วานนี้ (26 ก.พ.) ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่นายวิฑูรย์ ชลายนนาวิน อดีตรองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ก.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตรองนายกฯ และ อดีตปลัด ทส.เป็นจำเลยในความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.157
ทั้งนี้ คำฟ้องของโจทก์ ระบุพฤติการณ์ความผิด ว่า เมื่อวันที่ 4 ก.ย.46 นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ในขณะนั้น ได้มีมีคำสั่งแต่งตั้ง นายวิฑูรย์ โจทก์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรฯ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.46 แต่จากนั้น มีการตราพ.ร.ฎ.โอนป่ากรมป่าไม้ ไปสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีผลเมื่อวันที่ 30 ก.ย.46 ซึ่งขณะนั้น โจทก์ ดำรงตำแหน่ง ผอ.กองการอนุญาต กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรฯ
ต่อมาวันที่ 1 ต.ค.46-12 พ.ย.56 จำเลย ซึ่งดำรงตำแหน่ง ปลัดฯ ทส. ได้ออกคำสั่ง กระทรวงทรัพยากรฯ ที่ 287/2546 เมื่อวันที่ 1 ต.ค.46 ให้ระงับการมอบหมายงานในหน้าที่ตามคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ (นักวิชาการป่าไม้ 9 ) โดยให้ถือว่า เป็นการยกเลิกคำสั่งดังกล่าวไว้ก่อน อันเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยไม่ชอบ เพื่อยังยั้งไม่ให้ โจทก์ได้เลื่อนตำแหน่ง สาเหตุเนื่องจากมีเรื่องโกรธเคืองเป็นการส่วนตัวมาก่อน
ต่อมาจำเลยยังให้ นายดำรงค์ พิเดช ออกคำสั่ง กรมป่าไม้ ที่ 543/2546 ย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่ง ป่าไม้จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งเป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ ระดับ 8 ต่ำกว่าระดับเดิม อีกทั้งไม่ใช่ความจำเป็นที่ต้องรีบดำเนินการ และจำเลยก็ทราบดีว่า นายดำรงค์ ไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์ ดังนั้น คำสั่งย้ายที่จำเลยให้ความเห็นชอบนั้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การกระทำของจำเลยส่งผลให้โจทก์ ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง และเสียสิทธิ ไม่ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นระดับ 9 จึงขอให้ศาลพิพากษาลงโทษ จำเลย และชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ 2 ล้านบาท ซึ่งนายปลอดประสพ จำเลย ให้การปฏิเสธ และต่อสู้คดี
คดีนี้ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษา จำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี และให้จำเลยชดใช้เงินค่าเสียหายแก่โจทก์ 1.4 ล้านบาท
ต่อมาทั้งนายปลอดประสพ จำเลย และนายวิฑูรย์ โจทก์ ต่างยื่นอุทธรณ์
ทั้งนี้ วันที่ 17 เม.ย.61 ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พิพากษาแก้ ว่า จำเลยมีความผิด ตาม ม.157 ประกอบมาตรา 84 อีกกรรมหนึ่ง ที่ใช้ให้นายดำรงค์ โยกย้ายโจทก์ จึงให้จำคุก 2 กระทงๆ ละ 1ปี รวมโทษจำคุก 2 ปี โดยไม่รอการลงโทษ และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 1.4 ล้านบาทด้วย
ขณะที่ นายปลอดประสพ ได้ประกันตัวระหว่างฎีกา ซึ่งศาลตีราคาหลักทรัพย์ 400,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามออกนอกประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ เป็นการนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาครั้งที่ 2 โดยครั้งแรก มีการเลื่อนนัดมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่เมื่อถึงเวลานัด นายปลอดประสพ ไม่มาศาล โดยมีผู้รับมอบอำนาจมายื่นคำร้องขอเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาฎีกา อ้างว่า นายปลอดประสพ ป่วย แต่ศษลไม่เชื่อ จึงสั่งยกคำร้องขอเลื่อนฟังคำพิพากษา ของนายปลอดประสพ สั่งปรับนายประกัน เต็มตามจำนวน 400,000 บาท และออกหมายจับนายปลอดประสพ จำเลย เพื่อมาฟังคำพิพากษาฎีกา อีกครั้ง วันที่ 7 เม.ย.นี้
ทั้งนี้ คำฟ้องของโจทก์ ระบุพฤติการณ์ความผิด ว่า เมื่อวันที่ 4 ก.ย.46 นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ในขณะนั้น ได้มีมีคำสั่งแต่งตั้ง นายวิฑูรย์ โจทก์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรฯ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.46 แต่จากนั้น มีการตราพ.ร.ฎ.โอนป่ากรมป่าไม้ ไปสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีผลเมื่อวันที่ 30 ก.ย.46 ซึ่งขณะนั้น โจทก์ ดำรงตำแหน่ง ผอ.กองการอนุญาต กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรฯ
ต่อมาวันที่ 1 ต.ค.46-12 พ.ย.56 จำเลย ซึ่งดำรงตำแหน่ง ปลัดฯ ทส. ได้ออกคำสั่ง กระทรวงทรัพยากรฯ ที่ 287/2546 เมื่อวันที่ 1 ต.ค.46 ให้ระงับการมอบหมายงานในหน้าที่ตามคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ (นักวิชาการป่าไม้ 9 ) โดยให้ถือว่า เป็นการยกเลิกคำสั่งดังกล่าวไว้ก่อน อันเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยไม่ชอบ เพื่อยังยั้งไม่ให้ โจทก์ได้เลื่อนตำแหน่ง สาเหตุเนื่องจากมีเรื่องโกรธเคืองเป็นการส่วนตัวมาก่อน
ต่อมาจำเลยยังให้ นายดำรงค์ พิเดช ออกคำสั่ง กรมป่าไม้ ที่ 543/2546 ย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่ง ป่าไม้จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งเป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ ระดับ 8 ต่ำกว่าระดับเดิม อีกทั้งไม่ใช่ความจำเป็นที่ต้องรีบดำเนินการ และจำเลยก็ทราบดีว่า นายดำรงค์ ไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์ ดังนั้น คำสั่งย้ายที่จำเลยให้ความเห็นชอบนั้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การกระทำของจำเลยส่งผลให้โจทก์ ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง และเสียสิทธิ ไม่ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นระดับ 9 จึงขอให้ศาลพิพากษาลงโทษ จำเลย และชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ 2 ล้านบาท ซึ่งนายปลอดประสพ จำเลย ให้การปฏิเสธ และต่อสู้คดี
คดีนี้ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษา จำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี และให้จำเลยชดใช้เงินค่าเสียหายแก่โจทก์ 1.4 ล้านบาท
ต่อมาทั้งนายปลอดประสพ จำเลย และนายวิฑูรย์ โจทก์ ต่างยื่นอุทธรณ์
ทั้งนี้ วันที่ 17 เม.ย.61 ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พิพากษาแก้ ว่า จำเลยมีความผิด ตาม ม.157 ประกอบมาตรา 84 อีกกรรมหนึ่ง ที่ใช้ให้นายดำรงค์ โยกย้ายโจทก์ จึงให้จำคุก 2 กระทงๆ ละ 1ปี รวมโทษจำคุก 2 ปี โดยไม่รอการลงโทษ และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 1.4 ล้านบาทด้วย
ขณะที่ นายปลอดประสพ ได้ประกันตัวระหว่างฎีกา ซึ่งศาลตีราคาหลักทรัพย์ 400,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามออกนอกประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ เป็นการนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาครั้งที่ 2 โดยครั้งแรก มีการเลื่อนนัดมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่เมื่อถึงเวลานัด นายปลอดประสพ ไม่มาศาล โดยมีผู้รับมอบอำนาจมายื่นคำร้องขอเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาฎีกา อ้างว่า นายปลอดประสพ ป่วย แต่ศษลไม่เชื่อ จึงสั่งยกคำร้องขอเลื่อนฟังคำพิพากษา ของนายปลอดประสพ สั่งปรับนายประกัน เต็มตามจำนวน 400,000 บาท และออกหมายจับนายปลอดประสพ จำเลย เพื่อมาฟังคำพิพากษาฎีกา อีกครั้ง วันที่ 7 เม.ย.นี้