ส.อ.ท.ตั้งวอร์รูม ศึกษาผลกระทบ"โควิด-19" คาดการณ์ 4 กรณี หากคุมได้และจบภายในมี.ค.นี้ ศก.ไทยลุ้นโตได้ 2% จบไม่เกิน มิ.ย.-ก.ค. ยังโตเล็กน้อย หรือทรงตัว หากยาวไปก.ย.เศรษฐกิจไทยส่อติดลบ และถ้าถึงสิ้นปี จะกระทบรุนแรง ล่าสุดสต็อกสินค้าที่ไทยต้องนำเข้าจากจีน เพื่อประกอบและผลิตบางส่วน เริ่มขาดแคลน ผู้ประกอบดิ้นหาแหล่งอื่นทดแทน หวังรัฐมีมาตรการรับมือทั้งระยะสั้น กลาง ยาว
นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะทำงานศึกษาผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐฯและจีน เปิดเผยว่าขณะนี้คณะทำงานศึกษาผลกระทบเทรดวอร์ ได้ทำการขยายการศึกษาผลกระทบ การแพร่ระบาดของเชื้อไว้รัสโคโรนา หรือ โควิด-19 ที่จะมีต่อภาคอุตสาหกรรมไทย โดยแบ่งเป็น 4 กรณีได้แก่ 1. กรณีดีสุด การแพร่ระบาดควบคุมได้จบ ภายในมี.ค.63 เศรษฐกิจโลกและไทย จะไปได้ต่อโดยคาดว่าเศรษฐกิจไทย หรือ GDPจะมีโอกาสโต 2% จากปีก่อน 2. ควบคุมการแพร่ระบาดได้ไม่เกินมิ.ย.-ก.ค.63 ที่เหลือครึ่งปี เศรษฐกิจไทยภาพรวมไม่น่าจะเสียหายมากนัก ยังพอรับได้โดยอาจจะโตเล็กน้อยหรือทรงตัว 3. การแพร่ระบาดควบคุมได้ภายในก.ย. เศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก มีแนวโน้มจะติดลบ และ 4.หากลากยาวไปถึงสิ้นปี เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบที่รุนแรง
"เราได้รวบรวมความเห็นจากสมาชิก ส.อ.ท. 45 กลุ่ม ที่ได้ตอบแบบสอบถามกลับมาเป็นส่วนใหญ่แล้ว โดยมีความจำเป็นที่เอกชนจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับภาครัฐ ที่เราคาดหวังว่าจะเร่งออกมาตรการต่างๆ เข้ามารับมือเป็นระยะทั้งสั้น กลาง ยาว เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบไปมากกว่าที่ควรจะเป็น" นายเกรียงไกร กล่าว
จากการสอบถามพบว่า โควิด-19 มีผลกระทบเบื้องต้นกับภาคอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องกับธุรกิจท่องเที่ยว หลังจากการแพร่ระบาดทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงไปมากโดยเฉพาะจากจีน อาทิ ธุรกิจโรงแรม อุตสาหกรรมอาหาร สปา ของฝากของที่ระลึก หัตถกรรม สมุนไพร เครื่องสำอาง รถเช่า สถานที่จัดประชุม และจากการที่จีนประกาศปิด 14 มณฑล เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ยังส่งผลต่อการผลิตและการส่งออกของไทยโดยไม่สามารถส่งออกสินค้าไปยังเมืองดังกล่าวได้ในระยะนี้ ซึ่งไทยส่งออกไปจีน 12% โดยช่วงปัญหาเทรดวอร์ บางอุตสาหกรรมยังไม่ได้รับผลกระทบแต่กรณีโควิด-19 ได้รับผลกระทบมากขึ้น
ขณะเดียวกัน จีนยังเป็นแหล่งสำคัญในการนำเข้าสินค้าของไทย คิดเป็น 21% อาทิ แผงโซลาร์ เครื่องจักร แผงวงจรไฟฟ้า ชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนซอฟต์แวร์คอมพ์พิวเตอร์ สารเคมีบางประเภท ฯลฯ ที่ขณะนี้สต็อกสินค้าบางรายที่นำเข้ามาเริ่มขาด ทำให้มีการวางแผนรับมือด้วยการจัดหาจากประเทศอื่นๆทดแทน ทั้งจากอินเดีย สหภาพยุโรป สหัฐอเมริกา ฯลฯ โดยหลายรายแสดงความวิตกว่า จะจัดหาทันเพื่อนำมาผลิตแล้วจัดส่งให้ลูกค้าทันหรือไม่ และบางรายระบุว่า ยังจัดหามาทดแทนไม่ได้ และในที่สุดอาจต้องหยุดผลิต
"มีการเปิด LC เพื่อจัดซื้อวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจากจีน แต่ยังคงไม่มีคำตอบว่าจะส่งมาไทยได้เมื่อไร ซึ่งอาจทำให้บางรายหากหาวัตถุดิบไม่ได้ก็ต้องชะลอการผลิตตามไปด้วย หากสถานการณ์ยืดเยื้อ ก็จะยิ่งลำบาก สิ่งที่ห่วงคือ วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) จะแบกภาระการขาดสภาพคล่องได้ไม่นาน และคงต้องติดตามใกล้ชิด เพราะขณะนี้เชื้อยังคงมีการแพร่ระบาดไปอีกหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรง" นายเกรียงไกรกล่าว
นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะทำงานศึกษาผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐฯและจีน เปิดเผยว่าขณะนี้คณะทำงานศึกษาผลกระทบเทรดวอร์ ได้ทำการขยายการศึกษาผลกระทบ การแพร่ระบาดของเชื้อไว้รัสโคโรนา หรือ โควิด-19 ที่จะมีต่อภาคอุตสาหกรรมไทย โดยแบ่งเป็น 4 กรณีได้แก่ 1. กรณีดีสุด การแพร่ระบาดควบคุมได้จบ ภายในมี.ค.63 เศรษฐกิจโลกและไทย จะไปได้ต่อโดยคาดว่าเศรษฐกิจไทย หรือ GDPจะมีโอกาสโต 2% จากปีก่อน 2. ควบคุมการแพร่ระบาดได้ไม่เกินมิ.ย.-ก.ค.63 ที่เหลือครึ่งปี เศรษฐกิจไทยภาพรวมไม่น่าจะเสียหายมากนัก ยังพอรับได้โดยอาจจะโตเล็กน้อยหรือทรงตัว 3. การแพร่ระบาดควบคุมได้ภายในก.ย. เศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก มีแนวโน้มจะติดลบ และ 4.หากลากยาวไปถึงสิ้นปี เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบที่รุนแรง
"เราได้รวบรวมความเห็นจากสมาชิก ส.อ.ท. 45 กลุ่ม ที่ได้ตอบแบบสอบถามกลับมาเป็นส่วนใหญ่แล้ว โดยมีความจำเป็นที่เอกชนจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับภาครัฐ ที่เราคาดหวังว่าจะเร่งออกมาตรการต่างๆ เข้ามารับมือเป็นระยะทั้งสั้น กลาง ยาว เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบไปมากกว่าที่ควรจะเป็น" นายเกรียงไกร กล่าว
จากการสอบถามพบว่า โควิด-19 มีผลกระทบเบื้องต้นกับภาคอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องกับธุรกิจท่องเที่ยว หลังจากการแพร่ระบาดทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงไปมากโดยเฉพาะจากจีน อาทิ ธุรกิจโรงแรม อุตสาหกรรมอาหาร สปา ของฝากของที่ระลึก หัตถกรรม สมุนไพร เครื่องสำอาง รถเช่า สถานที่จัดประชุม และจากการที่จีนประกาศปิด 14 มณฑล เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ยังส่งผลต่อการผลิตและการส่งออกของไทยโดยไม่สามารถส่งออกสินค้าไปยังเมืองดังกล่าวได้ในระยะนี้ ซึ่งไทยส่งออกไปจีน 12% โดยช่วงปัญหาเทรดวอร์ บางอุตสาหกรรมยังไม่ได้รับผลกระทบแต่กรณีโควิด-19 ได้รับผลกระทบมากขึ้น
ขณะเดียวกัน จีนยังเป็นแหล่งสำคัญในการนำเข้าสินค้าของไทย คิดเป็น 21% อาทิ แผงโซลาร์ เครื่องจักร แผงวงจรไฟฟ้า ชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนซอฟต์แวร์คอมพ์พิวเตอร์ สารเคมีบางประเภท ฯลฯ ที่ขณะนี้สต็อกสินค้าบางรายที่นำเข้ามาเริ่มขาด ทำให้มีการวางแผนรับมือด้วยการจัดหาจากประเทศอื่นๆทดแทน ทั้งจากอินเดีย สหภาพยุโรป สหัฐอเมริกา ฯลฯ โดยหลายรายแสดงความวิตกว่า จะจัดหาทันเพื่อนำมาผลิตแล้วจัดส่งให้ลูกค้าทันหรือไม่ และบางรายระบุว่า ยังจัดหามาทดแทนไม่ได้ และในที่สุดอาจต้องหยุดผลิต
"มีการเปิด LC เพื่อจัดซื้อวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจากจีน แต่ยังคงไม่มีคำตอบว่าจะส่งมาไทยได้เมื่อไร ซึ่งอาจทำให้บางรายหากหาวัตถุดิบไม่ได้ก็ต้องชะลอการผลิตตามไปด้วย หากสถานการณ์ยืดเยื้อ ก็จะยิ่งลำบาก สิ่งที่ห่วงคือ วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) จะแบกภาระการขาดสภาพคล่องได้ไม่นาน และคงต้องติดตามใกล้ชิด เพราะขณะนี้เชื้อยังคงมีการแพร่ระบาดไปอีกหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรง" นายเกรียงไกรกล่าว