วานนี้ (27ก.พ.) ที่ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ประธานคณะกรรมการเครือข่ายความร่วมมือด้านผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์แห่งประเทศไทย (MPCT) เป็นประธานเปิดการประชุมหลักสูตร Essential Regulatory Requirements for Medical Device Approval
นพ.ไพศาล กล่าวว่า ปัจจุบัน เครื่องมือแพทย์ของไทยมีการนำเข้ามากกว่าการผลิตและส่งออก ซึ่งการผลิตและส่งออกส่วนใหญ่ เป็นบริษัทต่างชาติ เข้ามาลงทุน และส่งกลับไปยังประเทศตนเอง ทำให้ไทยต้องเสียดุลทางเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงมีนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ โดยเฉพาะการสร้างสรรค์ภูมิปัญญา นวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ของไทย เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงเทคโนโลยีการรักษาขั้นสูง รวมทั้งยังสามารถส่งออกจำหน่ายในต่างประเทศได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของภาครัฐ ต้องสนับสนุนให้นักวิจัย และผู้ผลิตมีความเข้าใจในเรื่องกฎหมาย ข้อบังคับ หรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้น อย.ร่วมกับ MPCTจึงได้จัดอบรมให้แก่นักวิจัย ผู้ผลิต และผู้ที่สนใจในการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ให้ประสบผลสำเร็จสามารถเข้าสู่ตลาดภายในประเทศและตลาดสากลได้ โดยมีผู้สนใจเข้ารับการอบรมกว่า 500 คน
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง และ มีโอกาสในการพัฒนาอีกมาก ซึ่งปัจจุบันไทยผลิตเครื่องมือแพทย์ คิดเป็นมูลค่า ปีละกว่า 39,500 ล้านบาท แบ่งเป็นส่งออก 27,900 ล้านบาท ใช้ภายในประเทศ 11,600 ล้านบาท ถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้
นพ.ไพศาล กล่าวว่า ปัจจุบัน เครื่องมือแพทย์ของไทยมีการนำเข้ามากกว่าการผลิตและส่งออก ซึ่งการผลิตและส่งออกส่วนใหญ่ เป็นบริษัทต่างชาติ เข้ามาลงทุน และส่งกลับไปยังประเทศตนเอง ทำให้ไทยต้องเสียดุลทางเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงมีนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ โดยเฉพาะการสร้างสรรค์ภูมิปัญญา นวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ของไทย เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงเทคโนโลยีการรักษาขั้นสูง รวมทั้งยังสามารถส่งออกจำหน่ายในต่างประเทศได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของภาครัฐ ต้องสนับสนุนให้นักวิจัย และผู้ผลิตมีความเข้าใจในเรื่องกฎหมาย ข้อบังคับ หรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้น อย.ร่วมกับ MPCTจึงได้จัดอบรมให้แก่นักวิจัย ผู้ผลิต และผู้ที่สนใจในการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ให้ประสบผลสำเร็จสามารถเข้าสู่ตลาดภายในประเทศและตลาดสากลได้ โดยมีผู้สนใจเข้ารับการอบรมกว่า 500 คน
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง และ มีโอกาสในการพัฒนาอีกมาก ซึ่งปัจจุบันไทยผลิตเครื่องมือแพทย์ คิดเป็นมูลค่า ปีละกว่า 39,500 ล้านบาท แบ่งเป็นส่งออก 27,900 ล้านบาท ใช้ภายในประเทศ 11,600 ล้านบาท ถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้