โพลชี้ประชาชนร้อยละ 82.87 บอกจะไม่ไปชุมนุมบนท้องถนนหากมีพรรคการเมืองชักชวน และไม่เห็นด้วยที่ "ปิยบุตร"จะเดินสายซักฟอกนอกสภาฯ ด้าน ประธานกมธ.การเมือง วุฒิฯ ฟันธง อนค. ถูกยุบพรรคเพราะกู้เงินผิดกม. เอาเปรียบพรรคอื่น เตือนอย่ากดดันศาลฯ หากใช้กฎหมู่เหนือกฎหมาย บ้านเมืองจะเข้าสู่กลียุค “นิพิฏฐ์”ขอให้รอคำวินิจฉัยศาลฯ อย่าเพิ่งคาดเดา แนะอนค. ใช้เวทีสภาฯ โชว์บทบาทการตรวจสอบรัฐบาลแทนที่จะพาการเมืองลงถนน
จากกรณีแกนนำพรรคอนาคตใหม่ และเครือข่าย ที่มีการเคลื่อนไหวในเวทีต่างๆ และในโซเชียลฯ กดดันศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะตัดสินกรณียุบพรรคอนาคตใหม่ หรือไม่ ในวันที่ 21 ก.พ.นี้ และเตรียมปลุกประชาชนให้ออกมาร่วมชุมนุมทางการเมือง
"นิด้าโพล"เผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง "ท่านจะไปชุมนุมประท้วงทางการเมืองหรือไม่" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12-13 ก.พ.63 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วทุกภูมิภาค รวมทั้งสิ้น 1,255 คน เกี่ยวกับการไปชุมนุมประท้วงทางการเมืองในช่วงนี้
จากคำถามถึงการตัดสินใจเข้าร่วมชุมนุมประท้วงของประชาชน หากมีนักการเมือง/พรรคการเมือง/กลุ่มการเมือง รณรงค์ให้ชุมนุมประท้วงทางการเมืองบนท้องถนน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.87 ระบุว่า จะไม่ไป เพราะรู้สึกไม่ปลอดภัย เป็นการสร้างความวุ่นวายให้บ้านเมือง กลัวเกิดการจลาจลเหมือนครั้งก่อนๆ ขณะที่บางส่วน ระบุว่า ขอติดตามข่าวทางโทรทัศน์อยู่ที่บ้าน และไม่ชอบการเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้
รองลงมาร้อยละ 14.02 ระบุว่า ไม่แน่ใจ เพราะต้องดูรายละเอียดต่างๆ ในการจัดกิจกรรมการชุมนุม เช่น วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการชุมนุม สถานที่ แกนนำ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องดูสถานการณ์ในขณะนั้น และ ร้อยละ 3.11 ระบุว่า จะไป เพราะ มีอุดมการณ์ที่เหมือนกัน เพื่อเรียกร้องในสิ่งที่ต้องการ ขณะที่บางส่วนระบุว่า อยากให้ประเทศพัฒนามากกว่านี้ และไม่ชอบรัฐบาลชุดปัจจุบัน
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชน ต่อแนวคิดของ นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ จะเดินสายอภิปราย ไม่ไว้วางใจ รัฐมนตรีทั้ง 6 คน นอกสภาฯ หากพรรคอนาคตใหม่ ถูกตัดสินยุบพรรค พบว่า ร้อยละ 20.00 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะพรรคอนาคตใหม่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และเป็นสิทธิ ที่นายปิยบุตร จะสามารถเดินสายอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ ร้อยละ 11.71 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะการอภิปรายนอกสภาฯ เป็นการแสดงออกทางการเมือง ทำให้ประชาชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่าง
ขณะที่ ร้อยละ 11.16 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย ขณะที่บางส่วนระบุว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจควรทำเฉพาะในรัฐสภาเท่านั้น ไม่สมควรทำนอกสภา , ร้อยละ 31.95 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะการอภิปรายไม่ไว้วางใจควรอยู่ในสภาฯ เท่านั้น ถ้านอกสภาฯ เปรียบเสมือนการประท้วง ซึ่งก่อให้เกิดความวุ่นวาย ทำให้สถานการณ์บ้านเมืองแย่ลง และร้อยละ 25.18 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
"เสรี"ฟันธง อนค.กู้เงิน ผิดกม.
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. และประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคดียุบพรรคอนาคตใหม่ จากกรณีเงินกู้ 191ล้านบาท ว่า การที่พรรคการเมืองกู้เงินจากหัวหน้าพรรค ย่อมเป็นรายได้ของพรรคการเมือง แต่มิใช่รายได้ของพรรคการเมืองตามที่ มาตรา 62 บัญญัติไว้ เงินที่เข้ามาในบัญชีของพรรคการเมืองไม่เรียกว่าเป็น “รายได้”แล้วเรียกว่าอะไร “รายได้”ของพรรคการเมือง อาจมีหลายลักษณะ แต่กฎหมายได้ควบคุมเงินที่พรรคการเมืองจะนำมาเป็น”รายได้”ของพรรคการเมืองนั้น จะต้องเป็นรายได้ตามที่ มาตรา 62 กำหนดไว้เท่านั้น เพื่อเป็นการควบคุมเงินที่จะนำมาใช้จ่ายในพรรคการเมืองมิให้เอาเปรียบกัน หรือมิให้ได้เปรียบเสียเปรียบกัน
ส่วนคนที่หัวหมอ ก็จะตีความว่า เงินที่มิได้อยู่ใน มาตรา 62 เมื่อกฎหมายมิได้ห้ามไว้ จึงสามารถนำใช้ในพรรคการเมืองได้ ซึ่งเป็นการตีความไปในแนวทางที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย มาตรา 62 ที่กฎหมายให้พรรคการเมืองมีรายได้ เฉพาะที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 62 (1)-(7) เท่านั้น
นี่คือหลักการควบคุมรายได้ของพรรคการเมือง มิฉะนั้นแล้ว หากเงินกู้ที่ได้มาโดยไม่อยู่ใน มาตรา 62 (1)-(7) ข้างต้นแล้ว ต่อไปทุกพรรคการเมืองก็จะไม่ต้องไปหารายได้ตาม (1)-(7) เพียงแต่ไปกู้เงินจากนายทุนเงินกู้มาใช้จ่ายในพรรคการเมืองมาใช้จ่ายทั้งหมด จากนั้น นายทุนเงินกู้ เมื่อได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีหรือตำแหน่งสำคัญ ก็จะยกหนี้ให้ไม่ต้องใช้หนี้ ก็จะกลายเป็นการได้เงินมาใช้จ่ายในพรรคการเมืองจำนวนมากได้อย่างไม่มีจำกัด และไม่เป็นความผิด ก็จะกลายเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย ที่ไม่ต้องการให้พรรคเป็นของนายทุน และพรรคไม่อาจทำให้เป็นพรรคการเมืองของประชาชนไปได้
"การที่พรรคการเมืองกู้เงินมาใช้จ่าย โดยบอกว่า เงินกู้ไม่เป็นรายได้ตาม มาตรา 62 จึงเป็นความผิดต่อกฎหมายอย่างชัดเจน ปฏิเสธไม่ได้ ดังนั้น การต่อสู้ครั้งสุดท้าย จึงต่อสู้แบบเอาพรรคเข้าแลก โดยการสร้างความขัดแย้งไปทั่ว ตั้งแต่โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลรธน.ในทุกเรื่อง ทุกประเด็น ที่ตนเองเสียประโยชน์ เพื่อจะเป็นข้ออ้างว่าการที่ศาลรธน. วินิจฉัยในเรื่องยุบพรรคนั้น เกิดจากการไปขัดแย้งกับศาลรธน. ทั้งๆ ที่ศาลรธน. มิได้ไปขัดแย้งด้วยเลย " นายเสรี กล่าว
ขณะนี้ เป็นเวลาที่ใกล้ที่ศาลรธน. จะได้ตัดสินในเรื่องของการกู้เงินของพรรคการเมือง ก็เกิดปฏิกิริยา สร้างม็อบ จัดเวที สร้างกลุ่มให้ประชาชนออกมาสนับสนุน เพื่อเรียกร้องหาความเป็นธรรม ทั้งๆ ที่ปัญหาทั้งหลายตนเองเป็นผู้ก่อขึ้นทั้งสิ้น เล่นการเมืองแบบไม่รับผิดชอบ เสนอแนวนโยบายที่สร้างปัญหาให้บ้านเมืองหลายเรื่อง ก็เป็นเรื่องที่ตนเองก่อขึ้นทั้งสิ้น ซึ่งการสร้างประเด็นให้เป็นความขัดแย้งทั้งหลายข้างต้นนี้ แสดงให้เห็นเป็นสัญญาณได้ว่า“รู้ชะตากรรม”ของตนเอง ว่าเป็นเช่นใด จึงได้ใช้วิธีการต่อสู้ดิ้นรน ขัดแย้งกับทุกฝ่ายเป็นเฮือกสุดท้าย เพื่อจะบอกว่า“ถูกกลั่นแกล้ง”หรือ “ถูกรังแก”ซึ่งความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น ช่วงนี้ สิ่งที่ทำได้อย่างเดียวคือการสร้างความขัดแย้งให้มากเข้าไว้ เพื่อกดดันศาลรธน. ที่จะตัดสินในเวลาอันใกล้ว่า “จะถูกยุบพรรค” หรือไม่ หากว่ากันตามเหตุผล และตามกฎหมายแล้ว ผมเห็นว่า การที่พรรคการเมืองกู้เงินมาใช้ในลักษณะเช่นนี้ เป็นการเอาเปรียบพรรคการเมืองอื่นๆ ซึ่งมันผิดกฎหมายชัดๆ แต่ก็คงต้องดูว่าศาลรธน.จะตัดสินเช่นใด
"ศาลทุกศาล รวมถึงศาลรัฐธรรมนูญ ต้องตัดสินคดีความไปตามกฎหมาย ถูกเป็นถูก ผิดเป็นผิด จึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะกดดันศาลในการตัดสินคดี มิฉะนั้น จะกลายเป็นกฎหมู่อยู่เหนือกฎหมายในที่สุด ก็จะตัดสินกันเอง ไม่เคารพกฎหมาย บ้านเมืองกลียุค อันจะทำให้บ้านเมืองอยู่ไม่ได้" นายเสรี ระบุ
ควรใช้เวทีสภาฯ ซักฟอก ไม่ใช่พาคนลงถนน
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีการออกแคมเปญรณรงค์ร่วมลงชื่อในเว็บไซต์ www.change.org คัดค้านการยุบพรรคอนาคต ว่า ควรจะรอคำตัดสินของศาลฯ ก่อน ซึ่งยังเป็นไปได้ทั้งสองทางคือ ยกคำร้อง หรือ ไม่ยกคำร้อง ดังนั้นอย่าเพิ่งไปคาดเดา อย่าไปจัดชุมนุม อย่าไปประท้วงอะไรกันก่อน พอศาลฯ วินิจฉัยเเล้ว สามารถทำความเห็นทางวิชาการ คัดค้านไม่เห็นด้วยได้
ส่วนคำถามที่ว่า ถ้ามีการยุบพรรคอนาคตใหม่รอบนี้ จะผลักให้การเมืองลงไปอยู่บนท้องถนนหรือไม่นั้น อยู่ที่เหตุผลของคำวินิจฉัย ถ้าศาลฯ สามารถอธิบายเหตุผลให้คนเข้าใจได้ คงไม่สามารถนำการเมืองไปสู่ท้องถนนได้
“ขอย้ำว่าอย่าเพิ่งไปคาดเดา แต่ไม่เเน่ใจว่า ระหว่างวันอภิปรายไม่ไว้วางใจ กับวันที่ศาลจะตัดสินคดีของพรรคอนาคตใหม่ วันไหนมีการกำหนดขึ้นมาก่อนกัน แต่ตามปกติ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะถูกกำหนดด้วยระยะเวลาในสมัยประชุมสภาฯ คือช่วงท้ายๆของสมัยประชุมอยู่เเล้ว คิดว่าคนที่เป็นพรรคฝ่ายค้านทุกคน ควรได้โชว์บทบาทการตรวจสอบรัฐบาลเเทนประชาชน เพราะถ้าใช้เวทีอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยไม่มีเหตุผล ไม่มีเนื้อหาสาระที่ดีจะกลายเป็นเวทีเเจ้งดับ แต่ถ้าอภิปรายมีเนื้อหาสาระดี ก็จะเป็นเวทีเเจ้งเกิด” นายนิพิฏฐ์ กล่าว
จากกรณีแกนนำพรรคอนาคตใหม่ และเครือข่าย ที่มีการเคลื่อนไหวในเวทีต่างๆ และในโซเชียลฯ กดดันศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะตัดสินกรณียุบพรรคอนาคตใหม่ หรือไม่ ในวันที่ 21 ก.พ.นี้ และเตรียมปลุกประชาชนให้ออกมาร่วมชุมนุมทางการเมือง
"นิด้าโพล"เผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง "ท่านจะไปชุมนุมประท้วงทางการเมืองหรือไม่" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12-13 ก.พ.63 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วทุกภูมิภาค รวมทั้งสิ้น 1,255 คน เกี่ยวกับการไปชุมนุมประท้วงทางการเมืองในช่วงนี้
จากคำถามถึงการตัดสินใจเข้าร่วมชุมนุมประท้วงของประชาชน หากมีนักการเมือง/พรรคการเมือง/กลุ่มการเมือง รณรงค์ให้ชุมนุมประท้วงทางการเมืองบนท้องถนน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.87 ระบุว่า จะไม่ไป เพราะรู้สึกไม่ปลอดภัย เป็นการสร้างความวุ่นวายให้บ้านเมือง กลัวเกิดการจลาจลเหมือนครั้งก่อนๆ ขณะที่บางส่วน ระบุว่า ขอติดตามข่าวทางโทรทัศน์อยู่ที่บ้าน และไม่ชอบการเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้
รองลงมาร้อยละ 14.02 ระบุว่า ไม่แน่ใจ เพราะต้องดูรายละเอียดต่างๆ ในการจัดกิจกรรมการชุมนุม เช่น วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการชุมนุม สถานที่ แกนนำ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องดูสถานการณ์ในขณะนั้น และ ร้อยละ 3.11 ระบุว่า จะไป เพราะ มีอุดมการณ์ที่เหมือนกัน เพื่อเรียกร้องในสิ่งที่ต้องการ ขณะที่บางส่วนระบุว่า อยากให้ประเทศพัฒนามากกว่านี้ และไม่ชอบรัฐบาลชุดปัจจุบัน
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชน ต่อแนวคิดของ นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ จะเดินสายอภิปราย ไม่ไว้วางใจ รัฐมนตรีทั้ง 6 คน นอกสภาฯ หากพรรคอนาคตใหม่ ถูกตัดสินยุบพรรค พบว่า ร้อยละ 20.00 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะพรรคอนาคตใหม่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และเป็นสิทธิ ที่นายปิยบุตร จะสามารถเดินสายอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ ร้อยละ 11.71 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะการอภิปรายนอกสภาฯ เป็นการแสดงออกทางการเมือง ทำให้ประชาชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่าง
ขณะที่ ร้อยละ 11.16 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย ขณะที่บางส่วนระบุว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจควรทำเฉพาะในรัฐสภาเท่านั้น ไม่สมควรทำนอกสภา , ร้อยละ 31.95 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะการอภิปรายไม่ไว้วางใจควรอยู่ในสภาฯ เท่านั้น ถ้านอกสภาฯ เปรียบเสมือนการประท้วง ซึ่งก่อให้เกิดความวุ่นวาย ทำให้สถานการณ์บ้านเมืองแย่ลง และร้อยละ 25.18 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
"เสรี"ฟันธง อนค.กู้เงิน ผิดกม.
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. และประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคดียุบพรรคอนาคตใหม่ จากกรณีเงินกู้ 191ล้านบาท ว่า การที่พรรคการเมืองกู้เงินจากหัวหน้าพรรค ย่อมเป็นรายได้ของพรรคการเมือง แต่มิใช่รายได้ของพรรคการเมืองตามที่ มาตรา 62 บัญญัติไว้ เงินที่เข้ามาในบัญชีของพรรคการเมืองไม่เรียกว่าเป็น “รายได้”แล้วเรียกว่าอะไร “รายได้”ของพรรคการเมือง อาจมีหลายลักษณะ แต่กฎหมายได้ควบคุมเงินที่พรรคการเมืองจะนำมาเป็น”รายได้”ของพรรคการเมืองนั้น จะต้องเป็นรายได้ตามที่ มาตรา 62 กำหนดไว้เท่านั้น เพื่อเป็นการควบคุมเงินที่จะนำมาใช้จ่ายในพรรคการเมืองมิให้เอาเปรียบกัน หรือมิให้ได้เปรียบเสียเปรียบกัน
ส่วนคนที่หัวหมอ ก็จะตีความว่า เงินที่มิได้อยู่ใน มาตรา 62 เมื่อกฎหมายมิได้ห้ามไว้ จึงสามารถนำใช้ในพรรคการเมืองได้ ซึ่งเป็นการตีความไปในแนวทางที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย มาตรา 62 ที่กฎหมายให้พรรคการเมืองมีรายได้ เฉพาะที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 62 (1)-(7) เท่านั้น
นี่คือหลักการควบคุมรายได้ของพรรคการเมือง มิฉะนั้นแล้ว หากเงินกู้ที่ได้มาโดยไม่อยู่ใน มาตรา 62 (1)-(7) ข้างต้นแล้ว ต่อไปทุกพรรคการเมืองก็จะไม่ต้องไปหารายได้ตาม (1)-(7) เพียงแต่ไปกู้เงินจากนายทุนเงินกู้มาใช้จ่ายในพรรคการเมืองมาใช้จ่ายทั้งหมด จากนั้น นายทุนเงินกู้ เมื่อได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีหรือตำแหน่งสำคัญ ก็จะยกหนี้ให้ไม่ต้องใช้หนี้ ก็จะกลายเป็นการได้เงินมาใช้จ่ายในพรรคการเมืองจำนวนมากได้อย่างไม่มีจำกัด และไม่เป็นความผิด ก็จะกลายเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย ที่ไม่ต้องการให้พรรคเป็นของนายทุน และพรรคไม่อาจทำให้เป็นพรรคการเมืองของประชาชนไปได้
"การที่พรรคการเมืองกู้เงินมาใช้จ่าย โดยบอกว่า เงินกู้ไม่เป็นรายได้ตาม มาตรา 62 จึงเป็นความผิดต่อกฎหมายอย่างชัดเจน ปฏิเสธไม่ได้ ดังนั้น การต่อสู้ครั้งสุดท้าย จึงต่อสู้แบบเอาพรรคเข้าแลก โดยการสร้างความขัดแย้งไปทั่ว ตั้งแต่โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลรธน.ในทุกเรื่อง ทุกประเด็น ที่ตนเองเสียประโยชน์ เพื่อจะเป็นข้ออ้างว่าการที่ศาลรธน. วินิจฉัยในเรื่องยุบพรรคนั้น เกิดจากการไปขัดแย้งกับศาลรธน. ทั้งๆ ที่ศาลรธน. มิได้ไปขัดแย้งด้วยเลย " นายเสรี กล่าว
ขณะนี้ เป็นเวลาที่ใกล้ที่ศาลรธน. จะได้ตัดสินในเรื่องของการกู้เงินของพรรคการเมือง ก็เกิดปฏิกิริยา สร้างม็อบ จัดเวที สร้างกลุ่มให้ประชาชนออกมาสนับสนุน เพื่อเรียกร้องหาความเป็นธรรม ทั้งๆ ที่ปัญหาทั้งหลายตนเองเป็นผู้ก่อขึ้นทั้งสิ้น เล่นการเมืองแบบไม่รับผิดชอบ เสนอแนวนโยบายที่สร้างปัญหาให้บ้านเมืองหลายเรื่อง ก็เป็นเรื่องที่ตนเองก่อขึ้นทั้งสิ้น ซึ่งการสร้างประเด็นให้เป็นความขัดแย้งทั้งหลายข้างต้นนี้ แสดงให้เห็นเป็นสัญญาณได้ว่า“รู้ชะตากรรม”ของตนเอง ว่าเป็นเช่นใด จึงได้ใช้วิธีการต่อสู้ดิ้นรน ขัดแย้งกับทุกฝ่ายเป็นเฮือกสุดท้าย เพื่อจะบอกว่า“ถูกกลั่นแกล้ง”หรือ “ถูกรังแก”ซึ่งความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น ช่วงนี้ สิ่งที่ทำได้อย่างเดียวคือการสร้างความขัดแย้งให้มากเข้าไว้ เพื่อกดดันศาลรธน. ที่จะตัดสินในเวลาอันใกล้ว่า “จะถูกยุบพรรค” หรือไม่ หากว่ากันตามเหตุผล และตามกฎหมายแล้ว ผมเห็นว่า การที่พรรคการเมืองกู้เงินมาใช้ในลักษณะเช่นนี้ เป็นการเอาเปรียบพรรคการเมืองอื่นๆ ซึ่งมันผิดกฎหมายชัดๆ แต่ก็คงต้องดูว่าศาลรธน.จะตัดสินเช่นใด
"ศาลทุกศาล รวมถึงศาลรัฐธรรมนูญ ต้องตัดสินคดีความไปตามกฎหมาย ถูกเป็นถูก ผิดเป็นผิด จึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะกดดันศาลในการตัดสินคดี มิฉะนั้น จะกลายเป็นกฎหมู่อยู่เหนือกฎหมายในที่สุด ก็จะตัดสินกันเอง ไม่เคารพกฎหมาย บ้านเมืองกลียุค อันจะทำให้บ้านเมืองอยู่ไม่ได้" นายเสรี ระบุ
ควรใช้เวทีสภาฯ ซักฟอก ไม่ใช่พาคนลงถนน
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีการออกแคมเปญรณรงค์ร่วมลงชื่อในเว็บไซต์ www.change.org คัดค้านการยุบพรรคอนาคต ว่า ควรจะรอคำตัดสินของศาลฯ ก่อน ซึ่งยังเป็นไปได้ทั้งสองทางคือ ยกคำร้อง หรือ ไม่ยกคำร้อง ดังนั้นอย่าเพิ่งไปคาดเดา อย่าไปจัดชุมนุม อย่าไปประท้วงอะไรกันก่อน พอศาลฯ วินิจฉัยเเล้ว สามารถทำความเห็นทางวิชาการ คัดค้านไม่เห็นด้วยได้
ส่วนคำถามที่ว่า ถ้ามีการยุบพรรคอนาคตใหม่รอบนี้ จะผลักให้การเมืองลงไปอยู่บนท้องถนนหรือไม่นั้น อยู่ที่เหตุผลของคำวินิจฉัย ถ้าศาลฯ สามารถอธิบายเหตุผลให้คนเข้าใจได้ คงไม่สามารถนำการเมืองไปสู่ท้องถนนได้
“ขอย้ำว่าอย่าเพิ่งไปคาดเดา แต่ไม่เเน่ใจว่า ระหว่างวันอภิปรายไม่ไว้วางใจ กับวันที่ศาลจะตัดสินคดีของพรรคอนาคตใหม่ วันไหนมีการกำหนดขึ้นมาก่อนกัน แต่ตามปกติ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะถูกกำหนดด้วยระยะเวลาในสมัยประชุมสภาฯ คือช่วงท้ายๆของสมัยประชุมอยู่เเล้ว คิดว่าคนที่เป็นพรรคฝ่ายค้านทุกคน ควรได้โชว์บทบาทการตรวจสอบรัฐบาลเเทนประชาชน เพราะถ้าใช้เวทีอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยไม่มีเหตุผล ไม่มีเนื้อหาสาระที่ดีจะกลายเป็นเวทีเเจ้งดับ แต่ถ้าอภิปรายมีเนื้อหาสาระดี ก็จะเป็นเวทีเเจ้งเกิด” นายนิพิฏฐ์ กล่าว