“สมคิด” จ่อชงแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศ จากเงินกู้ 4 แสนล้านบาท เข้า ครม.กลางเดือน พ.ค. ก่อนคิกออฟ มิ.ย.ทันที เน้นพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ทั้งเกษตรดั้งเดิม-เกษตรสมัยใหม่-ตลาดออนไลน์-พัฒนาแรงงาน-ฝึกอาชีพ ด้าน “อุตตม” สั่ง “ก.คลัง”
วานนี้ (30 เม.ย.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือร่วมกับคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่า ในระหว่างทุกฝ่ายร่วมกันอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ซึ่งรัฐบาลต้องใช้เงินเยียวยาให้กับกลุ่มต่าง ๆ ประมาณ 550,000 ล้านบาท รวมถึงหลังจากปัญหาการแพร่ระบาดคลี่คลายลง ในช่วง 3-6 เดือน ต้องหันมาเน้นสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก เพื่อพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศ วงเงิน 400,000 ล้านบาท จาก พ.ร.ก.เงินกู้ฯ เพื่ออาศัยจังหวะนี้พัฒนาท้องถิ่นในต่างจังหวัด โดยเตรียมเปิดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งกองทุนหมู่บ้าน มูลนิธิ เสนอจัดทำโครงการพัฒนาท้องถิ่นเข้ามา
คาดเงินถึงท้องถิ่นต้น มิ.ย.
นายสมคิด กล่าวต่อว่า โครงการพัฒนาท้องถิ่นที่จะเสนอเข้ามานั้น จะครอบคลุม 1.การพัฒนาอาชีพเกษตรดั้งเดิม, 2.การพัฒนาแหล่งน้ำรองรับภาคเกษตรในชนบท, 3.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวในชุมชน เตรียมรองรับการท่องเที่ยวในประเทศหลังจากโควิด-19 คลี่คลาย นำไปสู่การท่องเที่ยวยั่งยืน, 4.การพัฒนาด้านการผลิต การตลาดออนไลน์ ขนส่งสินค้ากระจายจากชุมชนไปยังภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อให้ชุมชนหันมาเน้นทำตลาดออนไลน์มากขึ้น และ 5.การพัฒนาบุคลากร จากหลายหน่วยงาน ทั้งการท่องเที่ยวฯ มหาวิทยาลัย เพื่อฝึกอบรมแรงงาน นักศึกษาจบใหม่ เพื่อให้มีงานทำ หากรัฐบาลตั้งรับปัญหาเศรษฐกิจ สร้างเงินหมุนเวียนได้ทัน ภาวะเศรษฐกิจต้นปีหน้าจะไม่หยุดชะงักหรือเสียหายมากเกินไป และยังรองรับปัญหาได้เมื่อมีงานทำ ทุกกิจกรรมกลับมาดำเนินการได้ทั้งในเมืองและชนบท
“เมื่อกำหนดคณะกรรมการกลั่นกรองฯกำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำโครงการเสร็จแล้ว สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาประมาณกลางเดือน พ.ค.นี้ เมื่อเปิดให้ทุกหน่วยงานเสนอ โครงการพัฒนาท้องถิ่น คาดว่าการจัดโครงการขนาดเล็กจะลงไปพัฒนาท้องถิ่นได้ในต้นเดือน มิ.ย. เพื่อหวังให้เงินกู้ 400,000 ล้านบาท ช่วยพัฒนาชนบทให้เข้มแข็ง เมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัวพึ่งพาการส่งออกไม่ได้ การท่องเที่ยวไม่มีต่างชาติเดินทางเข้ามา จึงต้องพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศผ่านโครงการระยะสั้น หลังจากเดือน ต.ค.63 จะใช้งบประมาณจากภาครัฐฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ในช่วงต่อไปผ่านเงินงบประมาณปกติของภาครัฐ” นายสมคิด ระบุ
กลาง พ.ค.จ่าย 5,000 บาทครบ
วันเดียวกัน ที่บริเวณหน้าประตู 4 กระทรวงการคลัง นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการ รมว.คลัง ได้ร่วมสังเกตการณ์และพบปะสอบถามปัญหาจากผู้เข้าร้องทุกข์ กรณีไม่ได้รับเงินเยียวยาจากมาตรการเราไม่ทิ้งกัน 5,000 บาท พร้อมเปิดเผยว่า นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง ได้สั่งการให้ดูแลผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ไม่ได้รับเงินเยียวยาอย่างเต็มที่ โดยให้เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังดูแลและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่มาร้องทุกข์ที่บริเวณหน้าประตู 4 ของกระทรวงการคลัง เนื่องจากเห็นใจว่าได้รับความเดือดร้อนอย่างแท้จริง และต้องการคำปรึกษา ทั้งนี้ โดยส่วนใหญ่นั้นจะเป็นปัญหาในเรื่องการเข้าระบบเว็บไซต์ไม่ได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะช่วยอำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้ดีที่สุด
“รัฐบาลมีความเป็นห่วงประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนจากโควิด-19 ทุกคน โดยในส่วนผู้มีอาชีพอิสระนั้น กระทรวงการคลังจะสามารถจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท ให้แก่ผู้ที่ได้สิทธิ์ประมาณ 16 ล้านคนภายในไม่เกินกลางเดือน พ.ค. 63 และรัฐบาลยังจะทยอยออกมาตรการเยียวยาเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในกลุ่มอื่นๆ เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องด้วย” นายธนกร กล่าว
วานนี้ (30 เม.ย.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือร่วมกับคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่า ในระหว่างทุกฝ่ายร่วมกันอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ซึ่งรัฐบาลต้องใช้เงินเยียวยาให้กับกลุ่มต่าง ๆ ประมาณ 550,000 ล้านบาท รวมถึงหลังจากปัญหาการแพร่ระบาดคลี่คลายลง ในช่วง 3-6 เดือน ต้องหันมาเน้นสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก เพื่อพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศ วงเงิน 400,000 ล้านบาท จาก พ.ร.ก.เงินกู้ฯ เพื่ออาศัยจังหวะนี้พัฒนาท้องถิ่นในต่างจังหวัด โดยเตรียมเปิดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งกองทุนหมู่บ้าน มูลนิธิ เสนอจัดทำโครงการพัฒนาท้องถิ่นเข้ามา
คาดเงินถึงท้องถิ่นต้น มิ.ย.
นายสมคิด กล่าวต่อว่า โครงการพัฒนาท้องถิ่นที่จะเสนอเข้ามานั้น จะครอบคลุม 1.การพัฒนาอาชีพเกษตรดั้งเดิม, 2.การพัฒนาแหล่งน้ำรองรับภาคเกษตรในชนบท, 3.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวในชุมชน เตรียมรองรับการท่องเที่ยวในประเทศหลังจากโควิด-19 คลี่คลาย นำไปสู่การท่องเที่ยวยั่งยืน, 4.การพัฒนาด้านการผลิต การตลาดออนไลน์ ขนส่งสินค้ากระจายจากชุมชนไปยังภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อให้ชุมชนหันมาเน้นทำตลาดออนไลน์มากขึ้น และ 5.การพัฒนาบุคลากร จากหลายหน่วยงาน ทั้งการท่องเที่ยวฯ มหาวิทยาลัย เพื่อฝึกอบรมแรงงาน นักศึกษาจบใหม่ เพื่อให้มีงานทำ หากรัฐบาลตั้งรับปัญหาเศรษฐกิจ สร้างเงินหมุนเวียนได้ทัน ภาวะเศรษฐกิจต้นปีหน้าจะไม่หยุดชะงักหรือเสียหายมากเกินไป และยังรองรับปัญหาได้เมื่อมีงานทำ ทุกกิจกรรมกลับมาดำเนินการได้ทั้งในเมืองและชนบท
“เมื่อกำหนดคณะกรรมการกลั่นกรองฯกำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำโครงการเสร็จแล้ว สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาประมาณกลางเดือน พ.ค.นี้ เมื่อเปิดให้ทุกหน่วยงานเสนอ โครงการพัฒนาท้องถิ่น คาดว่าการจัดโครงการขนาดเล็กจะลงไปพัฒนาท้องถิ่นได้ในต้นเดือน มิ.ย. เพื่อหวังให้เงินกู้ 400,000 ล้านบาท ช่วยพัฒนาชนบทให้เข้มแข็ง เมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัวพึ่งพาการส่งออกไม่ได้ การท่องเที่ยวไม่มีต่างชาติเดินทางเข้ามา จึงต้องพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศผ่านโครงการระยะสั้น หลังจากเดือน ต.ค.63 จะใช้งบประมาณจากภาครัฐฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ในช่วงต่อไปผ่านเงินงบประมาณปกติของภาครัฐ” นายสมคิด ระบุ
กลาง พ.ค.จ่าย 5,000 บาทครบ
วันเดียวกัน ที่บริเวณหน้าประตู 4 กระทรวงการคลัง นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการ รมว.คลัง ได้ร่วมสังเกตการณ์และพบปะสอบถามปัญหาจากผู้เข้าร้องทุกข์ กรณีไม่ได้รับเงินเยียวยาจากมาตรการเราไม่ทิ้งกัน 5,000 บาท พร้อมเปิดเผยว่า นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง ได้สั่งการให้ดูแลผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ไม่ได้รับเงินเยียวยาอย่างเต็มที่ โดยให้เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังดูแลและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่มาร้องทุกข์ที่บริเวณหน้าประตู 4 ของกระทรวงการคลัง เนื่องจากเห็นใจว่าได้รับความเดือดร้อนอย่างแท้จริง และต้องการคำปรึกษา ทั้งนี้ โดยส่วนใหญ่นั้นจะเป็นปัญหาในเรื่องการเข้าระบบเว็บไซต์ไม่ได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะช่วยอำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้ดีที่สุด
“รัฐบาลมีความเป็นห่วงประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนจากโควิด-19 ทุกคน โดยในส่วนผู้มีอาชีพอิสระนั้น กระทรวงการคลังจะสามารถจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท ให้แก่ผู้ที่ได้สิทธิ์ประมาณ 16 ล้านคนภายในไม่เกินกลางเดือน พ.ค. 63 และรัฐบาลยังจะทยอยออกมาตรการเยียวยาเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในกลุ่มอื่นๆ เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องด้วย” นายธนกร กล่าว