ผู้จัดการรายวัน360 - “กกร.” ถกวันนี้ ( 8 เม.ย.) จ่อหั่นเป้าหมายจีดีพีและส่งออกปี 2563 อีกระลอกหลังโควิด-19 ทั่วโลกยังไม่นิ่ง พร้อมเช็คมาตรการต่างๆภาครัฐหวังเสนอแนวทางดูแลเพิ่มเติม มองเคอร์ฟิว 24 ชม.ต้องไม่กระทบภาคผลิตสินค้าอุปโภค บริโภคและขนส่ง ขณะที่สรท.หั่นเป้าส่งออกปีนี้ติดลบ 8% และอาจเสี่ยงตัวเลขติดลบตัวเลข 2 หลัก
นายสุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ประกอบด้วยส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ในวันนี้( 8 เม.ย.) กกร.จะร่วมกันพิจารณา มาตรการแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ชุดที่ 3 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาทของภาครัฐว่า จะมีส่วนสำคัญในการประคองเศรษฐกิจไทยมากน้อยเพียงใด รวมถึงมาตรการต่างๆ ในการดูแลภาคประชาชนเพื่อที่จะเสนอมาตรการเพิ่มเติมให้ภาครัฐและประกอบการทบทวนตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไทย (จีดีพี) และการส่งออกปี 63 ว่าจะปรับลดหรือไม่อย่างไร
“การประชุมเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ได้ลดเป้าหมายจีดีพี เหลือ 1.5-2% และคงตัวเลขการส่งออกที่ติดลบ 2 ถึง 0% ซึ่งกกร.ครั้งนี้มีแนวโน้มที่จะต้องทบทวนตัวเลขใหม่ให้สอดรับกับทิศทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งก็มีแนวโน้มที่จะปรับลดเพราะล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เอง ได้คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 63 ติดลบ 5.3% “นายสุพันธุ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม มาตรการต่างๆ ที่รัฐออกมานั้น คงจะต้องติดตามดูรายละเอียดว่า จะมีการนำมาดำเนินการอย่างไร หากขาดสิ่งใดทางกกร.คงจะได้นำเสนอต่อไป รวมไปถึงกรณีที่รัฐบาลได้เตรียมพร้อมในเรื่องของการประกาศเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมงว่า รัฐบาลควรกำหนดละเอียด เพราะอาจกระทบต่อภาคการผลิตได้โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคและบริโภค
นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า มีแนวโน้มว่ากกร.จะปรับลดจีดีพีและส่งออกปี 2563 ลดลงอีกครั้งจากเดือนก่อนเพราะสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกยังไม่ดีขึ้นนัก ขณะเดียวกันอาจมีการหยิบยกประเด็นหารือ ถึงการที่รัฐบาลได้เตรียมพร้อมที่จะประกาศเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมงซึ่งภาคเอกชนเห็นว่า หากตัวเลขการติดเชื้อของไทย ไม่ได้มีอัตราเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและรวดเร็ว ก็ยังไม่ควรจะดำเนินการแต่อย่างใด เพราะอาจส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตโดยเฉพาะในสินค้าอุปโภคและบริโภค รวมถึงขนส่ง
สำหรับกรณีที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ขยายกรอบวงเงินที่จะใช้ดูแลและเยียวยาเศรษฐกิจในระยะที่ 3 รวม 1.9 ล้านล้านบาทนั้น หากพิจารณาเทียบสัดส่วนของจีดีพีแล้วคิดเป็น 11% ของจีดีพี ก็ถือว่าอยู่ในอัตราที่สูง แต่ก็มีความจำเป็นในการดูแลระบบเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
สภาผู้ส่งออกคาดปีนี้ส่งออกไทยลบ8%
นางสาวกัณญภัค ตัณติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือสภาผู้ส่งออก กล่าวว่าสภาผู้ส่งออกได้ปรับประมาณการส่งออกปีนี้เป็นติดลบ 8% แต่ทั้งนี้ ต้องรอดูมาตรการอัดฉีดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในภาพรวมทั่วโลก แต่หากการแพร่ระบาดยังไม่มีทีท่าจะบรรเทาลง การส่งออกอาจมีโอกาสติดลบตัวเลข 2 หลักได้ และจะเป็นการส่งออกต่ำสุดในรอบ10ปี
“อีกปัจจัยลบที่รุนแรงไม่แพ้โควิด-19 และเกิดซัพพลายเชนดิสรัปชั่น ขณะนี้ คือ ภัยแล้งกระทบสินค้าเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรม หลายอุตสาหกรรมมีปัญหาวัตถุดิบที่จะป้อนสู่กระบวนการผลิตค่อนข้างมาก กระทบเกษตรกรรากหญ้าที่ผลผลิตป้อนสู่ตลาดน้อย ส่งโรงงานน้อยลงด้วย”
นายสุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ประกอบด้วยส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ในวันนี้( 8 เม.ย.) กกร.จะร่วมกันพิจารณา มาตรการแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ชุดที่ 3 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาทของภาครัฐว่า จะมีส่วนสำคัญในการประคองเศรษฐกิจไทยมากน้อยเพียงใด รวมถึงมาตรการต่างๆ ในการดูแลภาคประชาชนเพื่อที่จะเสนอมาตรการเพิ่มเติมให้ภาครัฐและประกอบการทบทวนตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไทย (จีดีพี) และการส่งออกปี 63 ว่าจะปรับลดหรือไม่อย่างไร
“การประชุมเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ได้ลดเป้าหมายจีดีพี เหลือ 1.5-2% และคงตัวเลขการส่งออกที่ติดลบ 2 ถึง 0% ซึ่งกกร.ครั้งนี้มีแนวโน้มที่จะต้องทบทวนตัวเลขใหม่ให้สอดรับกับทิศทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งก็มีแนวโน้มที่จะปรับลดเพราะล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เอง ได้คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 63 ติดลบ 5.3% “นายสุพันธุ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม มาตรการต่างๆ ที่รัฐออกมานั้น คงจะต้องติดตามดูรายละเอียดว่า จะมีการนำมาดำเนินการอย่างไร หากขาดสิ่งใดทางกกร.คงจะได้นำเสนอต่อไป รวมไปถึงกรณีที่รัฐบาลได้เตรียมพร้อมในเรื่องของการประกาศเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมงว่า รัฐบาลควรกำหนดละเอียด เพราะอาจกระทบต่อภาคการผลิตได้โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคและบริโภค
นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า มีแนวโน้มว่ากกร.จะปรับลดจีดีพีและส่งออกปี 2563 ลดลงอีกครั้งจากเดือนก่อนเพราะสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกยังไม่ดีขึ้นนัก ขณะเดียวกันอาจมีการหยิบยกประเด็นหารือ ถึงการที่รัฐบาลได้เตรียมพร้อมที่จะประกาศเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมงซึ่งภาคเอกชนเห็นว่า หากตัวเลขการติดเชื้อของไทย ไม่ได้มีอัตราเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและรวดเร็ว ก็ยังไม่ควรจะดำเนินการแต่อย่างใด เพราะอาจส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตโดยเฉพาะในสินค้าอุปโภคและบริโภค รวมถึงขนส่ง
สำหรับกรณีที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ขยายกรอบวงเงินที่จะใช้ดูแลและเยียวยาเศรษฐกิจในระยะที่ 3 รวม 1.9 ล้านล้านบาทนั้น หากพิจารณาเทียบสัดส่วนของจีดีพีแล้วคิดเป็น 11% ของจีดีพี ก็ถือว่าอยู่ในอัตราที่สูง แต่ก็มีความจำเป็นในการดูแลระบบเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
สภาผู้ส่งออกคาดปีนี้ส่งออกไทยลบ8%
นางสาวกัณญภัค ตัณติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือสภาผู้ส่งออก กล่าวว่าสภาผู้ส่งออกได้ปรับประมาณการส่งออกปีนี้เป็นติดลบ 8% แต่ทั้งนี้ ต้องรอดูมาตรการอัดฉีดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในภาพรวมทั่วโลก แต่หากการแพร่ระบาดยังไม่มีทีท่าจะบรรเทาลง การส่งออกอาจมีโอกาสติดลบตัวเลข 2 หลักได้ และจะเป็นการส่งออกต่ำสุดในรอบ10ปี
“อีกปัจจัยลบที่รุนแรงไม่แพ้โควิด-19 และเกิดซัพพลายเชนดิสรัปชั่น ขณะนี้ คือ ภัยแล้งกระทบสินค้าเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรม หลายอุตสาหกรรมมีปัญหาวัตถุดิบที่จะป้อนสู่กระบวนการผลิตค่อนข้างมาก กระทบเกษตรกรรากหญ้าที่ผลผลิตป้อนสู่ตลาดน้อย ส่งโรงงานน้อยลงด้วย”