ผู้จัดการรายวัน360- "ศรีสุวรรณ" ซัด"ปิยบุตร"อย่าก้าวล่วงพระราชอัธยาศัย ในการแต่งตั้งองคมนตรี ไม่เช่นนั้น อาจหมิ่นเหม่เข้าข่ายความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญาเข้าไปอีก ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้วิจารณ์ หรือผู้ที่จะใช้กุศโลบาย ตีวัวกระทบคราดใดๆ ทั้งสิ้น ด้าน "วัชระ"จวกวิพากษ์แต่งตั้งองคมนตรี มีนัยยะแอบแฝง มีอคติส่วนตัว และผิดจรรยาบรรณทั้งวิชาการ และการเมือง วอนถ้าผู้ใหญ่ในครอบครัวปิยบุตร ยังมีชีวิต โปรดช่วยสั่งสอนด่วน ให้สำนึกบุญคุณแผ่นดิน
วานนี้ (5พ.ค.) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี เมื่อวันที่ 4พ.ค. ว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งองคมนตรี ตามประกาศ ลงวันที่ 1 ต.ค.61 แล้วนั้น บัดนี้ ทรงพระราชดำริเห็นเป็นการสมควรแต่งตั้งองคมนตรีเพิ่มเติมขึ้น อาศัยอำนาจตามความใน ม.10 และ ม.11 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายนุรักษ์ มาประณีต เป็นองคมนตรี ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปนั้น
พลันที่ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศแต่งตั้ง นายนุรักษ์ มาประณีต เป็นองคมนตรี นายปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำคณะก้าวหน้า และอดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ก็ออกโพสต์เฟซบุ๊ก ร่ายยาวถึงผลงานของ นายนุรักษ์ เมื่อครั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยเจตนาเน้นไปที่กรณีการยุบพรรค ของขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลปัจจุบัน ตั้งแต่พรรคไทยรักไทย ต่อเนื่องมาจนถึงพรรคอนาคตใหม่ และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคอีก 10 ปี
แม้โพสต์ของนายปิยบุตร จะไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ มากไปกว่าความพยายามจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลงานการวินิจฉัยในคดียุบพรรค และคดีทางการเมืองที่นายนุรักษ์ มีส่วนร่วมในองค์คณะ ซึ่งมีผลกระทบในทางการเมืองสูง และสร้างความไม่พอใจให้กับบุคคลในพรรคการเมืองบางฝ่ายมาตลอด แต่สิ่งที่นายปิยบุตรไม่ยอมพูดถึง หรืออธิบายให้สังคมรับรู้ไปในคราวเดียวกันก็คือ พฤติการณ์และการกระทำของนักการเมือง และพรรคการเมืองต่างๆ เหล่านั้น รวมทั้งพรรคอนาคตใหม่ด้วยนั้น เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย “ขัดรัฐธรรมนูญ”หรือไม่อย่างไรด้วย ซึ่งนายปิยบุตร เคยเป็นอาจารย์สอนกฎหมายรัฐธรรมนูญ ย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่า พฤติการณ์และการกระทำใดที่เข้าข่ายต้องถูกยุบพรรค และหรือตัดสิทธิทางการเมืองตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ อย่าแสร้งเขียนแบบ เอาดีเข้าตัว เอาชั่วให้คนอื่น เพราะในยุคสารสนเทศโซเชียลมีเดียเยี่ยงนี้ นักการเมืองทำอะไร คิดอะไร ชาวบ้านเข้ารู้ทันกันหมดแล้ว
ที่สำคัญ การโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งองคมนตรีนั้น เป็นไปตามบทบัญญัติที่รัฐธรรมนูญ 2560 ม.10 ประกอบ ม.11 บัญญัติไว้ทุกประการ ว่าให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยโดยชอบด้วยแล้ว ไม่ควรที่จะมีบุคคลใดไปก้าวล่วงพระราชอำนาจดังกล่าวของพระองค์ท่าน ให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ไม่เช่นนั้น อาจหมิ่นเหม่เข้าข่ายความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญาเข้าไปอีก ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้วิจารณ์ หรือผู้ใดที่จะใช้กุศโลบายตีวัวกระทบคราดใดๆ ทั้งสิ้น
นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ไม่น่าเชื่อว่านายปิยบุตร ซึ่งเป็นถึงอาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ สอนกฎหมายมหาชน จบการศึกษาสูงจากประเทศฝรั่งเศส แต่ก็ไม่ได้ทำให้เป็นคนมีจิตใจสูงเสมอไป การวิพากษ์วิจารณ์บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นองคมนตรี ทำให้เกิดคำถามถึงจรรยาบรรณของความเป็นครูอาจารย์ และจรรยาบรรณของนักการเมืองผู้ที่อ้างว่ามีความคิดก้าวหน้าเลิศเลอ และต้องถามถึงเจตนาของนายปิยบุตรว่า ต้องการอะไร มีเจตนาพิเศษอะไรหรือไม่ และต้องการให้บุคคลที่ชื่นชอบศรัทธาตามแนวทางการเมืองของตนให้เข้าใจในกรณีการแต่งตั้งองคมนตรีนี้ไปในทิศทางใด เป็นบวกหรือเป็นลบกับประเทศชาติ เป็นการสร้างสรรค์สังคมหรือกัดเซาะสถาบันใดหรือไม่ รวมทั้งมีเจตนาซ่อนเร้นเป็นนัยยะทางการเมืองประการใด ทั้งที่จริงๆแล้ว นายปิยบุตร ควรมีจรรยาบรรณและมารยาททั้งทางวิชาการและการเมือง กอปรกับรัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับก็เขียนไว้ชัดเจนแล้วว่าการแต่งตั้ง หรือให้พ้นจากตำแหน่งองคมนตรี เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยขององค์พระมหากษัตริย์ เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติเช่นนี้มาแต่โบราณ การที่นายปิยบุตรเขียนเฟซบุ๊ก เหน็บแนมบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญ เพื่อชักจูงจิตใจผู้หลงศรัทธาตนให้เกิดความคล้อยตามในจิตอคติเฉพาะตน จึงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่บุคคลผู้เป็นอาจารย์ และผู้นำทางการเมืองจะกระทำเยี่ยงนี้
"นายปิยบุตร อาจไม่ชอบใจผลงานของนายนุรักษ์ มาประณีต อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญในบางเรื่อง เช่น ผลงานการยุบพรรคอนาคตใหม่และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 10 ปี ก็เป็นเพียงอคติส่วนตัว แต่การมากระแนะกระแหน เหน็บแนมบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นองคมนตรี นับเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำในสังคมไทย และเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง จึงใคร่ขอให้บิดามารดา หรือญาติผู้ใหญ่ของนายปิยบุตร หากยังมีชีวิตอยู่ โปรดกรุณาช่วยสั่งสอนนายปิยบุตรให้สำนึกบุญคุณแผ่นดินเป็นการด่วนด้วย" นายวัชระ กล่าว
วานนี้ (5พ.ค.) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี เมื่อวันที่ 4พ.ค. ว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งองคมนตรี ตามประกาศ ลงวันที่ 1 ต.ค.61 แล้วนั้น บัดนี้ ทรงพระราชดำริเห็นเป็นการสมควรแต่งตั้งองคมนตรีเพิ่มเติมขึ้น อาศัยอำนาจตามความใน ม.10 และ ม.11 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายนุรักษ์ มาประณีต เป็นองคมนตรี ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปนั้น
พลันที่ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศแต่งตั้ง นายนุรักษ์ มาประณีต เป็นองคมนตรี นายปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำคณะก้าวหน้า และอดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ก็ออกโพสต์เฟซบุ๊ก ร่ายยาวถึงผลงานของ นายนุรักษ์ เมื่อครั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยเจตนาเน้นไปที่กรณีการยุบพรรค ของขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลปัจจุบัน ตั้งแต่พรรคไทยรักไทย ต่อเนื่องมาจนถึงพรรคอนาคตใหม่ และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคอีก 10 ปี
แม้โพสต์ของนายปิยบุตร จะไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ มากไปกว่าความพยายามจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลงานการวินิจฉัยในคดียุบพรรค และคดีทางการเมืองที่นายนุรักษ์ มีส่วนร่วมในองค์คณะ ซึ่งมีผลกระทบในทางการเมืองสูง และสร้างความไม่พอใจให้กับบุคคลในพรรคการเมืองบางฝ่ายมาตลอด แต่สิ่งที่นายปิยบุตรไม่ยอมพูดถึง หรืออธิบายให้สังคมรับรู้ไปในคราวเดียวกันก็คือ พฤติการณ์และการกระทำของนักการเมือง และพรรคการเมืองต่างๆ เหล่านั้น รวมทั้งพรรคอนาคตใหม่ด้วยนั้น เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย “ขัดรัฐธรรมนูญ”หรือไม่อย่างไรด้วย ซึ่งนายปิยบุตร เคยเป็นอาจารย์สอนกฎหมายรัฐธรรมนูญ ย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่า พฤติการณ์และการกระทำใดที่เข้าข่ายต้องถูกยุบพรรค และหรือตัดสิทธิทางการเมืองตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ อย่าแสร้งเขียนแบบ เอาดีเข้าตัว เอาชั่วให้คนอื่น เพราะในยุคสารสนเทศโซเชียลมีเดียเยี่ยงนี้ นักการเมืองทำอะไร คิดอะไร ชาวบ้านเข้ารู้ทันกันหมดแล้ว
ที่สำคัญ การโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งองคมนตรีนั้น เป็นไปตามบทบัญญัติที่รัฐธรรมนูญ 2560 ม.10 ประกอบ ม.11 บัญญัติไว้ทุกประการ ว่าให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยโดยชอบด้วยแล้ว ไม่ควรที่จะมีบุคคลใดไปก้าวล่วงพระราชอำนาจดังกล่าวของพระองค์ท่าน ให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ไม่เช่นนั้น อาจหมิ่นเหม่เข้าข่ายความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญาเข้าไปอีก ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้วิจารณ์ หรือผู้ใดที่จะใช้กุศโลบายตีวัวกระทบคราดใดๆ ทั้งสิ้น
นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ไม่น่าเชื่อว่านายปิยบุตร ซึ่งเป็นถึงอาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ สอนกฎหมายมหาชน จบการศึกษาสูงจากประเทศฝรั่งเศส แต่ก็ไม่ได้ทำให้เป็นคนมีจิตใจสูงเสมอไป การวิพากษ์วิจารณ์บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นองคมนตรี ทำให้เกิดคำถามถึงจรรยาบรรณของความเป็นครูอาจารย์ และจรรยาบรรณของนักการเมืองผู้ที่อ้างว่ามีความคิดก้าวหน้าเลิศเลอ และต้องถามถึงเจตนาของนายปิยบุตรว่า ต้องการอะไร มีเจตนาพิเศษอะไรหรือไม่ และต้องการให้บุคคลที่ชื่นชอบศรัทธาตามแนวทางการเมืองของตนให้เข้าใจในกรณีการแต่งตั้งองคมนตรีนี้ไปในทิศทางใด เป็นบวกหรือเป็นลบกับประเทศชาติ เป็นการสร้างสรรค์สังคมหรือกัดเซาะสถาบันใดหรือไม่ รวมทั้งมีเจตนาซ่อนเร้นเป็นนัยยะทางการเมืองประการใด ทั้งที่จริงๆแล้ว นายปิยบุตร ควรมีจรรยาบรรณและมารยาททั้งทางวิชาการและการเมือง กอปรกับรัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับก็เขียนไว้ชัดเจนแล้วว่าการแต่งตั้ง หรือให้พ้นจากตำแหน่งองคมนตรี เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยขององค์พระมหากษัตริย์ เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติเช่นนี้มาแต่โบราณ การที่นายปิยบุตรเขียนเฟซบุ๊ก เหน็บแนมบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญ เพื่อชักจูงจิตใจผู้หลงศรัทธาตนให้เกิดความคล้อยตามในจิตอคติเฉพาะตน จึงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่บุคคลผู้เป็นอาจารย์ และผู้นำทางการเมืองจะกระทำเยี่ยงนี้
"นายปิยบุตร อาจไม่ชอบใจผลงานของนายนุรักษ์ มาประณีต อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญในบางเรื่อง เช่น ผลงานการยุบพรรคอนาคตใหม่และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 10 ปี ก็เป็นเพียงอคติส่วนตัว แต่การมากระแนะกระแหน เหน็บแนมบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นองคมนตรี นับเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำในสังคมไทย และเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง จึงใคร่ขอให้บิดามารดา หรือญาติผู้ใหญ่ของนายปิยบุตร หากยังมีชีวิตอยู่ โปรดกรุณาช่วยสั่งสอนนายปิยบุตรให้สำนึกบุญคุณแผ่นดินเป็นการด่วนด้วย" นายวัชระ กล่าว