ผู้จัดการรายวัน360 - ทีมที่ปรึกษาธุรกิจเอกชน ถกมาตรการเยียวยาโควิดนัดที่ 2 ชงนายกฯ ไฟเขียวทำทันที จ่ายเงินเยียวยาภาคเกษตรกรครัวเรือนละ 5 พันบาท 3 เดือน ยิงตรงเข้าบัญชี 8-9 ล้านครัวเรือน พักหนี้ 1 ปี พร้อมเสนอหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลดเงินสมทบประกันสังคมนายจ้างเหลือ 1% เว้นภาษี SMEs นาน 3 ปี ให้สินเชื่อห้ามปล่อยแต่ลูกค้าชั้นดี ส่วนระยะยาวชงตั้งกองทุนร่วมทุนเกษตรกร 5 หมื่นล้าน ด้านเอกชนเสนอผ่อนปรนเปิดธุรกิจพื้นที่เสี่ยงระบาดต่ำก่อน ทดลองปลดล็อก 2-3 จังหวัด เพื่อประเมินผล
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชน ในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 เพื่อหาข้อเสนอแนะมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบ และมาตรการเพื่อการปรับตัวฟื้นฟูเศรษฐกิจ นัดที่ 2 วานนี้ (20 เม.ย.) ว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณามาตรการเยียวยาผลกระทบที่สามารถจะดำเนินการได้ทันที มาตรการที่จะต้องหารือเพิ่มเติมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และข้อเสนอระยะยาว หลังจากไวรัสโควิด-19 คลี่คลายลงแล้ว ซึ่ง สศช. จะรวบรวมและนำเสนอให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม พิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป
สำหรับมาตรการที่สามารถดำเนินการได้ทันที คือ ระยะสั้น จะช่วยเหลือเยียวยาให้กับเกษตรกรครัวเรือนละ 5,000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน ประมาณ 8-9 ล้านครัวเรือน , ช่วยพักหนี้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับทางราชการ ระยะเวลา 1 ปี , ช่วยปรับโครงสร้างหนี้และขยายเวลาชำระหนี้จากการเช่าซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร , ช่วยให้มีช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ , สนับสนุนและจัดระบบการขนส่งผลผลิตการเกษตร , ช่วยผลักดันการส่งออกผ่านพรหมแดนประเทศเพื่อนบ้าน และการใช้ Big Data ในการติดตามสถานการณ์ภาคเกษตร
ส่วนมาตรการที่จะต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ เช่น ลดเงินสมทบประกันสังคมนายจ้างจาก 4% เหลือ 1% ระยะเวลา 180 วัน , การให้ภาคเอกชนหักค่าใช้จ่ายได้ 3 เท่า กรณีใช้งบประมาณเพื่อป้องกันโควิด-19 , ยกเว้นภาษีนิติบุคคลของผู้ประกอบการ SMEs เป็นเวลา 3 ปี , การเลื่อนจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ คืนเงินประกันมิเตอร์ให้ SMEs , การขอขยายสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับภาครัฐออกไป 4 เดือน , การให้สินเชื่อธุรกิจ SMEs วงเงิน 5 แสนล้าน ที่ต้องไม่จำกัดเฉพาะลูกหนี้ชั้นดีของสถาบันการเงิน และต้องผ่อนปรนเงื่อนไขการให้สินเชื่อ , ขอให้ บสย.ค้ำประกันวงเงินกู้เพิ่มเป็น 80% และการเปิดธุรกิจใหม่ เสนอให้พิจารณาตามลำดับความเสี่ยง ถ้ามีความเสี่ยงต่ำ ก็ให้เปิดได้ก่อน
ขณะที่มาตรการระยะยาว เช่น การปรับปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ่านกองทุนร่วมทุนเกษตรกร 5 หมื่นล้านบาท และการแก้กฎหมายเพื่อรองรับการจัด E-Gov Digital ID เป็นต้น
นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานกลุ่มมาตรการเพื่อการกลับมาเปิดธุรกิจใหม่ ได้เสนอแนวทางการเปิดดำเนินธุรกิจบางประเภท ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเสนอให้พิจารณาเชิงพื้นที่ (โซนนิ่ง) และเชิงธุรกิจ โดยในส่วนของเชิงพื้นที่ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ จังหวัดที่มีความเสี่ยงต่ำ (สีเขียว) เสี่ยงปานกลาง (สีเหลือง) และเสี่ยงสูง (สีแดง) โดยธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำ เปิดได้ ธุรกิจที่มีความเสี่ยงปานกลาง เปิดได้ แต่ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง แต่ธุรกิจเสี่ยงสูง เปิดไม่ได้ และถ้าต่อไป มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ก็ต้องทบทวน
ทั้งนี้ เสนอให้ทดลองปลดล็อก 2-3 จังหวัด ระยะเวลา 2 สัปดาห์ ในกลุ่มกิจการความเสี่ยงต่ำก่อน เพื่อประเมินผล ก่อนขยายไปสู่กลุ่มจังหวัดอื่นๆ และกิจการประเภทอื่นๆ
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานกลุ่มดูแลผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก กล่าวว่า มีข้อเสนอเพิ่มเติมให้ภาครัฐ พิจารณามาตรการช่วยเหลือ SMEs ด้วยการให้ภาคเอกชนหักค่าใช้จ่ายได้ 3 เท่า กรณีใช้งบประมาณเพื่อป้องกันโควิด-19 และขอเลื่อนจ่ายค่าน้ำ-ค่าไฟ ออกไป 4 เดือน , ขอให้ บสย. ค้ำประกันวงเงินกู้เพิ่มเป็น 80% รวมทั้งขอให้ห้างสรรพสินค้า บริษัทขนาดใหญ่ ไม่เลื่อนการชำระเงินให้ซัปพลายเออร์ โดยเฉพาะ SMEs
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชน ในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 เพื่อหาข้อเสนอแนะมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบ และมาตรการเพื่อการปรับตัวฟื้นฟูเศรษฐกิจ นัดที่ 2 วานนี้ (20 เม.ย.) ว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณามาตรการเยียวยาผลกระทบที่สามารถจะดำเนินการได้ทันที มาตรการที่จะต้องหารือเพิ่มเติมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และข้อเสนอระยะยาว หลังจากไวรัสโควิด-19 คลี่คลายลงแล้ว ซึ่ง สศช. จะรวบรวมและนำเสนอให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม พิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป
สำหรับมาตรการที่สามารถดำเนินการได้ทันที คือ ระยะสั้น จะช่วยเหลือเยียวยาให้กับเกษตรกรครัวเรือนละ 5,000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน ประมาณ 8-9 ล้านครัวเรือน , ช่วยพักหนี้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับทางราชการ ระยะเวลา 1 ปี , ช่วยปรับโครงสร้างหนี้และขยายเวลาชำระหนี้จากการเช่าซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร , ช่วยให้มีช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ , สนับสนุนและจัดระบบการขนส่งผลผลิตการเกษตร , ช่วยผลักดันการส่งออกผ่านพรหมแดนประเทศเพื่อนบ้าน และการใช้ Big Data ในการติดตามสถานการณ์ภาคเกษตร
ส่วนมาตรการที่จะต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ เช่น ลดเงินสมทบประกันสังคมนายจ้างจาก 4% เหลือ 1% ระยะเวลา 180 วัน , การให้ภาคเอกชนหักค่าใช้จ่ายได้ 3 เท่า กรณีใช้งบประมาณเพื่อป้องกันโควิด-19 , ยกเว้นภาษีนิติบุคคลของผู้ประกอบการ SMEs เป็นเวลา 3 ปี , การเลื่อนจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ คืนเงินประกันมิเตอร์ให้ SMEs , การขอขยายสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับภาครัฐออกไป 4 เดือน , การให้สินเชื่อธุรกิจ SMEs วงเงิน 5 แสนล้าน ที่ต้องไม่จำกัดเฉพาะลูกหนี้ชั้นดีของสถาบันการเงิน และต้องผ่อนปรนเงื่อนไขการให้สินเชื่อ , ขอให้ บสย.ค้ำประกันวงเงินกู้เพิ่มเป็น 80% และการเปิดธุรกิจใหม่ เสนอให้พิจารณาตามลำดับความเสี่ยง ถ้ามีความเสี่ยงต่ำ ก็ให้เปิดได้ก่อน
ขณะที่มาตรการระยะยาว เช่น การปรับปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ่านกองทุนร่วมทุนเกษตรกร 5 หมื่นล้านบาท และการแก้กฎหมายเพื่อรองรับการจัด E-Gov Digital ID เป็นต้น
นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานกลุ่มมาตรการเพื่อการกลับมาเปิดธุรกิจใหม่ ได้เสนอแนวทางการเปิดดำเนินธุรกิจบางประเภท ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเสนอให้พิจารณาเชิงพื้นที่ (โซนนิ่ง) และเชิงธุรกิจ โดยในส่วนของเชิงพื้นที่ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ จังหวัดที่มีความเสี่ยงต่ำ (สีเขียว) เสี่ยงปานกลาง (สีเหลือง) และเสี่ยงสูง (สีแดง) โดยธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำ เปิดได้ ธุรกิจที่มีความเสี่ยงปานกลาง เปิดได้ แต่ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง แต่ธุรกิจเสี่ยงสูง เปิดไม่ได้ และถ้าต่อไป มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ก็ต้องทบทวน
ทั้งนี้ เสนอให้ทดลองปลดล็อก 2-3 จังหวัด ระยะเวลา 2 สัปดาห์ ในกลุ่มกิจการความเสี่ยงต่ำก่อน เพื่อประเมินผล ก่อนขยายไปสู่กลุ่มจังหวัดอื่นๆ และกิจการประเภทอื่นๆ
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานกลุ่มดูแลผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก กล่าวว่า มีข้อเสนอเพิ่มเติมให้ภาครัฐ พิจารณามาตรการช่วยเหลือ SMEs ด้วยการให้ภาคเอกชนหักค่าใช้จ่ายได้ 3 เท่า กรณีใช้งบประมาณเพื่อป้องกันโควิด-19 และขอเลื่อนจ่ายค่าน้ำ-ค่าไฟ ออกไป 4 เดือน , ขอให้ บสย. ค้ำประกันวงเงินกู้เพิ่มเป็น 80% รวมทั้งขอให้ห้างสรรพสินค้า บริษัทขนาดใหญ่ ไม่เลื่อนการชำระเงินให้ซัปพลายเออร์ โดยเฉพาะ SMEs