กกพ.เคาะตรึงค่าไฟงวดพ.ค.-ส.ค.63 เฉลี่ยที่ 3.64 บาทต่อหน่วย ควัก 5,120 ล้าน เบรกปรับขึ้น 8.03 ส.ต.ต่อหน่วย พร้อมลุ้นถกการไฟฟ้าเร็วๆนี้ ลดค่าเอฟทีอีก 3% หรือราว 10-11 ส.ต.ต่อหน่วย 3 เดือน บิล เม.ย.-มิ.ย.นี้อีกระลอก คืนเงินค่าประกันมิเตอร์ไฟ ครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้า 21.5 ล้านคนทยอยได้กลุ่มแรก มี.ค.นี้ หวังส่งเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 30,000 ล้านบาท
วานนี้ (12 มี.ค.) นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า กกพ. มีมติให้คงอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บเดือน พ.ค.-ส.ค.63 จำนวน -11.60 ส.ต.ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.64 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาผลกระทบค่าครองชีพประชาชนหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของศก.ไทย โดยกกพ.บริหารจัดการโดยใช้วงเงินประมาณ 5,120 ล้านบาทในการดูแล
"การพิจารณาเอฟทีครั้งนี้ จะเป็นส่วนการบริหารจัดการของกกพ. ตามรอบบิลปกติที่จะต้องมีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงค่าเอฟทีทุก 4 เดือน ซึ่งหากไม่ดำเนินการใดๆ จะส่งผลให้ค่าเอฟที ปรับขึ้น 8.03 ส.ต.ต่อหน่วย หรือเอฟทีมาอยู่ที่ -3.57 ส.ต.ต่อหน่วย อย่างไรก็ตามหากพิจารณาในแง่แนวโน้มค่าเอฟทีในงวดต่อไป(ก.ย.-ธ.ค.63 ) คาดว่าจะมีโอกาสปรับลด เพราะทิศทางราคาน้ำมันและก๊าซฯลดลง แต่จะต้องติดตามปัจจัยค่าเงินบาทเป็นสำคัญ" นายคมกฤช กล่าว
สำหรับการปรับลดค่าไฟฟ้าตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 10 มี.ค. ที่จะให้ค่าเอฟทีลดลงอีก 3% หรือราว 10-11 ส.ต.ต่อหน่วย นั้นจะมีการหารือร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) เพื่อพิจารณาในเร็วๆ นี้ว่าจะใช้วงเงินในการนำมาบริหารจัดการได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งหากลดในอัตราดังกล่าวคาดว่าจะใช้เงินอีกไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาทโดยการลดเอฟทีครั้งนี้ จะมีผลในรอบบิลเดือนเม.ย.-มิ.ย.
นายคมกฤช กล่าวถึงความคืบหน้าการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าตามมติ ครม.ว่า วันที่ 13 มี.ค.นี้ กกพ.จะหารือร่วมกับกฟน.และกฟภ. ถึงรายละเอียดในทางปฏิบัติ เพื่อคืนเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า ประเภท 1 คือ ผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อย และผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 2 กิจการขนาดเล็ก รวม 21.5 ล้าน รายคิดเป็นวงเงินประมาณ 30,000 ล้านบาท ซึ่งรูปแบบการคืนเงินเบื้องต้น ทั้งการหักลบในบิลค่าไฟ การคืนเงินสดหน้าเคาน์เตอร์ ผ่านแอปพลิเคชั่น เป็นต้น
นายประเทศ ศรีชมภู รองเลขาธิการ สกพ.กล่าวเสริมว่า เดิมที กกพ.มีแผนอยู่แล้วที่จะคืนเงินประกันการใช้ไฟในเดือนมิ.ย. แต่เพื่อเร่งดูแลเศรษฐกิจจึงจะเริ่มดำเนินการให้ได้ภายในมี.ค.นี้ และจะรวมถึงกรณีที่ผู้ที่จะยื่นเป็นผู้ใช้ไฟรายใหม่ที่เป็นผู้ใช้ไฟรายย่อย และกิจการขนาดเล็กจะไม่ต้องจ่ายเงินประกันการใช้ไฟอีกต่อไป โดยจะเหลือการจ่ายเพียงค่าตรวจสอบอุปกรณ์การใช้ไฟเพื่อความปลอดภัยเท่านั้น
วานนี้ (12 มี.ค.) นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า กกพ. มีมติให้คงอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บเดือน พ.ค.-ส.ค.63 จำนวน -11.60 ส.ต.ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.64 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาผลกระทบค่าครองชีพประชาชนหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของศก.ไทย โดยกกพ.บริหารจัดการโดยใช้วงเงินประมาณ 5,120 ล้านบาทในการดูแล
"การพิจารณาเอฟทีครั้งนี้ จะเป็นส่วนการบริหารจัดการของกกพ. ตามรอบบิลปกติที่จะต้องมีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงค่าเอฟทีทุก 4 เดือน ซึ่งหากไม่ดำเนินการใดๆ จะส่งผลให้ค่าเอฟที ปรับขึ้น 8.03 ส.ต.ต่อหน่วย หรือเอฟทีมาอยู่ที่ -3.57 ส.ต.ต่อหน่วย อย่างไรก็ตามหากพิจารณาในแง่แนวโน้มค่าเอฟทีในงวดต่อไป(ก.ย.-ธ.ค.63 ) คาดว่าจะมีโอกาสปรับลด เพราะทิศทางราคาน้ำมันและก๊าซฯลดลง แต่จะต้องติดตามปัจจัยค่าเงินบาทเป็นสำคัญ" นายคมกฤช กล่าว
สำหรับการปรับลดค่าไฟฟ้าตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 10 มี.ค. ที่จะให้ค่าเอฟทีลดลงอีก 3% หรือราว 10-11 ส.ต.ต่อหน่วย นั้นจะมีการหารือร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) เพื่อพิจารณาในเร็วๆ นี้ว่าจะใช้วงเงินในการนำมาบริหารจัดการได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งหากลดในอัตราดังกล่าวคาดว่าจะใช้เงินอีกไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาทโดยการลดเอฟทีครั้งนี้ จะมีผลในรอบบิลเดือนเม.ย.-มิ.ย.
นายคมกฤช กล่าวถึงความคืบหน้าการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าตามมติ ครม.ว่า วันที่ 13 มี.ค.นี้ กกพ.จะหารือร่วมกับกฟน.และกฟภ. ถึงรายละเอียดในทางปฏิบัติ เพื่อคืนเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า ประเภท 1 คือ ผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อย และผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 2 กิจการขนาดเล็ก รวม 21.5 ล้าน รายคิดเป็นวงเงินประมาณ 30,000 ล้านบาท ซึ่งรูปแบบการคืนเงินเบื้องต้น ทั้งการหักลบในบิลค่าไฟ การคืนเงินสดหน้าเคาน์เตอร์ ผ่านแอปพลิเคชั่น เป็นต้น
นายประเทศ ศรีชมภู รองเลขาธิการ สกพ.กล่าวเสริมว่า เดิมที กกพ.มีแผนอยู่แล้วที่จะคืนเงินประกันการใช้ไฟในเดือนมิ.ย. แต่เพื่อเร่งดูแลเศรษฐกิจจึงจะเริ่มดำเนินการให้ได้ภายในมี.ค.นี้ และจะรวมถึงกรณีที่ผู้ที่จะยื่นเป็นผู้ใช้ไฟรายใหม่ที่เป็นผู้ใช้ไฟรายย่อย และกิจการขนาดเล็กจะไม่ต้องจ่ายเงินประกันการใช้ไฟอีกต่อไป โดยจะเหลือการจ่ายเพียงค่าตรวจสอบอุปกรณ์การใช้ไฟเพื่อความปลอดภัยเท่านั้น