคือ ดื่มสุรา รองมาคือ เล่นการพนัน ออกนอกเคหสถาน 699 ราย เพิ่มขึ้นจากคืนก่อน 32 ราย อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่า การดื่มสุรายังเป็นปัญหาอยู่ ยิ่งมีการผ่อนปรนให้กลับมาจำหน่ายได้ จึงใช้โอกาสนี้ในการชุมนุมมั่วสุมกัน ส่วนผลตรวจกิจการ กิจกรรมที่ได้รับการผ่อนปรนประจำวันที่ 5 พ.ค. มีการตรวจทั้งสิ้น 12,996 แห่ง ปฏิบัติตามมาตรการ 12,547 แห่ง ไม่ปฏิบัติตาม 449 แห่ง และตั้งแต่มีการผ่อนปรนมา 3 วัน พบว่าผู้ไม่ปฏิบัติตามมาตรการลดลงอย่างต่อเนื่อง และไม่อยากให้ไปจับตาคนที่ไม่ปฏิบัติตาม เพราะส่วนใหญ่ปฏิบัติตามมาตรการ เช่น ร้านอาหารเครื่องดื่มก็ปฏิบัติตามมาตรการมากขึ้น จึงอยากให้ร่วมมือกันร้อยเปอร์เซ็นต์ถึงจะควบคุมโรคได้ ส่วนบทลงโทษของผู้ไม่ปฏิบัติตามนั้น แม้ในกฎหมายจะกำหนดบทลงโทษไว้ แต่เจตนาเราไม่ได้ต้องให้ท่านถูกลงโทษ แต่กำหนดโทษเพื่อให้ร่วมมือ ถ้าร่วมมือแล้วเกิดผล ป้องกันโรคได้ ก็ไม่มีเหตุที่ต้องมาเปิดกฎหมายดูกัน และอยากให้ดูตัวอย่างดีๆ เช่น ที่ จ.ตรัง ผู้ใหญ่บ้านลงโทษผู้ไม่สวมหน้ากากด้วยการให้วิดพื้นหรือกระโดดตบ ซึ่งได้ผล ไม่มีผู้กระทำผิดซ้ำ นอกจากนี้ หากประชาชนพบว่าแม่ค้าไม่สวมหน้ากากอนามัยอย่ารอเจ้าหน้าที่ ขอให้ตักเตือนกันเองเลย
ผลแล็บ 40 รายที่ยะลาไม่พบผู้ติดเชื้อ
ส่วนกรณีการรายงานผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก (active case findind) ใน จ.ยะลา นั้น นพ.ทวีศิลป์ กล่าวถึงผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาศตร์การแพทย์ ว่า เบื้องต้นทางกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รายงานว่าใน 40 รายนี้ไม่พบผู้ป่วยยืนยัน ผลการตรวจออกมาเป็นลบทุกราย โดยหลังจากนี้ทางกระทรวงสาธารณสุข จะมีการแถลงข่าวในรายละเอียดต่อไป ที่เกี่ยวกับข้องกับเทคนิควิธีการต่างๆ โดยทางกระทรวงฯ จะเปิดเผยข้อมูลทุกอย่างและแสดงความมั่นใจในระบบที่ดำเนินการอยู่ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบในถึงกระบวนการ รวมทั้งจะพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น
ผลทดลองวัคซีนใน "หนู" ได้ผลดี
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ว่า ขณะนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พัฒนาวัคซีนชนิดดีเอ็นเอเพื่อป้องกันโรคโควิด ได้ดำเนินการทดลงฉีดวัคซีนในหนูทดลองแล้ว และนำเลือดของหนูทดลองมาให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจว่ามีภูมิมคุ้มกันหรือแอนติบอดีขึ้นหรือไม่ ซึ่งผลการตรวจของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ออกมาพบว่า หนูทดลองที่รับการฉีดวัคซีนต้นแบบ มีแอนติบอดีขึ้นค่อนข้างดี ให้ผลน่าพอใจ แต่จะป้องกันเชื้อโควิดได้หรือไม่เป็นอีกเรื่องที่ต้องศึกษาต่อไป
นพ.โอภาส กล่าวว่า ในระยะถัดไปจะมีการทดลองฉีดวัคซีนต้นแบบนี้ในหนูทดลองหลายๆ รูปแบบ ดูว่าแบบไหนกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด เช่น ฉีด 1 เข็ม หรือ 2 เข็ม แล้วเอามาตรวจซ้ำ จนแน่ใจ แล้วจะเอาวัควีนต้นแบบที่ผลิตขึ้นไปทดสอบในสัตว์ใหญ่ขึ้น เช่น ลิง เมื่อแน่ใจความปลอดภัยแล้วก็จะฉีดทดลองในมนุษย์ต่อไป ซึ่งก็ถือว่าดำเนินการได้เร็วในเวลา 1 เดือน แม้อาจจะไม่ทันจีนที่มีการพัฒนาไปก่อนหน้านั้น แต่ประเทศไทยก็ต้องดำเนินการต่อ
เมื่อถามว่าการทดลองว่าภูมิคุ้มกันจะป้องกันเชื้อได้หรือไม่ จะอยู่ในขั้นไหน นพ.โอภาสกล่าวว่า ภูมิคุ้มกันจะป้องกันได้หรือไม่ จะต้องอยู่ในสัตว์ใหญ่และในคน ส่วนหนูจะดูแค่ว่าภูมิขึ้นหรือไม่ ซึ่งในคนก็จะดูทั้งเรื่องของความปลอดภัย กระตุ้นภูมิได้หรือไม่ ป้องกันเชื้อได้หรือไม่ ซึ่งก็คงต้องใช้เวลา แต่ขณะนี้ก็เริ่มพัฒนาวัคซีนต้นแบบได้เร็ว ก็น่ายินดีว่าคนไทยสามารถทำได้ ถ้าไม่ทำวันนี้ก็ไม่รู้จะเริ่มทำวันไหนแล้ว
ถามถึงการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิดแบบเชื้อตายของศิริราช นพ.โอภาส กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการแจ้งผลมา ซึ่งปกติแล้วการพัฒนาวัคซีนแบบเดิมคือแบบเชื้อตายจะมีความช้ากว่า ส่วนของจุฬาฯ ใช้เทคนิคใหม่คือดีเอ็นเอวัคซีนจะค่อนข้างเร็วกว่า
ส่วนประเด็นเรื่องของผลการตรวจชาวยะลา 40 ราย ที่มีความคลาดเคลื่อน นพ.โอภาส กล่าวว่า เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 63 ได้ส่งทีมเจ้าหน้าที่จองกรมและผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ลงพื้นที่ จ.ยะลาเพื่อตรวจสอบสาเหตุและสถานที่ปฏิบัติงานจริง ไม่ได้พบความผิดพลาดที่เป็นประเด็นสำคัญ (Major Error) แต่พบว่ามีบางสิ่งที่ต้องพัฒนาปรับปรุง เนื่องจากจ.ยะลาเป็นจังหวัดแรกที่มีห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยตรวจมาแล้วกว่า 4 พันตัวอย่าง ทำให้สามารถควบคุมสถานการณ์โรคโควิด-19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ระดับหนึ่งหลังจากพบผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากมาเลเซีย ซึ่งพบว่าภาระงานค่อนข้างมาก
โดยการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกชุมชนทำให้ต้องตรวจตัวอย่างกว่า 700-800 ตัวอย่างต่อวัน สิ่งที่ต้องปรับปรุงคือภาระงานมากหากตรวจมากเกินไปจะต้องส่งตัวอย่างไปที่แล็ปอื่น และ ต้องเพิ่มเครื่องมือให้ตรวจได้มากขึ้น
ชงครม.เยียวยาลูกจ้างตกงานเพิ่มเป็น 75%
ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึง ความคืบหน้าการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยในกรณีที่ลูกจ้าง ผู้ประกันตน ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน อันเนื่องมาจากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคมเร่งจ่ายสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตนให้แล้วเสร็จงวดแรกภายในวันที่ 15 พ.ค. 2563 จากที่ผ่านการวินิจฉัยแล้ว จำนวน 492,273 ราย คิดเป็นวงเงินรวม 2,563.61 ล้านบาท จากจำนวนผู้มีสิทธิ ณ วันที่ 5 พ.ค.63 จำนวน 990,523 ราย
พร้อมกันนี้ ในสัปดาห์หน้ากระทรวงแรงงานเตรียมเสนอครม. อนุมัติการจ่ายเงินให้กับผู้ประกันตน ที่ว่างงานจากเหตุสุดวิสัย เป็น ร้อยละ75 ของค่าจ้างรายวันคาดว่าจะเริ่มได้สิ้นเดือนนี้ ยาวไปจนถึงสิ้นปี จากเดิมที่จ่าย ร้อยละ62 ของค่าจ้างรายวัน เพียง 3 เดือนคือตั้งแต่มี.ค.-พ.ค.63 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โดยกฎกระทรวงจะมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่เดือนมี.ค.และต้องจ่ายส่วนต่าง ร้อยละ13 ที่เพิ่มขึ้นมาด้วย ซึ่งจากสภาวะทางเศรษฐกิจยังคงมีแนวโน้มจะแย่ลงและอาจมีผู้ตกงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้จะเสนอ ครม.ช่วยลูกจ้างแล้ว นายจ้างก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน จึงเตรียมเสนอลดอัตราการเงินจ่ายเงินสมทบของนายจ้างเหลือเพียง ร้อยละ 1 จากเดิมที่จ่ายร้อยละ 4 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ทุกกลุ่ม ไม่เฉพาะแค่ลูกจ้าง
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบ พบว่า อาจมีผู้ประกันตนกว่า 1 แสนราย ถูกปฏิเสธ เนื่องจากพบว่ายังมีงานทำอยู่ แต่ก็เปิดให้ยื่นอุทธรณ์ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ประกันตนได้รับหนังสือปฏิเสธการได้รับเงินแล้ว ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ไม่มีระบบออนไลน์ ต้องยื่นด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคม หรือ ทางไปรษณีย์เท่านั้น
"ประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าประกันสังคมไม่มีเงินจ่ายผู้ประกันตนนั้น ขอยืนยันว่ามีเงินจ่าย เราไม่อยากพูดว่ามีเงินอยู่เท่าไร พูดแล้วจะตาลุก เพราะเยอะจริงๆ มีการสะสมเงินมากว่า 34 ปี โดยไม่มีการจ่าย ยกเว้นกรณีเจ็บป่วย ส่วนบำเหน็จ บำนาญยังอยู่ทุกคน ส่วนกรณีเกษียณก็เป็นเรื่องที่ต้องคิดในอีก 30 ปีข้างหน้า เป็นเรื่องที่ต้องแก้ปัญหากัน ปัญหาใหญ่คือวันนี้ เศรษฐกิจจะตกต่ำยาวหรือไม่ สิ้นปี อเมริกา ยุโรปจะล้มหรือไม่ ใครไม่ซื้ออะไรก็ลำบากและจะต้องมีการปรับแพคเกจการให้ความช่วยเหลือใหม่ ตามสภาพเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้น" ม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าว
เร่งเกษตรกรขึ้นทะเบียนก่อน 15 พ.ค.นี้
ด้านนายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงมาตรการเยียวยาจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า ได้รวบรวมข้อมูลเกษตรกรจากหน่วยงานต่างๆ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้รวบรวมฐานข้อมูล 7 หน่วยงาน ประมาณ 8.3 ล้านคนให้กระทรวงการคลังตรวจสอบการซ้ำซ้อนกับมาตรการที่ช่วยเหลืออยู่ โดยชุดแรกจะส่งให้ ธ.ก.ส. เพื่อวางแผนการโอนเงิน โดยเกษตรกรที่ยังไม่มีบัญชี ธ.ก.ส. สามารถแจ้งบัญชีธนาคารไหนก็ได้ที่มีอยู่
ส่วนเกษตรกรที่ยังไม่ได้ปรับปรุงทะเบียน หรือยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกร เชิญชวนให้ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึง 15 พ.ค. นี้ เพื่อที่จะให้การช่วยเหลือตั้งแต่เดือน พ.ค. ถึง ก.ค. 2563 ส่วนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนในปี 2562/2563 ไม่ต้องทำอะไร เพราะส่งรายชื่อไปแล้ว แต่จะมีเกษตรกรประมาณ 1 ล้านคนที่ขึ้นทะเบียนใหม่ โดยให้ขึ้นทะเบียนกับผู้นำท้องถิ่นหรืออาสาสมัครเกษตร ไม่ต้องไปถึงสำนักงานเกษตรอำเภอ จะเริ่มทยอยจ่ายตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. เหมือนโครงการเราไม่ทิ้งกัน
เมื่อถามว่า ถ้ายังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ติดต่อที่เกษตรอำเภอ ปศุวัตว์อำเภอ ประมงอำเภอ โดยรัฐมนตรีกำชับให้อำนวยความสะดวกทุกวันไม่มีวันหยุด ภายในวันที่ 15 พ.ค. ส่วนเกษตกรที่รับจ้าง เช่น กรีดยาง และขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย ยืนยันว่าได้รับความช่วยเหลือ ส่วนสมาชิกในครัวเรือนที่ซ้ำซ้อนและลงทะเบียนโครงการเราไม่ทิ้งกัน เป็นไปตามรายชื่อที่ทะเบียน ขึ้นชื่อเฉพาะผู้นำครัวเรือน ส่วนเกษตรกรที่ไม่มีบัญชี ธ.ก.ส. สามารถแจ้งบัญชีธนาคารที่มีอยู่ได้เช่นกัน
ธ.ก.ส.ระดมจนท.เร่งสอบสิทธิ์เยียวยา
นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆของรัฐบาล เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างเต็มที่ ซึ่ง ธ.ก.ส.ได้รับมอบหมายจาก ก.คลังให้ทำการตรวจสอบข้อมูลของผู้ยื่นทบทวนสิทธิ์ตามมาตรการ เราไม่ทิ้งกัน เพื่อขอรับเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยการไปพบตัวผู้ลงทะเบียนเพื่อถ่ายรูปบุคคล หลักฐานการประกอบอาชีพ และบัตรประชาชน ผ่าน APP ผู้พิทักษ์ เพื่อเป็นหลักฐานในการพิจารณาช่วยเหลือต่อไป
ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ได้รับยอดให้สอบทานสิทธิ์ 2 ครั้ง รวม 54,819 ราย และได้ดำเนินการยืนยันตัวตนผู้ขอทบทวนไปแล้วกว่า 83% และล่าสุดได้รับตัวเลขเพื่อร่วมตรวจสอบสิทธิ์เพิ่มอีก 36,841 ราย รวม 91,660 ราย ซึ่ง ธ.ก.ส.จะเร่งตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด โดยมอบหมายให้พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ผู้พิทักษ์สิทธิ์ทั่วประเทศกว่า 8,000 ราย ออกไปตรวจสอบข้อมูลถึงในพื้นที่ โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ พร้อมกำหนดจุดนัดหมายที่สามารถอำนวยความสะดวกทั้งผู้ขอทบทวนสิทธิ์ และการสอบทานของเจ้าหน้าที่ ควบคู่การยึดหลักการบริหารจัดการตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) โดยคาดหมายว่าจะดำเนินการสอบทานสิทธิ์ดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 17 พ.ค.นี้
นายกฯ สั่งบัวแก้ว กต.เร่งช่วยเหลืออำนวยความสะดวกคนไทยกลับประเทศ
ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเผย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศเร่งช่วยเหลือคนไทยในต่างแดนและอำนวยความสะดวกให้กับคนไทยที่ต้องการเดินทางกลับประเทศ โดยสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง จัดเที่ยวบินพิเศษนำคนไทยที่ตกค้างในฮ่องกงและมาเก๊ากลับประเทศไทย จำนวน 161 คน โดยสายการบิน Thai Smile เที่ยวบินที่ WE631 เส้นทาง ฮ่องกง – กรุงเทพฯ ออกเดินทางจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกงตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค.63 เวลา 14.10 น. ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเวลา 16.05 น. ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากรัฐบาลฮ่องกงและมาเก๊า โดยเฉพาะภารกิจนำคนไทยในมาเก๊าเดินทางมาขึ้นเครื่องบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง
ขณะที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ร่วมกับสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำสาธารณรัฐมัลดีฟส์ ได้จัดเที่ยวบินพิเศษของสายการบิน Maldivian Airlines นำคนไทยที่ตกค้างในมัลดีฟส์ 131 คน เดินทางกลับประเทศไทยแล้ว ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวที่ติดค้าง ผู้ไม่มีถิ่นพำนักถาวรในมัลดีฟส์ พนักงานรีสอร์ตและบริษัท ทั้งนี้ เที่ยวบินดังกล่าวจำเป็นต้องจำกัดจำนวนที่นั่งเนื่องจากเงื่อนไขด้านสาธารณสุขในขณะนี้
สำหรับผู้ที่ติดค้างเหลืออยู่ในมัลดีฟส์และศรีลังกา สถานเอกอัครราชทูตฯ จะจัดหาเที่ยวบินกลับไทยให้โดยเร็ว โดยคำนึงถึงระบบการกักตัวภายในประเทศไทยที่สามารถรองรับผู้เดินทางกลับประเทศในแต่ละวันหากต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน โปรดติดต่อ +94 3070747 +94 3070748 และในกรณีของมัลดีฟส์ สามารถติดต่อกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำสาธารณรัฐมัลดีฟส์ได้อีกทางหนึ่ง ที่ +960 7398765
ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ยังได้แจกจ่ายถุงยังชีพให้คนไทยในศรีลังกาที่ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ขอกลับไทยแต่ยังไม่สามารถเดินทางกลับได้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
ในส่วนของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียวได้ดำเนินการช่วยเหลือคนไทยในญี่ปุ่นระหว่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 โดยได้แจกจ่ายเจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค หน้ากากอนามัย อาหารแห้ง และสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น ให้กับชุมชนคนไทยที่ได้รับความเดือดร้อนด้วยแล้ว
กองทัพเรือรับมีพลทหารติด 'โควิด' 1 ราย
พล.ร.ท.ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ โฆษกกองทัพเรือกล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่ามีพลทหารสังกัดกองทัพเรือติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องจริง ซึ่งขณะนี้พลทหารคนดังกล่าวได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา
พล.ร.ท.ประชาชาติ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สืบเนื่องจากพลทหารคนดังกล่าวได้ไปเล่นตะกร้อแล้วประสบอุบัติเหตุขาหัก ต่อมาแพทย์ได้ตรวจพบเพิ่มเติมว่ามีอาการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วย จึงนำตัวเข้ารับการรักษาตัวตามขั้นตอนทางการแพทย์ตามปกติ
"เบื้องต้นทราบว่าอาการไม่รุนแรง ขณะที่คนใกล้ชิด รวมถึงคนที่เกี่ยวข้อง และเพื่อนร่วมงานก็ต้องกักตัวเฝ้าสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน"โฆษกกองทัพเรือ กล่าว
วานนี้ (6พ.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ว่า สถานการณ์ในประเทศไทยมีผู้ป่วยรายใหม่ 1 ราย เป็นหญิงไทย อายุ 27 ปี ชาว จ.บุรีรัมย์ เป็นพนักงานนวดที่เดินทางกลับมาจากรัสเซีย เมื่อวันที่ 3 พ.ค. ที่ผ่านมาพร้อมกับคนอื่นๆ ในเที่ยวบินอีก 70 คน โดยพักอยู่ในสถานที่กักตัวของรัฐที่ จ.สมุทรปราการ ทำให้ยอดผู้ป่วยสะสมอยู่ที่ 2,989 ราย หายป่วยสะสม 2,761 ราย เสียชีวิตเพิ่มเติม 1 ราย ยอดสียชีวิตสะสม 55 ราย ส่วน 40 คนที่ จ.ยะลา มีผลตรวจเป็นลบ สำหรับผู้เสียชีวิตรายที่ 55 เป็นชายออสเตรเลีย อายุ 69 ปี อาชีพผู้จัดการโรงแรมที่ จ.พังงา
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อทั่วโลก มี 3,727,295 ราย เสียชีวิต 258,326 ราย และในวันที่ 6 พ.ค. จะมีคนไทยกลับจากเมียนมาร์ 59 ราย เยอรมัน 110 ราย ปากีสถาน 122 ราย และวันที่ 7 พ.ค. เกาหลีใต้ 150 ราย แอฟริกาใต้ 150 ราย โดยตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย.-5 พ.ค.เดินทางเข้ามาแล้ว 4,637 ราย จาก 27 ประเทศ
สำหรับยอดสะสมผู้ที่อยู่ในสถานที่กักตัวของรัฐ ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.-5 พ.ค. มี 12,847 ราย กลับบ้านแล้ว 3,921 ราย อยู่ระหว่างกักตัว 8,026 ราย พบเชื้อ 85 ราย ส่วนการให้ความช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ เช่นที่มาเลเซีย สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ในมาเลเซีย ได้เข้าไปดูแลคนไทยตามรัฐต่างๆ แล้ว 29,491 ราย เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่สถานทูตก็ให้การดูแลอย่างใกล้ชิด
ส่วนผลการปฏิบัติงานด้านความมั่นคงช่วงเคอร์ฟิวคืนวันที่ 5 พ.ค.ต่อเนื่องเช้าวันที่ 6 พ.ค. มีผู้ฝ่าฝืนชุมนุม มั่วสุม 104 ราย เพิ่มขึ้นจากคืนก่อน 6 ราย อันดับหนึ่งคือ ดื่มสุรา รองมาคือ เล่นการพนัน ออกนอกเคหสถาน 699 ราย เพิ่มขึ้นจากคืนก่อน 32 ราย อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่า การดื่มสุรายังเป็นปัญหาอยู่ ยิ่งมีการผ่อนปรนให้กลับมาจำหน่ายได้ จึงใช้โอกาสนี้ในการชุมนุมมั่วสุมกัน ส่วนผลตรวจกิจการ กิจกรรมที่ได้รับการผ่อนปรนประจำวันที่ 5 พ.ค. มีการตรวจทั้งสิ้น 12,996 แห่ง ปฏิบัติตามมาตรการ 12,547 แห่ง ไม่ปฏิบัติตาม 449 แห่ง และตั้งแต่มีการผ่อนปรนมา 3 วัน พบว่าผู้ไม่ปฏิบัติตามมาตรการลดลงอย่างต่อเนื่อง และไม่อยากให้ไปจับตาคนที่ไม่ปฏิบัติตาม เพราะส่วนใหญ่ปฏิบัติตามมาตรการ เช่น ร้านอาหารเครื่องดื่มก็ปฏิบัติตามมาตรการมากขึ้น จึงอยากให้ร่วมมือกันร้อยเปอร์เซ็นต์ถึงจะควบคุมโรคได้ ส่วนบทลงโทษของผู้ไม่ปฏิบัติตามนั้น แม้ในกฎหมายจะกำหนดบทลงโทษไว้ แต่เจตนาเราไม่ได้ต้องให้ท่านถูกลงโทษ แต่กำหนดโทษเพื่อให้ร่วมมือ ถ้าร่วมมือแล้วเกิดผล ป้องกันโรคได้ ก็ไม่มีเหตุที่ต้องมาเปิดกฎหมายดูกัน และอยากให้ดูตัวอย่างดีๆ เช่น ที่ จ.ตรัง ผู้ใหญ่บ้านลงโทษผู้ไม่สวมหน้ากากด้วยการให้วิดพื้นหรือกระโดดตบ ซึ่งได้ผล ไม่มีผู้กระทำผิดซ้ำ นอกจากนี้ หากประชาชนพบว่าแม่ค้าไม่สวมหน้ากากอนามัยอย่ารอเจ้าหน้าที่ ขอให้ตักเตือนกันเองเลย
ผลแล็บ 40 รายที่ยะลาไม่พบผู้ติดเชื้อ
ส่วนกรณีการรายงานผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก (active case findind) ใน จ.ยะลา นั้น นพ.ทวีศิลป์ กล่าวถึงผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาศตร์การแพทย์ ว่า เบื้องต้นทางกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รายงานว่าใน 40 รายนี้ไม่พบผู้ป่วยยืนยัน ผลการตรวจออกมาเป็นลบทุกราย โดยหลังจากนี้ทางกระทรวงสาธารณสุข จะมีการแถลงข่าวในรายละเอียดต่อไป ที่เกี่ยวกับข้องกับเทคนิควิธีการต่างๆ โดยทางกระทรวงฯ จะเปิดเผยข้อมูลทุกอย่างและแสดงความมั่นใจในระบบที่ดำเนินการอยู่ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบในถึงกระบวนการ รวมทั้งจะพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น
ผลทดลองวัคซีนใน "หนู" ได้ผลดี
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ว่า ขณะนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พัฒนาวัคซีนชนิดดีเอ็นเอเพื่อป้องกันโรคโควิด ได้ดำเนินการทดลงฉีดวัคซีนในหนูทดลองแล้ว และนำเลือดของหนูทดลองมาให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจว่ามีภูมิมคุ้มกันหรือแอนติบอดีขึ้นหรือไม่ ซึ่งผลการตรวจของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ออกมาพบว่า หนูทดลองที่รับการฉีดวัคซีนต้นแบบ มีแอนติบอดีขึ้นค่อนข้างดี ให้ผลน่าพอใจ แต่จะป้องกันเชื้อโควิดได้หรือไม่เป็นอีกเรื่องที่ต้องศึกษาต่อไป
นพ.โอภาส กล่าวว่า ในระยะถัดไปจะมีการทดลองฉีดวัคซีนต้นแบบนี้ในหนูทดลองหลายๆ รูปแบบ ดูว่าแบบไหนกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด เช่น ฉีด 1 เข็ม หรือ 2 เข็ม แล้วเอามาตรวจซ้ำ จนแน่ใจ แล้วจะเอาวัควีนต้นแบบที่ผลิตขึ้นไปทดสอบในสัตว์ใหญ่ขึ้น เช่น ลิง เมื่อแน่ใจความปลอดภัยแล้วก็จะฉีดทดลองในมนุษย์ต่อไป ซึ่งก็ถือว่าดำเนินการได้เร็วในเวลา 1 เดือน แม้อาจจะไม่ทันจีนที่มีการพัฒนาไปก่อนหน้านั้น แต่ประเทศไทยก็ต้องดำเนินการต่อ
เมื่อถามว่าการทดลองว่าภูมิคุ้มกันจะป้องกันเชื้อได้หรือไม่ จะอยู่ในขั้นไหน นพ.โอภาสกล่าวว่า ภูมิคุ้มกันจะป้องกันได้หรือไม่ จะต้องอยู่ในสัตว์ใหญ่และในคน ส่วนหนูจะดูแค่ว่าภูมิขึ้นหรือไม่ ซึ่งในคนก็จะดูทั้งเรื่องของความปลอดภัย กระตุ้นภูมิได้หรือไม่ ป้องกันเชื้อได้หรือไม่ ซึ่งก็คงต้องใช้เวลา แต่ขณะนี้ก็เริ่มพัฒนาวัคซีนต้นแบบได้เร็ว ก็น่ายินดีว่าคนไทยสามารถทำได้ ถ้าไม่ทำวันนี้ก็ไม่รู้จะเริ่มทำวันไหนแล้ว
ถามถึงการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิดแบบเชื้อตายของศิริราช นพ.โอภาส กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการแจ้งผลมา ซึ่งปกติแล้วการพัฒนาวัคซีนแบบเดิมคือแบบเชื้อตายจะมีความช้ากว่า ส่วนของจุฬาฯ ใช้เทคนิคใหม่คือดีเอ็นเอวัคซีนจะค่อนข้างเร็วกว่า
ส่วนประเด็นเรื่องของผลการตรวจชาวยะลา 40 ราย ที่มีความคลาดเคลื่อน นพ.โอภาส กล่าวว่า เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 63 ได้ส่งทีมเจ้าหน้าที่จองกรมและผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ลงพื้นที่ จ.ยะลาเพื่อตรวจสอบสาเหตุและสถานที่ปฏิบัติงานจริง ไม่ได้พบความผิดพลาดที่เป็นประเด็นสำคัญ (Major Error) แต่พบว่ามีบางสิ่งที่ต้องพัฒนาปรับปรุง เนื่องจากจ.ยะลาเป็นจังหวัดแรกที่มีห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยตรวจมาแล้วกว่า 4 พันตัวอย่าง ทำให้สามารถควบคุมสถานการณ์โรคโควิด-19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ระดับหนึ่งหลังจากพบผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากมาเลเซีย ซึ่งพบว่าภาระงานค่อนข้างมาก
โดยการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกชุมชนทำให้ต้องตรวจตัวอย่างกว่า 700-800 ตัวอย่างต่อวัน สิ่งที่ต้องปรับปรุงคือภาระงานมากหากตรวจมากเกินไปจะต้องส่งตัวอย่างไปที่แล็ปอื่น และ ต้องเพิ่มเครื่องมือให้ตรวจได้มากขึ้น
ชงครม.เยียวยาลูกจ้างตกงานเพิ่มเป็น 75%
ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึง ความคืบหน้าการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยในกรณีที่ลูกจ้าง ผู้ประกันตน ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน อันเนื่องมาจากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคมเร่งจ่ายสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตนให้แล้วเสร็จงวดแรกภายในวันที่ 15 พ.ค. 2563 จากที่ผ่านการวินิจฉัยแล้ว จำนวน 492,273 ราย คิดเป็นวงเงินรวม 2,563.61 ล้านบาท จากจำนวนผู้มีสิทธิ ณ วันที่ 5 พ.ค.63 จำนวน 990,523 ราย
พร้อมกันนี้ ในสัปดาห์หน้ากระทรวงแรงงานเตรียมเสนอครม. อนุมัติการจ่ายเงินให้กับผู้ประกันตน ที่ว่างงานจากเหตุสุดวิสัย เป็น ร้อยละ75 ของค่าจ้างรายวันคาดว่าจะเริ่มได้สิ้นเดือนนี้ ยาวไปจนถึงสิ้นปี จากเดิมที่จ่าย ร้อยละ62 ของค่าจ้างรายวัน เพียง 3 เดือนคือตั้งแต่มี.ค.-พ.ค.63 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โดยกฎกระทรวงจะมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่เดือนมี.ค.และต้องจ่ายส่วนต่าง ร้อยละ13 ที่เพิ่มขึ้นมาด้วย ซึ่งจากสภาวะทางเศรษฐกิจยังคงมีแนวโน้มจะแย่ลงและอาจมีผู้ตกงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้จะเสนอ ครม.ช่วยลูกจ้างแล้ว นายจ้างก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน จึงเตรียมเสนอลดอัตราการเงินจ่ายเงินสมทบของนายจ้างเหลือเพียง ร้อยละ 1 จากเดิมที่จ่ายร้อยละ 4 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ทุกกลุ่ม ไม่เฉพาะแค่ลูกจ้าง
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบ พบว่า อาจมีผู้ประกันตนกว่า 1 แสนราย ถูกปฏิเสธ เนื่องจากพบว่ายังมีงานทำอยู่ แต่ก็เปิดให้ยื่นอุทธรณ์ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ประกันตนได้รับหนังสือปฏิเสธการได้รับเงินแล้ว ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ไม่มีระบบออนไลน์ ต้องยื่นด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคม หรือ ทางไปรษณีย์เท่านั้น
"ประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าประกันสังคมไม่มีเงินจ่ายผู้ประกันตนนั้น ขอยืนยันว่ามีเงินจ่าย เราไม่อยากพูดว่ามีเงินอยู่เท่าไร พูดแล้วจะตาลุก เพราะเยอะจริงๆ มีการสะสมเงินมากว่า 34 ปี โดยไม่มีการจ่าย ยกเว้นกรณีเจ็บป่วย ส่วนบำเหน็จ บำนาญยังอยู่ทุกคน ส่วนกรณีเกษียณก็เป็นเรื่องที่ต้องคิดในอีก 30 ปีข้างหน้า เป็นเรื่องที่ต้องแก้ปัญหากัน ปัญหาใหญ่คือวันนี้ เศรษฐกิจจะตกต่ำยาวหรือไม่ สิ้นปี อเมริกา ยุโรปจะล้มหรือไม่ ใครไม่ซื้ออะไรก็ลำบากและจะต้องมีการปรับแพคเกจการให้ความช่วยเหลือใหม่ ตามสภาพเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้น" ม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าว
เร่งเกษตรกรขึ้นทะเบียนก่อน 15 พ.ค.นี้
ด้านนายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงมาตรการเยียวยาจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า ได้รวบรวมข้อมูลเกษตรกรจากหน่วยงานต่างๆ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้รวบรวมฐานข้อมูล 7 หน่วยงาน ประมาณ 8.3 ล้านคนให้กระทรวงการคลังตรวจสอบการซ้ำซ้อนกับมาตรการที่ช่วยเหลืออยู่ โดยชุดแรกจะส่งให้ ธ.ก.ส. เพื่อวางแผนการโอนเงิน โดยเกษตรกรที่ยังไม่มีบัญชี ธ.ก.ส. สามารถแจ้งบัญชีธนาคารไหนก็ได้ที่มีอยู่
ส่วนเกษตรกรที่ยังไม่ได้ปรับปรุงทะเบียน หรือยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกร เชิญชวนให้ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึง 15 พ.ค. นี้ เพื่อที่จะให้การช่วยเหลือตั้งแต่เดือน พ.ค. ถึง ก.ค. 2563 ส่วนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนในปี 2562/2563 ไม่ต้องทำอะไร เพราะส่งรายชื่อไปแล้ว แต่จะมีเกษตรกรประมาณ 1 ล้านคนที่ขึ้นทะเบียนใหม่ โดยให้ขึ้นทะเบียนกับผู้นำท้องถิ่นหรืออาสาสมัครเกษตร ไม่ต้องไปถึงสำนักงานเกษตรอำเภอ จะเริ่มทยอยจ่ายตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. เหมือนโครงการเราไม่ทิ้งกัน
เมื่อถามว่า ถ้ายังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ติดต่อที่เกษตรอำเภอ ปศุวัตว์อำเภอ ประมงอำเภอ โดยรัฐมนตรีกำชับให้อำนวยความสะดวกทุกวันไม่มีวันหยุด ภายในวันที่ 15 พ.ค. ส่วนเกษตกรที่รับจ้าง เช่น กรีดยาง และขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย ยืนยันว่าได้รับความช่วยเหลือ ส่วนสมาชิกในครัวเรือนที่ซ้ำซ้อนและลงทะเบียนโครงการเราไม่ทิ้งกัน เป็นไปตามรายชื่อที่ทะเบียน ขึ้นชื่อเฉพาะผู้นำครัวเรือน ส่วนเกษตรกรที่ไม่มีบัญชี ธ.ก.ส. สามารถแจ้งบัญชีธนาคารที่มีอยู่ได้เช่นกัน
ธ.ก.ส.ระดมจนท.เร่งสอบสิทธิ์เยียวยา
นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆของรัฐบาล เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างเต็มที่ ซึ่ง ธ.ก.ส.ได้รับมอบหมายจาก ก.คลังให้ทำการตรวจสอบข้อมูลของผู้ยื่นทบทวนสิทธิ์ตามมาตรการ เราไม่ทิ้งกัน เพื่อขอรับเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยการไปพบตัวผู้ลงทะเบียนเพื่อถ่ายรูปบุคคล หลักฐานการประกอบอาชีพ และบัตรประชาชน ผ่าน APP ผู้พิทักษ์ เพื่อเป็นหลักฐานในการพิจารณาช่วยเหลือต่อไป
ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ได้รับยอดให้สอบทานสิทธิ์ 2 ครั้ง รวม 54,819 ราย และได้ดำเนินการยืนยันตัวตนผู้ขอทบทวนไปแล้วกว่า 83% และล่าสุดได้รับตัวเลขเพื่อร่วมตรวจสอบสิทธิ์เพิ่มอีก 36,841 ราย รวม 91,660 ราย ซึ่ง ธ.ก.ส.จะเร่งตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด โดยมอบหมายให้พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ผู้พิทักษ์สิทธิ์ทั่วประเทศกว่า 8,000 ราย ออกไปตรวจสอบข้อมูลถึงในพื้นที่ โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ พร้อมกำหนดจุดนัดหมายที่สามารถอำนวยความสะดวกทั้งผู้ขอทบทวนสิทธิ์ และการสอบทานของเจ้าหน้าที่ ควบคู่การยึดหลักการบริหารจัดการตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) โดยคาดหมายว่าจะดำเนินการสอบทานสิทธิ์ดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 17 พ.ค.นี้
นายกฯ สั่งบัวแก้ว กต.เร่งช่วยเหลืออำนวยความสะดวกคนไทยกลับประเทศ
ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเผย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศเร่งช่วยเหลือคนไทยในต่างแดนและอำนวยความสะดวกให้กับคนไทยที่ต้องการเดินทางกลับประเทศ โดยสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง จัดเที่ยวบินพิเศษนำคนไทยที่ตกค้างในฮ่องกงและมาเก๊ากลับประเทศไทย จำนวน 161 คน โดยสายการบิน Thai Smile เที่ยวบินที่ WE631 เส้นทาง ฮ่องกง – กรุงเทพฯ ออกเดินทางจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกงตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค.63 เวลา 14.10 น. ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเวลา 16.05 น. ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากรัฐบาลฮ่องกงและมาเก๊า โดยเฉพาะภารกิจนำคนไทยในมาเก๊าเดินทางมาขึ้นเครื่องบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง
ขณะที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ร่วมกับสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำสาธารณรัฐมัลดีฟส์ ได้จัดเที่ยวบินพิเศษของสายการบิน Maldivian Airlines นำคนไทยที่ตกค้างในมัลดีฟส์ 131 คน เดินทางกลับประเทศไทยแล้ว ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวที่ติดค้าง ผู้ไม่มีถิ่นพำนักถาวรในมัลดีฟส์ พนักงานรีสอร์ตและบริษัท ทั้งนี้ เที่ยวบินดังกล่าวจำเป็นต้องจำกัดจำนวนที่นั่งเนื่องจากเงื่อนไขด้านสาธารณสุขในขณะนี้
สำหรับผู้ที่ติดค้างเหลืออยู่ในมัลดีฟส์และศรีลังกา สถานเอกอัครราชทูตฯ จะจัดหาเที่ยวบินกลับไทยให้โดยเร็ว โดยคำนึงถึงระบบการกักตัวภายในประเทศไทยที่สามารถรองรับผู้เดินทางกลับประเทศในแต่ละวันหากต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน โปรดติดต่อ +94 3070747 +94 3070748 และในกรณีของมัลดีฟส์ สามารถติดต่อกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำสาธารณรัฐมัลดีฟส์ได้อีกทางหนึ่ง ที่ +960 7398765
ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ยังได้แจกจ่ายถุงยังชีพให้คนไทยในศรีลังกาที่ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ขอกลับไทยแต่ยังไม่สามารถเดินทางกลับได้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
ในส่วนของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียวได้ดำเนินการช่วยเหลือคนไทยในญี่ปุ่นระหว่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 โดยได้แจกจ่ายเจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค หน้ากากอนามัย อาหารแห้ง และสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น ให้กับชุมชนคนไทยที่ได้รับความเดือดร้อนด้วยแล้ว
กองทัพเรือรับมีพลทหารติด 'โควิด' 1 ราย
พล.ร.ท.ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ โฆษกกองทัพเรือกล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่ามีพลทหารสังกัดกองทัพเรือติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องจริง ซึ่งขณะนี้พลทหารคนดังกล่าวได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา
พล.ร.ท.ประชาชาติ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สืบเนื่องจากพลทหารคนดังกล่าวได้ไปเล่นตะกร้อแล้วประสบอุบัติเหตุขาหัก ต่อมาแพทย์ได้ตรวจพบเพิ่มเติมว่ามีอาการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วย จึงนำตัวเข้ารับการรักษาตัวตามขั้นตอนทางการแพทย์ตามปกติ
"เบื้องต้นทราบว่าอาการไม่รุนแรง ขณะที่คนใกล้ชิด รวมถึงคนที่เกี่ยวข้อง และเพื่อนร่วมงานก็ต้องกักตัวเฝ้าสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน"โฆษกกองทัพเรือ กล่าว