ผู้จัดการรายวัน360 - “กกร.”ประเมินผลกระทบโควิด-19 ส่อทำเศรษฐกิจไทยเสียหายหลักล้านล้านบาท หวั่นมิ.ย.คนตกงาน 7 ล้านคน รับสภาพศก. ส่งออก เงินเฟ้อ ปี 2563 ติดลบยกแผงจ่อปรับตัวเลขให้ชัดเจนอีกครั้งในการประชุมกกร.เดือนพ.ค. รอประเมินผลลัพธ์มาตรการรัฐพยุงศก.ไม่ให้ติดลบน้อยลง แนะรัฐออกมาตรการดูแลผู้ประกอบการ แรงงานเพิ่ม
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) เปิดเผยว่า กกร.ยังไม่ปรับเป้าหมายอัตราการเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) การส่งออกและอัตราเงินเฟ้อปี 2563เนื่องจากจะรอประเมินความชัดเจนหลังรัฐบาลได้มีมาตรการเยียวยาออกมาต่อเนื่องโดยเฉพาะ ระยะที่ 3 จากการออกพระราชกำหนด(พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 1 ล้านล้านบาท และให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ปล่อยสินเชื่อ/พักชำระหนี้ วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาทก่อนที่จะนำมาพิจารณาตัวเลขที่ชัดเจนในการประชุมกกร.เดือนพ.ค.นี้ อย่างไรก็ตามเบื้องต้นยอมรับว่าจากปัจจัยต่างๆแล้วจีดีพี ส่งออก และเงินเฟ้อ จะติดลบทั้งหมด
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้กกร.ได้ลดเป้าจีดีพีปีนี้เหลือโต1.5-2.5% ส่งออกลบลบ 2 ถึง 0% และเงินเฟ้อ 0-0.5% เบื้องต้นปีนี้ประเมินแล้วยอมรับว่าจีดีพีต้องติดลบแน่นอน ส่วนส่งออกน่าจะลบ 5-10% เงินเฟ้อลบ 1.5 ซึ่งเบื้องต้นแม้จะมีการดูแลและเยียวยาผลกระทบระยะที่ 1-2 รวมกับมาตรการที่ออกมาเพิ่มเติมแต่โดยรวมก็อาจไม่สามารถทดแทนผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อภาคธุรกิจและประชาชนจากการขาดรายได้และการหยุดหรือปิดกิจการ โดย กกร.ประเมินความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทยจะมีมูลค่าสูงถึงหลักล้านล้านบาท และจนถึงเดือนมิ.ย.คาดจะมีคนตกงาน 7 ล้านคน อาทิ ธุรกจิก่อสร้าง 1 ล้านคน ค้าปลีกศูนย์การค้า 4.2 ล้านคน ฯลฯ ซึ่งในจำนวนนี้มีประมาณ 6 ล้านคน ที่มีรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือน จากแรงงานทั้งระบบของประเทศมี 38 ล้านคนและหากลากยาวเกินครึ่งปีนี้ก็จะกระทบกับธุรกิจขนาดใหญ่
นายสุพันธุ์กล่าวว่า มาตรการรัฐที่ออกมาจะทำให้เศรษฐกิจติดลบได้ลดลง ดังนั้นเห็นว่ารัฐควรจะมีมาตรการเข้ามาดูแลเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือแรงงานอาทิ พนักงานที่สมัครใจหยุดงานโดยไม่รับเงินเดือนซึ่งไม่มีสิทธิ์ขอรับเงินเยียวยา 5,000 ควรให้สำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินช่วยเหลือ 50% ของเงินเดือน รวมทั้งขอเสนอให้รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือแรงงานที่มีเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท ยังควรได้รับเงินเดือน 75% แบ่งเป็นสำนักงานประกันสังคมจ่าย 50% และนายจ้างจ่าย 25% นอกจากนี้ควรให้มีการจ้างงานเป็นรายชั่วโมงเพื่อป้องกันปัญหาการเลิกจ้างแรงงาน โดยให้คิดค่าแรงเป็นรายชั่วโมง ชั่วโมงละ 40-41 บาทต่อการจ้างงานไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง และไม่เกิน 8 ชั่วโมง จากค่าแรงขั้นต่ำปัจจุบันอยู่ที่ 325 บาทต่อวัน เป็นต้น
นอกจากนี้มาตรการด้านผู้ประกอบการ ได้แก่ ขอให้รัฐสั่งปิดกิจการของรัฐ ให้กับผู้ประกอบการโรงแรมหรืองานบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เพื่อให้พนักงานสามารถเข้าข่ายกิจการที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งปิดกิจการของรัฐ และพนักงานจะได้เงินชดเชยตามมาตรการที่รัฐบาลกำหนด (โดยยกเว้นให้โรงแรมหรือบริการอื่นๆ ที่มีความจำเป็น สามารถเปิดกิจการโดยความสมัครใจ อาทิ เป็นที่พักบุคคลากรทางการแพทย์ หรือ ที่พักของผู้กักตัว เป็นต้น) ขอให้ปรับลดค่าไฟฟ้า 5% ทั่วประเทศ รัฐจัดสรรงบประมาณในการจ้างงาน ซื้อสินค้า จากผู้ผลิตในประเทศ (Made-in-Thailand) ในราคาที่เหมาะสม เป็นต้น
ส่วนมาตรการด้าน Logisticปัจจุบันแต่ละจังหวัดมีการประกาศมาตรการไม่เหมือนกัน ทำให้เกิดปัญหาในการขนส่ง กกร.จึงขอเสนอให้ ศบค. ประกาศมาตรการจากส่วนกลางเพื่อปฎิบัติเหมือนกันทั่วประเทศ โดยขอให้ กกร. มีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการเพื่อให้สามารถปฎิบัติได้
นายกลินทร์ สารสิน ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขอขอบคุณรัฐที่ออกมาตรการดูแลเศรษฐกิจระยะ 3 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาทที่ครอบคลุมทุกด้านแต่ยังห่วงอยู่นิดหนึ่งคือจะปฏิบัติอย่างไรต้องการให้รัฐบาลสื่อสารให้ชัดเจน
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า รัฐบาลมีการออกมาตรการมาเป็นระยะและครอบคลุมเกือบทุกกลุ่มโดยหากจะมีการยกระดับเคอร์ฟิว 24 ชม.นั้นทางสมาคมฯขอให้ประชาชนไม่ต้องวิตกในรื่องของการบริการทางการเงินและอยากแนะนำให้ใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ก็จะสะดวกรวดเร็ว
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) เปิดเผยว่า กกร.ยังไม่ปรับเป้าหมายอัตราการเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) การส่งออกและอัตราเงินเฟ้อปี 2563เนื่องจากจะรอประเมินความชัดเจนหลังรัฐบาลได้มีมาตรการเยียวยาออกมาต่อเนื่องโดยเฉพาะ ระยะที่ 3 จากการออกพระราชกำหนด(พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 1 ล้านล้านบาท และให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ปล่อยสินเชื่อ/พักชำระหนี้ วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาทก่อนที่จะนำมาพิจารณาตัวเลขที่ชัดเจนในการประชุมกกร.เดือนพ.ค.นี้ อย่างไรก็ตามเบื้องต้นยอมรับว่าจากปัจจัยต่างๆแล้วจีดีพี ส่งออก และเงินเฟ้อ จะติดลบทั้งหมด
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้กกร.ได้ลดเป้าจีดีพีปีนี้เหลือโต1.5-2.5% ส่งออกลบลบ 2 ถึง 0% และเงินเฟ้อ 0-0.5% เบื้องต้นปีนี้ประเมินแล้วยอมรับว่าจีดีพีต้องติดลบแน่นอน ส่วนส่งออกน่าจะลบ 5-10% เงินเฟ้อลบ 1.5 ซึ่งเบื้องต้นแม้จะมีการดูแลและเยียวยาผลกระทบระยะที่ 1-2 รวมกับมาตรการที่ออกมาเพิ่มเติมแต่โดยรวมก็อาจไม่สามารถทดแทนผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อภาคธุรกิจและประชาชนจากการขาดรายได้และการหยุดหรือปิดกิจการ โดย กกร.ประเมินความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทยจะมีมูลค่าสูงถึงหลักล้านล้านบาท และจนถึงเดือนมิ.ย.คาดจะมีคนตกงาน 7 ล้านคน อาทิ ธุรกจิก่อสร้าง 1 ล้านคน ค้าปลีกศูนย์การค้า 4.2 ล้านคน ฯลฯ ซึ่งในจำนวนนี้มีประมาณ 6 ล้านคน ที่มีรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือน จากแรงงานทั้งระบบของประเทศมี 38 ล้านคนและหากลากยาวเกินครึ่งปีนี้ก็จะกระทบกับธุรกิจขนาดใหญ่
นายสุพันธุ์กล่าวว่า มาตรการรัฐที่ออกมาจะทำให้เศรษฐกิจติดลบได้ลดลง ดังนั้นเห็นว่ารัฐควรจะมีมาตรการเข้ามาดูแลเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือแรงงานอาทิ พนักงานที่สมัครใจหยุดงานโดยไม่รับเงินเดือนซึ่งไม่มีสิทธิ์ขอรับเงินเยียวยา 5,000 ควรให้สำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินช่วยเหลือ 50% ของเงินเดือน รวมทั้งขอเสนอให้รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือแรงงานที่มีเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท ยังควรได้รับเงินเดือน 75% แบ่งเป็นสำนักงานประกันสังคมจ่าย 50% และนายจ้างจ่าย 25% นอกจากนี้ควรให้มีการจ้างงานเป็นรายชั่วโมงเพื่อป้องกันปัญหาการเลิกจ้างแรงงาน โดยให้คิดค่าแรงเป็นรายชั่วโมง ชั่วโมงละ 40-41 บาทต่อการจ้างงานไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง และไม่เกิน 8 ชั่วโมง จากค่าแรงขั้นต่ำปัจจุบันอยู่ที่ 325 บาทต่อวัน เป็นต้น
นอกจากนี้มาตรการด้านผู้ประกอบการ ได้แก่ ขอให้รัฐสั่งปิดกิจการของรัฐ ให้กับผู้ประกอบการโรงแรมหรืองานบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เพื่อให้พนักงานสามารถเข้าข่ายกิจการที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งปิดกิจการของรัฐ และพนักงานจะได้เงินชดเชยตามมาตรการที่รัฐบาลกำหนด (โดยยกเว้นให้โรงแรมหรือบริการอื่นๆ ที่มีความจำเป็น สามารถเปิดกิจการโดยความสมัครใจ อาทิ เป็นที่พักบุคคลากรทางการแพทย์ หรือ ที่พักของผู้กักตัว เป็นต้น) ขอให้ปรับลดค่าไฟฟ้า 5% ทั่วประเทศ รัฐจัดสรรงบประมาณในการจ้างงาน ซื้อสินค้า จากผู้ผลิตในประเทศ (Made-in-Thailand) ในราคาที่เหมาะสม เป็นต้น
ส่วนมาตรการด้าน Logisticปัจจุบันแต่ละจังหวัดมีการประกาศมาตรการไม่เหมือนกัน ทำให้เกิดปัญหาในการขนส่ง กกร.จึงขอเสนอให้ ศบค. ประกาศมาตรการจากส่วนกลางเพื่อปฎิบัติเหมือนกันทั่วประเทศ โดยขอให้ กกร. มีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการเพื่อให้สามารถปฎิบัติได้
นายกลินทร์ สารสิน ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขอขอบคุณรัฐที่ออกมาตรการดูแลเศรษฐกิจระยะ 3 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาทที่ครอบคลุมทุกด้านแต่ยังห่วงอยู่นิดหนึ่งคือจะปฏิบัติอย่างไรต้องการให้รัฐบาลสื่อสารให้ชัดเจน
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า รัฐบาลมีการออกมาตรการมาเป็นระยะและครอบคลุมเกือบทุกกลุ่มโดยหากจะมีการยกระดับเคอร์ฟิว 24 ชม.นั้นทางสมาคมฯขอให้ประชาชนไม่ต้องวิตกในรื่องของการบริการทางการเงินและอยากแนะนำให้ใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ก็จะสะดวกรวดเร็ว