ผู้จัดการรายวัน 360 - "บิ๊กตู่" ยันทำจดหมายเปิดผนึกถึง 20 มหาเศรษฐี ไม่ได้ต้องการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ หรือขอรับบริจาคเงิน เพียงขอรับฟังความคิดเห็นในการช่วยเหลือองค์กร และภาคประชาชนเพิ่มเติม เผยไม่ไปพบด้วยตัวเอง และพร้อมรับฟังหากมีคนอื่นเสนอแนะ ด้านภาคเอกชนพร้อมช่วยรัฐบาล เปรียบรัฐบาลเป็น “หยิน” ผู้ออกนโยบาย ภาคเอกชนเป็น “หยาง” รู้กลไกตลาด ร่วมหาทางออกฟื้นเศรษฐกิจ พลิกโควิด-19 ให้เป็นโอกาส "หมอเสริฐ" ขานรับช่วยงาน พร้อมมอบเงิน 100 ล้านบาท หนุนสู้ภัยแล้ง หลังวิกฤตโควิด-19 จบ
วานนี้ (21 เม.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงการทำจดหมายเปิดผนึก ถึง 20 มหาเศรษฐีของเมืองไทย ว่าเป็นการทำงาน ความจริงเพื่อรับทราบจะดำเนินการอะไรบ้าง ในการช่วยเหลือบุคลากรในองค์กร เจ้าหน้าที่ พนักงาน ลูกจ้าง ซัพพลายเออร์ เพื่อให้มาตรการที่รัฐบาลออกไปนั้น สามารถช่วยเหลือประชาชนได้พื้นที่กว้างขึ้น
" ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลจะไปกู้เงิน หรือยืมเงินอะไร รัฐบาลมีเงินของรัฐบาลอยู่แล้ว และไม่อยากให้ไปบิดเบือน ในส่วนนี้เป็นเรื่องของพวกท่านที่จะดูแลประชาชน และสิ่งที่ทั้ง 20 ท่านทำอยู่ ก็ต้องขอขอบคุณ ทั้งนี้ ผมก็ทราบดีว่า ทุกท่านมีการดำเนินการในเรื่องเหล่านี้อย่างดีอยู่แล้ว แต่ก็เพื่อให้สอดประสานกันในการทำงาน ยืนยันว่า ไม่มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น วันนี้ ก็ขอให้ดูแลในส่วนของท่านให้ดีที่สุดในองค์กร ในห่วงโซ่ของพวกท่าน ทั้งผู้ผลิต ซัพพลายเออร์ ดูแลผู้บริโภค
นายกฯกล่าวว่า ทุกคนก็ทำมามากพอสมควรแล้ว แต่อยากจะทราบว่า ท่านจะทำอะไรได้มากกว่านี้อีกหรือไม่ สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องของการแข่งขัน การบังคับ หรือการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งนอกจากทั้ง 20 ท่านแล้ว ก็ยินดีภาคส่วนอื่นๆ จะมีอะไรที่จะช่วยเหลือประชาชนให้ผมทราบ ก็สามารถทำเรื่องมาได้
เจ้าสัวเตรียมหารือกับนายกฯ ร่วมฟื้นศก.หลังจบโควิด
นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ให้สัมภาษณ์ผ่านระบบ True Vroom ออนไลน์ โดยระบุว่า นับว่าเป็นความหลักแหลมของนายกฯ ที่ได้ทำหนังสือเชิญผู้นำกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ เปรียบรัฐบาลเสมือนเป็นฝ่าย “หยิน” เป็นองค์กรขนาดใหญ่ ดูแลกฎระเบียบ กำกับและออกนโยบายมาช่วยแก้ปัญหา ภาคเอกชนเป็นเหมือน “หยาง” เนื่องจากภาคเอกชนเหล่านี้มีกลไกครอบคลุมทุกกลุ่มตั้งแต่รายย่อย ซึ่งเป็นเครือข่ายทางการค้า ไล่มาจนถึงเอสเอ็มอี และผู้ร่วมทุนรายใหญ่ จึงเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการสะท้อนปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อระดมความเห็นนำทั้ง 2 ด้านมาช่วยแก้ปัญหา จะส่งผลให้การพัฒนาฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังปัญหาโควิด-19 ทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และในฐานะประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (DCT) กล่าวว่า ผู้ประกอบการด้านดิจิทัล จัดทำยุทธศาสตร์เสนอรัฐบาล เพื่อสร้าง Big Data ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ผ่านแอปพลิเคชั่น เพื่อเป็นทางเลือกให้แต่ละโรงพยาบาล นำข้อมูลใช้รักษาผู้ป่วย การร่วมกันจัดทำระบบทดสอบ ไม่ให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดย้อนกลับมา สร้างความเสียหายกับภาคธุรกิจ การพัฒนาวัคซีน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อสังคม ประชาชน และภาคธุรกิจ
มหาเศรษฐีลำดับ11ตอบรับนายกฯ ทุ่มเงินช่วยเหลือ100 ล้าน
นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ อดีตประธานคณะผู้บริหาร และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด ในฐานะผู้สร้างความมั่งคั่งจากการเป็นเจ้าของผู้ก่อตั้งสายการบิน บางกอก แอร์เวย์ส และผู้ถือหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนรายใหญ่ในเครือ กรุงเทพดุสิตเวชการ ที่มีโรงพยาบาลในสังกัดราว 43 แห่ง ในฐานะ มหาเศรษฐีไทย อันดับที่ 11 กล่าวว่า
รับทราบจากสื่อมวลชนว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อยากขอความเห็นและความร่วมมือในการช่วยเหลือประชาชนช่วงไวรัสโรคโควิด-19 ที่ยังระบาดต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมา รัฐบาลก็ได้ออกมาตรการเยียวยา และดูแลผลกระทบของประชาชนได้ผลดีในระดับหนึ่งแล้ว
สำหรับตน ก็ได้ให้ความช่วยเหลือแก่แพทยสภา และกระทรวงสาธารณสุข ในการนำเครื่องบินไปรับส่งบุคลากรทางการแพทย์จำนวนมาก เพื่อเดินทางไปรักษาคนไข้ติดเชื้อในจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะที่ภูเก็ต และส่วนอื่นๆ ของประเทศ พร้อมกับเข้าไปช่วยให้การศึกษาแก่ผู้คน ในการระมัดระวังการติดเชื้อไวรัสจนประสบความสำเร็จในหลายจังหวัด
“สิ่งที่ทำไปแล้ว ก็คือ เรื่องที่นายกรัฐมนตรีร้องขอมา แต่ปัญหาที่เราจะเจอต่อจากโควิด คือ ปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้ ผมอยากจะช่วยรัฐบาลในเรื่องนี้ โดยเฉพาะที่จังหวัดสุโขทัย เพราะใต้ดินมีน้ำจำนวนมาก สามารถนำมาใช้เพื่อการเกษตรกรรมได้ ตนมีเครื่องไม้เครื่องมือและรถแบคโฮในการก่อสร้างทิ้งไว้เฉยๆ สามารถนำมาใช้เพื่อการนี้ได้ ผมตั้งงบไว้ประมาณ 100 ล้านบาท เพื่อขุดน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ แต่กรณีนี้ ต้องให้รัฐบาลยินยอมที่จะให้มีการขุดน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ด้วย เมื่อแต่ละจังหวัดมีน้ำใช้เพียงพอ เกษตรกรก็สามารถจะจับปลาไปขาย และมีน้ำไว้ทำนาปรัง ซึ่งเชื่อว่าปีหน้าราคาข้าวน่าจะสูงขึ้น เพราะปีนี้น้ำแล้งปลูกข้าวไม่ค่อยได้" นพ.ปราเสริฐ กล่าวและว่า
“ผมคิดว่าเป็นประโยชน์กว่าการเอาเงินไปให้รัฐบาล หรือโรงพยาบาล ซึ่งผู้มีความสามารถหลายคนก็บริจาคกันไปมากแล้ว แต่การเตรียมการหลัง โควิด-19 หยุดแพร่ระบาดยังไม่ได้มีคนคิด อนาคตข้างหน้า น้ำจะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ และไม่มีทางที่จะหามาเพิ่มได้ ถ้าไม่ทำที่เก็บกักน้ำไว้ ผมคิดว่า ข้อเสนอของผมน่าจะช่วยรัฐบาลและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนได้มาก
วานนี้ (21 เม.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงการทำจดหมายเปิดผนึก ถึง 20 มหาเศรษฐีของเมืองไทย ว่าเป็นการทำงาน ความจริงเพื่อรับทราบจะดำเนินการอะไรบ้าง ในการช่วยเหลือบุคลากรในองค์กร เจ้าหน้าที่ พนักงาน ลูกจ้าง ซัพพลายเออร์ เพื่อให้มาตรการที่รัฐบาลออกไปนั้น สามารถช่วยเหลือประชาชนได้พื้นที่กว้างขึ้น
" ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลจะไปกู้เงิน หรือยืมเงินอะไร รัฐบาลมีเงินของรัฐบาลอยู่แล้ว และไม่อยากให้ไปบิดเบือน ในส่วนนี้เป็นเรื่องของพวกท่านที่จะดูแลประชาชน และสิ่งที่ทั้ง 20 ท่านทำอยู่ ก็ต้องขอขอบคุณ ทั้งนี้ ผมก็ทราบดีว่า ทุกท่านมีการดำเนินการในเรื่องเหล่านี้อย่างดีอยู่แล้ว แต่ก็เพื่อให้สอดประสานกันในการทำงาน ยืนยันว่า ไม่มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น วันนี้ ก็ขอให้ดูแลในส่วนของท่านให้ดีที่สุดในองค์กร ในห่วงโซ่ของพวกท่าน ทั้งผู้ผลิต ซัพพลายเออร์ ดูแลผู้บริโภค
นายกฯกล่าวว่า ทุกคนก็ทำมามากพอสมควรแล้ว แต่อยากจะทราบว่า ท่านจะทำอะไรได้มากกว่านี้อีกหรือไม่ สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องของการแข่งขัน การบังคับ หรือการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งนอกจากทั้ง 20 ท่านแล้ว ก็ยินดีภาคส่วนอื่นๆ จะมีอะไรที่จะช่วยเหลือประชาชนให้ผมทราบ ก็สามารถทำเรื่องมาได้
เจ้าสัวเตรียมหารือกับนายกฯ ร่วมฟื้นศก.หลังจบโควิด
นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ให้สัมภาษณ์ผ่านระบบ True Vroom ออนไลน์ โดยระบุว่า นับว่าเป็นความหลักแหลมของนายกฯ ที่ได้ทำหนังสือเชิญผู้นำกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ เปรียบรัฐบาลเสมือนเป็นฝ่าย “หยิน” เป็นองค์กรขนาดใหญ่ ดูแลกฎระเบียบ กำกับและออกนโยบายมาช่วยแก้ปัญหา ภาคเอกชนเป็นเหมือน “หยาง” เนื่องจากภาคเอกชนเหล่านี้มีกลไกครอบคลุมทุกกลุ่มตั้งแต่รายย่อย ซึ่งเป็นเครือข่ายทางการค้า ไล่มาจนถึงเอสเอ็มอี และผู้ร่วมทุนรายใหญ่ จึงเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการสะท้อนปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อระดมความเห็นนำทั้ง 2 ด้านมาช่วยแก้ปัญหา จะส่งผลให้การพัฒนาฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังปัญหาโควิด-19 ทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และในฐานะประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (DCT) กล่าวว่า ผู้ประกอบการด้านดิจิทัล จัดทำยุทธศาสตร์เสนอรัฐบาล เพื่อสร้าง Big Data ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ผ่านแอปพลิเคชั่น เพื่อเป็นทางเลือกให้แต่ละโรงพยาบาล นำข้อมูลใช้รักษาผู้ป่วย การร่วมกันจัดทำระบบทดสอบ ไม่ให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดย้อนกลับมา สร้างความเสียหายกับภาคธุรกิจ การพัฒนาวัคซีน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อสังคม ประชาชน และภาคธุรกิจ
มหาเศรษฐีลำดับ11ตอบรับนายกฯ ทุ่มเงินช่วยเหลือ100 ล้าน
นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ อดีตประธานคณะผู้บริหาร และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด ในฐานะผู้สร้างความมั่งคั่งจากการเป็นเจ้าของผู้ก่อตั้งสายการบิน บางกอก แอร์เวย์ส และผู้ถือหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนรายใหญ่ในเครือ กรุงเทพดุสิตเวชการ ที่มีโรงพยาบาลในสังกัดราว 43 แห่ง ในฐานะ มหาเศรษฐีไทย อันดับที่ 11 กล่าวว่า
รับทราบจากสื่อมวลชนว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อยากขอความเห็นและความร่วมมือในการช่วยเหลือประชาชนช่วงไวรัสโรคโควิด-19 ที่ยังระบาดต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมา รัฐบาลก็ได้ออกมาตรการเยียวยา และดูแลผลกระทบของประชาชนได้ผลดีในระดับหนึ่งแล้ว
สำหรับตน ก็ได้ให้ความช่วยเหลือแก่แพทยสภา และกระทรวงสาธารณสุข ในการนำเครื่องบินไปรับส่งบุคลากรทางการแพทย์จำนวนมาก เพื่อเดินทางไปรักษาคนไข้ติดเชื้อในจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะที่ภูเก็ต และส่วนอื่นๆ ของประเทศ พร้อมกับเข้าไปช่วยให้การศึกษาแก่ผู้คน ในการระมัดระวังการติดเชื้อไวรัสจนประสบความสำเร็จในหลายจังหวัด
“สิ่งที่ทำไปแล้ว ก็คือ เรื่องที่นายกรัฐมนตรีร้องขอมา แต่ปัญหาที่เราจะเจอต่อจากโควิด คือ ปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้ ผมอยากจะช่วยรัฐบาลในเรื่องนี้ โดยเฉพาะที่จังหวัดสุโขทัย เพราะใต้ดินมีน้ำจำนวนมาก สามารถนำมาใช้เพื่อการเกษตรกรรมได้ ตนมีเครื่องไม้เครื่องมือและรถแบคโฮในการก่อสร้างทิ้งไว้เฉยๆ สามารถนำมาใช้เพื่อการนี้ได้ ผมตั้งงบไว้ประมาณ 100 ล้านบาท เพื่อขุดน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ แต่กรณีนี้ ต้องให้รัฐบาลยินยอมที่จะให้มีการขุดน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ด้วย เมื่อแต่ละจังหวัดมีน้ำใช้เพียงพอ เกษตรกรก็สามารถจะจับปลาไปขาย และมีน้ำไว้ทำนาปรัง ซึ่งเชื่อว่าปีหน้าราคาข้าวน่าจะสูงขึ้น เพราะปีนี้น้ำแล้งปลูกข้าวไม่ค่อยได้" นพ.ปราเสริฐ กล่าวและว่า
“ผมคิดว่าเป็นประโยชน์กว่าการเอาเงินไปให้รัฐบาล หรือโรงพยาบาล ซึ่งผู้มีความสามารถหลายคนก็บริจาคกันไปมากแล้ว แต่การเตรียมการหลัง โควิด-19 หยุดแพร่ระบาดยังไม่ได้มีคนคิด อนาคตข้างหน้า น้ำจะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ และไม่มีทางที่จะหามาเพิ่มได้ ถ้าไม่ทำที่เก็บกักน้ำไว้ ผมคิดว่า ข้อเสนอของผมน่าจะช่วยรัฐบาลและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนได้มาก