**จะว่าเป็นไปตามเสียงเรียกร้อง หรือว่าเป็นไปตามสถานการณ์ที่ฉุกเฉินขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้คณะรัฐมนตรี มีมติมอบอำนาจให้นายกรัฐมนตรีประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ขึ้นมาควบคุมสถานการณ์และการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ โควิด-19 มีกำหนด 1 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคมนี้ เป็นต้นไป
สำหรับสาระสำคัญหลักๆ ก็คือเป็นการขอคืนอำนาจจากกระรวงทบวงกรมต่างๆ รวมทั้งรวบอำนาจตามกฎหมายอีกกว่า 30 ฉบับ มาอยู่ในมือของ นายกรัฐมนตรี เพื่อให้สามารถมีอำนาจในการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วและเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมากกว่าเดิม
ขณะเดียวกัน นับจากนี้ก็จะมีการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์ฉุกเฉินหรือที่ นายกรัฐมนตรีเรียกชื่อย่อว่า “ศอฉ.”อย่างไรก็ดีชื่อ ศอฉ. ดังกล่าวนี้ เชื่อว่าประชาชนก็คุ้นเคยกันมาแล้ว เมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองปี 2553 ที่ผ่านมา ที่มีการจัดตั้งศูนย์ขึ้นมาโดยอาจมอบหมายให้รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง มาเป็นหัวหน้าศูนย์ฯก็ได้ แต่คราวนี้มั่นใจว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการศูนย์ด้วยตัวเอง และมีคณะกรรมการจากคณะรัฐมนตรีบางคน และจากหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
หากพิจารณาตามความจำเป็นก็ต้องบอกว่า “ได้เวลา”แล้ว หลังจากยอดตัวเลขผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยจากการติดเชื้อ เพิ่มขึ้นอีก 106 ราย และเสียชีวิตอีก 3 ราย รวมผู้เสียชีวิตในประเทศไทยเป็น 4 รายแล้ว และมีผู้ป่วยสะสมถึง 827 ราย แม้ว่าจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ยังเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องและสัมผัสกับกลุ่ม “สนามมวย”และ “ผับย่านทองหล่อ”รวมทั้งจากการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาในประเทศมาเลเซีย ก็ตาม
** แต่ที่น่าจับตาก็คือบรรดาผู้ติดเชื้อเริ่มมีแนวโน้มแพร่ระบาดออกไปสู่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากมีการออกคำสั่งปิดห้างสรรพสินค้าเป็นส่วนใหญ่ และสถานบริการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทำให้บรรดาแรงงาน และพนักงานทั้งไทยและเทศ ต่างพรั่งพรูเดินทางกลับภูมิลำเนาของแต่ละคนเป็นจำนวนมากเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา จนเกิดความวิตกว่าจะเกิดการแพร่ระบาดในต่างจังหวัดมากขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อวกกลับมาที่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมอบอำนาจให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งได้เบ็ดเสร็จมากกว่าเดิม และเชื่อว่านับจากนี้ (ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม) จะมีการออกคำสั่ง และมาตรการต่างๆออกมา ซึ่งจะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ และหากพิจารณาจากสัญญาณคำพูดบอกใบ้ของ นายกรัฐมนตรี อาจจะได้เห็นคำสั่ง “ปิดเมือง”แบบของจริงออกมาให้เห็นในอนาคตอันใกล้นี้ หากยัง“เอาไม่อยู่”
การปิดเมืองที่ว่าหากออกมาในแบบ“เข้ม”ก็คือการ “ห้ามออกจากบ้าน”และหากมีความจำเป็นก็ต้องขออนุญาตเป็นรายๆไป รวมไปถึงเมื่อเป็นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแบบนี้ ก็หมายความว่า “ห้ามชุมนุมเกิน 5 คน”ตามมาอีกด้วย แต่ถึงอย่างไรเชื่อว่า คำสั่งและมาตรการที่ออกมาจะต้องทยอยแบบเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้ชาวบ้านได้ปรับตัวกันบ้าง
**ขณะเดียวกัน หากมองในมุมการเมืองถือว่า น่าจะ “เป็นบวก”กับ “บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพราะหากพิจารณาจากจังหวะเวลาในการเข้ามา “ควบคุมสถานการณ์”ตามคำเรียกร้อง ไม่ใช่แบบผลุนผลันเข้ามาตั้งแต่แรก เพราะหากเข้ามาก่อน อาจจะถูกฝ่ายตรงข้ามโจมตีว่าต้องการ “ปิดปาก”เป็นการฉกฉวยสถานการณ์ห้ามไม่ให้เคลื่อนไหว แต่เมื่อเป็นแบบนี้ มันก็ย่อมกลายเป็นคนละเรื่อง เพราะเวลานี้กลายเป็นว่าพรรคฝ่ายค้าน กลับโจมตี ว่า “ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินช้าไป”เป็นงั้นไปเสียอีก
เอาเป็นว่าจะด้วยแบบไหนก็แล้วแต่ นับจากวันที่ 26 มีนาคมเป็นต้นไป อำนาจจะกลับมาอยู่ในมือของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แบบเบ็ดเสร็จมากกว่าเดิม แม้ว่าอาจจะไม่เทียบเท่ากับการเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หรือในช่วงที่ยังมี มาตรา 44 แต่ภายใต้พระราชกำหนดบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินแบบนี้ ถือว่า “เต็มมือ”และเชื่อว่าจะต้อง “ข้นคลั่ก”แน่นอน
และที่น่าจับตาก็คือการส่งสัญญาณจัดการขั้นเด็ดขาดกับพวกที่ ปล่อยข่าว “เฟกนิวส์”ในโชเชียลฯ ที่ขู่จัดการขั้นเด็ดขาด ซึ่งถือว่าเป็นคำเตือนแรกๆ ที่ออกมาก่อน เชื่อว่านายกรัฐมนตรีคงมีข้อมูลอยู่ในมือแล้วว่าเป็น“กลุ่มไหน”
**แต่ขณะเดียวกันหากพิจารณาในอีกมุมหนึ่ง หากการมีอำนาจในมือเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดลงได้ หรือ “เอาไม่อยู่”มันก็ถือว่า เขาก็ต้องรับผิดชอบเต็มที่คนเดียวเหมือนกัน !!
สำหรับสาระสำคัญหลักๆ ก็คือเป็นการขอคืนอำนาจจากกระรวงทบวงกรมต่างๆ รวมทั้งรวบอำนาจตามกฎหมายอีกกว่า 30 ฉบับ มาอยู่ในมือของ นายกรัฐมนตรี เพื่อให้สามารถมีอำนาจในการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วและเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมากกว่าเดิม
ขณะเดียวกัน นับจากนี้ก็จะมีการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์ฉุกเฉินหรือที่ นายกรัฐมนตรีเรียกชื่อย่อว่า “ศอฉ.”อย่างไรก็ดีชื่อ ศอฉ. ดังกล่าวนี้ เชื่อว่าประชาชนก็คุ้นเคยกันมาแล้ว เมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองปี 2553 ที่ผ่านมา ที่มีการจัดตั้งศูนย์ขึ้นมาโดยอาจมอบหมายให้รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง มาเป็นหัวหน้าศูนย์ฯก็ได้ แต่คราวนี้มั่นใจว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการศูนย์ด้วยตัวเอง และมีคณะกรรมการจากคณะรัฐมนตรีบางคน และจากหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
หากพิจารณาตามความจำเป็นก็ต้องบอกว่า “ได้เวลา”แล้ว หลังจากยอดตัวเลขผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยจากการติดเชื้อ เพิ่มขึ้นอีก 106 ราย และเสียชีวิตอีก 3 ราย รวมผู้เสียชีวิตในประเทศไทยเป็น 4 รายแล้ว และมีผู้ป่วยสะสมถึง 827 ราย แม้ว่าจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ยังเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องและสัมผัสกับกลุ่ม “สนามมวย”และ “ผับย่านทองหล่อ”รวมทั้งจากการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาในประเทศมาเลเซีย ก็ตาม
** แต่ที่น่าจับตาก็คือบรรดาผู้ติดเชื้อเริ่มมีแนวโน้มแพร่ระบาดออกไปสู่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากมีการออกคำสั่งปิดห้างสรรพสินค้าเป็นส่วนใหญ่ และสถานบริการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทำให้บรรดาแรงงาน และพนักงานทั้งไทยและเทศ ต่างพรั่งพรูเดินทางกลับภูมิลำเนาของแต่ละคนเป็นจำนวนมากเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา จนเกิดความวิตกว่าจะเกิดการแพร่ระบาดในต่างจังหวัดมากขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อวกกลับมาที่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมอบอำนาจให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งได้เบ็ดเสร็จมากกว่าเดิม และเชื่อว่านับจากนี้ (ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม) จะมีการออกคำสั่ง และมาตรการต่างๆออกมา ซึ่งจะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ และหากพิจารณาจากสัญญาณคำพูดบอกใบ้ของ นายกรัฐมนตรี อาจจะได้เห็นคำสั่ง “ปิดเมือง”แบบของจริงออกมาให้เห็นในอนาคตอันใกล้นี้ หากยัง“เอาไม่อยู่”
การปิดเมืองที่ว่าหากออกมาในแบบ“เข้ม”ก็คือการ “ห้ามออกจากบ้าน”และหากมีความจำเป็นก็ต้องขออนุญาตเป็นรายๆไป รวมไปถึงเมื่อเป็นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแบบนี้ ก็หมายความว่า “ห้ามชุมนุมเกิน 5 คน”ตามมาอีกด้วย แต่ถึงอย่างไรเชื่อว่า คำสั่งและมาตรการที่ออกมาจะต้องทยอยแบบเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้ชาวบ้านได้ปรับตัวกันบ้าง
**ขณะเดียวกัน หากมองในมุมการเมืองถือว่า น่าจะ “เป็นบวก”กับ “บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพราะหากพิจารณาจากจังหวะเวลาในการเข้ามา “ควบคุมสถานการณ์”ตามคำเรียกร้อง ไม่ใช่แบบผลุนผลันเข้ามาตั้งแต่แรก เพราะหากเข้ามาก่อน อาจจะถูกฝ่ายตรงข้ามโจมตีว่าต้องการ “ปิดปาก”เป็นการฉกฉวยสถานการณ์ห้ามไม่ให้เคลื่อนไหว แต่เมื่อเป็นแบบนี้ มันก็ย่อมกลายเป็นคนละเรื่อง เพราะเวลานี้กลายเป็นว่าพรรคฝ่ายค้าน กลับโจมตี ว่า “ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินช้าไป”เป็นงั้นไปเสียอีก
เอาเป็นว่าจะด้วยแบบไหนก็แล้วแต่ นับจากวันที่ 26 มีนาคมเป็นต้นไป อำนาจจะกลับมาอยู่ในมือของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แบบเบ็ดเสร็จมากกว่าเดิม แม้ว่าอาจจะไม่เทียบเท่ากับการเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หรือในช่วงที่ยังมี มาตรา 44 แต่ภายใต้พระราชกำหนดบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินแบบนี้ ถือว่า “เต็มมือ”และเชื่อว่าจะต้อง “ข้นคลั่ก”แน่นอน
และที่น่าจับตาก็คือการส่งสัญญาณจัดการขั้นเด็ดขาดกับพวกที่ ปล่อยข่าว “เฟกนิวส์”ในโชเชียลฯ ที่ขู่จัดการขั้นเด็ดขาด ซึ่งถือว่าเป็นคำเตือนแรกๆ ที่ออกมาก่อน เชื่อว่านายกรัฐมนตรีคงมีข้อมูลอยู่ในมือแล้วว่าเป็น“กลุ่มไหน”
**แต่ขณะเดียวกันหากพิจารณาในอีกมุมหนึ่ง หากการมีอำนาจในมือเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดลงได้ หรือ “เอาไม่อยู่”มันก็ถือว่า เขาก็ต้องรับผิดชอบเต็มที่คนเดียวเหมือนกัน !!